ความสมดุลของระบบนิเวศ ม. 3

ความสมดุลของระบบนิเวศ ม. 3

สมดุลทางธรรมชาติ เป็นภาวะการณ์ทางธรรมชาติของระบบนิเวศใดก็ตามที่ระบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเป็นไปอย่างสมบูรณ์ หมายความว่า บรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ในระบบนิเวศจะต้องทำหน้าที่ครบถ้วน 3 กลุ่ม คือ มีผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ในส่วนของสิ่งไม่มีชีวิตเองก็ทำหน้าที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่องไม่ขาดหาย ความสมดุลทางธรรมชาติมีความแตกต่างกันไปตามความแตกต่างของระบบนิเวศ ซึ่งในทางธรรมชาติระบบนิเวศจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงนี้อาจเป็นไปโดยธรรมชาติ หรือมนุษย์ก็ได้  ลักษณ์การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้ 2 แบบ แบบกะทันหัน และแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศโดยธรรมชาติแบบกะทันหันทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล และมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ทำให้ตายหรือสูญพันธ์ เช่น การเกิดไฟไหม้ป่า อุทกภัย การเกิดโรคระบาด ฯลฯ สำหรับการเปลี่ยนแปลงแบแบบค่อยเป็นค่อยไปตามธรรมชาติ เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อยมาก แต่เมื่อระยะเวลานานเข้าการเปลี่ยนแปลงจะมากขึ้น จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างเด่นชัดขึ้น เช่น ทุ่งนา หรือไร่ร้าง จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นทุ่งหญ้า และพืชพวกไม้พุ่มในเวลาต่อมา จนในที่สุดหากไม่มีสิ่งแวดล้อมภายนอกมารบกวน ก็จะกลายเป็นป่าที่สมบูรณ์ได้ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้

การสูญเสียความสมดุลในระบบนิเวศอาจเกิดขึ้นจากธรรมชาติ หรือมนุษย์ทำให้องค์ประกอบของระบบนิเวศถูกเปลี่ยนแปลงไป หากเกิดโดยธรรมชาติ ระบบนิเวศนิเวศจะช่วยแก้ไขด้วยตนเอง แต่ถ้าเกิดจากมนุษย์จะแก้ไขไดยากมาก เมื่อมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้น  มีการพัฒนาวิถีชีวิตมากขึ้นด้วยเทคโนโลยี ทำให้ความเป็นอยู่สุขสบายมากขึ้น มนุษย์จึงได้ชื่อว่า เป็นเป็นตัวการทำลายระบบนิเวศมากที่สุด

ภาวะสมดุลในระบบนิเวศ  เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขสำคัญดังนี้

1. โครงสร้างและส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในระบบต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสมทั้งชนิดปริมาณสัดส่วนและการกระจายตัวส่วนประกอบ ดังนี้

1.1 ชนิดของส่วนประกอบต่าง ๆ ถ้าระบบนิเวศใดมีชนิดพืช สัตว์มากทำให้ระบบมีระดับความหลายหลายทางชีวภาพสูงและมีเสถียรภาพมาก

1.2 ปริมาณและสัดส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสมตามโครงสร้างระดับการถ่ายทอดอาหารภายในระบบ เช่น จำนวนที่เหมาะสมระหว่างสัตว์ที่กินเนื้อกับสัตว์ที่กินพืช

1.3 การกระจายตัวของส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในระบบนิเวศต้องเหมาะสมกับสมรรถนะการรองรับได้ของระบบ เช่น ไม่อยู่หนาแน่นเกินไป

2. กลไกการทำงานของระบบที่คอยปรับโครงสร้างและส่วนประกอบต้องทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กลไกความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์ผู้ถูกล่า ช่วยควบคุมจำนวนประชากรสัตว์ในธรรมชาติให้มีจำนวนที่เหมาะสม

การเสียสมดุลของระบบนิเวศ

สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงสภาพการเสียสมดุลของระบบนิเวศ

               1.การเพิ่มประชากร  ทำให้ความต้องการใช้ที่ดินทำการเกษตรมากขึ้น โดยเฉพาะเขตร้อน ประชากรจะบุกเบิกป่าใหม่ ๆ เพื่อใช้พื้นที่ทำไร่เลื่อนลอยทำให้ดิน  ป่าไม้  สภาวะแวดล้อมเสียหายปีละจำนวนมาก

ความสมดุลของระบบนิเวศ ม. 3

               2. การเกษตรสมัยใหม่ การเกษตรในปัจจุบันมุ่งเพื่อการค้ามากขึ้น  มีการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงจำนวนมาก สารเหล่านี้จะตกค้างในดิน  และอาจถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ  ทำให้มีผลต่อชีวิตสัตว์ในดินและในน้ำ

ความสมดุลของระบบนิเวศ ม. 3

                3.  การขยายตัวของเมือง  การเพิ่มประชากรทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น เมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว  ทำให้พื้นที่การเกษตรถูกใช้ไปเพื่อสร้างตึก  ศูนย์การค้า  ถนน   ระบบนิเวศเปลี่ยนไป  การถ่ายเทของเสียจากเมือง  ก่อให้เกิดมลพิษของน้ำและอากาศ

ความสมดุลของระบบนิเวศ ม. 3


                4. การอุตสาหกรรม การพัฒนาอุตสาหกรรมทำให้ทรัพยากรถูกใช้เป็นวัตถุดิบมากยิ่งขึ้น
กระบวนการผลิต ทำให้มีของเสีย  เช่น  น้ำเสีย  ไอเสีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง
ระบบนิเวศในบริเวณที่โรงงานอุตสาหกรรม ตั้งอยู่และบริเวณใกล้เคียง
                   
ความสมดุลของระบบนิเวศ ม. 3

การกระทำของมนุษย์ที่ทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล

– การบุกรุกทำลายป่า

– การทำลายพันธุ์พืช สัตว์หายาก และการเคลื่อนย้ายพืช สัตว์ต่างถิ่น

– การก่อสร้างสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก

– การผลิตทางการเกษตร การใช้สารเคมีทางการเกษตร

– การขยายตัวเมือง

– การอุตสาหกรรม ซึ่งใช้ทรัพยากรมากและกระบวนการทำให้เกิดมลพิษ

การรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ

1. ควบคุม/กำจัดสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศ เช่น

– ควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม

– ป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

2. ใช้หลักการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น

– การทำการเกษตรยั่งยืน เช่น วนเกษตร เกษตรผสมผสาน

– การพัฒนาท้องถิ่นแบบยั่งยืน เช่น หลีกเลี่ยงการก่อสร้างที่ทำลายป่าไม้และสัตว์ป่า

– การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

– การจัดภูมิศาสตร์เชิงอนุรักษ์เช่น การทำสวนหย่อม สวนสาธารณะ

– การอุตสาหกรรมเชิงอนุรักษ์ เช่น มีระบบป้องกันก๊าซพิษ ระบบบำบัดน้ำเสีย

3. ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด

4. สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ระบบนิเวศให้กับประชาชน เช่น ให้ความรู้ รณรงค์ เข้าค่าย

ข้อมูลจาก http://www.prangku.ac.th/UserFiles/File/e-learning/11.html

http://human.uru.ac.th/Major_online/SOC/02Ecosystem/Life_2.htm