เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี 2 เท่า นิติบุคคล 2565

  • บทความ
  • ภาษี
  • รายการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล
เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี 2 เท่า นิติบุคคล 2565

รายการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล

เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2565 หมวดหมู่ ภาษี โดย สำนักงานบัญชี พีทูพี p2paccounting

รายการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล

เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี 2 เท่า นิติบุคคล 2565

การลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล

รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนภาษีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับ การลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้การชำระภาษีในปีนั้น ๆ มีจำนวนน้อยลง เพราะมีการหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีภาษีมากขึ้น ต่างกันเพียงแค่รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนแตกต่างจากบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยรายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้ มีดังนี้

รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้

1.การลดหย่อนภาษีในการนำเงินรายจ่ายมาหักออก 2 เท่า

สำหรับนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน SMEs ที่มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท ซึ่งมีรายได้จากการขายสินค้า/บริการในรอบปีภาษีนั้นไม่เกินจำนวน 30 ล้านบาท สามารถนำค่าใช้จ่ายในกิจการมาหักออกเป็นรายจ่ายได้ถึง 2 เท่า ไม่ว่าจะเป็นค่าสอบบัญชี ค่าจัดทำบัญชี โดยสามารถนำค่ารายการเหล่านี้ในเวลา 5 รอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน มาหักเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

2.การลดหย่อนภาษีสำหรับการเพิ่มรายจ่ายในรอบปีภาษีนั้น

รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาใช้เป็นรายจ่ายเพื่อลดหย่อนภาษี มีได้หลายรายการ เช่น

1.เงินบริจาคที่ได้บริจาคในนามของนิติบุคคล

2.การจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ทั้งนี้มีเงื่อนไขคือ ค่าจ้างนั้นต้องมีค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน/คน และต้องมีจำนวนลูกจ้างที่เป็นผู้สูงอายุไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น

3.ค่าใช้จ่ายสำหรับการฝึกอบรมพนักงาน เพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนศักยภาพของพนักงานในนิติบุคคลนั้น

4.ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน อันเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการดำเนินหรือเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจการของนิติบุคคลนั้น เช่น คอมพิวเตอร์ รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อาคารโรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร แต่ทั้งหมดนี้มีเงื่อนไขว่านิติบุคคลนั้นจะต้องมีสินทรัพย์ถาวรจำนวนไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีจำนวนพนักงานภายในนิติบุคคลไม่เกินจำนวน 200 คน 

การลดหย่อนภาษีสำคัญอย่างไร ?

การเสียภาษีทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลซึ่งถือว่าเป็น “หน้าที่” ตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีเงินได้ จะต้องชำระภาษีในรอบปีภาษีนั้น ๆ ภายในกำหนดระยะเวลา ดังนั้นหากมีการวางแผนการก่อให้เกิดรายจ่ายที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง รวมถึงยังสามารถนำรายจ่ายนั้นมาหักออกจากการคำนวณเงินได้ ตามที่กฎหมายกำหนดยินยอมให้เป็นรายการซึ่งนำมาหักได้แล้ว ก็จะเป็นผลดีต่อผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในรอบปีภาษีนั้น ๆ 

เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี 2 เท่า นิติบุคคล 2565
เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี 2 เท่า นิติบุคคล 2565

บริการรับทำบัญชี ยื่นภาษี

บางใหญ่, นนทบุรี

ด้านการบันทึกบัญชี1.ให้คำแนะนำปรึกษาด้านบัญชี-ภาษีและการจัดเก็บเอกสารขั้นพื้นฐานในการบันทึกบัญชี2.วิเคราะห์รายการเอกสารเพื่อประกอบการบันทึกบัญชีรายได้ ... [อ่านต่อ]

           เมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือเรื่องของ “ภาษี” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่คนทำธุรกิจต้องพึงระลึกไว้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเปิดบริษัท หรือทำธุรกิจในนามห้างหุ้นส่วน หรือนิติบุคคล การยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล คือภาระภาษีของคนทำธุรกิจที่ต้องจัดการ โดยกรมสรรพากรกำหนดให้นิติบุคคลต้องยื่นภาษีเงินได้ปีละ 2 ครั้ง ก็คือช่วงครึ่งปีโดยใช้ ภ.ง.ด 51 ส่วนปลายปีให้ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ด้วย ภ.ง.ด.50 เพราะการเสียภาษีเป็นอีกรายจ่ายของคนทำธุรกิจ นั่นหมายถึงกำไรที่ลดลง เลยทำให้ผู้ประกอบการมากมายคิดถึงวิธีที่จะทำให้เสี่ยงภาษีต่ำที่สุด ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ซึ่งรัฐเองก็คำนึงถึงหลักความเป็นจริงข้อนี้ เลยทำให้มีการออกมาตรการที่จะช่วย ลดหย่อนภาษี ให้กับนิติบุคคล โดยเฉพาะ SMEs ทั้งหลาย ซึ่งถือว่าเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้คนหันมาทำธุรกิจกันมากขึ้น

เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี 2 เท่า นิติบุคคล 2565

           การยื่นภาษีสำหรับ SMEs

           ธุรกิจที่จัดว่าเป็น SMEs คือ ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางซึ่งจดทะเบียนในนามนิติบุคคลที่มีจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน และมูลค่าของทรัพย์สินที่ไม่รวมที่ดินสูงสุดไม่เกิน 200 ล้านบาท รวมถึงมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาทตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งขั้นแรกจะได้รับยกเว้นภาษี สำหรับกำไรสุทธิ 3 แสนบาทแรก และได้รับการลดหย่อนอัตราภาษีเป็น 15% สำหรับกำไรสุทธิที่เกิน 3 สามแสนบาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท แต่อย่างที่บอกไปแล้วว่ายังมีมาตรการอื่น ๆ อีกที่เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีนิติบุคคล หรือ SMEs สามารถนำมา ลดหย่อนภาษี ได้

           ทำความเข้าใจการคิดภาษีนิติบุคคล

           หลักการคำนวณภาษีนิติบุคคล คือ รายได้ – รายจ่าย = กำไร แล้วนำกำไรไปคิดคำนวณภาษีที่ต้องจ่าย ถ้าอยากจะเสียภาษีให้ต่ำที่สุดก็จะต้องเพิ่มรายจ่ายให้มากที่สุด เพื่อให้กำไรดูน้อยลง ในขอบเขตของกฎหมาย มีรายจ่ายบางประเภทที่เราไม่ได้คิดว่าเป็นรายจ่ายแต่จริง ๆ แล้วสามารถนำมาคำนวนเป็นรายการรายจ่ายได้ เป็นเหมือนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กรมสรรพากรอนุญาตให้นำมา ลดหย่อนภาษี ได้

           ลดหย่อนภาษี อย่างไรได้บ้าง

  1.     ค่าจดทะเบียนบริษัท ค่าทำบัญชีและค่าสอบบัญชี หักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า

           สำหรับ SMEs ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ค่าทำบัญชี และค่าสอบบัญชี เป็นเวลา 5 รอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน มาหักเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

  1.     ค่าเสื่อมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์

           ในส่วนของคอมพิวเตอร์รวมทั้งอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือค่าจ้างทำโปรแกรม สามารถเอามาคิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 40% ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือ โดยทยอยหักภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีนับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา

  • ค่าระบบและอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์

           สำหรับร้านค้านิติบุคคล และ SMEs ที่ใช้ระบบ POS ในการคิดเงินค่าสินค้าและบริการ สามารถเอาเงินลงทุนในระบบ POS ทั้งค่าอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ค่าพัฒนาระบบ ค่าบริการระบบคลาวด์และระบบที่เกี่ยวกับ e-Tax Invoice และ e-Receipt ต่าง ๆ รวมถึงระบบที่เกี่ยวกับ Withholding Tax จากผู้ให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์ (Software) ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เฉพาะในส่วน ที่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า และจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

  • ค่าเสื่อมอาคาร โรงงาน

           อาคาร โรงงาน ที่เป็นสถานที่ประกอบการก็สามารถเอามาคิดค่าเสื่อมได้ ในราคาอัตรา 25% ของมูลค่าต้นทุน มูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักได้ ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี

           ค่าเสื่อมเครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักร

           เครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรเป็นอีกหนึ่งต้นทุนการผลิตที่มีค่าลดลงตามกาลเวลา สามารถเอามาคิดค่าเสื่อมราคาได้ ด้วยอัตรา 40% ของมูลค่าต้นทุน ส่วนมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี นับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา

           ค่าจ้างงานผู้สูงอายุ

           เพื่อส่งเสริมให้มีการกระจายรายได้ไปสู่ผู้สูงอายุ เลยสนับสนุน SMEs ที่จ้างงานผู้สูงอายุ โดยสามารถเอาค่าจ้างผู้สูงอายุมาเป็นรายจ่ายของนิติบุคคลได้ โดยสามารถหักเป็นรายจ่ายได้ถึง 2 เท่า แต่พนักงานที่จัดว่าเป็นผู้สูงอายุต้องมีเงื่อนไขดังนี้

  • มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • เป็นลูกจ้างบริษัทอยู่ก่อนแล้วหรือขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน
  • ค่าจ้างจะต้องไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท
  • มีการจ้างงานผู้สูงอายุไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด
  • ผู้สูงอายุต้องไม่เป็นและไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จ้างหรือบริษัทในเครือ

           ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้าง

           สำหรับ SMEs ที่มีการส่งพนักงานไปฝึกอบรม หรือจัดการอบรมเผื่อพัฒนาศักยภาพของลูกจ้าง สามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาเป็นรายจ่ายที่ลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้

กรณีส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม

  • ค่าใช้จ่ายในการศึกษาเช่น ค่าเล่าเรียนหรือค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม เช่น ค่าลงทะเบียน รวมถึงค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทางที่สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมเรียกเก็บจากบริษัท
  • มีใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรม
  • กำหนดเงื่อนไขให้เข้าทำงานหลังศึกษาหรือฝึกอบรมเสร็จ
  • จัดทำรายงานหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว

กรณีฝึกอบรมให้ลูกจ้างของตนเอง

  • เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาแรงงานหรือฝีมือของลูกจ้าง ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงแรงงาน และค่าใช้จ่ายเป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงแรงงาน
  • ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกิจการ
  • ต้องจัดทำทะเบียนลูกจ้างเพื่อเป็นหลักฐานการทำงาน
  • กำหนดเงื่อนไขให้เข้าทำงาน
  • อุปกรณ์ที่จะใช้ในการฝึกอบรมต้องกำหนดขนาดและคุณสมบัติ เพื่อมิให้ปะปนกับที่ใช้ในการประกอบกิจการตามปกติของบริษัท

           เงินบริจาค

           งานบริจาคที่ทางนิติบุคคล SMEs บริจาคให้กับองค์กร มูลนิธิ หรือที่อื่น ๆ ก็สามารถเอามาใช้ลดหย่อนภาษีได้ แต่มีเงื่อนไขดังนี้

  • บริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สามารถนำมาหักรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนเงินหรือมูลค่าที่บริจาค แต่ต้องไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย
  • บริจาคให้กับสถาบันการศึกษา ทั้งภาครัฐ, เอกชน และสถาบันอุดมศึกษา ที่มีศักยภาพสูง ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีสามารถนำมาหักรายจ่ายได้ 2 เท่า แต่ต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศล
  • บริจาคให้กับกองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม รวม 4 กองทุน สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค เมื่อรวมกับรายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายที่กำหนดแล้วต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย

           จะเห็นได้ว่าโอกาสเพิ่มรายได้มีอยู่เสมอ คนทำธุรกิจ ผู้ประกอบการ SMEs ทั้งหลาย ลองนำคำแนะนำเรื่องการลดหย่อนภาษีด้านบนไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจของคุณดู เพื่อครั้งต่อไปที่ต้องเสียภาษี จะได้จ่ายภาษีน้อยลงกัน

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี 2 เท่า นิติบุคคล 2565

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​
[COVID-19] ขยายเวลายื่นภาษี เยียวยาผลกระทบเชื้อไวรัสโควิด
กรมสรรพากร ขยายเวลายื่นภาษีพร้อมงัดมาตรการสนับสนุนหวังกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม
ค่าปรับสำหรับผู้ที่ยื่นภาษีล่าช้า
เงินเดือนไม่ถึงเกณฑ์การเสียภาษี ต้องยื่นภาษีหรือเปล่า
เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ