ระยะด็อตพิชของจอแสดงผล

 หลักการเลือกซื้อจอภาพของคอมพิวเตอร์ มีหลักการอย่างไร

จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสงเป็นภาพบน จอภาพ แบ่งเป็น 3 ประเภท

1.จอภาพ CRT 

ระยะด็อตพิชของจอแสดงผล

คือ จอภาพที่รับสัญญาณภาพแบบอะนะล็อก พัฒนามาจากหลอดภาพโทรทัศน์ด้วยการใช้หลอดภาพในการแสดงผลเช่นเดียวกันคะ จอซีอาร์ที จะทำงานโดยอาศัยหลอดภาพที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ซึ่งมีสารประกอบของฟอสฟอรัสฉาบอยู่ที่ผิว เมื่อถูกแสงอิเล็กตรอนมากระทบ  สารเหล่านี้เจะกิดการเรืองแสงขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นภาพนั่นเอง

2. จอภาพ LCD

ระยะด็อตพิชของจอแสดงผล

จอภาพ LCD คือ จอแสดงผลแบบ (Digital ) ที่ใช้วัตถุที่เป็นผลึกเหลว (liquid crystal) แทนการใช้หลอดภาพในจอซีอาร์ที และใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ในการผลิตแสงสว่าง จึงทำให้จอภาพแอลซีดีใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าจอแบบซีอาร์ทีประมาณหนึ่งในสามโดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น

3. จอภาพ LED

ระยะด็อตพิชของจอแสดงผล

จอภาพ LED ใช้หลอดแอลอีดีมาเรียงกันบนพาแนลแล้วทำให้เกิดภาพด้วยการติด ดับของหลอดแอลอีดีซึ่งก็ได้ภาพที่ตาเรามองออกมา ซึ่งในเหล่านี้มันยังมีราคาสูงมากๆ

ความเหมาะสมกับการใช้งาน

1. งานเอกสาร หรือ ในสำนักงาน ควรเลือกจอภาพ ขนาด 17-19 นิ้วเพื่อถนอมสายตา

2. งานกราฟฟิก ควรเลือกจอภาพ ขนาด 19-21 นิ้ว

3. งานออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติ ควรเลือกจอภาพ ขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว

4. ใช้งานทั่วไป 14-15 นิ้ว

หลักการเลือกซื้อจอภาพคอมพิวเตอร์

1. ควรเลือกจอภาพขนาด 15 นิ้วขึ้นไปเป็นอย่างน้อย เพราะปัจจุบันจอภาพ 15 นิ้ว มีราคาสูงกว่าจอภาพขนาด 14 นิ้วเล็กน้อยเท่านั้น

2. ควรเลือกจอภาพที่มีค่าระยะด็อตพิชต์ต่ำๆ เพราะจะทำให้ภาพออกมาคมชัด

3. เลือกจอภาพที่สามารถเลือกความละเอียดได้หลายโหมด

4. ควรเลือกแบบจอแบน เพราะจอแบนจะมีคุณสมบัติในการหักเหของแสงสะท้อนที่ตกกระทบบนจอภาพออกไปในทิศทางที่หลบออกจากสายตาผู้ใช้

5. ตรวจดูปุ่มรับการควบคุมจอภาพต่างๆ ว่าสามารถปรับอะไรได้บ้าง ใช้งานง่ายและสะดวกหรือไม่

6. จอภาพที่นิยมใช้ ได้แก่ ADI, CTX, LG, MAG, Panasonic,  Philips,  SONY,  Sumsung, Viewsonic เป็นต้น

                   Hard  Disk   ฮาร์ดดิสก์

ระยะด็อตพิชของจอแสดงผล

        Hard Disk   คือ  อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก  สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรม  และข้อมูลต่างๆ  เนื่องจาก  Hard Disk  เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี  Hard Disk  ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ  Hard Disk   จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก  Hard Disk 

ส่วนประกอบของ Hard Disk  

ระยะด็อตพิชของจอแสดงผล

      1. แขนของหัวอ่าน ( Actuator Arm )

      2 . หัวอ่าน ( Head )

      3. แผ่นจานแม่เหล็ก ( Platters )

      4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก         
           (Spindle Moter )

      5. เคส ( Case )

ชนิดของ Hard Disk แบ่งตามการเชื่อมต่อ (Interface)

      1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics)

        Hard Disk แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk  ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ Hard Disk ได้สูงสุด 4 ตัว ความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่ 504 MB

ระยะด็อตพิชของจอแสดงผล

   รูป  Mainboard  แสดง Slot IDE บนแผงวงจร

      2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)

     Hard Disk แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดย Hard Disk ที่ทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า 504 MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์/ วินาที

วิธีการรับส่งข้อมูลของ Hard Disk แบบ E-IDE แบ่งออกเป็น 2 โหมด คือ  PIO และ DMA

โหมด PIO (Programmed Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของซีพียู คือรับข้อมูลจาก Hard Disk เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง Hard Disk การทำงานในโหมดนี้จะเน้นการทำงานกับซีพียู  ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk  บ่อยครั้งหรือการทำงานหลาย ๆ งานพร้อมกันในเวลาเดียวที่เรียกว่า Multitasking environment

โหมด DMA  (Direct Memory Access) จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ส่งผ่านข้อมูลหรือติดต่อไปยังหน่วยความจำหลัก (RAM) ได้โดยตรงโดยไม่ต้องติดต่อไปที่ซีพียูก่อนเหมือนกระบวนการทำงานปกติ ทำให้ซีพียูจัดการงานได้รวดเร็วขึ้น

      3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface)

      Hard Disk แบบ SCSI เป็น Hard Disk ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE โดย Hard Disk แบบ SCSI จะควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะ เรียกว่า การ์ด SCSI สำหรับการ์ด SCSI นี้ สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง 7 ชิ้นอุปกรณ์ ผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของ แบบ SCSI มีความเร็วสูงสุด 320 เมกะไบต์/วินาที  กำลังรอบในการหมุนของจานดิสก์ปัจจุบันแบ่งเป็น 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ซึ่งมีความเร็วที่มากกว่าประเภท E-IDE  ดังนั้น  Hard Disk แบบ SCSI จะนำมาใช้กับงานด้านเครือข่าย (Server) เท่านั้น

ระยะด็อตพิชของจอแสดงผล

 อุปกรณ์ Hard Disk ที่เป็น SCSมีการ์ดสำรูปแสดง หรับI

      4. แบบ Serial ATA

      เป็นอินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เมื่อการเชื่อมต่อในลักษณะParallel ATA หรือ E-IDE เจอทางตันในเรื่องของความเร็วที่มีความเร็วเพียง 133 เมกะไบต์/วินาทีส่วนเทคโนโลยีเชื่อมต่อรูปแบบแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA ให้อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกะไบต์/วินาที โดยเทคโนโลยี Serial ATA นี้ถูกคาดหวังว่าจะสามารถ ขยายช่องสัญญาณ (Bandwidth) ในการส่งผ่านข้อมูลได้เพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า และยังรองรับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะ Hard Disk เพียงเท่านั้นที่จะมีการเชื่อมต่อในรูปแบบนี้ แต่ยังรวมไปถึง อุปกรณ์ตัวอื่น ๆ อย่าง CD-RW หรือ DVD อีกด้วย

ระยะด็อตพิชของจอแสดงผล

                                                  สายสัญญารูปแสดง แบบ

Serial ATA

      Serial ATA ในปัจจุบัน

     ปัจจุบัน Parallel ATA กำลังถูกแทนที่ด้วย Serial ATA เนื่องจากปัญหาคอขวดที่เป็นอยู่คือ  มาตรฐานความเร็วการถ่ายโอนข้อมูลบนคอนโทรลเลอร์ขนาด 40 พิน แม้จะสามารถทำเส้นทางรับ-ส่งเป็น 80 เส้น  ความเร็วก็ไม่เกิน 133 เมกะไบต์/วินาที ขณะที่ Serial ATA มีขนาดของสายรับ-ส่งสัญญาณ  เพียง 7 พิน  มีอัตราเร็วขั้นต้นของ Serial ATA ในขั้นแรกที่ 1.5 กิกะบิต/วินาที และสิ่งที่โดดเด่นของ Serial ATA คือ Serial ATA II กับมาตรฐานความเร็ว 3.0 กิกะบิต/วินาที  และสูงสุดถึง 6.0 กิกะบิต/วินาที  ซึ่งเป็นเร็วที่สามารถสนับสนุนกับอุปกรณ์ที่จะออกมาได้ถึง 10 ปีเลยทีเดียว  โดยก่อนหน้าที่จะกำเนิด Serial ATA II แบบเต็มตัวนั้นสิ่งที่มาก่อนก็คือการรองรับเทคโนโลยี Native Command Queuing หรือ NCQ ที่มีเฉพาะ Serial ATA เท่านั้น สิ่งหนึ่งที่ได้จากเทคโนโลยี NCQ ก็คือความรวดเร็วในการเรียงชุดคำสั่งแบบใหม่ที่เลือกคำสั่งที่ใกล้ก่อน  ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของ Hard Disk  และระบบเร็วขึ้น

  เทคโนโลยี Native Command Queuing (NCQ)

ระยะด็อตพิชของจอแสดงผล

                                                          (a) แบบไม่มี   NCQ             (b) แบบ  NCQ 

                                        รูปแสดง  การอ่านข้อมูลของ ฮาร์ดดิสก์ 

        การบำรุงรักษา
                 การ Defrag ซึ่งก็คือการจัดเรียงข้อมูลใน Hard Disk เสียใหม่เพื่อให้ Hard Disk ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ทุกครั้งที่เราเขียนข้อมูล ไม่ว่าจะด้วยการติดตั้งโปรแกรมใหม่ หรือว่าใช้คำสั่ง Save จากโปรแกรมใดๆ ก็ตาม หรือการ Download ข้อมูล Program จาก Internet รวมไปถึงการ Copy ข้อมูลลงไปใน Hard Disk นั้น สิ่งที่เครื่อง คอมพิวเตอร์ต้องสั่งให้ Hard Disk ทำคือ เขียนข้อมูลเหล่านั้นลงไปบนพื้นที่ว่างบน Hard Disk ซึ่งการเขียนข้อมูลของ Hard Disk นั้นจะไม่เหมือนกับการเขียนข้อมูลในหนังสือหรือกระดาษอย่างที่เราทำกัน แต่โครงสร้างของ Drive จะแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เป็นบล็อกอย่างที่เรารู้จักกันคือ Cluster ในการเขียนข้อมูลนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องเข้าไปจองพื้นที่เป็น Cluster โดยที่ไม่สนใจว่าจะใช้เต็มพื้นที่หรือไม่ ถ้าข้อมูลมีขนาดใหญ่เกินไปก็จะใช้พื้นที่หลายๆ Cluster ซึ่งจะว่าไปแล้วในตอนแรกนั้นข้อมูลก็ยังคงจะเรียงกันอย่างเป็นระเบียบอยู่อย่างที่ควรจะเป็น แต่ว่าเมื่อมีการใช้งานหนักเข้าเรื่อยๆ โดยเฉพาะ Application ต่างๆ บนวินโดวส์จำเป็นต้องมีการเปิด File หลายๆ File พร้อมกัน รวมทั้งมีการเขียนและลบ File บ่อยๆ จะทำให้ข้อมูลกระจายออกไป

ปัจจัยในการเลือกฮาร์ดดิสก์

                   ขนาดความจุจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการใช้งาน  แต่ที่เป็นมาตรฐานอยู่ในขณะนี้คือ 4.3 กิกะไบต์

                   ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE ควรเลือกมาตรฐานการส่งผ่านข้อมูลชนิด Ultra DMA/66

                   ความเร็วในการหมุนแผ่นจานแม่เหล็กหรือความเร็วรอบ (RPM) มี 2 ระดับให้เลือกคือ 5400, 7200 RMP

                   หน่วยความจำบัฟเฟอร์ (Buffer) มี 2 แบบ คือ 512K, 2MB

                   การรับประกัน (Warranty) ควรเลืกแบบที่มีการรับประกัน 3 ปี

                   ยี่ห้อของฮาร์ดดิสก์  ได้แก่  IBM, Maxtor, Quantum, Seagate, Westerm

                          จอภาพ (MONITER)

ระยะด็อตพิชของจอแสดงผล

     จอภาพ คือ ส่วนที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของซีพียู ผ่านทางการ์ดแสดงผล คุณภาพของภาพที่ได้จะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการ์ดแสดงผลและจอภาพประกอบกัน ในการเลือกจอภาพควรเลือกจอที่มีคุณภาพ เพราะมันคือสิ่งที่เราต้องทำงานกับมันโดยตรง ถ้าเราเลือกจอที่มีคุณภาพดีมีขนาดใหญ่พอ เป็นจอที่มีระบบป้องกันรังสีและมีการสะท้อนของแสงน้อย เราก็สามารถทำงานได้นานโดยไม่เมื่อยล้า

หลักการทำงานของจอภาพ

      ภาพที่ปรากฏบนจอภาพนั้นเกิดจากการยิงลำแสงอิเล็กตรอนของหลอดภาพไปยังผิวด้านในของจอภาพ ซึ่งจะมีสารฟอสเฟตฉาบเอาไว้ และเมื่อสารนี้โดนแสงก็จะถูกกระตุ้นให้เปล่งแสงออกมา จุดดังกล่าวนี้เราเรียกว่า ฟิกเซล (Pixel) สำหรับการแสดงผลได้เป็นภาพออกมาได้นั้น เกิดจากการวาดภาพบนจอภาพซ้ำหลายๆภาพใน 1 วินาที เพื่อให้ได้ภาพที่เราเห็นในจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งการวาดภาพบนจอภาพซ้ำหลายๆภาพใน 1 วินาที  นี้เราเรียกว่า การรีเฟรช  (Refresh)

 คุณสมบัติที่สำคัญของจอภาพ

                   ระยะด็อตพิชต์ (Dot  Pitch) คือ ระยะห่างระหว่างจุดบนจอภาพ โดยระยะห่างยิ่งน้อยภาพก็ยิ่งคมชัด ค่าของระยะด็อตพิชต์ จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.24-0.28 มิลลิเมตร

                   ความละเอียด (Resolution) คือ จำนวนของจุดหรือพิกเซลที่จอภาพสามารถนำมาแสดงผลบนจอภาพได้ จำนวนจุดยิ่งมากก็จะทำให้จอภาพที่ได้มีความคมชัดขึ้น จอภาพส่วนใหญ่สามารถที่จะแสดงผลในความละเอียดได้ในหลายๆโหมด

                   ขนาดของจอภาพ(Monitor Side) มีตั้งแต่ 14-21 นิ้วแต่ที่ใช้งานกันจะเป็นจอขนาด 14 15 และ 17 นิ้ว  ซึ่งขนาดดังกล่าวเป็นขนาดที่วัดในแนวทะแยง

                   อัตราการรีเฟรช (Refresh Rate) คือ จำนวนครั้งในการวาดหน้าจอใหม่ใน 1 วินาที อัตราการ

รีเฟรชต่ำสุด คือ  72 ครั้ง ใน 1 วินาที ถ้าช้ากว่านี้ภาพจะกระพริบทำให้ผู้ใช้เกิดอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อตาเมื่อทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

   จอคอมพิวเตอร์แบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) หรือ Liquid Crystal Display

        การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT Monitor ซีอาร์ที มอนิเตอร์  แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD Monitor แอลซีดี มอนิเตอร์  มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT Monitor อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD Monitor นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน

จอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์)

ระยะด็อตพิชของจอแสดงผล
ระยะด็อตพิชของจอแสดงผล

           ช่องต่อแบบ D-Sub 15pin และแบบ DVI ที่อยู่บนกราฟิกการ์ด , จอภาพที่มีช่อต่อทั้งแบบ D-Sub 15pinและแบบ DVI

ปัจจัยจอภาพในการเลือก

ควรเลือกจอภาพขนาด 15 นิ้วขึ้นไปเป็นอย่างน้อย เพราะปัจจุบันจอภาพ 15 นิ้ว มีราคาสูงกว่าจอภาพขนาด 14 นิ้วเล็กน้อยเท่านั้น

 ควรเลือกจอภาพที่มีค่าระยะด็อตพิชต์ต่ำๆ เพราะจะทำให้ภาพออกมาคมชัด

เลือกจอภาพที่สามารถเลือกความละเอียดได้หลายโหมด

ควรเลือกแบบจอแบน เพราะภาพที่ได้จะมีสัดส่วนที่ถูกต้องเป็นธรรมชาติมากกว่าจอแบบปกติ เนื่องจากบริเวณขอบทั้ง 4 ด้านจะเป็นเส้นตรง ซึ่งทำให้เส้นขอบยังคงตรงเป็นแนวที่ถูกต้อง ไม่นูนหรือโป่งออกเหมือนจอภาพแบบปกติ และจอแบนจะมีแสงสะท้อนน้อย เพราะจอแบนจะมีคุณสมบัติในการหักเหของแสงสะท้อนที่ตกกระทบบนจอภาพออกไปในทิศทางที่หลบออกจากสายตาผู้ใช้

ตรวจดูปุ่มรับการควบคุมจอภาพต่างๆ ว่าสามารถปรับอะไรได้บ้าง ใช้งานง่ายและสะดวกหรือไม่

จอภาพที่นิยมใช้ ได้แก่ ADI, CTX, LG, MAG, Panasonic,  Philips,  SONY,  Sumsung, Viewsonic เป็นต้น