พัฒนาการด้าน การเมือง การปกครอง เอเชีย กลาง

          แม้คนพื้นเมืองในเอเชียกลางจะทนทุกข์ทรมานกับการปรับตัวอย่างขนานใหญ่ของพวกเขาภายใต้ระบบสังคมนิยมโซวียต แต่วิถีชีวิตในแบบพวกเร่ร่อนของพวกเขาที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกมานานนับศตวรรษซึ่งสั่งสมอยู่กับวิถีการผลิตที่ล้าหลัง กำลังถูกเปลี่ยนไปในสภาพที่ดีขึ้นในแบบมาตรฐานของชาวตะวันตก มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานอย่างขนานใหญ่และเป็นระบบในทุกรัฐของเอเชียกลาง การแบ่งงานระหว่างประเทศตามทรัพยากรที่แต่ละสาธารณรัฐมีและการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างขนานใหญ่ที่ตามมา โรงงานอุตสาหกรรมแขนงต่างๆ มาพร้อมกับการสร้างชนชั้นปัญญาชน วิศวกร แพทย์และนักวิชาการของคนพื้นเมืองขึ้น แม้ในทาจิกิสถานซึ่งยังมีซากเดนของวิถีชีวิตในยุคกลางหลงเหลืออยู่มากก็ตาม ระบบการศึกษาแบบสมัยใหม่ทำให้คนในสาธารณรัฐเอเชียกลางอ่านออกเขียนได้ในจำนวนที่มากกว่าคนในอัฟกานิสถานซึ่งมีบรรพบุรุษเดียวกันเสียอีก มีโรงเรียนและมหาวิทยาลัยมากกว่าที่ปากีสถานและอิหร่านมี ที่สำคัญ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในเรื่องปรัชญาสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในเอเชียกลาง โดยเฉพาะ บทบาทของชาวพื้นเมืองในการเมืองการปกครอง ความเสมอภาคทางเพศและสิทธิของสตรีในภาคการผลิตและในทางสังคม

คนที่เคยพบคบค้ากับคนคาซัคมักถามผมถึงสาเหตุที่ทำให้คนคาซัคแตกต่าง ผมตอบว่ามาจากการที่คาซัคสถานมีนํ้ามันมาก แต่มีพลเมืองน้อย (17 ล้านคน) คาซัคสถานมีพื้นที่ 2.7 ล้านตารางกิโลเมตร (ใหญ่กว่าไทยเกือบ 5 เท่า) เมื่อได้เงินจากการขายนํ้ามัน รัฐบาลคาซัคแต่ละยุคทุกสมัยก็อัดเรื่องการศึกษาของเยาวชนเต็มกำลัง ตอนที่แยกประเทศออกมาใหม่ๆ นักศึกษาคาซัคได้ทุนจากรัฐบาลมาเรียนในไทยจำนวนไม่น้อย เรายังเจอนักเรียนทุนรัฐบาลคาซัคในสิงคโปร์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง สหรัฐฯ และประเทศในยุโรป พวกนี้ตั้งหน้าตั้งตาเรียนโดยไม่ต้องทำงาน เพราะเงินจากทรัพยากรธรรมชาตินํ้ามันมีเหลือเฟือ เรื่องนี้ทำให้องค์ความรู้จากทั่วโลกไหลไปรวมกันอยู่ที่คาซัค

บริษัท บาลานซ์ โนว์เล็จ ดีไซน์ จำกัด เคยรับงานเป็นที่ปรึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอของไทย เพื่อนำนักลงทุนไทยไปหาโอกาสด้านการค้าการลงทุนในประเทศตลาดใหม่ หนึ่งในประเทศตลาดใหม่ในสมัยนั้นคือ คาซัคสถาน บริษัทฯ เตรียมล่ามภาษารัสเซียและภาษาคาซัค เพื่อใช้ในการเจรจา แต่ปรากฏว่าไม่ได้ใช้สักแห่งเดียว เพราะไม่ว่าจะระดับรัฐมนตรี อธิบดี และหัวหน้าหน่วยงานที่เราเข้าไปเจรจา สนทนาด้วยภาษาอังกฤษดีมาก คนที่รับผิดชอบของรัฐบาลและเอกชนส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ

ผิดกับสาธารณรัฐคีร์กิซ ซึ่งมีพรมแดนประชิดติดกับคาซัคสถาน เป็นสาธารณรัฐที่ไม่มีทรัพยากรน้ำมัน รัฐบาลไม่ค่อยสนใจไยดีเรื่องการศึกษา การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้า ผมเคยติดตามทีมของ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย ตระเวนตั้งแต่เหนือสุดยันใต้สุดของคีร์กีซ ทั้งที่ในตอนนั้นแยกจากโซเวียตมานาน 20 ปีแล้ว แต่คีร์กีซยังไม่มีความก้าวหน้าอย่างเห็นเด่นชัด ผู้คนยังทำกสิกรรมแบบดั้งเดิม โครงสร้างพื้นฐานทั้งหลาย ทั้งถนนหนทาง ยังไม่ได้มาตรฐาน

อุซเบกิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากรน้ำมันเช่นกัน แต่รัฐบาลอุซเบ็กก็พยายามดิ้นรนด้วยการเชื้อเชิญประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศมาก่อนเข้าไปช่วยปรับปรุงระบบการศึกษา อย่างเช่น ตุรกี เกาหลีใต้ หรือแม้แต่สิงคโปร์ ซึ่งไปสร้างมหาวิทยาลัยของตัวเองกลางกรุงทัชเคนต์ เมืองหลวงของอุซเบกิสถาน

คุณภาพชีวิตของชาวอุซเบ็กที่ผมตระเวนร่วมทีมกับอาจารย์นิติภูมิธณัฐ มากกว่า 5 ครั้งในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีความก้าวหน้าพอสมควร แม้ว่าจะไม่ได้มีคนจบการศึกษาจากต่างประเทศมากเท่ากับคาซัคสถาน แต่การที่ดึงประเทศต่างๆ
เข้ามาสร้างสถานศึกษาและสถานฝึกอบรมในประเทศอย่างจริงจัง ทำให้อุซเบกิสถานเป็นอีกประเทศหนึ่งในเอเชียกลางที่มีอนาคต

การเลือกตั้งประธานาธิบดีอุซเบกิสถานครั้งล่าสุด คณะกรรมการการเลือกตั้ง และรัฐบาลอุซเบกิสถานเชิญอาจารย์นิติภูมิธณัฐให้เดินทางไปเป็นผู้สังเกตการณ์นานาชาติ ซึ่งต้องตระเวนไปตามเมืองต่างๆทั้งประเทศ การไปคราวนี้ มีการพบว่าผู้นำรุ่นใหม่ไม่ว่าในระดับเทศบาลจังหวัด หรือภูมิภาค เป็นคนรุ่นใหม่อายุน้อยแทบทั้งสิ้น

พัฒนาการของสาธารณรัฐทาจิกิสถานหลังจากแยกตัวจากสหภาพโซเวียตคล้ายกับสาธารณรัฐคีร์กีซ การที่รัฐบาลไม่ค่อยสนใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทาจิกิสถานจึงยังเป็นประเทศที่ลำบาก ผู้คนมีปัญหาทางเศรษฐกิจโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆของประเทศยังล้าหลัง

วันนี้ขออนุญาตอัปเดตความเป็นไปในเอเชียกลางเพียงเท่านี้ครับ สรุปสั้นๆว่า การทุ่มเทกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำคัญกับความเจริญของประเทศชาติบ้านเมืองอย่างมากครับ.

พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมืองการปกครองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกยุคกลางมี การค้าขายกับต่างประเทศ การเผยแผ่ศาสนาต่าง ๆ การพัฒนาด้านเกษตรกรรม ศิลปะและอุตสาหกรรม จัดระบบการเมืองการปกครอง แบ่งชนชั้น ตั้งระบบการศึกษา

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์

1. นักเรียนสามารถอธิบายพัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกยุคกลางได้โดยอภิปราย                  

2. นักเรียนสามารถใช้กระบวนการกลุ่มในการสืบค้นและอธิบายพัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกยุคกลางได้ถูกต้อง             

3. นักเรียนสามารถอภิปรายถึงความสำคัญของการศึกษาพัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกยุคกลางได้อย่างมีเหตุผล

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

         สภาพภูมิศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียกลางมีความแตกต่างกันส่งผลให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่จึงทำให้พัฒนาการทางประวัติศาสตร์แตกต่างจากภูมิภาคอื่นต้องดำเนินชีวิตอยู่อย่างเร่ร่อน มีความอดทนต่อความลำบากจึงถือเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนชนชาติอื่น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ส4.2 ม.2/1 อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของภูมิภาคเอเชีย

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. บอกและอธิบายพัฒนาการด้านการเมืองการปกครองของภูมิภาคเอเชียกลางได้

2. เชื่อมโยงเหตุการณ์ด้านการเมืองการปกครองของภูมิภาคเอเชียกลางได้

ด้านทักษะและกระบวนการ

1. วิเคราะห์พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคเอเชียกลางที่มีต่อการพัฒนาประเทศในเวลาต่อมา

2. อภิปรายเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการทางด้านด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคเอเชียกลาง

ด้านคุณลักษณะ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่รู้ใฝ่เรียน

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

คุณลักษณะเฉพาะ

1. นักเรียนเห็นประโยชน์ของการศึกษาพัฒนาการด้านการเมืองการปกครองของภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ที่มีต่อการพัฒนาประเทศในเวลาต่อมา

เอเชียกลางมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ด้านการเมืองการปกครองในอดีตเป็นแบบใด

เอเชียกลางเป็นดินแดนที่เคยรวมอยู่กับสหภาพโซเวียตที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์และใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม แม้ได้รับเอกราชการปกครองตนเองและหันมาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมแล้วแต่ระบบเก่าที่ฝังรากลึกอยู่เกือบร้อยปีทำให้ความเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคนี้เป็นไปอย่างล่าช้า

เอเชียกลางปกครองแบบใด

เอเชียกลางเป็นดินแดนที่เคยรวมอยู่กับสหภาพโซเวียตที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์และใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม แม้ได้รับเอกราชการปกครองตนเองและหันมาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมแล้ว แต่ระบบเก่าที่ฝังรากลึกอยู่เกือบร้อยปี ทำให้ความเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคนี้เป็นไปอย่างล่าช้า

พัฒนาการทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียกลางเป็นอย่างไร

ภูมิภาคเอเชียกลางเป็นภูมิภาคที่เกิดใหม่หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย ในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายแพรไหม แต่เนื่องจากเป็นดินแดนที่ไม่มีทางออกสู่มหาสมุทร และอยู่ไกลศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันจึงไม่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเท่าที่ควร ปัจจุบันรายได้ส่วนใหญ่มาจากการค้าน้ำมัน

ปัจจุบันประเทศใดที่เข้ามามีบทบาทสําคัญในภูมิภาคเอเชียกลาง

Q. ปัจจุบันประเทศใดที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียกลาง answer choices. รัสเซีย