การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย

                   ลักษณะทางร่างกาย (Physical Characteristics) เด็ก 6 ขวบจะเป็นนักสำรวจและนักผจญภัย พลังของเขาไม่มีขีดจำกัด จะส่งเสียง ไม่ยอมหยุด (restless) ร่าเริง ในการเล่นจะเล่นปล้ำ แกว่ง กระโดด สร้าง เล่นลูกบอล วิ่ง ขี่จักรยาน 3 ล้อ เล่นเกมกลุ่ม ปีน และเล่นที่ห้อยโหนทั้งหลาย ความต้องการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อย่อยจะปรากฎขึ้น จะกระตือรือร้นในการเล่น จะเล่นจนเหนื่อยหอบ


การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย

กลุ่มที่ 4

พัฒนาการและการเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัย

         การเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัยจะแตกต่างไปจากวิธีการเรียนรู้ภาษาของผู้ใหญ่เนื่องจากระดับวุฒิภาวะทางสติปัญญาของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ เด็กยังไม่สามารถคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ ไม่สามารถใช้อวัยวะทุกส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาทางภาษาได้อย่างเต็มที่ ความสามารถเหล่านี้ขึ้นอยู่กับระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย และเนื่องจากภาษามีคุณสมบัติที่เป็นนามธรรม จึงต้องใช้สัญลักษณ์พิเศษแทนความหมาย ซึ่งเด็กเล็กจะเรียนรู้ภาษาได้จากการได้ยินได้ฟังการพูดของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู หรือจากการดำรงชีวิตประจำวันเมื่ออยู่ที่บ้าน จากนั้นเมื่อมาอยู่ในสถานศึกษาเด็กจะเรียนรู้จากครูและผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยการเลียนแบบเสียงที่ได้ยินจากผู้อื่นก่อนและจะสะสมคำแล้วสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นเอง ด้วยการนำคำที่สะสมไว้มาผสมผสานกันเพื่อเปล่งเสียงออกมา พัฒนาการต่อมาเมื่อเด็กโตขึ้น ก็จะเพิ่มคำเรื่อย ๆ และผูกเป็นประโยคตามขั้นตอนหรือพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาของเด็ก อย่างไรก็ตามเพื่อให้เด็กเรียนรู้ภาษาเป็นไปตามพัฒนาการ พ่อแม่ ครูผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องจัดประสบการณ์ทางภาษาให้มีความหมายกับเด็กประกอบกับการแสวงหาแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่หลากหลายให้เหมาะสมกับความแตกต่างของเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อเด็กจะได้เกิดการเรียนรู้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด




ความหมายของภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                   ภาษามีความหมายต่างกันดังนี้ ในแง่ภาษาศาสตร์ ภาษา หมายถึง ภาษาที่ใช้พูดเพื่อสื่อความหมาย ดังนั้นภาษาในประเด็นนี้จึงรวมเอาวิธีการทุกอย่าง ที่ใช้ติดต่อสื่อความหมายหรือเพื่อแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ภาษาจึงหมายถึงการพูด การเขียน การทำท่าทางประกอบ การแสดงสีหน้า และการใช้ภาษาใบ้ เป็นต้น ด้านการศึกษา ภาษาเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ภาษาจึงหมายถึงการติดต่อระเบียบของการติดต่อ สัญลักษณ์ที่ใช้แสดงแทนความคิดและความเข้าใจในลักษณะของการติดต่อนั้น ๆ 

                   พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2546 (2546 : 822) ให้ความหมายของภาษาว่า คือ ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความหมายของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความหมายเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความหมายได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ

                   ราศี  ทองสวัสดิ์ (2546 : 178) ภาษาเป็นสื่อกลางในการตกลง บอกกล่าวทำความเข้าใจระหว่างบุคคล เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ช่วยให้คนเราคิดและวินิจฉัยคุณภาพของสติปัญญา ภาษาเป็นสิ่งที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ และความเจริญ ของคนในชาติ ภาษานับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เพราะภาษาเป็นทั้งมวลประสบการณ์ และเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ ถ้าขาดการสื่อสสารสาระสำคัญนี้แล้วมนุษย์คงไม่สามารถรวมเป็นสังคมได้ ทั้งนี้เพราะมนุษย์มิอาจที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวตามลำพัง แต่จะต้องไปมาหาสู่กัน ต้องรวมเป็นเหล่า ภาษาที่ใช้นั้น จะเป็นเครื่องมือสื่อสาระสำคัญและความเข้าใจ สามารถรู้เรื่องกันได้

                   สรุปได้ว่า ภาษาคือ สื่อกลางในการทำความเข้าใจระหว่างบุคคล สามารถรู้เรื่องกันได้ ด้วยท่าทาง สัญลักษณ์ การพูด การเขียน การแสดงสีหน้า ซึ่งรวมเอาวิธีการทุกอย่าง ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกัน ในการติดต่อกัน ภาษาจึงเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของมนุษย์ให้มีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ให้มีความเป็นอยู่เป็นสังคม เพราะมนุษย์ไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ ต้องติดต่อ พึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งจะต้องใช้ภาษาเป็นสื่อกลางในการทำความเข้าใจและรู้เรื่องกันได้


ความสำคัญของภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                   ภาษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกันในสังคม ดังนั้นทุกคนในสังคมจะต้องรู้จักพูดจาสื่อความหมายและใช้ภาษาของตนให้ถูกต้อง ในการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เด็กควรที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับระบบเสียงเป็นสำคัญ ควรเป็นการเตรียมความพร้อมในการสื่อสารให้กับเด็ก โดยเด็กจะเรียนรู้พื้นฐานของภาษาได้อย่างรวดเร็ว จากการจัดกิจกรรมอย่างไม่เป็นทางการ


                   2.1 เด็กสามารถจะใช้ภาษาเพื่อการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นและเปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการทางสังคมขึ้น


                   2.2 เด็กสามารถใช้ภาษาเป็นคำพูดที่เกิดขึ้นจากภายในจากรูปแบบการคิดโดยระบบของการใช้สัญลักษณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางภาษาในระดับต่อไป


                   2.3 ภาษาเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายในตัวเด็ก ดังนั้นเด็กจึงไม่ต้องอาศัยการจัดกระทำกับวัตถุจริง ๆ เพื่อแก้ปัญหา เด็กสามารถสร้างจินตนาการถึงแม้ว่าวัตถุนั้นจะอยู่นอกสายตาหรือเคยพบมาแล้ว เด็กสามารถทำการทดลองในสมอง และทำการได้เร็วกว่าการกระทำกับวัตถุนั้นจริง ๆ


                   ดวงเดือน ศาสตรภัทร (2549 : 214 215) ภาษามีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย เพราะภาษาเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมชนิดหนึ่งช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางสังคม เกิดความอบอุ่น เด็กแนวคิดตลอดจนความรู้สึกต่าง ๆ ที่อยู่รอบข้าง เด็กสามารถสร้างจินตนาการในสมองซึ่งก่อให้เกิดการทดลองขึ้น เด็กสามารถสร้างจินตนากรถึงวัตถุนั้นจะอยู่นอกสายตาหรืออยู่ในอดีต เด็กสามารถทำการทดลองให้สมองและทำได้เร็วกว่าการจัดกระทำกับวัตถุนั้นจริง ๆ


                   สรุปได้ว่า ภาษามีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เด็กจำเป็นจะต้องเรียนรู้ภาษาเพื่อใช้ในการสื่อความหมาย การคิด จินตนาการ การแสดงออก และการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเด็กจะต้องมีความพร้อมทางภาษาในด้าน การฟัง อ่าน และเขียนไปพร้อม ๆ กัน อย่างมีความหมายเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้าน เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม และสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ



ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

          1. นักพฤติกรรมศาสตร์ (The Behaviorist View) “การเรียนรู้ภาษาของเด็กเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากผลการปรับสิ่งแวดล้อม”

          2. ภาวะติดตัวโดยกำเนิด (The Nativist View) ชอมสกี้และแมคนีล เชื่อว่า เด็กทุกคนเกิดมาโดยมีโครงสร้างทางภาษาศาสตร์อยู่ในตัวหรือติดตัวโดยกำเนิด  เล็นเบิร์ก กล่าวว่า เด็กเกิดมาด้วยความสามารถทางภาษา มิใช่เป็นผ้าขาว ความสามารถทางการเรียนภาษาของเด็กถูกจัดโปรแกรมไว้ในตัว และมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เด็กได้รับ

          3. นักสังคมศาสตร์  (The Socialist View) วิธีการที่ผู้ใหญ่หรือพ่อแม่ปฏิบัติต่อเด็กมีผลต่อพัฒนาการทางภาษาและพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก

          4. พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget Theory) พัฒนาการทางภาษาของเด็กเป็นไปพร้อมๆกับความสามารถด้านการให้เหตุผล           การตัดสิน และด้านตรรกศาสตร์

          5. ทฤษฎีของนักจิตวิทยาภาษาศาสตร์ (PsycholinguisticsTheory) ชอมสกี้ (Chomskey)กล่าวว่า การเรียนรู้ภาษาเป็นเรื่องซับซ้อนซึ่งจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างภาษาในตัวเด็กด้วย  เล็นเบอร์ก (Lenneberg) เชื่อว่า มนุษย์มีอวัยวะที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้ภาษา


ปัทมา  คุณเวทยว์ริยะ.  (2549).  ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิตปัญญาโดยใช้สื่อไม่มีโครงสร้าง.  สาขาวิชาการศึกษา
          ปฐมวัย :   มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวโรฒ.


การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย


กิจกรรมสัมผัสอะไรช่วยบอกที

การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย



วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการพูด

ของเด็กปฐมวัย

2. เพื่อส่งเสริมทักษะการประสาทสัมผัสระหว่าง

มือกับตาของเด็กปฐมวัย

3. เพื่อส่งเสริมจินตนาการของเด็กปฐมวัย


สื่อวัสดุ/อุปกรณ์

1. สําลี

2. ใยสังเคราะห์

3. ลูกโป่ง

4. ถุงพลาสติกกันกระแทก

5. หลอด


การวัดผลประเมินผล

สังเกตและบันทึกพฤติกรรมการทํากิจกรรมของเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบประเมินพัฒนาการ


ขั้นดําเนินกิจกรรมสําหรับเด็กอายุ 4-5 ปี

ขั้นนำ

1. ครูให้เด็กนั่งเป็นตัวยูและกล่าวทักทายกัน

2. ครูแนะนํากิจกรรม

3. ครูนําสื่อมาให้เด็กดูและพูดคุยเกี่ยวกับลักษณะของ

สื่อที่นํามา

ขั้นสอน

1. ครูให้เด็กคนแรกออกมาสัมผัสสื่อที่ครูนํามาโดยเริ่มจากซ้ายมือครู

2. เด็กใช้มือสัมผัสสื่อลักษณะต่าง ๆ ทีละชนิดโดยครูถามเด็ก “หนูรู้จักสิ่งนี้ไหม บอกได้ไหมว่าสิ่งนี้คือ

อะไร มีลักษณะอย่างไร หนูรู้สึกอย่างไรเมื่อได้สัมผัสสิ่งนี้”

3. เมื่อเด็กสัมผัสจนครบทุกชนิด ครูถามเด็ก “หนูชอบสื่อที่ครูนํามาวันนี้ไหม ชอบเพราะเหตุใด”

ขั้นสรุป

1. ครูและเด็กพูดคุยเกี่ยวกับสําลี ใยสังเคราะห์ ลูกโป่ง ถุงพลาสติกกันกระแทก และหลอด

2. ครูและเด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์อย่างระมัดระวัง



ขั้นดําเนินกิจกรรมสําหรับเด็กอายุ 5-6 ปี

ขั้นนํา

1. ครูให้เด็กนั่งเป็นตัวยูและกล่าวทักทายกัน

2. ครูแนะนํากิจกรรม

3. ครูนําสื่อมาให้เด็กดู พูดคุยเกี่ยวกับลักษณะของสื่อและถามประสบการณ์เดิมของเด็กเกี่ยวกับสื่อที่ครูนํามา

ขั้นสอน

1. ครูให้เด็กคนแรกออกมาสัมผัสสื่อที่ครูนํามา โดยเริ่มจากซ้ายมือครู

2. เด็กใช้มือสัมผัสสื่อลักษณะต่าง ๆ ทีละชนิดโดยครูถามเด็ก “หนูรู้จักสิ่งนี้ไหม บอกได้ไหมว่าสิ่งนี้คืออะไร มีลักษณะอย่างไร หนูรู้สึกอย่างไรเมื่อได้สัมผัสสิ่งนี้หนูบอกครูได้ไหมว่าสิ่งนี้หนูสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร”

3. เมื่อเด็กสัมผัสจนครบทุกชนิด ครูถามเด็ก “หนูชอบสื่อที่ครูนํามาวันนี้ไหม ชอบเพราะเหตุใด”

ขั้นสรุป

1. ครูและเด็กร่วมกันอภิปรายผลเกี่ยวกับสําลี ใยสังเคราะห์ ลูกโป่ง ถุงพลาสติกกันกระแทก

และหลอด

2. ครูและเด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์อย่างระมัดระวัง



การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย

กิจกรรมต่อเติมเส้นให้เป็นเรื่อง

การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย





สาระสําคัญ

          ภาษามีความสําคัญต่อการเรียนรู็ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เด็กจําเป็นจะต้องเรียนรู้ภาษาเพื่อใช้ในการสื่อความหมาย การคิด จินตนาการ การแสดงออกและการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเด็กจะต้องมีความพร้อมทางภาษาในด้าน การฟัง อ่าน และเขียนไปพร้อมๆกัน อย่างมีความหมายเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้าน เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม และสามารถใช้เปฺ็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆดังนั้น ผู้จัดทําจึงได้จัดกิจกรรมต่อเติมเส้นให้เป็นเรื่องเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย โดยบูรณาการพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยกับทฤษฏีของทอร์แรนซ์ที่เขาได้ให้ความสําคัญกับกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์


วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นพื้นฐานในการเขียนและเด็กได้ถ่ายทอดความรูู้สึกเมื่อเห็นภาพที่ตนวาดผ่านการพูด

2. เพื่อฝึกความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การทํางานเป็นกลุ่ม ยอมรับความคิดเห็นและสนุกสนานใน

การทํากิจกรรม


วัสดุ/อุปกรณ์

1. กระดาษชาร์ทที่มีเส้นลักษณะต่างๆจํานวน 7 เส้น

2. ดินสอ สีเทียน สีไม้


ขั้นตอนการจัดกิจกรรม อายุ 4-5 ปี

ขั้นนํา

1. ครูเตรียมความพร้อมของเด็กโดยใช้กิจกรรมเพลงผึ้งน้อยหารัง เพื่อให้เด็กได้แบ่งกลุ่ม

2. เมื่อเด็กได้กลุ่มแล้วครูแจกอุปกรณ์สําหรับการทํากิจกรรมต่อเติมเส้นให้เป็นเรื่อง

ขั้นสอน

1. ครูอธิบายกิจกรรมดังนี้

1.1 ให้เด็กต่อเติมเส้นลักษณะต่างๆจํานวน 7 เส้น ที่ครูได้เขียนไว้บนกระดาษเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

2. เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม

3. เมื่อเด็กๆลงมือปฏิบัติกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้วคุณครูให้เด็กๆเล่าสิ่งที่เด็กๆวาดว่าทําไมถึงต่อเส้นนี้เป็นภาพนี้ทีละกลุ่ม

ขั้นสรุป

1. เมื่อเด็กๆปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว คุณครูสรุปกิจกรรมโดยใช้คําถามเพื่อให้เด็กได้แสดงออกทางการพูดของเด็กๆว่า “เด็กๆคะเส้นนี้เด็กๆวาดเป็นรูปอะไรคะ” “แล้วทําไมเด็กๆถึงวาดรูปนี้” และครูสรุปการทํากิจกรรมอีกครั้ง


อายุ 5-6 ปี

วัสดุ/อุปกรณ์

1. กระดาษชาร์ทที่มีเส้นลักษณะต่างๆจํานวน 7 เส้น

2. ดินสอ สีเทียน สีไม้

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
ขั้นนํา

1. ครูเตรียมความพร้อมของเด็กโดยใช้กิจกรรมเพลงผึ้งน้อยหารัง เพื่อให้เด็กได้แบ่งกลุ่ม

2. เมื่อเด็กได้กลุ่มแล้วครูแจกอุปกรณ์สําหรับการทํากิจกรรมต่อเติมเส้นให้เป็นเรื่อง

ขั้นสอน

1. ครูอธิบายกิจกรรมดังนี้

1.1 ให้เด็กต่อเติมเส้นลักษณะต่างๆจํานวน 7เส้น ที่ครูได้เขียนไว้บนกระดาษเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
2. เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม
3. เมื่อเด็กๆลงมือปฏิบัติกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้วคุณครูให้เด็กๆเล่าสิ่งที่เด็กๆวาดว่าทําไมถึงต่อเส้นนี้เป็นภาพนี้แล้วเล่าเรื่องประกอบรูปภาพทีละกลุ่ม

ขั้นสรุป

1. เมื่อเด็กๆปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว คุณครูสรุปกิจกรรมโดยใช้คําถามเพื่อให้เด็กได้แสดงออกทางการพูดของเด็กๆว่า “เด็กๆคะเส้นนี้เด็กๆวาดเป็นรูปอะไรคะ”

“แล้วทําไม เด็กๆถึงวาดรูปนี้” “เด็กๆช่วยกันเล่าให้เป็นเรื่องราวดูสิคะ” และครูสรุปการทํากิจกรรมอีกครั้ง


การวัดและประเมินผล

สังเกตและบันทึกกิจกรรมการทํากิจกรรมของเด็ก โดยใช้แบบประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา

(ทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย)


ประโยชน์จากการจัดกิจกรรม

1. เด็กได้ฝึกฝนทักษะของการเขียนโดยการต่อภาพ พร้อมกับระบายสีของภาพที่ได้ต่อเติม

2. เด็กได้ฝึกการอ่านภาพที่ตนเองสร้างขึ้นพร้อมกับเล่าเรื่องราวตามจินตนาการ
3. เด็กได้ทักษะการทํางานร่วมกับผู้อื่น ฟังความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม และร่วมกันสร้างชิ้นงาน

4. เด็กทุกคนได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการสนุกสนานในการทํากิจกรรม



เพลง ผึ้งหารัง


หึ่ง หึ่ง หึ่ง ผึ้งน้อยบินหารัง หึ่ง หึ่ง หึ่ง ผึ้งน้อยบินหารัง

ผึ้งน้อยจ๋า (จ๋า) ผึ้งน้อยจ๋า (จ๋า)

ผึ้งน้อยจ๋า เจ้าบินหาอะไร ผึ้งตอบเร็วไว ฉันบินหารัง




การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย

  กิจกรรม ฟังให้ดีนะเด็กๆ



การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย


      

           เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษาจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อนเพราะการฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐาน ทางภาษา กล่าวคือ เมื่อฟังแล้วก็ย่อมต้องพูดสนทนาโต้ตอบได้ การเรียนภาษาของเด็กปฐมวัยไม่เป็นต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการหรือตามหลักไวยกรณ์ แต่จะเป็นการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวหรือเป็นการสอนแบบธรรมชาติ

ทฤษฎีนี้ชอมสกี้ (Chomskey, 1960 ; อ้างถึงในสุภาวดี ศรีวรรธนะ, 2542 : 36) กล่าวว่า การเรียนรู้ภาษาเป็นเรื่องซับซ้อนซึ่งจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างภาษาในตัวเด็กด้วยเพราะบางครั้งเด็กพูดคำใหม่โดยไม่ได้รับแรงเสริมมาก่อนเลยเขาอธิบายการเรียนรู้ภาษาของเด็กว่าเมื่อเด็กได้รับประโยคหรือกลุ่มคำต่าง ๆ เข้ามาเด็กจะสร้างไวยกรณ์ขึ้น โดยใช้เครื่องมือการเรียนรู้ภาษาที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ซึ่งได้แก่ อวัยวะ เกี่ยวกับ การพูด การฟัง นอกจากนี้ เล็นเบอร์ก (Lenneberg)ยังเป็นผู้หนึ่งที่เสนอทฤษฎีแนวนี้โดยมีความเชื่อว่า มนุษย์มีอวัยวะที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้ภาษา ถ้าสมองส่วนนี้ชำรุดหลังจากวัยรุ่นตอนต้น (อายุประมาณ12 ปี) จะทำให้การเรียนรู้ภาษาใหม่ได้ยากการฟังเป็นกระบวนการแรกของการรับรู้ และเป็นตัวจัดประกายให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยวุฒิภาวะ เวลา ความพากเพียรและแรงจูงใจ การพัฒนาการฟังจะเป็นขั้นตอนตามระดับอายุของผู้ฟัง


วัตถุประสงค์

1.เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย

2. เด็กสามารถฟังและตอบคำถามของครูได้

3. เด็กสามารถร้อง และทำท่าทางประกอบ

เสียงเพลงได้


สื่อวัสดุ/อุปกรณ์

1.เสียงสัตย์ชนิดต่างๆ

2.รูปภาพสัตย์ชนิดต่างๆ


ขั้นตอนการจัดกิจกรรม

ขั้นนำ
1. เด็กและครูร่วมกันร้อง เพลงยินดีที่พบกัน และทำท่าทางประกอบเสียงเพลงเพื่อเพิ่มความกล้าแสดงออกและส่งเสริมทักษะด้านการพูดโดยการเปล่งเสียงร้องเพลงและทำท่าทางประกอบเพลง
ด้วย
2. ครูแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน

ขั้นสอน

1. ครูอธิบายกิจกรรมดังนี้
1.1. ครูมีเสียงสัตว์ต่างๆมาให้เด็กๆ ทายกัน
1.2. ให้เด็กๆแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมากลุ่มละ 1

คน

1.3. ครูเปิดเสียงสัตย์ให้เด็กฟัง 1 ตัว แล้วให้เด็กทายว่าคือสัตย์อะไร แล้วให้ครูเฉลยว่าเสียงที่ได้ยิน

นั้นคือสัตย์อะไร แล้วให้เด็กกลับไปต่อแถวด้านหลัง

1.4. แล้วให้เด็กแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาคนใหม่

มาอีกสลับกันไปเรื่อยๆ
ขั้นสรุป

ครูสังเกตพฤติกรรมของเด็กกลุ่มดังกล่าวว่าเด็กคนไหนสามารถปฏิบัติตามกติกาที่ครูกำหนดได้หรือไม่

และครูสรุปกิจกรรมและทบทวนกิจกรรมให้เด็กทราบอีกครั้งว่า วันนี้ครูน าเสียงสัตย์อะไรบ้างมาให้เด็กๆฟังกันเป็นการส่งเสริมด้านการพูดของเด็กในแต่ละคนให้มีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้นและส่งเสริมความมั่นใจของเด็กได้เป็นอย่างดี


ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอํายุ 5-6 ปี

ขั้นนำ
1. เด็กและครูร่วมกันร้อง เพลงยินดีที่พบกัน และท า
ท่าทางประกอบเสียงเพลงเพื่อเพิ่มความกล้าแสดงออกและ

ส่งเสริมทักษะด้านการพูดโดยการเปล่งเสียงร้องเพลงและท า

ท่าทางประกอบเพลงด้วย

2. ครูแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน

ขั้นสอน
1. ครูอธิบายกิจกรรมดังนี้
1.1. ครูมีปริศนาค าทาย..เสียงอะไรเอ๋ย มาให้เด็กๆ

ทายกัน

1.2. ให้เด็กๆแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมากลุ่มละ 1 คน

1.3. ครูบอกปริศนาค าทายให้เด็กฟัง แล้วให้เด็ก

ทายว่าคือสัตย์อะไร แล้วให้ครูเฉลยว่าปริศนานั้นคือสัตย์

อะไร แล้วให้เด็กกลับไปต่อแถวด้านหลัง

1.4. แล้วให้เด็กแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาคนใหม่มาอีก

สลับกันไปเรื่อยๆ

ขั้นสรุป

ครูสังเกตพฤติกรรมของเด็กกลุ่มดังกล่าวว่าเด็กคนไหนสามารถปฏิบัติตามกติกาที่ครูกำหนดได้หรือไม่

และครูสรุปกิจกรรมและทบทวนกิจกรรมให้เด็กทราบอีกครั้งว่า วันนี้ครูน าเสียงสัตย์อะไรบ้างมาให้เด็กๆฟังกันเป็นการส่งเสริมด้านการพูดของเด็กในแต่ละคนให้มีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้นและส่งเสริมความมั่นใจของเด็กได้เป็น

อย่างดี


ประโยชน์จากการทำกิจกรรม

1 เด็กเกิดความสนุกสนาน

2 ส่งเสริมการใช้ภาษาของเด็ก

3 ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย

4 ส่งเสริมการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น

5 เด็กสามารถปฏิบัติตามกฎที่ครูตั้งไว้ได้




การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย




กิจกรรมลูกเต๋าเล่าเรื่อง



การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย




วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย

2. เพื่อเป็นพื้นฐานในการอ่านและเด็กได้ถ่ายทอดความรู้สึกผ่านการเล่าเรื่องจากภาพ

3. เพื่อฝึกความคิดสร้างสรรค์จินตนาการ การทำงานเป็นกลุ่ม ยอมรับความคิดเห็นและสนุกสนานในการทำกิจกรรม


สื่อวัสดุ/อุปกรณ์

- ลูกเต๋า จำนวน 3 ลูก

การวัดผลประเมินผล

สังเกตและบันทึกพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบประเมินพัฒนาการด้าน

สติปัญญา (ทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย)ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 4-5 ปี


ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 4-5 ปี

ขั้นนำ

1. ครูเตรียมความพร้อมของเด็กโดยให้เด็กยืนเป็นวงกลมและใช้กิจกรรมเพลงปรบมือ เพื่อให้เด็กได้แบ่งกลุ่ม

2. เมื่อเด็กได้กลุ่มแล้วครูให้เด็กนั่งลงเป็นกลุ่มเพื่อจับฉลากลำดับที่ของกลุ่ม
ขั้นสอน
1. ครูอธิบายกิจกรรมดังนี้
1.1 ให้สมาชิกของกลุ่มทอยลูกเต๋าจ านวน 3 ลูก
1.2 ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันอ่านภาพจากลูกเต๋าพร้อมแต่งเรื่องตามจินตนาการ

1.3 ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันเล่าเรื่องจากภาพลูกเต่าให้ครูและเพื่อนๆฟัง

2. ให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมทีละกลุ่ม

3. เมื่อเด็กๆแต่ละกลุ่มช่วยกันอ่านภาพจากลูกเต๋าพร้อมแต่งเรื่องตามจินตนาการเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณครูให้เด็กๆช่วยกันเล่าเรื่องจากภาพลูกเต่าทีละกลุ่ม

ขั้นสรุป

เมื่อเด็กๆปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้วครูและเด็กร่วมกันสรุปการท ากิจกรรมและประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม


ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 5-6

ขั้นนำ

ครูเตรียมความพร้อมของเด็กโดยให้เด็กยืนเป็นวงกลมและใช้กิจกรรมเพลงปรบมือ

ขั้นสอน

1. ครูอธิบายกิจกรรมดังนี้

1.1 ให้เด็กๆทอยลูกเต๋าคนละ 1 ลูก

1.2 จากนั้นให้เด็กๆอ่านภาพจากลูกเต๋าและเล่าเรื่องตามจินตนาการ ที่ละคน

2. ให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม

3. เมื่อเด็กๆทุกคนอ่านภาพจากลูกเต๋าพร้อมแต่งเรื่องตามจินตนาการเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณครูให้เด็กๆเล่าเรื่องจากภาพลูกเต่าทีละคนตามลำดับ

ขั้นสรุป

เมื่อเด็กๆปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้วครูและเด็กร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมและประโยชน์ที่ได้รับจาก

การปฏิบัติกิจกรรม


ประโยชน์จากการจัดกิจกรรม

1. เด็กได้ฝึกฝนทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย

2. เด็กได้ฝึกการอ่านภาพจากลูกเต๋าพร้อมกับเล่าเรื่องราวตามจินตนาการ

3. เด็กได้ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ฟังความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม และร่วมกันสร้างชิ้นงาน

4. เด็กทุกคนได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการสนุกสนานในการทำกิจกรรม




การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย



กิจกรรมเส้นหรรษา

การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย


วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการเขียนของเด็กปฐมวัย

2. เพื่อส่งเสริมทักษะการประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาของเด็กปฐมวัย

3. เพื่อให้เด็กรู้จักเส้นพื้นฐาน

4. เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการพูดเล่าเรื่องราวจากผลงานตนเอง

5. เพื่อส่งเสริมจิตนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย


สื่อวัสดุ/อุปกรณ์

1. บัตรภาพเส้นพื้นฐาน

2. กระดาษเจาะรูตามเส้นพื้นฐาน

3. ไม้ไอศกรีมติดแม่เหล็ก

4. ฝาขวดน้ำอัดลม

5. สีเทียน

6. กระดาษ

7. เศษผงดินสอ เศษผงสีไม้หรือสีเทียนที่เหลา


ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 4-5 ปี

ขั้นนำ

1. ครูเตรียมความพร้อมเด็ก โดยพูดคำสั่งและให้เด็กปฏิบัติตาม ให้ต่อแถวเป็นเส้นตรง วงกลม ครึ่งวงกลม

2. เด็กปฏิบัติตามคำสั่ง

3. ครูแนะนำกิจกรรม

4. ครูนำบัตรภาพรูปเส้นมาให้เด็กดู และให้เด็กแสดงความรู้สึกเมื่อเห็นเส้น

ขั้นสอน

1. ครูนำชุดอุปกรณ์เส้นพื้นฐานมาอธิบายให้เด็กฟังประกอบด้วย กระดาษเจาะรูตามเส้นพื้นฐานไม้ไอศกรีมติดแม่เหล็ก ฝาขวดน้ำอัดลม ครูสาธิตวิธีการเล่นให้เด็กดู

2. ให้เด็กออกมาทำกิจกรรม

ขั้นสรุป

1. ครูและเด็กพูดคุยเกี่ยวกับเส้นพื้นฐาน โดยให้เด็กใช้นิ้วมือวาดกับอากาศ

2. ครูและเด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์อย่างระมัดระวัง



ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 5-6 ปี

ขั้นนำ

1.ครูเตรียมความพร้อมเด็ก โดยพูดคำสั่งและให้เด็กปฏิบัติตาม ให้ต่อแถวแตะไหล่กันเป็นเส้นตรง วงกลม ครึ่งวงกลม เส้นซิกแซก เด็กปฏิบัติตามคำสั่ง

2.ครูแนะนำกิจกรรม

3.ครูนำบัตรภาพรูปเส้นมาให้เด็กดู และให้เด็กแสดงความรู้สึกเมื่อเห็นเส้น

ขั้นสอน


1.ครูนำชุดอุปกรณ์เส้นพื้นฐานมาอธิบายให้เด็กฟังประกอบด้วย กระดาษเจาะรูตามเส้นพื้นฐานไม้ไอศกรีมติดแม่เหล็ก ฝาขวดน้ำอัดลม

2.ครูสาธิตวิธีการเล่นให้เด็กดู ให้เด็กออกมาทำกิจกรรม

3.ครูแจกกระดาษและสีเทียน ผงดินเสาหรือผงสีที่เหลาไว้ พร้อมไม้ไอศกรีมติดแม่เหล็ก ฝาดน้ำอัดลม

4.เด็กวาดรูปโดยใช้ผงดินสอหรือผงสีใสไว้ใต้ฝาน้ำอัดลม และใช้ไม้ไอศกรีมที่ติดแม่เหล็กวาดรูปตามจิตนาการ

ขั้นสรุป

1.ครูและเด็กพูดคุยเกี่ยวกับเส้นพื้นฐาน โดยให้นำเสนอผลงานที่เด็กวาด

2.ครูและเด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์อย่างระมัดระวัง

การวัดผลประเมินผล

สังเกตและบันทึกกิจกรรมการทำกิจกรรมของเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา

(ทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย)


การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย




กิจกรรมจดหมายสื่อรัก



การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย


วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการเขียนของเด็กปฐมวัย

2. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย

3. เพื่อส่งเสริมจิตนาการของเด็กปฐมวัย


สื่อวัสดุ/อุปกรณ์

1. กระดาษA4

2. ดินสอ

3. สีไม้

4. ซองจดหมาย

5. กล่องสำหรับใส่จดหมาย


ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 4-5 ปี

ขั้นนำ

1. ครูและเด็กกล่าวคำทักทาย โดยใช้เพลง “ชูนิ้ว”

2. ครูแนะนำกิจกรรม

3. ครูแสดงวิธีการส่งจดหมาย พร้อมกับตัวอย่างจดหมายให้เด็กดู

ขั้นสอน

1. ครูแจกอุปกรณ์ในการเขียนจดหมาย

2. ครูแสดงตัวอย่างการเขียนจดหมาย พร้อมกับกำหนดบุคคลที่จะให้เด็กส่งจดหมายให้ (กำหนดเป็นคนในครอบครัว)

3. ครูเขียนตัวย่างประโยคง่ายๆให้กับเด็กดูเป็นตัวอย่าง เช่น พ่อ แม่ เพื่อน เป็นต้น

4. ครูให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม

ขั้นสรุป

1. ครูให้เด็กนำจดหมายมาสอดลงที่กล่องไปรษณีย์

2. ครูส่งจดหมายให้กับบุคคลที่เด็กได้เขียนถึง



ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 5-6 ปี

ขั้นนำ

1. ครูและเด็กร่วมกันกล่าวค าทักทายโดยใช้เพลง“ชูนิ้ว”

2. ครูแนะนำกิจกรรม

3. ครูพูดคุยเกี่ยวกับการส่งจดหมาย โดยใช้คำถามปลายเปิดให้เด็กแต่ละคนได้แสดงความคิดเห็นของตัวเอง

ขั้นสอน

1. ครูแจกอุปกรณ์ในการเขียนจดหมาย

2. ครูอธิบายลักษณะการเขียนจดหมายให้กับเด็กพร้อมกับการกำหนดบุคคลที่จะให้เด็กส่งจดหมายให้เช่น พ่อ แม่ คุณครู เพื่อน เป็นต้น (ให้เด็กแต่ละคนเลือกเอง)


3. ครูให้เด็กลงมือทำกิจกรรม

ขั้นสรุป

1.ครูยกตัวอย่างเด็ก1คน และให้เด็กบอกว่าเขียนให้ใคร ตกแต่งแบบไหน ให้เด็กได้อธิบายผลงานตนเองและให้เด็กนำจดหมายใส่ก่องเป็นตัวเอย่าง

2. ครูให้เด็กนำจดหมายมาสอดลงที่กล่องไปรษณีย์

3. ครูส่งจดหมายให้กับบุคคลที่เด็กได้เขียนถึง



การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย




กิจกรรมภาพสร้างคำศัพท์


การพัฒนาทักษะทางภาษา ปฐมวัย



จุดประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย

2. เพื่อส่งเสริมความกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัย

3. เพื่อส่งเสริมจินตนาการของเด็กปฐมวัย


อุปกรณ์

1. กระดาษสี(เหลือง,เขียว,แดง,ส้ม)  กระดาษสี(เหลือง,ฟ้า,เขียว,แดง,) 5-6 ปี

2. กระดาษ a4

3. ดินสอ สีเทียน สีไม้


ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 4-5 ปี

ขั้นนำ

1. ครูและเด็กพูดคุยเกี่ยวกับสี เหลือง,เขียว,แดง,ส้ม

2. ครูให้เด็กยกตัวอย่างผัก ผลไม้ ที่มีสีเหมือนหรือคล้ายกับ สีเหลือง,เขียว,แดง,ส้ม

ขั้นสอน

1. ครูแบ่งเด็กออกเป็น 5 คู่ คู่ละ 2 คน โดยแต่ละคู่ครูเตรียมดินสอ สีเทียน สีไม้ไว้ให้

2. ครูแจกกระดาษ a 4 ที่มีสีเหลือง,เขียว,แดง,ส้มกำกับอยู่บนกระดาษ โดยครูจะมีภาพผลไม้เป็นเส้นประขาว-ดำ ให้เด็กสีล่ะ 3 ภาพ แต่ล่ะภาพครูจะมีคำศัพท์ภาษาไทย –อังกฤษให้ใต้ภาพ

3. ครูให้เด็กวาดตามร้อยประภาพผัก ผลไม้ที่มีสีเหมือนหรือคล้ายกับสีเหลือง,เขียว,แดง,ส้ม ที่ครูกำหนดให้พร้อมระบายสี

4. เด็กลงมือปฏิบัติ

ขั้นสรุป

1. เมื่อเด็กปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรม เกี่ยวกับสีและสิ่งต่าง ๆรอบตัว และครูอ่านคำศัพท์ใต้ภาพ ภาษาไทยภาษาอังกฤษให้เด็กฟัง แล้วให้เด็กอ่านตามจากนั้นให้เด็กออกมาอธิบายว่าระบายสีภาพอะไรบ้าง

2. ครูและเด็กร่วมกันสรุปประโยชน์ที่ได้รับ

3. ครูสอบถามเด็กเกี่ยวกับความรู้สึกจากการทำกิจกรรม



ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ5-6 ปี

ขั้นนำ

1. ครูและเด็กพูดคุยเกี่ยวกับสี เหลือง,ฟ้า,เขียว,แดง

2. เด็กยกตัวอย่างสิ่งที่มีสีเหมือนหรือคล้ายกับ สีเหลือง,ฟ้า,เขียว,แดง

ขั้นสอน

1. ครูแบ่งเด็กออกเป็น 5 คู่ คู่ล่ะ2 คน โดยแต่ละคู่ครูเตรียมดินสอ สีเทียน สีไม้ไว้ให้

2. ครูแจกกระดาษ a4 ที่มีสีเหลือง,ฟ้า,เขียว,แดงกำกับอยู่บนกระดาษ

3. ครูให้เด็กคิดสิ่งที่มีสีเหมือนหรือคล้ายกับสีเหลือง ,ฟ้า,เขียว,แดง ที่ครูก าหนดให้และวาดภาพลงบนกระดาษ a4

4. เด็กลงมือปฏิบัติ

ขั้นสรุป

4. เมื่อเด็กปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรม เกี่ยวกับสีและสิ่งต่าง ๆรอบตัว จากนั้นให้เด็กออกมาอธิบายว่าวาดภาพอะไรบ้าง