กําหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่แทนวันสงกรานต์ในรัชสมัยใดเป็นครั้งแรก

สำนักข่าวไทย 1 ม.ค. 64 – “สวัสดีปีใหม่” ทุกคนนะคะ เข้าสู่ปี พ.ศ. 2564 ขึ้นปีใหม่อย่างเป็นทางการแล้ว แต่รู้ไหมคะว่าเดิมวันขึ้นปีใหม่ไทยไม่ใช่ 1 มกราคม แล้วเรากำหนดให้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่เมื่อไร ไปดูกันเลยค่ะ

Highlight ประวัติวันขึ้นปีใหม่

  • เดิมไทยเรานับเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่
  • พ.ศ. 1901 (จุลศักราช 720) กำหนดให้เดือน 5 เป็นการพระราชพิธีเผด็จศก ลดแจตร ออกสนาม ที่หมายถึงขึ้นปีใหม่
  • สมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 สันนิษฐานได้ว่าคงจะถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปีนักษัตรเป็นหลัก 
  • พ.ศ. 2417 เกิดประเพณีการเลี้ยงปีใหม่ขึ้นเป็นครั้งแรก ส่วนชาวบ้านถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่
  • พ.ศ. 2432 วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันที่ 1 เมษายน พอดี รัชกาลที่ 5 จึงโปรดให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวัน 1 เมษายน 
  • พ.ศ. 2477 ประกาศให้มีงานรื่นเริงขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน เพื่อฟื้นฟูประเพณีวันขึ้นปีใหม่ที่ซบเซา
  • พ.ศ. 2484 มีมติให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม

เดิมวันขึ้นปีใหม่คือวันไหน?

ก่อนที่จะไปหาคำตอบว่าเรานับเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่เมื่อไร ไปดูกันก่อนดีกว่าค่ะว่าเดิมวันขึ้นปีใหม่เราตรงกับวันอะไร

เดิมไทยเรานับเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะคนโบราณนับข้างแรมเป็นต้นเดือน และเดือนอ้ายก็บอกชัดอยู่แล้วว่าเป็นเดือนแรก ที่กำหนดเอาเดือนอ้ายเป็นต้นปีสันนิษฐานว่าเพราะในระยะเวลาระหว่างนั้นอยู่ในฤดูหนาว พ้นจากฤดูฝนซึ่งอากาศมืดมัวมาเป็นสว่างเหมือนเวลาเช้าจึงได้นับเอาเดือนอ้ายเป็นต้นปี

เมื่อจุลศักราช 720 (พ.ศ. 1901) ก็ไม่ได้กําหนดเดือนอ้ายเป็นเดือนขึ้นปีใหม่ แต่กำหนดไว้ว่าเป็นเดือน 5 การพระราชพิธีเผด็จศก ลดแจตร ออกสนาม ที่หมายถึงขึ้นปีใหม่

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 สันนิษฐานได้ว่าคงจะถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปีนักษัตรเป็นหลัก และในรัชกาลที่ 5 ได้เกิดประเพณีการเลี้ยงปีใหม่ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2417 ดังปรากฏในพระราชพิธีสิบสองเดือน ส่วนตามแบบชาวบ้านถือเอาวันสงกรานต์เป็นหลัก

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่ไม่ได้กําหนดแน่นอนจนกว่าโหรจะได้คํานวณวันแล้วประกาศให้ทราบ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคงจะทรงพิจารณาเห็นความลําบาก จึงได้มีพระบรมราชโองการประกาศให้ใช้วันอย่างใหม่ โดยให้เลิกใช้จุลศักราชในทางราชการ เปลี่ยนมาใช้รัตนโกสินทรศก เริ่มในปีรัตนโกสินทรศก 108 (พ.ศ. 2432) เป็นต้นมา และเรียกชื่อเดือนว่าเมษายน พฤษภาคม ฯลฯ ตามทางสุริยคติเป็นครั้งแรก รวมทั้งเรียกวันเป็นวันที่ 1 วันที่ 2 ฯลฯ ด้วย แต่ก็ยังให้ใช้วันเดือนปีตามจันทรคติคือวันขึ้นแรม เดือนอ้าย เดือนยี่ และปีชวด ฉลู หรือจุลศักราชต่อไปได้ เพราะเป็นหลักทางโหราศาสตร์ซึ่งราษฎรเคยใช้มาแล้ว

สรุปได้ว่า สมัยโบราณไทยอาจนับเอาวันแรม เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ จากนั้นเปลี่ยนมาเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 รวมทั้งมีวันสงกรานต์ด้วย ต่อมาในพ.ศ. 2432 วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันที่ 1 เมษายน พอดี รัชกาลที่ 5 จึงโปรดให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวัน 1 เมษายน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในปี ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2455) สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาเห็นว่าปีรัตนโกสินทรศกนับย้อนไปในอดีตได้เพียงร้อยปีเศษเท่านั้นไม่พอใช้จึงโปรดเกล้าฯให้เลิกใช้รัตนโกสินทรศก ให้ใช้พุทธศักราชแทนส่วนวันเดือนปีคงใช้ไปตามเดิม 

การกำหนดให้วันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ เหมือนจะถือกันเคร่งครัดเฉพาะในวงราชการเท่านั้น ส่วนชาวบ้านทั่วไป ยังคงถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่

ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ใน พ.ศ. 2475 แล้ว ราชการพิจารณาว่าควรฟื้นฟูประเพณีวันขึ้นปีใหม่ที่ซบเซาไปนานให้ฟื้นขึ้นมาอีก จึงประกาศให้มีงานรื่นเริงขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯเป็นครั้งแรก 

ตามที่ได้บอกไปว่าในปีวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477 ได้มีการประกาศให้มีงานรื่นเริงขึ้นปีใหม่เพื่อฟื้นฟูประเพณีวันขึ้นปีใหม่ที่ซบเซา แต่การฟื้นฟูทำได้ไม่กี่ปี คณะรัฐมนตรีก็ได้พิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะกรรมการได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม เริ่มต้นใน พ.ศ. 2484

สำหรับ “วันขึ้นปีใหม่” 1 มกราคม 2564 ที่จะถึงนี้ ทีมงานสำนักข่าวไทยขออวยพรให้ทุกท่านมีความสุข สุขภาพร่างกายแข็งแรง ต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ ไปด้วยกันนะคะ สวัสดีปีใหม่ค่ะ.-สำนักข่าวไทย

ขอบคุณข้อมูลจาก : สงกรานต์ 3 วัน 13-15 เม.ย.เริ่มมีเมื่อใด ปีใหม่ไทยในอดีตเปลี่ยนไปมา ชาวบ้านตามตรวจดูวันเอง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2563, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_31026

ดูข่าวเพิ่มเติม

วันขึ้นปีใหม่ คือวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี แต่ทราบหรือไม่ว่าในอดีตประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาหลายครั้ง จนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่สากล และยังคงใช้วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ไทยรัฐออนไลน์พาคุณย้อนรอยดูประวัติของวันขึ้นปีใหม่ไปพร้อมๆ กัน

ประวัติวันขึ้นปีใหม่ของไทย

วันขึ้นปีใหม่ในประเทศไทยได้ถูกปรับเปลี่ยนมาแล้วทั้งหมด 4 ครั้ง ตามปฏิทินการเปลี่ยนแปลงนักษัตร และเดือนตามจันทรคติ ได้แก่

- วันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย
- วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์
- 1 เมษายน พ.ศ. 2432
- 1 มกราคม พ.ศ. 2484

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) นิยมใช้วันขึ้นปีใหม่ในช่วงวันสงกรานต์ ดังนั้นจึงมีชาวไทยส่วนหนึ่งที่ยังยึดถือวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยอยู่

เทศกาลวันปีใหม่ได้จัดเป็นวันเฉลิมฉลองในรูปแบบงานรื่นเริงครั้งแรกในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477 เรียกว่าวันตรุษสงกรานต์ เหตุผลที่ราชการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็น 1 มกราคม ตามหลักสากล เพื่อยกเลิกการนับปีใหม่ของลัทธิพราหมณ์กับพระพุทธศาสนา โดยใช้วันขึ้นปีใหม่ตามหลักสากลทั่วโลกไม่ให้ขัดต่อหลักพระพุทธศาสนาด้านการนับวัน รวมถึงการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

วันขึ้นปีใหม่ มีความสําคัญอะไรบ้าง

กําหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่แทนวันสงกรานต์ในรัชสมัยใดเป็นครั้งแรก

เมื่อใกล้ถึงวันปีใหม่ เป็นโอกาสอันดีให้ทบทวนตัวเองในกิจกรรมที่ผ่านมาตลอดทั้งปี และวางแผนดำเนินงานต่างๆ ในปีต่อไป โดยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะมอบกระเช้าปีใหม่เป็นของขวัญให้กับผู้ที่ช่วยส่งเสริมธุรกิจมาตลอดทั้งปี วันขึ้นปีใหม่มีความสำคัญดังนี้

1. เริ่มต้นนับปีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามปีปฏิทินในประมวลรัษฎากร
2. กระตุ้นเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว และการค้าขาย
3. ประชาชนได้ร่วมกันประกอบพิธีกรรมตามศาสนาของตน เพื่อเริ่มต้นปีใหม่
4. ครอบครัวได้พบปะกันพร้อมหน้า
5. เป็นโอกาสอันดีส่งคำอวยพร แก่เพื่อนฝูง ญาติมิตร ที่ไม่ได้ติดต่อกันมานานเพื่อส่งมอบความสุข และสานสัมพันธ์ไมตรีที่ดีต่อกัน

กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติ

กําหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่แทนวันสงกรานต์ในรัชสมัยใดเป็นครั้งแรก

กิจกรรมวันปีใหม่จากการเฉลิมฉลองของประชาชน นิยมแลกของขวัญแก่กัน และเดินทางไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ รวมถึงจัดเตรียมอาหารฉลองกันในครอบครัว รวมถึงจัดงานเลี้ยงในองค์กร เมื่อถึงวันขึ้นปีใหม่ประชาชนมักปฏิบัติ ดังนี้

1. ทำบุญ ตักบาตร เข้าวัด หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามศาสนาของตน
2. ประดับประดาบ้านเรือน พร้อมรับปีใหม่
3. จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ รับประทานอาหารกับเพื่อนฝูง และครอบครัว
4. กราบขอพรจากผู้ใหญ่ในครอบครัว หรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
5. แลกเปลี่ยนของขวัญ ส่งคำอวยพรให้แก่กัน