รายละเอียดบิลค่าไฟฟ้านครหลวง

 

เรามักจะพบว่าในหน้าร้อน ยอดค่าไฟมักจะสูงผิดปกติ ทำให้สงสัยว่า

▪️ อัตราค่าไฟฟ้าคิดยังไง 
▪️ บิลค่าไฟฟ้ารายเดือน บอกอะไรเราได้บ้าง? 
▪️ เจอค่าไฟแพงผิดปกติแจ้งที่ไหนได้บ้าง

อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย คิดยังไง?

อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย “คิดเแบบอัตราก้าวหน้า”  หรือยิ่งใช้ไฟฟ้ามาก ก็ยิ่งจ่ายแพงขึ้น ประกอบกับช่วงนี้เข้าสู่หน้าร้อน ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ต้องใช้ระบบทำความเย็นต้องทำงานหนักขึ้น

ซึ่งรายละเอียดการคิดค่าไฟตามอัตราก้าวหน้า อ้างอิงจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) คือ
▪️ 35 หน่วยแรก เหมารวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 85.21 บาท   
▪️ 115 หน่วยต่อไป หน่วยละ 1.1236 บาท 
▪️ 250 หน่วยต่อไป หน่วยละ 2.1329 บาท 
▪️ ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย หน่วยละ 2.4226บาท

ถ้าบ้านไหนมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้ใช้พลังงานสูงอย่าง แอร์ คอนดิชั่น , เครื่องฟอกอากาศ, เครื่องทำน้ำอุ่น , เครื่องซักผ้า และ เตารีด พอสมาชิกในบ้านกลับมาใช้เวลาอยู่ในบ้านมากขึ้นยิ่งทำให้ค่าไฟแพงยิ่งขึ้นนั่นเอง

โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ก็คือ

1. อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ และมีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน

2. อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์เกิน 5 แอมป์ และบ้านที่อยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ แต่มีการใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยขึ้นไปต่อเดือน ติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป

แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ว่าบ้านเราใช้ไฟฟ้าแบบไหน ?

เราสามารถตรวจสอบประเภทอัตราค่าไฟฟ้าได้ในส่วนของข้อมูลผู้ใช้ จากตัวเลข 3 หลักแรกในช่องประเภท (Type) เช่น 
▪️ 1115 คือ บ้านอยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน 
▪️ 1125 คือ ผู้ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน

ไม่เพียงเท่านี้ ...บิลค่าไฟไม่ได้บอกแค่ค่าไฟที่ต้องชำระในแต่ละเดือนเท่านั้น 
แต่ยังมีรายละเอียดอื่น ๆ บอกไว้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
▪️ ข้อมูลส่วนตัว 
▪️ ข้อมูลการไฟฟ้า 
▪️ ประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง 
เรามาดูกันว่ามีอะไรน่าสนใจบนบิลค่าไฟฟ้า 1 ใบ ที่เราได้รับทุกเดือนๆ

บิลแสดง ค่าไฟฟ้า ของ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ MEA แบ่งได้เป็น 3 ส่วน ก็คือ

1. ข้อมูลทั่วไป
ส่วนนี้จะเป็นข้อมูลของผู้ใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ รวมทั้งหมายเลขของผู้ใช้ไฟฟ้า วัน และเวลาอ่านหน่วยค่าไฟฟ้าประจำเดือน

2. ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ
เป็นค่าไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และเป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้า
ประกอบด้วย

▪️ ค่าพลังงานไฟฟ้า คือ ต้นทุน และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบส่ง และจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งค่าเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน
▪️ ค่าบริการ คือ ต้นทุนในการอ่าน และจดหน่วย การจัดทำและส่งบิลค่าไฟฟ้า ระบบรับชำระค่าไฟฟ้า
▪️ ค่า Ft คือ คำนวณจากต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงจากค่าไฟฟ้าฐานคือ ค่าเชื้อเพลิงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), ค่าซื้อเชื้อเพลิงจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) รวมทั้งบริษัทลูกของ กฟผ.,ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP), การซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัฐบาลที่คณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนด (ตัวอย่างนโยบายก็เช่น ค่า Adder, กองทุนพัฒนาไฟฟ้า, การใช้น้ำมันปาล์มดิบมาผสมน้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น) ทั้งนี้โดยปกติแล้วค่า Ft นี้จะมีการปรับทุก 4 เดือน
▪️ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % เรียกเก็บตามที่กฎหมายกำหนด

3. ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า
ส่วนนี้จะประกอบด้วย เลขอ่านครั้งก่อน-หลัง จำนวนหน่วยที่ใช้ และประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง

มีข้อสงสัยอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องค่าไฟฟ้า สามารถสอบถามไปยังการไฟฟ้าในพื้นที่ ดังนี้ 

▪️ กรุงเทพฯ และปริมณฑล แจ้งเรื่องผ่านการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เว็บไซต์ http://www.mea.or.th และ Call Center เบอร์โทรศัพท์ 1130

▪️ จังหวัดอื่น ๆ แจ้งเรื่องผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เว็บไซต์ https://complaint.pea.co.th  และ Call Center เบอร์โทรศัพท์ 1129

หลังจากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ โดยจะพิจารณาจากข้อเท็จจริงประกอบกับประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง หากพบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากระบบของการไฟฟ้าฯ ก็จะจ่ายชดเชยให้

คุณภาพชีวิต-สังคม

รู้ไหม! บิล 'ค่าไฟฟ้า' บอกอะไรเราบ้าง

20 เม.ย. 2563 เวลา 12:55 น.69.5k

นอกจาก "ค่าไฟฟ้า" ที่ปรากฏในบิลค่าไฟ ยังมีรายละเอียดอะไรเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าที่ระบุเอาไว้ในกระดาษจาก "การไฟฟ้า" ที่มาเสียบไว้หน้าบ้านของเราทุกเดือน

เมื่อตัวเลขที่ปรากฎอยู่ในบิล ค่าไฟฟ้า กลายเป็นค่าใช้จ่ายอันไม่พึงประสงค์ ที่ทำให้หลายคนออกมาตั้งข้อสังเกตถึงความถูกต้องของรายละเอียดที่แสดงอยู่บนกระดาษค่าไฟ ซึ่งทาง การไฟฟ้า เองก็ได้ออกมาชี้แจงถึงค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นนั้น มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการคิดค่าไฟแบบ อัตราก้าวหน้า และตัวแปรของค่าไฟฟ้าอย่างหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่เราได้บิลค่าไฟฟ้ามา อัตราค่าบริการที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนมักจะเป็นเป้าสายตาเดียวที่จะถุกมองเห็น ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าในรอบเดือนนั้นชี้แจงเอาไว้อีกด้วย กรุงเทพธุรกิจ ได้หาข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ที่ปรากฎอยู่บนบิลค่าไฟฟ้าทั้งของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวงมาคลายความสงสัย ดังนี้

รายละเอียดบิลค่าไฟฟ้านครหลวง

รายละเอียดที่ปรากฎบนบิลค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง

บิลแสดง ค่าไฟฟ้า ของ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ MEA นั้นสามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ และข้อมูลการใช้ไฟฟ้า

  • ข้อมูลทั่วไป

ส่วนนี้จะเป็นข้อมูลของผู้ใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ รวมทั้งหมายเลขของผู้ใช้ไฟฟ้า วัน และเวลาอ่านหน่วยค่าไฟฟ้าประจำเดือน

  • ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ

เป็นค่าไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และเป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้า

ประกอบด้วย

  1. ค่าพลังงานไฟฟ้า คือ ต้นทุน และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบส่ง และจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งค่าเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน
  2. ค่าบริการ คือ ต้นทุนในการอ่าน และจดหน่วย การจัดทำและส่งบิลค่าไฟฟ้า ระบบรับชำระค่าไฟฟ้า
  3. ค่า Ft คือ ค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และค่าซื้อไฟฟ้า ของ กฟผ. รวมทั้งนโยบายภาครัฐ เช่น ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่เปลี่ยนแปลงจากค่าไฟฟ้าฐาน
  4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % เรียกเก็บตามที่กฎหมายกำหนด
  • ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า

ส่วนนี้จะประกอบด้วย เลขอ่านครั้งก่อน-หลัง จำนวนหน่วยที่ใช้ และประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง

รายละเอียดบิลค่าไฟฟ้านครหลวง

รายละเอียดที่ปรากฎบนบิลค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) หรือ PEA ได้ชี้แจงรายละเอียดที่ปรากฎอยู่ในบิลแสดง ค่าไฟฟ้า นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า และค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ข้อมูลทั่วไป

ส่วนนี้จะเป็นข้อมูลของผู้ใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ รวมทั้งหมายเลขของผู้ใช้ไฟฟ้า วัน และเวลาอ่านหน่วยค่าไฟฟ้าประจำเดือน

  • ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า

ส่วนนี้จะประกอบด้วย เลขอ่านครั้งก่อน-หลัง จำนวนหน่วยที่ใช้ และประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง

  • ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ

ประกอบไปด้วย

  1. ค่าพลังงานไฟฟ้า คือ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง สายจำหน่าย และค่าการผลิตไฟฟ้า
  2. ค่าบริการรายเดือน คือ ค่าใช้จ่ายในการจดหน่วยไฟฟ้า ค่าจัดทำและจัดส่งบิลค่าไฟฟ้า การรับชำระเงินค่าไฟฟ้า และงานบริการลูกค้า ค่าบริการดังกล่าวได้เรียกเก็บมาตั้งแต่ค่าไฟฟ้าเดือนตุลาคม 2543
  3. ค่า Ft คือ ค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า (น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา ก๊าซธรรมชาติ ลิกไนต์) ค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชน และค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐที่เปลี่ยนแปลงไปจากค่าไฟฐาน โดยค่า Ft จะมีการปรับทุก 4 เดือน โดย คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้กำกับดูแล
  4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % เรียกเก็บตามที่กฎหมายกำหนด

รายละเอียดบิลค่าไฟฟ้านครหลวง