การเขียนอธิบายเชิงอรรถ

แทรกเชิงอรรถและอ้างอิงท้ายเรื่อง

Word for Microsoft 365 Word 2021 Word 2019 Word 2016 Word 2013 Word 2010 Word 2007 เพิ่มเติม...น้อยลง

การเขียนอธิบายเชิงอรรถ

เชิงอรรถจะปรากฏที่ด้านล่างของหน้า และอ้างอิงท้ายเรื่องจะแสดงอยู่ที่ส่วนท้ายของเอกสาร ตัวเลขหรือสัญลักษณ์บนเชิงอรรถหรืออ้างอิงท้ายเรื่องตรงกับเครื่องหมายการอ้างอิงในเอกสาร

การเขียนอธิบายเชิงอรรถ
  1. คลิกบริเวณที่คุณต้องการอ้างอิงไปยังเชิงอรรถหรืออ้างอิงท้ายเรื่อง

  2. บนแท็บการอ้างอิง ให้เลือกแทรกเชิงอรรถ หรือแทรกอ้างอิงท้ายเรื่อง

    การเขียนอธิบายเชิงอรรถ
  3. ใส่สิ่งที่คุณต้องการในเชิงอรรถหรืออ้างอิงท้ายเรื่อง

  4. กลับไปยังที่ของคุณในเอกสารด้วยการดับเบิลคลิกที่ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่จุดเริ่มต้นของบันทึกย่อ

ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมหรือไม่

posted Mar 18, 2014, 9:19 AM by Treeneat Sarapong   [ updated Mar 18, 2014, 9:22 AM ]

เชิงอรรถมีวิธีการเขียน 3 รูปแบบดังนี้

 2.1  เชิงอรรถอ้างอิง คือการบอกแหล่งที่มาของข้อความที่คัดลอกหรือเก็บแนวคิด ในปัจจุบันนิยมใช้แบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาระบบนาม-ปี

2.2  เชิงอรรถเสริมความ คือ

                                การอธิบายเพิ่มเติม หรือขยายความในส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้อธิบายในส่วนท้ายของหน้า โดยใช้เครื่องหมายดอกจัน (*) เหนือบรรทัดท้ายข้อความที่ต้องการขยายความ และเพิ่มจำนวนดอกจันตามลำดับเชิงอรรถเสริมความกรณีที่มีมากกว่า 1 เชิงอรรถ เช่น**,*** หรือหมายเลข 1 2.........

2.3  เชิงอรรถโยง คือการโยงให้ผู้อ่านไปดูหรือดูเพิ่มที่เรื่องอื่น

การเขียนเชิงอรรถเมื่ออ้างเอกสารซ้ำ

                เมื่ออ้างซ้ำงานที่เคยอ้างในเชิงอรรถอ้างอิงครั้งแรกแล้ว ถ้ามีการอ้างเอกสารเรื่องนั้นซ้ำอีกให้เขียนดังนี้

                1.  การอ้างเอกสารซ้ำโดยไม่มีเอกสารอื่นมาคืน ให้ใช้คำว่า “เรื่องเดียวกัน” หรือ “Ibid” ย่อมาจากภาษาลาติน “Ibidem” (in the same place) และถ้าอ้างเอกสารต่างหน้ากัน ให้ระบุเลขหน้าด้วย

                2.  การอ้างเอกสารซ้ำ กรณีที่มีเอกสารอื่นมาคั่น ให้ระบุชื่อ ชื่อสกุลผู้แต่ง (เอกสารภาษาอังกฤษระบุเฉพาะชื่อสกุล) ต่อมาด้วยคำว่า “เรื่องเดิม” หรือ “op.eit” ย่อมาจากภาษาลาติน “opera eitato”  (the work eited)

                3.  การอ้างอิงหน้าเดียวกันให้ใช้คำว่า “เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน” หรือ “loe.eit” ย่อมาจากภาษาลาติน “loeo eitato” (the place eited) ให้เหมือนกัน “เรื่องเดิม” แต่เป็นการอ้างหน้าเดียวกัน ซึ่งไม่ต้องระบุเลขหน้า

                การอ้างเอกสารซ้ำแบบไม่มีเอกสารอื่นมาคั่น หรือมีเอกสารอื่นมาคั่น ปัจจุบันมีวิธีอ้างที่ป้องกัน คือระบุชื่อผู้แต่ง และเลขหน้าที่อ้างถึง

ตัวอย่าง เอกสารภาษาไทย

                1กิตติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์, บทบัญญัติ 10 ประการในการวางแผนภาษีอากร (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์การเงินการธนาคาร, 2536), หน้า 13.

                2เรื่องเดียวกัน, หน้า 57.

25

หรือ        2กิตติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์, หน้า 57.

                3ศิริพงษ์ ศุภกิจจานุสรณ์, “คำอธิบายอนุสัญญาภาษีซ้อน, “ใน เอกสารประกอบการบรรยายกฎหมายภาษีอากรระหว่างประเทศ (กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2537), หน้า 25.

                4กิตติพงษ์ อุรพีพัฒนพงศ์, เรื่องเดิม, หน้า 21.

หรือ        4กิตติพงษ์ อุรพีพัฒนพงศ์, หน้า 35.

                5ศิริพงษ์ ศุภกิจจานุสรณ์, เรื่องเดียวกัน หน้าเดียวกัน.

เอกสารภาษาอังกฤษ

                “Mawin E. Shaw and Jack M. Wright, Scale for the Measurement of Altitude (New York: Me Graw Hill, 1967), 23.

                2Ibid, 125.

หรือ        3Timothy Chandler and Peter Feuille, “Municipal Unions and Privatization, “Public Administration Review 51 (January February): 20.

                4Shaw and Wright, op.eit., 200

                5Ibid., 58

                6Chandler and Feuille, loe.eit.

การอ้างอิงเชิงอรรถ

                เป็นการระบุเอกสารและแหล่งที่ใช้อ้างอิง ในการเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ไว้ท้ายหน้า มีแบบแผนในการเขียนเชิงอรรถดังนี้

                1.  การให้หมายเลขเชิงอรรถในเนื้อหา

                                1.1  ลงหมายเลขเชิงอรรถอยู่เหนือบรรทัด ในตำแหน่งที่ต้องการอ้างอิง โดยไม่ต้องเว้นช่องว่างระหว่างตัวเลขกับตัวอักษร

                                1.2  ไม่ต้องใส่เครื่องหมายใด ๆ กำกับหมายเลขเชิงอรรถ

                                1.3  การเรียงลำดับตัวเลขในเชิงอรรถ ให้ตั้งต้นนับหนึ่งใหม่เมื่อขึ้นหน้าใหม่ในกรณีที่วิทยานิพนธ์ มีความยาวไม่มากนัก อาจเรียงลำดับตั้งแต่ 1 ต่อเนื่องไปจนจบบท

                2.  ตำแหน่งของเชิงอรรถอ้างอิงท้ายหน้า

                                2.1  พิมพ์เชิงอรรถไว้ล่างสุดของแต่ละหน้าที่มีการอ้างอิง และคั่นเนื้อหากับเชิงอรรถโดยขีดเส้นจากขอบกระดาษด้านซ้ายยาวประมาณ 2 นิ้ว ในบรรทัดจากเนื้อหาบรรทัดสุดท้าย

                                2.2  พิมพ์เชิงอรรถแรกในบรรทัดแรกถัดจากเส้นคั่น

                                2.3  บรรทัดแรกของเชิงอรรถแต่ละเชิงอรรถ ย่อหน้า 5 ระยะอักษรพิมพ์

(หรือ 0.5 นิ้ว) เริ่มพิมพ์หมายเลขเชิงอรรถตัวอักษรที่ 6

26

                                2.4  พิมพ์หมายเลขเชิงอรรถเหนือบรรทัด ก่อนอักษรตัวแรกของข้อความในแต่ละเชิงอรรถ โดยไม่มีเครื่อหมายและการเว้นระยะระหว่างตัวเลขกับตัวอักษรตัวแรก

                                2.5  เชิงอรรถที่มีความยาวเกิน 1 บรรทัด บรรทัดต่อมาให้พิมพ์ชิดขอบกระดาษด้านซ้ายทุกบรรทัดจนจบรายการ

                                2.6  ไม่ต้องเว้นบรรทัดระหว่างเชิงอรรถแต่ละเชิงอรรถในหน้าเดียวกัน

                                2.7  บรรทัดสุดท้ายของเชิงอรรถในแต่ละหน้า อยู่ห่างจากริมกระดาษด้านล่าง

1นิ้ว

บรรณานุกรม

                1.  การพิมพ์บรรณานุกรม

                                1.1 พิมพ์ว่า “บรรณานุกรม “หรือ “BIBLIOGRAPHY” ไว้ตรงกลางหน้าห่างจากริมกระดาษด้านบน 2 นิ้ว

                                1.2  รายการอ้างอิงรายการแรก เว้นระยะห่างจากคำว่า “บรรณานุกรม” 1 บรรทัดพิมพ์

                                1.3  การพิมพ์บรรทัดแรกของเอกสารอ้างอิงแต่ละรายการให้พิมพ์ชิดขอบกระดาษด้านซ้าย บรรทัดต่อมาให้ย่อหน้า 5 ระยะอักษรพิมพ์ (หรือ 0.5 นิ้ว) โดยเริ่มพิมพ์ตัวอักษรที่ 6

                                1.4  การเว้นระยะระหว่างบรรทัดในรายการอ้างอิงแต่ละรายการ และการขึ้นรายการใหม่ให้เว้นระยะเท่ากัน

                2.  การจัดลำดับรายการอ้างอิง

                                2.1  จัดเรื่องรายการอ้างอิงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหากชื่อตัวซ้ำกันจึงเรียงลำดับตามอักษรชื่อสกุล

                                สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ การเรียงลำดับชื่อผู้แต่งในบรรณานุกรมเรียมตามชื่อสกุล ตามด้วยชื่อตัวโดยใช้จุลภาค (,) คั่น

                                2.2  เอกสารที่ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง ให้ลำดับด้วยอักษรชื่อหนังสือ หรือชื่อบทความ ขึ้นอยู่กับประเภทของเอกสาร

                                2.3  ข้อความที่เป็นส่วนแรกของรายการอ้างอิง ที่เป็นชื่อเรื่อง สัญลักษณ์ ตัวเลขให้ถือตามเสียงอ่านเป็นสำคัญ เช่น

                                100 ปีของสุนทรภู่ อ่านว่า ร้อยปีของสุนทรภู่ ให้ใช้อักษร ร ในการเรียงลำดับ

                                2.4  การเรียงลำดับรายการอ้างอิง เอกสารหลายเรื่องของผู้แต่งคนเดียวกัน ให้เรียงตามลำดับปีพิมพ์ โดยขึ้นด้วยปีที่พิมพ์ก่อนสุด ตามลำดับจนถึงปีที่พิมพ์หลังสุด และเอกสารลำดับที่ 2 เป็นต้นไปของผู้แต่งคนเดียวกัน ให้ใช้เส้นตรงยาว 6-8 ระยะอักษรพิมพ์ ในตำแหน่งชื่อผู้แต่งตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) เช่น

27

พิมลพรรณ ประเสริฐราช เรพเพอร์. 2519. การบริการตอบคำถามเพื่อช่วยการค้นคว้า.     

       กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.                  

          . 2532. คู่มือช่วยค้นคว้าประเภทแนะแหล่งสารสนเทศ ใน การบริการและเผยแพร่

      สารสนเทศ หน่วยที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

                                2.5  การอ้างอิงเอกสารหลายเรื่องของผู้แต่งคนเดียวกันพิมพ์ในปีเดียวกัน ให้ใส่อักษร ก ข ค หรือ a,b,c หลังปีพิมพ์ โดยระบุให้ตรงกับส่วนที่อ้างอิงในเนื้อหา เช่น

จินตนา ยศสุนทร, คุณหญิง. 2521ก. ประวัติวรรณคดีฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

      รามคำแหง   

          . 2521ข. แปลฝรั่งเศส. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.     

                3.  การเว้นระยะหลังเครื่องหมายวรรคตอน

                                3.1  การเว้นระยะการพิมพ์หลังเครื่องหมายวรรคตอนในรายการอ้างอิง มีดังนี้

                                หลังเครื่องหมายมหัพภาค (.) เครื่องหมายจุลภาค (,) เครื่องหมายอัฒภาค (;) และเครื่องหมายทวิภาค (:) เว้น 1 ระยะอักษรตัวพิมพ์

                                3.2  กรณีที่เป็นคำย่อ ไม่ต้องเว้นระยะเครื่องหมายมหัพภาค (.) เช่น พ.ศ. กศ.ม. M.A. Ph.D.

                                3.3  ชื่อชาวต่างชาติ ถ้าระบุชื่อตัว และชื่อกลางเป็นอักษรย่อ ให้เว้น 1 ระยะอักษรพิมพ์ หลังเครื่อหมายมหัพภาค (.) ที่กำกับอักษรย่อชื่อตัว เช่น Johnson, N. K.

                                3.4  การพิมพ์เลขหน้าต่อเนื่อง ซึ่งเชื่อมด้วยเครื่องหมายยติภังค์ (-) ไม่ต้องเว้นระยะ เช่น 20-21

                4.  การเขียนส่วนประกอบอ้างอิง

                                4.1  ชื่อผู้แต่ง

                                   -  ชื่อผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ สมณศักดิ์ หรือยศ เช่น

ม.ร.ว., พระ, พลตรี ให้นำคำหน้าเหล่านี้ไปไว้หลังชื่อสกุล โดยใช้เครื่องหมาย (,) คั่น

                                เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว.

                                บริหารเทพธานี, พระ

                                จำลอง ศรีเมือง, พลตรี

                                   -  ชื่อผู้แต่งชาวต่างชาติ ที่มีคำย่อ Sr. (Senior) หรือ Jr. (Junior) หรือเลขโรมันตามหลังให้ระบุคำเหล่านี้ไว้หลังชื่อ

                                Penn, Robert, Jr.

                                Brownell, Arthur, P.III

28

                                   -  ไม่ต้องระบุคำนำหน้าชื่อ นาย นาง นางสาว ตำแหน่งบริหาร ตำแหน่งวิชาการ และวุฒิการศึกษา

                                   -  ผู้แต่งคนเดียว และคนแรก (กรณีมีผู้แต่งมากว่า 1 คน) ในเอกสารภาษาอังกฤษให้ขึ้นต้นด้วยชื่อสกุล ตามด้วยชื่อตัว และชื่อกลาง โดยใช้เครื่องหมาย (,) คั่นชื่อสกุลกับชื่อตัว

                                Arnove, Robert F.

                                   -  ผู้แต่ง 2 คน หนังสือภาษาไทยลงชื่อผู้แต่งที่ระบุเป็นคนแรกก่อน  เชื่อมด้วยคำว่า “และ” แล้วลงชื่อผู้แต่งคนที่ 2 เช่น

                                ยุพา สายมาก และชุติมา สัจจานนท์

                                Arnove, Robert F., and David Fachs.

                                   -  ผู้แต่ง 3 คน หนังสือภาษาไทย ลงชื่อผู้แต่งคนแรก คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) คนที่สอง เชื่อมด้วยคำว่า “และ” แล้วจึงลงชื่อผู้แต่งคนที่ 3 เช่น

                                ยุพา สายมาลา, ชุติมา สัจจานนท์ และสุพัฒน์ ส่องแสงจันทร์

                                Arnove, Robert F., David Sachs and William A. Katz.

                                   -  ผู้แต่งคนไทย ซึ่งมีงานเขียนเป็นภาษาต่างประเทศแต่พิมพ์ในประเทศไทย ให้ลงชื่อตัวก่อนแล้วตามด้วยชื่อสกุล เช่นเดียวกับที่เขียนเป็นภาษาไทย ถ้าพิมพ์ในต่างประเทศหรือนำมาจากฐานข้อมูล ซี่งใช้ชื่อสกุลนำหน้าชื่อตัวก็ให้ระบุตามฐานข้อมูล

                                   -  ผู้แต่งใช้นามแฝงและทราบนามจริง ให้ลงนามจริงไว้ในวงเล็บเหลี่ยม เช่น

ทมยันตี [วิมล เจียมเจริญ]. 2550. โสมส่องแสง. กรุงเทพ: ณ บ้านวรรณกรรม.

                                   -  ผู้แต่งใช้นามแฝง และไม่ทราบนามจริง เช่น

กิ่งฉัตร (นามแฝง). 2539. ดวงใจพิสุทธิ์. กรุงเทพฯ: ณ บ้านวรรณกรรม.

                                   -  ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน องค์กร หรือสมาคม ให้ระบุตามที่ปรากฎในเอกสาร เช่น

                                มหาวิทยาลัย คณะเภสัชศาสตร์ ภาควิชาเภสัชวิทยา

                                กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ

                                ธนาคารแห่งประเทศไทย

                                4.2. ปีที่พิมพ์

                                   -  ระบุปีที่พิมพ์ ต่อจากชื่อผู้แต่ง

                                  -  ถ้าไม่ปรากฎปีที่พิมพ์ ใช้ตัวย่อ ม.ป.ป. (ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์) หรือ n.d.

(no date)

                                4.3  ชื่อหนังสือ

                                  -  พิมพ์ชื่อหนังสือตามที่ปรากฎในหน้าปกใน ใช้ตัวอักษรหนา หรือตัวเอน ให้เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด ยกเว้นเอกสารที่ไม่พิมพ์เผยแพร่ใช้ตัวพิมพ์ธรรมดา

29

                                  -  หนังสือที่มีชื่อเรื่อง (Subtitle) ซึ่งเป็นคำอธิบายชื่อหนังสือให้ชัดเจนขึ้น ให้เขียนต่อจากชื่อหนังสือ คั่นด้วยเครื่องหมายวรรคตอนตามที่ปรากฎในหน้าปกใน ถ้าไม่มีเครื่องหมายวรรคตอนกำกับให้คั่นด้วยเครื่องหมาย (:) ทั้งเอกสารภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เช่น

สมบูรณ์ พรรณภพ.ม.ป.ป. สรุปคำบรรยายวิชาศึกษา 171: การศึกษาไทย. กรุงเทพฯ:

      คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

                                  -  การพิมพ์ชื่อหนังสือ หรือชื่อบทความที่เป็นภาษาต่างประเทศ ให้ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ขึ้นต้นคำแรกของชื่อหนังสือและชื่อรอง นอกนั้นให้ใช้อักษรตัวพิมพ์เล็ก ยกเว้นชื่อเฉพาะ ชื่อวารสาร ชื่อนิตยสารและหนังสือพิมพ์ ให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ขึ้นต้นคำแรก เช่น

Mclaughlin, Milbrey W. 1975. Evaluation and reform: The elementary and secondary          

      education act of 1965. Lexington, Mass.: D.C. Heath.  

                                4.4  ครั้งที่พิมพ์

                                หนังสือที่พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป หรือกรณีที่มีการปรับปรุงแก้ไขครั้งที่พิมพ์ใหม่ให้ระบุครั้งที่พิมพ์ต่อจากชื่อเรื่องภาษาไทยใช้ชื่อเต็มตามหน้าปกใน ภาษาอังกฤษใช้ตัวย่อ เช่น

                                พิมพ์ครั้งที่ 2 หรือ 2d ed. (second edition)

                                พิมพ์ครั้งที่ 3 หรือ 3d ed. (Third edition)

                การแก้ไขปรับปรุง

                                2d ed., rev. (second edition, revised)

                                rev. 2d ed. (revised second edition)

                                4.5  สถานที่พิมพ์ (เมืองที่พิมพ์) และสำนักพิมพ์ (ผู้จัดพิมพ์)

                                  -  หนังสือทั่วไป ให้ระบุสถานที่พิมพ์ และสำนักพิมพ์ต่อจากชื่อหนังสือ หรือครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี) ใช้เครื่องหมาย (:) คั่นระหว่างสถานที่พิมพ์ และสำนักพิมพ์

                                  -  สถานที่พิมพ์ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายให้ระบุชื่อรัฐ หรือชื่อประเทศที่สำนักพิมพ์นั้นตั้งอยู่

                                  -  ชื่อสำนักพิมพ์ในภาษาอังกฤษ ให้ตัดคำที่ระบุประเภทของกิจการออก เช่น Inc., Ltd., Co., Publishing Company. Publishers, Book, House, Press  สำหรับสำนักพิมพ์ที่เป็นสมาคมและสถาบันให้ระบุคำเต็ม เช่น Cambridge University Press, Public School Publishing.

                ซึ่งสำนักพิมพ์ในเอกสารภาษาไทย ให้คำว่า”สำนักพิมพ์” และ “โรงพิมพ์” ไว้ตามที่ปรากฎในเอกสารนั้น ๆ ส่วนข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่สำคัญไม่ต้องระบุ เช่น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด

                                  -  ถ้าไม่ปรากฎสถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ให้ใช้ตัวย่อ ม.ป.ท. (ไม่ปรากฎที่พิมพ์) หรือn.p. (no place)

                                  -  สิ่งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นในนามของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์กร หรือสมาคม ให้ลงชื่อหน่วยงานนั้น ๆ ในส่วนของผู้แต่งและผู้จัดพิมพ์ ถ้าเป็นหน่วยงานหลายระดับให้ลงชื่อหน่วยงานในระดับสูงกว่าในตำแหน่งชื่อผู้แต่ง และหน่วยงานย่อย ซึ่งเป็นเจ้าของผลงานให้ระบุชื่อในส่วนผู้จัดพิมพ์ เช่น

30

กระทรวงคมนาคม. 2534. ผลงานประจำปี 2534. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงคมนาคม.

กรมสามัญศึกษา 2533. คู่มือการจัดบริการโสตทัศนศึกษา. กรุงเทพมหานคร:

      หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา.

รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงประเภทต่าง ๆ ระบบนาม – ปี

1.  หนังสือทั่วไป   

ชื่อผู้แต่ง./ปีที่พิมพ์./ชื่อหนังสือ./พิมพ์ครั้งที่ (ครั้งที่2 เป็นต้นไป)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

                1.1  ผู้แต่ง 1 คน

สุขุม นวลสกุล. 2530. การเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:

      โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Sharp, William F. 1985. Investment. 3d ed. New Jersey: Prentice-Hall.

                1.2  ผู้แต่ง 2 คน

ชัยยศ สันติวงษ์ และชนะใจ เดชวิทยาพร. 2538. การจัดการเงินสด. กรุงเทพมหานคร:

      สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล อินเตอร์เนชั่นแนล.

Brigham, Eugene F., and Louis C. Gapenski. 1997. Financial management: Theory and                                    

      practice. 8th ed. Florida: The Dryden Press.

                1.3  ผู้แต่ง 3 คน

ชัยยศ สันติวงษ์, ชนะใจ เดชวิทยาพร และปรีชา พาที. 2538. การจัดการเงินสด.

      กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล อินเตอร์เนชั่นแนล.

Budd, Richard W., Robert K. Thorp, and Lewis Donohew. 1965. Content analysis of

      communication. New York: Macmillan.

                1.4  ผู้แต่งมากกว่า 3 คน

Budd, Richard W. and others. 1991. Consumer law: Case and materials. 2d ed. New

       York: Macmillan.

31

                1.5  หนังสือที่มีชื่อชุดและลำดับที่ในชุด

เสฐียร โกเศส [พระยาอนุมานราชธน]. 2509. ประเพณีเนื่องในการแต่งงาน และประเพณี

      เนื่องในการปลูกเรือน. หนังสือชุดประเพณีไทย, อันดับที่ 2. พระนคร: สมาคมสังคมศาสตร์

      แห่งประเทศไทย

                1.6  เอกสารที่ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง

                   -  ลงชื่อหนังสือในตำแหน่งชื่อผู้แต่ง

คำพิพากษาศาลฏีกา ประจำพุทธศักราช 2523. 2523. กรุงเทพมหานคร: เนติบัณฑิตยสภา

                   -  ลงชื่อบทความในตำแหน่งชื่อผู้แต่ง

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518. 2518. ราชกิจจานุเบกษา 92

       (6 กุมภาพันธ์): 50.

                   -  ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง มีแต่ผู้ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ ผู้รวบรวม ผู้จัดพิมพ์ให้ใช้ผู้ทำหน้าที่ดังกล่าวในตำแหน่งชื่อผู้แต่ง

สุลักษณ์ ศิวรักษ์, ผู้รวบรวม. 2525. อยู่อย่างไรในสมัยศตวรรษที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์,      

      รวมปาฐกถาใน ร.ศ. 199. กรุงเทพมหานคร: เคล็ดไทย.

                1.7 สิ่งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นในนามของหน่วยงานต่าง ๆ

ธนาคารกรุงเทพจำกัด. 2521. อุตสาหกรรมประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายวิจัย

      และวางแผน ธนาคารกรุงเทพจำกัด.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. บัณฑิตวิทยาลัย. 2540. คู่มือเรียบเรียงปริญญานิพนธ์.

      กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิชัยพาณิชย์และการพิมพ์.

2.  หนังสือแปล

ชื่อผู้แต่ง./ปีพิมพ์./ชื่อเรื่อง./แปลโดย ชื่อผู้แปล./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

เบอร์เนทท์, แฟรนซิล เอช. (2530). ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย. แปลโดยเนื่องน้อย ศรัทธา.

      พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: การพิมพ์สตรีสาร.

3.  บทความในหนังสือ รายงานการประชุมสัมมนา และหนังสือรายปี

ชื่อผู้เขียนบทความ./ปีพิมพ์./ชื่อบทความ./ใน ชื่อเรื่อง,/บรรณาธิการโดย.../เลขหน้า./

      พิมพ์ครั้งที่./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

32

แม้นมาส ชวลิต, คุณหญิง. 2526. การก้าวสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของห้องสมุด. ใน เอกสารการ

      สัมมนาทางวิชาการเรื่องก้าวแรกของการใช้คอมพิวเตอร์ของห้องสมุด, หน้า1-7.

       กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

4.  บทความในวารสาร นิตยสาร

ชื่อผู้เขียนบทความ./ปีพิมพ์./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร/ปีที่ออก,/ฉบับที่ออก(เดือนหรือ

      กำหนดออก):/เลขหน้า.

ทวีป อภิสิทธิ. 2538. ศูนย์การเรียนชุมชน. วารสารการศึกษาตลอดชีวิต 17, 15(กรกฎาคม):

      68-69.

5.  บทความในหนังสือพิมพ์

ชื่อผู้เขียนบทความ./ปีพิมพ์./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์./วัน เดือน,/เลขหน้า.

ไตรรัตน์ สุนทรประภัสสร. 2540. อนาคตจีน-อเมริกา. เดลินิวส์. 8 พฤศจิกายน, 6.

6.  วิทยานิพนธ์

ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์./ปีพิมพ์./ชื่อวิทยานิพนธ์./ระดับวิทยานิพนธ์,/ชื่อสถาบัน.

สุมิตรา เชาวน์เมธากิจ. 2544. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทวิมาตรฐานทางเพศของครู

       กับการเป็นผู้ฝึกทักษะชีวิตเพื่อการป้องกันเอดส์สำหรับนักเรียน. วิทยานิพนธ์สังคม 

       สงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

7.  รายงานการวิจัย

ชื่อผู้วิจัย./ปีพิมพ์./ชื่อรายงานการวิจัย./ชื่อหน่วยงานที่ให้ทุนทำการวิจัย./เลขที่ขอ.

      รายงาน (ถ้ามี)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

33

บุบผา การีเวท. 2529. รายงานการวิจัยเรื่องสาเหตุการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลการ

      ลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง: ศึกษาเฉพาะกรณีการ

       บอกเลิก-บอกเพิ่ม. สำนักบริการทางวิชาการ และทดสอบประเมินผล มหาวิทยาลัย

       รามคำแหง กรุงเทพฯ:  ม.ป.ท.

8.  การบันทึกจากปาฐกถา การบรรยาย และเอกสารประกอบการบรรยาย การประชุม สัมมนา

ชื่อผู้บรรยาย./ปีที่บรรยาย./หัวข้อการบรรยาย./ชื่อการประชุม และสถาบันที่ดำเนินการ

      (ถ้ามี)./สถานที่,/วัน เดือน.

ชวลิต หมื่นนุช. 2538. แนวทางและปัญหาการดำเนินงานของบัณฑิตวิทยาลัย ใน

      มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน. เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง ทิศทางการดำเนินงาน

      ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง. โรงแรมอินเตอร์เพลส์ กรุงเทพฯ, 25 กรกฎาคม.

9.  อ้างอิงแหล่งสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ชื่อผู้แต่ง./ปีพิมพ์./ชื่อเรื่อง./[ประเภทของสื่อ]./สถานที่ผลิต:/หน่วยงานที่ผลิต./

      รายละเอียดของวัสดุนั้นๆ.

                9.1  ซีดีรอม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2544. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ.[ซีดีรอม]. กรุงเทพฯ:

     การท่องเที่ยวฯ. 1 แผ่น.

eGuide Regional online directory. 2545. [CD-ROM]. Bangkok: eGuide(Thailand). 1 disc.

                9.2  แฟ้มข้อมูล

Canal System. 1998. [Computer File]. Edwardsville, Ks: Medissim.

                9.3  สาระสังเขปจากฐานข้อมูลซีดีรอม

ชื่อผู้แต่ง./ปีพิมพ์./ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์./[ประเภทของสื่อ]./Abstract from:/แหล่งที่มา

      ของสารสนเทศ.

Kanitpong P. and Panich V. 1998. Hepotic penicilliosisin patients without skin lesions.

      [CD-ROM]. Abstract form: Current: Clinical Medicine 1997-98: ZN239-0035.

34

                9.4  การอ้างอิงโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ชื่อผู้ได้รับลิขสิทธิ์(ถ้ามี)./ปีพิมพ์./ชื่อโปรแกรมหรือชื่อคอมพิวเตอร์./[ประเภทของสื่อ]./ 

      สถานที่ผลิต:/ชื่อผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่าย.

บริษัทไอสแควร์จำกัด. 2546. สร้างและตกแต่งภาพกราฟฟิกด้วย Adobe Photoshop 7.

      [CD-ROM]. กรุงเทพฯ: บริษัทไอสแควร์จำกัด.

                9.5  การอ้างอิงเอกสารจากอินเตอร์เน็ต

ชื่อผู้แต่ง./ปีพิมพ์./ชื่อบทความ./[ประเภทของสื่อ]./สืบค้นเมื่อ/วัน/เดือน,/ปี,จากแหล่งข้อมูล

 ศรีสมร คงพันธุ์. 2542. สมุนไพรกับอาหารไทย. [Online]. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม, 2542,

      จาก http://ite.nectce.or.th/%7Eelib.