นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง


            ภาษาท่านาฏศิลป์  เป็นการนำท่าทางต่างๆ  และสีหน้าที่มีอยู่ตามธรรมชาติ  เช่น  คำพูด กริยาอาการ  อารมณ์ ความรู้สึก  มาปฏิบัติเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยที่มีความหมายแทนคำพูด ให้สอดคล้องกับจังหวะเพลงและการขับร้อง  การฝึกปฏิบัติ  การฝึกหัดภาษาท่าจะต้องฝึกให้ถูกต้องตามแบบแผนเพื่อจำได้สื่อความหมายได้ โดยตรง ซึ่งจะทำให้ผู้ชมเข้าใจความหมายที่ผู้แสดงต้องการสื่อความหมายมากขึ้น
ที่มาของภาษาท่า ที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์  แบ่งออกเป็น  ประเภท
๑. ภาษาท่าที่มาจากธรรมชาติ เป็นท่าทางที่ดัดแปลงมาจากท่าทางตามธรรมชาติของคนเรา แต่ปรับปรุงให้ดูสวยงามอ่อนช้อยมากยิ่งขึ้น  โดยใช้ลักษณะการ ร่ายรำเบื้องต้นมาผสมผสาน  เช่น  ท่ายิ้ม  ท่าเรียก  ท่าปฏิเสธ  ท่าร้องไห้  ท่าดีใจ  ท่าเสียใจ  ท่าโกรธ 
๒. ภาษาท่าที่มาจากการประดิษฐ์โดยตรง เป็นท่าทางที่ประดิษฐ์ ขึ้นเพื่อให้เพียงพอใช้กับคำร้องหรือคำบรรยาย ที่จะต้องแสดงออกเป็นท่ารำ  เช่น    สอดสร้อยมาลา  เป็นต้น
ภาษาท่าเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ความหมายระหว่างผู้แสดงและผู้ชม ในการแสดงนาฏศิลป์ เพราะทำให้ผู้ชมทราบว่าผู้แสดงกำลังสื่ออะไร  หรือกำลังมีอารมณ์อย่างไร
ภาษาท่าสามารถแบ่งได้เป็น  ๓  ลักษณะ คือ
           ๑.    ภาษาท่าที่ใช้แทนคำพูด
           ๒.   ภาษาท่าที่ใช้แทนกิริยาอาการต่างๆ 
           ๓.   ภาษาท่าที่ใช้แสดงอารมณ์ ความรู้สึกภายใน
ภาษาท่าทางนาฏศิลป์
ภาษาท่าทางนาฏศิลป์  ในชีวิตประจำวันทุกวันนี้มนุษย์เราใช้ท่าทางประกอบการพูดหรือบางครั้งมีการแสดงสีหน้า ความรู้สึก เพื่อเน้นความหมายด้วยในทางนาฏศิลป์ ภาษาท่าเสมือนเป็นภาษาพูด โดยไม่ต้องเปล่งเสียงออกมา แต่อาศัยส่วนประกอบอวัยวะของร่างกาย แสดงออกมาเป็นท่าทาง โดยเลียนแบบท่าทางธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ การปฏิบัติภาษาท่าทางนาฏศิลป์แบ่งออกได้ ดังนี้

         1. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แทนคำพูด เช่น ฉัน เธอ ท่าน ปฏิเสธ ท่าเรียก ท่าไป
         2. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์อริยาบทหรือกิริยาอาการ เช่น ท่ายืน ท่าเดิน ท่านั่ง
         3. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ เศร้าโศก

    

นาฏยศัพท์  นาฏยศัพท์และภาษาท่า

          นาฏศิลป์เป็นศิลปะแห่งการละครและร่ายรำ ซึ่งท่าทางต่างๆ ได้นำมาจากการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ
 เช่น  การยืน  การเดิน หรือจากกิริยาอารมณ์ต่างๆ  เช่น ร้องไห้  ดีใจ อาย มาประดิษฐ์ให้งดงามขึ้น

นาฏยศัพท์ หมายถึง  ศัพท์เฉพาะที่ใช้เป็นที่รู้กันในวงการนาฏศิลป์

ภาษาท่า หมายถึง  การแสดงท่าทางเพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด

ล่อแก้ว

  เป็นการปฏิบัติคล้ายการจีบแต่ใช้นิ้วกลาง โดยการงอนิ้วกลางเข้ามาจรดกับข้อแรกของนิ้วหัวแม่มือให้มีลักษณะเป็นวงกลมแล้วกรีดนิ้วทั้งสามให้ตึง อาจจะหักข้อมือเข้าหาลำแขนหรือหักข้อมือออก การจีบล่อแก้วจะจีบมือเดียวหรือสองมือก็ได้

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

ม้วนจีบ

  การม้วนจีบเป็นกิริยาของมือจีบหงายแล้วม้วนออกเป็นมือตั้งวง

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

โบกจีบ

  การโบกจีบจะเป็นกิริยาที่ปฏิบัติต่อจากการจีบหงายระดับหัวเข็มขัด แล้วเคลื่อนมือจีบออกในลักษณะจีบควํ่าค่อยๆ ปล่อยมือออกไปตั้งวงบน

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

สอดจีบ

  การสอดจีบจะต้องเริ่มจากการจีบหงายแล้วค่อยๆ เคลื่อนมือจีบให้สูงขึ้นเมื่อถึงที่หมายจึงปล่อยจีบออกไปตั้งวง เช่น ในท่าสอดสร้อยมาลา

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

ส่ายแขน

การส่ายแขนเป็นกิริยาของการส่ายหรือวาดแขนขึ้น-ลง โดยลำแขนตั้งมือตึงตลอดเวลา ปฏิบัติได้ทั้งส่ายแขนข้างเดียว และพร้อมกันทั้งสองข้าง

  การส่ายแขนเดียว 

  ท่าที่  ๑  ตั้งมือแขนตึงระดับไหล่

  ท่าที่  ๒  วาดแขนลงมาข้างลำตัวแล้วพลิกมือคว่ำหงายท้องแขนขึ้นระดับไหล่

ส่ายแขน

การส่ายสองแขน 

  ท่าที่    ๑   ตั้งมือทั้งสองแขนตึงระดับไหล่ มือหนึ่งหงายอีกมือหนึ่งคว่ำ

  ท่าที่    ๒   วาดแขนข้างหนึ่งลงมาข้างลำตัวแล้วพลิกมือคว่ำหงายสลับกัน

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

จรดเท้า

การจรดเท้าจะจรดด้วยเท้าใดก็ได้ ถ้าจะจรดเท้าใดให้อีกเท้าหนึ่งยืนรับนํ้าหนัก แล้วยกเท้าข้างที่จรด โดยวางส้นเท้าลงที่พื้นใกล้กับเท้าที่ยืน แล้วดึงเท้าเข้าหาตัวเองใช้จมูกเท้าเเตะพื้นพร้อมกับยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

ถัดเท้า

การถัดเท้าเป็นกิริยาของการใช้จมูกเท้าถัดพื้น เช่น ถัดเท้าขวา ปฏิบัติดังนี้

  จังหวะที่ ๑  ยืนให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย เท้าขวายืนด้วยจมูกเท้า

  จังหวะที่ ๒  เท้าขวาใช้จมูกเท้าไสพื้นแล้วยกปลายเท้าขึ้นให้ส้นเท้าจรดพื้นและยกเท้าขึ้น  จากพื้น 

  จังหวะที่ ๓  ก้าวเท้าขวาลงน้ำหนักอยู่ที่เท้าขวา

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

ภาษาท่า

  ท่าไหว้

  เป็นการพนมมือไหว้โดยประกบฝ่ามือให้นิ้วเรียงชิดติดกันปลายนิ้วบานออกเล็กน้อย
ยกมือขึ้นไหว้ระดับอก โดยให้นิ้วหัวแม่มือติดกัน ส่วนนิ้วทั้งสี่เปิดออก ปลายนิ้วตึง

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

ภาษาท่า

ท่าโศกเศร้า

  ไขว้มือประสานกันบริเวณหน้าท้อง ก้มหน้าเล็กน้อย สะดุ้งตัว เดินเซ

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

ท่าเดิน

  การปฏิบัติ  ถ้าจะก้าวซ้ายให้มือซ้ายจีบควํ่าบริเวณชายพก มือขวาจีบข้างลำตัว งอแขนเล็กน้อย เอียงซ้ายประสมเท้าซ้าย แล้วเดินมือโดยให้มือซ้ายตั้งวงล่างข้างลำตัว งอแขนเล็กน้อย มือขวา
ตั้งวงล่างระดับชายพก ก้าวซ้าย เอียงขวา ถ้าจะก้าวขวาก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกันแต่ตรงกันข้าม

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

ท่าชี้นิ้ว

  จะชี้ด้วยมือขวาหรือมือซ้ายก็ได้ ส่วนอีกมือหนึ่งอาจจีบหลังหรือเท้าสะเอว มือที่ชี้มีหลายระดับแต่ละระดับมีความหมายที่ต่างกัน

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

ท่าทั่วไปหรือพวกเรา

  ปฏิบัติท่าชี้มือคว่ำลงด้านหน้าระดับเอวแล้วตะแคงมือชี้ออกไปด้านข้าง หมายถึง พวกท่าน มากมาย ทั่วๆ ไป เป็นต้น

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

ท่ากล้าหาญหรือสู้

  มือข้างหนึ่งตั้งวงบน อีกข้างหนึ่งตั้งวงล่างหรือแตะฝ่ามือที่หน้าขา ก้าวเท้าข้างเดียวกับ
มือล่าง นํ้าหนักอยู่เท้าหน้า เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือตั้งวงบน

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

ท่ายิ่งใหญ่

  หงายมือท่าพรหมสี่หน้า เท้าก้าวหรือยืน

นาฏย ศัพท์ และภาษาท่า หมาย ถึง

นาฏยศัพท์และภาษาท่ามีความสำคัญอย่างไร

ประโยชน์ของภาษาท่ารำทางนาฏศิลป ๑. ช่วยพัฒนาการแสดงนาฏศิลป์ไทยให้มีความสวยงามได้มาตรฐาน ๒. ช่วยสื่อความหมายให้เข้าใจได้ตรงกันเมื่อเรียกและใช้ภาษานาฏศิลป์ต่างๆ ๓. ใช้เป็นแนวทางในการประดิษฐ์ท่าร่ายรำของการแสดงนาฏศิลป์ชุดต่างๆ

ภาษาท่านาฏยศัพท์มีกี่ท่า

วิดีโอภาษานี้ท่าประกอบไปด้วยภาษาท่าทั้งหมด ๒๐ ท่า ดังนี้ ๑.ท่าตัวเรา ๒.ท่าปฏิเสธ ๓.ท่าที่นี่ ๔.ท่าที่โน่น …

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทยมีความหมายว่าอย่างไร

ภาษาท่านาฏศิลป์ เป็นการนำท่าทางต่างๆ และสีหน้าที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น คำพูด กริยาอาการ อารมณ์ ความรู้สึก มาปฏิบัติเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยที่มีความหมายแทนคำพูด ให้สอดคล้องกับจังหวะเพลงและการขับร้อง การฝึกปฏิบัติ การฝึกหัดภาษาท่าจะต้องฝึกให้ถูกต้องตามแบบแผนเพื่อจำได้สื่อความหมายได้ โดยตรง ซึ่งจะทำให้ผู้ชมเข้าใจความหมาย ...

ความหมายของภาษาท่ามีอะไรบ้าง

ภาษาท่า หมายถึง ภาษาทางนาฏศิลป์เสมือนเป็นภาษาพูดโดยไม่ต้องเปล่งเสียงออกมาแต่อาศัยส่วนประกอบอวัยวะของร่างกาย แสดงออกมาเป็นท่าทาง เป็นสื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้และถ้าได้มีการแนะนำในการใช้ท่าทางต่างๆ