การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ทั่วไป 
    1. ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต
    2. เข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
    3. เข้าใจถึงปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
    4. เข้าใจความคิดเห็นการแก้ไขปัญหาสังคม
   
การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
    1. อธิบาย การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตได้
    2. วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมได้
    3. เอธิบายปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
    4. เแสดงความคิดเห็นการแก้ไขปัญหาสังคม
ได้
   

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม
เนื้อหาสาระ 
       เนื่องจากปัญหาที่มนุษย์ประสบอยู่ในสังคม ปัจจุบันมีหลายประการ นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้ผลกระทบ
ต่อสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมักจะไปด้วยกันเสมอ และสิ่งเหล่านี้ก็มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคมด้วย

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม
การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม

        สังคมและวัฒนธรรมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด
แต่การเปลี่ยนแปลงจะเร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มาเกี่ยวข้ิอง เช่น ระดับการศึกษาของคนในสังคม
การสื่อสารคมนาคม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การนำมาเปลี่ยนแปลง
         วัฒนธรรมกับสังคมเป็นของคู่กัน ต้องไปด้วยกันเสมอ ถ้าสังคมเปลี่ยวัฒนธรรมก็เปลี่ยนสังคมก็เปลี่ยน
มีผลเกี่ยวเนื่องกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นการค้นพบ การประดิษฐ์ การขัดแย้ง การแข่งขัน
         การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒฯธรรมมีผลทำให้ระบบ รูปแบบทางสังคมและวิถีชีวิตของมนุษย์
ทั้งที่เป็นวัตถุและไม่ใช้วัตถุเปลี่ยนแปลง  

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม
ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต 
       วัฒนธรรมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด เนื่องจากปัญหาที่มนุษย์ประสบอยู่
ในสังคมเป็นประจำ ประกอบกับมีความต้องการจะปรับปรุงวิถีชีวิตของตนเองและครอบครัวใหมีสภาพดีขึ้น
กว่าเดิม จะเห็นว่าวัฒนธรรมกับสังคมต้องไปด้วยกันเสมอ มีผลเกี่ยวเนื่องกัน
       โดยเฉพาะในระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็มีความสัมพันธ์กัฐโครงสร้าง
ของสังคมด้วย เช่นการรับเอาแบบอย่างความเป็นอยู่ในเรื่องอาหารการกิน การแต่งกาย การพักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ
โดยสิ่งเหล่านี้ไม่ถือเป้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเว้นเสียแต่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม มีผลสะท้อนให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงในระบบความสัมพันธ์ของบุคคลแตกต่างไปจากที่เคยเป็นอยู่มาแต่เดิม เช่น
         1. แต่เดิมความสัมพันธ์เป็นแบบใกล้ชิด เช่น การลงแขกทางการเกษตรแต่เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาความสัมพันธืของคนในสังคมก็น้อยลง

        2.   เในอดึตสร้างบ้านเหมาะกับธรรมชาติต่อมาเลียนแบบตะวันตกเมื่ออากาศร้อนก็ต้องพึ่งแอร์คอนดิชั่น สิ่งแวดล้อมก็เปลี่ยนไป
        3. การละเล่นในอดีต เช่น รำวง คนมีความสัมพันธ์กันซึ่งแตกต่างจาการดูคอนเสิร์ตในปัจจุบันที่มีส่วนร่วม
แต่ขาดความสัมพันธ์
     
วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
      การเปลี่ยนแปลงทางสังคมส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการตอบสนองความต้องการของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิต
ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ผลที่ตามมาจะทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไป พอสรุปได้ดังนี้

สาเหตุการเปลี่ยนแปลง 
     1. ความต้องการปรุงแต่งวัฒนธรรม สังคมของตนให้เจริญงอกงามขึ้น มีการคิดค้นวัฒนธรรมใหม่ ดัดแปลง
ให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เช่น การแต่งกาย

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม

การแต่งการยุคสมัยเก่า

การกายยุคสมัยใหม่

ภาพแสดงถึงการแต่งการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

      2. การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ เช่นสภาพดินฟ้าอากาศ ความแห้งแล้ง น้ำท่วม อากาศร้อนจัด หนาวจัด
การเสื่อมสภาพของดิน การเปลี่ยแปลงดังกล่าวทำให้มนุษย์คิดค้นสิ่งประดิษฐใหม่ ๆ เพื่อควบคุมการเปลี่ยน
แปลงไป เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วมแต่เป็นการทำลายป่าไม้และสัตว์ป่า

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม

การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาต

    การดัดแปลงธรรมชาติ เช่น ตู้เย็น แอร์คอนดิชั่น ปล่อยสาร CFC ทำใหโลกร้อนเกิดสภาวะเรือกระจก ทำให้
โลกเปลี่ยนแปลงไป สภาพสังคมวัฒนธรรมก็เปลี่ยนแปลงไป
      3. การเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของมนุษย์ โดยมนุษย์มีเชาว์ปัญญาสูง ทำให้เกิดการนึกคิดนำไปสู่
การเปลี่ยนแปลง มนุษย์จำเป็นต้องแสวงหาสิ่งตอบแทนสนองความต้องการของงานที่เพิ่มขึ้น

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม

การคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ และวิธีการใหม่ ๆ เ็นผลทำให้วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสื่อสาร ทำให้เด็กไทยปัจจุบันเขียนหนังสือไม่ถูก
ลายมือไม่สวย เพราะได้รับอิทธิพลมาจากหนังสือการ์ตูน ตัวอักษรไทยผิดเพี้ยนไป

รักความสบายมากขึ้น เด็กปัจจุปันใช้โทรศัพท์ นานมมาก มีปัญหาต่อการได้ยิน
มีปัญหา ต่อทางสมอง

  4. การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น ประชากรมีจำนวนมากขึ้น ทำให้มีการแข่งขันกันสูง เกิดความ
ขัดแย้ง (Class Conflict) เพิ่มมากขึ้น อันเป็นปัญหาที่มนุษย์ต้องหาวิธีการสร้างระเบียบ เพื่อแก้ไขความ
ยุ่งยากดังกล่าว ดังนั้น วัฒนธรรมของมนุษย์ย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย
      เมื่อเกิดความขัดแย้งทางความคิด ตามหลักประชาธอปไตยคนในสังคมมีสิทธิชุมนุม แต่ต้องโดยสงบ
แต่ถ้าเกิดความวุ่นวายก็ต้องออกกฎหมายเพื่อควบคุมให้เกิดความสงบซึ่งสังคมในอดีตมักใช้สันติวิธีการ
ประนีประนอม แตกต่างจากปัจจุบัน
      5. การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมอื่น ซึ่งเกิดจากความเจริญในด้านการสื่อสารการคมมนาคมติดต่อ
ถึงกันเป็นอย่างสะดวกรวดเร็วการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมอื่นจึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม

ภาพแฟชั่นการแต่งกาย

    จะเห็นได้ว่าปัจจุบัน แฟชั่น การแต่งกาย เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก เพราะความเจริญก้าวหน้า ของการ
สื่อสารนั่นเอง
       6. การพัฒนาการความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติความเชื่อแบบเดิม
หันไปนิยมแบบใหม่ เพื่อต้องการให้เป็นผู้ที่เรียกว่า ทันสมัยไม่ล้าหลัง มีการปรับปรุงแนวคิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ
       7. วัฒนธรรมอาจเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากความประสงค์ของผู้มีอำนาจ เช่น คำผูดที่ว่า "เชื่อผู้นำ"
ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายยกรัฐมนตรีของไทย ปี พ.ศ. 2481 - 2487
       วัฒนธรรมสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีอำนาจในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป. พิบูลสงคราม
มีอำนาจในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ห้ามคนไทยกินหมาย ห้ามหญิงนุ่งโจงกระเบน และชายหญิงออกจากบ้านต้องสวมหมวกจึงมีเพลงเชิญชวนเกิดขึ้นโดยกรมโฆษณาการ
(กรมประชาสัมพันธ์) เพื่อให้ทัดเทียมชาติตะวันตก
     8. การมองเห็นประโยชน์และความจำเป็นของสิ่งนั้น ๆ ทำให้รับเอาวัฒนธรรมนั้น ๆ มาใช้ในการดำเนินชีวิต
     เมื่อประชาชนมากขึ้น มีความจำเป็นต้องอาศัยการผลิตแบบอุตสาหกรรม การใช้เครื่องจักรช่วยในการผลิต
ตามระบบโรงงาน(Factory System)
     จากสาเหตุดังกล่าวทั้ง 8 ข้อ จะเห็นว่าวัฒนธรรมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาสถาพสังคม เศรษฐกิจ
การเมือง การศึกษา เทคโนโลยีใหม่ ๆ การเพิ่มของประชากร ฯลฯ มีส่วนทำให้สภาพแวดล้อม สภาพจิตใจ
ความเชื่อ ทัศนคติเปลี่ยนแปลงไป วัฒนธรรมจึงต้องเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเพื่อสอดคล้องตามไปด้วย
     ในการวิเคาระห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัย คือ
      1. ปัจจัยภายนอก
         1.1 การหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก หรือวัฒนธรรมสมัยใหม่ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เรียบง่าย
ไม่สลับซับซ้อน ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา
         1.2 การเปรียบเทียบวัฒนธรรมตะวันตกที่ไม่ซับซ้อน กับวัฒนธรรมดังเดิมของท้องถิ่น ซึ่งสลับซับซ้อน ลึกซึ้ง เข้าใจได้ยาก ส่งผลให้ละเลยและหลงลืมวัฒนธรรมดั้งเดดิม เด็กยุคใหม่หลงลืมวัฒนธรรมมารยาทไทย
ซึ่งเป็นสิ่งดีงามไป แต่กลับไปเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตก
         1.3 ความเจริญทางเทคโนโลยีที่เข้ามา เช่นการพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ นับเป็นสื่ออันสำคัญที่ทำให้ชุมชน
ได้รับข่าวสารเรื่องราวต่าง ๆ เกิดการเรียนรู้ ยอมรับและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมุ่งความทันสมัย ไม่คำนึงถึงรากฐานวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิม
       2. ปัจจัยภายใน
          2.1 ความเจริญทางด้านสังคมและชุมชน จังหวัดได้มีการวางแผนโครงการด้านต่าง ๆ ทำให้ท้องถิ่นเกิค
ความเจริญ มีความสะดวกสบายในด้านต่าง ๆ
          2.2 เมื่อสังคมและชุมชนมีการขยายตัวอย่างขวางขวางผู้คนหันไปสนใจเศรษฐกิจมากขึ้น เกิดการแข่งขัน
ทำให้เกิดการหลงลืมกิจกรรมด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น
         2.3 ความไม่เข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นดังเดิม ไม่ได้ศึกษา ทำให้ยากต่อการปฏิบัติและขาดความกล้าในการปฏิบัติตามวัฒนธรรม รวมถึงการแต่งกาย ภาษาพูด ขนบธรรม
เนียมประเพณี
        ปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัจจัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นผลให้เกิดปัญหาทางสังคมขึ้นหลายประการ ยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

          ปัญหายาเสพติด

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม

ภาพผู้ลักลอบค้ายาเสพติดผิดกฎหมายถูกดำเนินคดี

       เป็นปัญหาที่เป็นอันตรายต่อบุคคล ครอบครัวและสังคม ทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมายทั้งทางด้าน
เศษฐกิจ สังคม ศีลธรรม วัฒนธรรมของชาติ
       ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ หรือจากากรสังเคราะห์เมื่อเสพเข้าไป
ในร่างกายแล้ว จะทำให้ต้องตกอยู่ในอำนาจ หรือทาสสิ่งนั้น ทั้งร่างกายและจิตใจต่อไป โดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และปริมาณการเสพจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
        ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในปัจจุบัน ได้แก่  

        1. ฝิ่น มอร์ฟีน โฮโรอีน เป็นยาประเภทกดประสาท ผู้เสพมีร่างกายซูบผอม ตัวเหลือง อ่อนเพลีย
อามณ์เปลี่ยน
        2. ยาบ้า ยาอี ยาเค โคเคน เป็นยาประเภทกระตุ้นประสาท ผู้เสพจะมีอาการหงุดหงิด จิตสับสน หวาดระแวง
คลุ้มคลั่ง
       3. ยาแอลเอสดี ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย กระท่อม กัญชา ประเภทหลอนประสาท ผู้เสพมีอาการประสาทหลอน
หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้ในที่สุดมักจะป่วยเป็นโรคจิต
        สาเหตุของการติดยา สรุปได้ดังนี้
         1. ปัญหาทางจิต มีความทุกข์ ขาดความอบอุ่น ครอบครัวแตกแยก เสพเพื่อคลายอารมณ์
         2. ปัญหาทางกาย เกิดความเจ็บป่วยทางกายปวดเมื่อย เสพเพื่อบรรเทาอาการปวด
         3. ความอยากลอง อยากรู้อยากเห็น ความคึกคะนอง
         4. การชักชวนจากเพื่อนเดียวกัน หรือผู้ขายชักจูงให้เสพ
         5. ถูกหลอกลวง รู้เท่าไม่ถุงการณ์ อาจมาในรูปลูกอม ลุกกวาด นานเข้าก็ติด
         6. สิ่งแวดล้อม เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดคนติดยา
         ผลกระทบของการติดยา มีดังนี้
         1. บั่นทอนสุขภาพและสติปัญญา ขาดกำลังคนในสังคมในการผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์ลดลง
         2. ทำลายชื่อเสียง เกียรติยศต่อวงศ์ตระกูล พี่น้อง สังคมรังเกียจ
         3. เป็นผลเสียต่อสังคม เป็นต้นเหตุของปัญหาอาชญากรรม ความเสียหายแห่งชีวิตและทรัพย์สิน
         4. ผลต่อประเทศชาติ เป็นการบ่อนทำลายเศรษฐกิจและความั่นคงของชาติ รัฐต้องเสียเงินมากมาย
ในการป้องกัน ปราบปราม จัดสถานบำบัด รักษา แทนที่จะนำเงินมาพัฒนาประเทศ
         การป้องกันการและการแก้ไข
         1. จัดสถานที่บำบัดรักษายาเสพติด
         2. ติดตามผล เพื่อไม่ให้กลับไปเสพติดอีก
         3. การปลูกพืชอย่างอื่นแทนฝิ่น
         4. ให้การศึกษาเรื่องโทษของยาเสพติด
         5. เพิ่มโทษแก่ผู้ค้ายาเสพติดให้หนักขึ้น

        ปัญหาความยากจน

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม
ความยากจนหมายถึงสภาพความขัดสนทางเศรษฐกิจึ่งบุคคลไม่ สามารถจัดสรร หรือแสวงหาสิ่งมาบำบัดความต้องการของตนทั่ง
ร่างกายและจิตใจ
จึงมีความเป็นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐาน ความยากจนปัญหา
สำคัญ ของ ชาติ เพราะคนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นผู้มีฐานนะยากจน ไม่มีความ รู้ขาดทักษะในการประกอบอาชีพ จึงเป็นภาระแก่รัฐบาล
ทำให้เกิดความล่าช้าใน การพัฒนาประเทศ ชานเมือง ไม่เจริญก้าวหน้า

      สาเหตุของความยากจน
       1. การมีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีผลกระทบต่อทรัพยากรการผลิตก่อให้เกิดความขาดแคลน
       2. มีรายได้ต่ำเนื่องจากขาดการศึกษาอย่างพอเพียงที่จะประกกอบอาชีพไม่สามารถพัฒนาระบบการผลิตได้
       3. การว่างงาน คนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หลังการเก็บเกี่ยวจึงว่างงาน
       4. ภัยธรรมชาติ ขาดความสมดุลของธรรมชาติ ป่าไม้ถูกทำลาย เกิดความแห้งแล้ง น้ำท่วมประจำ เมื่อเกิด
ปัญหาทางการผลิต ก็ก่อให้เกิดความยากจน
       5. ความเกียจคร้าน เฉื่อยชา รักความสบาย ไม่กระตือรือร้น ใช้เวลาว่างไม่เป็นประโยชน์
       6. โจรผู้ร้าย เช่น การโจรกรรมสัตว์เลี้ยง เช่ค โค กระบือ ทำให้ขาดเครื่องมือประกอบอาชีพ
         ผลของ

       ผลของความยากจน
       1. เป็นภาระแก่รัฐบาลและสังคมที่ต้องเลี้ยงดู ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
       2. ความยากจนทำให้เกิดความท้อแท้ หมดกำลงใจในชีวิต มองโรคในแง่ร้าย เกิดปัญหาทางสุขภาพจิต
เป็นอุปสรรคต่อความเจริญก้าวหน้าของบุคคลและสังคม
       3. ก่อให้เิิกิดความไม่มั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง
       4. เป็นสาเหตุของปัญหาหลายประการ เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการศึกษา ปัญหาการว่างงานเป็นต้น

       ปัญหาครอบครัว  
       ครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคมปัญหาครอบครัว เช่น ครอบครัวแตกแยก (Broken home)
ซึ่งหมายถึง ภาวะผิดปกติของครอบครัว จากที่สมาชิกกระทำพฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่น ละทิ้ง ละเลย ไม่อาจ
ทำหน้าที่ในครอบครัวได้อย่างปกติ จนทำให้สมาชิกเืดือดร้อนเสียหาย ในที่สุดอาจเกิดภาวะล่มสลายของ
ครอบครัว

       ลักษณะของครอบครัวแตกแยก
       ครอบครัวที่สัมพันธภาพสามีภรรยาเบี่ยงเบนจากปกติ เช่น ทะเลาะ ละทิ้ง หย่าร้าง มีความสัมพันธ์กันเพียง
กฎหมายเท่านั้น สมาชิกในครอบครัวบางคนมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่น ติดยาเสพติด ขโมยของ ครอบครัวที่ไม่จดทะเบียนสมรส ความขัดแย้งด้านค่านิยม (Value conflict) ทำให้อยู่กันไม่ได้ ขาดความ
รับผิดชอบต่อครอบครัว ทำให้เกิดการไม่เป็นระเบียบในสังคม (Social disorgsnization) ก่อให้เกิดความขัดแย้ง
จนกลายเป็นปัญหาซึ่งมีผลเสียตามมา

       ผลจากปัญหาครอบครัว ส่งผลหลายด้าน เช่น
       1. ผลเสียต่อสภาพร่างกายและจิตใจของคู่สามีหรือภรรยา เช่น อาจมีการทำร้าย ทุบตีสมรรถภาพการ
ทำงานลดลง ขาดความรัก ความอบอุ่น ขาดความรับผิดชอบ
       2. ส่งผลเสียทั้งร่างกายจิตใจแก่ลูกหลาน เช่น อาจถูกทำร้าย ทุบตี ถูกทอดทิ้ง ขาดความเชื่อมั่น
ความเว้าเหว่ พฤติกรรมเบี่ยงเบน
       ดังนั้น ครอบครัวทุกครอบครัวจึงควรมีความรักต่อกันเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน เห็นใจกัน มีความเอื้อเฟื้อต่อกัน

      ปัญหาอาชญากรรม

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม
การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม

      อาชญากรรม คือ การกระทำผิดทางอาญา และผู้ที่กระทำความผิดจะต้องได้รับโทษทางกฎหมาย ปัญหา
อาชญากรรม เป็นปัญหาที่ีคุกคามต่อความสงบเรียบร้อย และความผาสุกของประชาชนในสังคมไทย สถิติอาชญากรรมที่พบบ่อยครั้งที่สุด ได้แก่ คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์รองลงมา ได้แก่ ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย และความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

      สาเหตุของปัญหาอาชญากรรม
      จนมีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางร่างกาย และจากกรรมพันธ์ เช่น ความบกพร่องทางสมอง ความบกพร่อง
ทางร่างกาย อาจทำให้คนนนั้นมีพฤติกรรมที่ผิดไปจากบรรทัดฐานของสังคม ความบกพร่องทางทางจิต
โรคประสาท สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคม เช่น แหล่งอบายมุขการไร้ระเบียบทางสังคม สถาบันต่าง ๆ
ไม่สามารถอบรมสมาชิกให้อยู่ในบรรทัดฐานของสังคมได้่

       ผลกระทบของปัญหาอาชญากรรม
       อาชญากรรมก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล ครอบครัวสังคมโดยรวม ผลกระทบที่สำคัญคือ
       1. เสื่อมเสียชื่อเสียง อิสรภาพ เสียอนาคต กลายเป็นบุคคลที่สังคมไม่ยอมรับ
       2. เสียทรัพย์ ผู้กระทำผิดอาจจะต้องเสียเงินเพื่อต่อสู้คดี หรือชดใช้แก่ผู้เสียหาย ทำให้เกิดความเดือดร้อน
แก่ครอบครัว
       3. สุขภาพจิตเสื่อม ถ้าสังคมมีปัญหาอาชญากรรมในอัตราสูง จะทำให้ประชาชนเกิดความกลัวไม่ไว้วางใจกัน
ทำให้รู้สึกขาดที่พึ่ง
       4. ถ้าอาชญากรรมทวีมากขึ้นในสังคมใด แสดงว่าสังคมนั้นขาดระเบียบ ถ้าไม่มีบทลงโทษอย่างเข้มงวด
อาจมีผู้อื่นลอกเลียนแบบ
       5. เสียงบประมาณในการปราบปราม ซึ่งเป็นการจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนาประเทศ

ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง (Corruption)
       การคอร์รัปชั่นทำได้หลายรูปแบบ สถานการณ์ทีเอื้ออำนวยต่อการคอร์รับชั่นเกิดขึ้นในขณะที่สังคมขาด
ระเบียบ เจ้าหน้าที่มีอำนาจมาก และประชาชนมีอำนาจน้อย โดยเฉพาะในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงหรือ
กำลังพัฒนา 

       สาเหตูของปัญหาคอร์รัปชั่น
        1. ค่านิยม สังคมที่ยึดค่านิยมบางอย่างที่ไม่ถูกต้อง เช่น การยกย่องเงิน ยกย่องตำแหน่ง ยกย่องวัตถุ
การรักพวกพ้อง
        2. ความจำเป็นทางเศรษฐกิจ รายได้ที่ไม่เพียงพอ มีแต่เงินเดือน เป็นหนี้สิน รายได้ ไม่พอกับร่ายจ่าย
ใช้สิ่งของเกินตัว จึงใช้ตำแหน่งหน้าที่ไปทางมิชอบ การคอร์รัปชั่นจึงเกิดขึ้น
        3. สิ่งแวดล้อมกล่อมเกลา สิ่งแวดล้อมบังคับหรือสั่งสอน หรือมีอิทธิพลให้ทำเช่นนั้นโดยทำดเหมือนกับ
ผู้ที่อยู่มาก่อน
        4. ความบกพร่องของผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาไม่ดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่มีระบบตรวจสอบผลงานและควบคุมงาน
        5. กฎหมาย เพราะกฎหมายให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่อย่างกว้างขวาง เป็นการให้ใช้ดุลยพินิจอย่างฟุ่มเฟือย ก่อให้เกิดอำนาจอย่างมาก
        6. ประชาชนยินยอมพร้อมใจ และความไม่เข้าใจของประชาชน คือ ประชาชนส่วนหนึ่งยิยยอมที่จะเสียเงิน
เพื่อซื้อความสะดวกหรือความรวดเร็วในการติดต่อราชการ ซึ่งนำไปสู่การคอร์รัปชั่นได้
        7. ขาดมาตรการลงโทษการคอร์รัปชั่นอย่างเด็ดขาด ไม่มีการลงโทษและติดตามผู้ทำผิดอย่างจริงจัง
        
        ปัญหาโรคเอดส์
        บุคคลทีเป็นโรคเอดส์ เพราะเกิดจากการติดต่อดังนี้
         1. ทางเพศสัมพันธ์ อาจเป็นเพศสัมพันธ์ระหว่าง ชายกับชาย ชายกับหญิง หรือหญิงกับหญิง
         2. ทางเลือด พบได้ 2 กรณ๊
              - ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ป่วย มักพบในพวกติดสารเสพติด
              - รับเลือดในขณะผ่าตัด ปัจจุบันการติดทางนี้น้อย เพราะเลือดที่ได้รับบริจาคต้องผ่านการตรวจเชื้อ
และปลลอดภัยเกลือบ 100 %
        3. ทางมารดาสู่ทารกในครรภ์ แม่ที่ติดเชื้อเอดส์จะทำให้ลูกคลอดออกมาติดเอดส์ แม่สามารถแพร่เชื้อ
เอดส์เข้าสู่ลูกได้ในระยะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และขณะเลี้ยงดู ด้วยนมมารดา

       ผลกระทบของโรคเอดส์
       โรคเอดส์เป็นปัญหาสังคมที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวาง และหยั่งรากลึกถึงทุกระดับสังคม ดังนี้
       1. ผลกระทบด้านจิตใจ ผู้คนมักแสดงอาการรังเกียจ หวาดกลัวเกินเหตุ ทำให้ผู้ผลิตเชื้อไม่กล้าเผยตัวเอง
       2. ผลกระทบด้านสังคม ครอบครัวล่มสลายเพราะสมาชิกติดเอดส์ ต้องหนีจากครอบครัวทนความอับอาย ความรังเกียจจากสังคมไม่ได้ เกิดปัญหาเด็กกำพร้า คุณภาพประชากรลดลง
       3. ผลกระทบทางด้าเศรษฐกิจ ผู้ติดเชื้อเอดส์ส่วนใหญ่อายุ 20 -40 ปี ซึ่งเป็นวัยทำงาน
       4. ผลกระทบต่อการแพทย์และการสาธรณสุขบุคคลากรทางการแพทย์ ทหาร ตำรวจ องค์กรการกุศลต่าง ๆ
ต้องทำงานด้วยความระมัดระวัง ต้องเสียงบประมาณการจัดหาถุงมือและเครื่งป้องกันอื่น ๆ มาก

        การป้องกันและการแก้ไขปัญหาเรื่องโรคเอดส์ ควรปฏิบัติดังนี้
        1. ถ้ามีเพศสัมพันธ์กับคนไม่รู้จัก ต้องสวมถุงยางอนามัย
        2. งดเที่ยวแหล่งบริการที่จะนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์
        3. ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้อื่น รวมทั้งของมีคม มีดโกนหนวด กรรไกรตัดเล็บ
        4. หลีกเลี่ยงไม่สัมผัสกับเลือด ถ้าพบอุบัติเหตุ เวลาจะช่วยเหลือควรใส่ถุงมือทุกครั้ง
        5. ก่อนแต่งงานควรตรวจเลือดทั้งสองฝ่าย และถ้ามีบุตร ควรตรวจเลือดทั้งสามีและภรรยา

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม
 ผลการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม 
        การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม มีผลต่อมนุษย์ดังนี้
        1. ด้านผลดี ทำให้เกิดการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาประเทศไปในทางที่ดีขึ้น
เช่น การตัดถนน รถไไฟฟ้า สนามบิน ธุรกิจอื่น ๆ ทำให้เกิดการขยายเมือง

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม

       2. ด้านผลเสีย ด้วยอัตราความเร็วของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมไม่เท่ากัน เมื่อวัฒนธรรมทางวัตถุที่
เจริญก้าวหน้า แต่วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ความคิด ความเชื่อ วิถีการปฏิบัติยังคงเป็นแบบเดิมๆ ทำให้เกิด
ปัญหาเรื่องการปรับตัว เช่น การขยายตัวอุตสาหกรรมย่อมต้องปรับพร้อมกับการขยายตัวทางด้านการศึกษา
เพื่อให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งไม่สามารถตามทันหรือปรับตัวเข้ากันไม่ได้ ก็จะเกิดการ
หักล้างทางวัฒนธรรม (Culture lag) จากการปรับตัวไม่ทันนีี้ก็จะมีปัญหาตามมา เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการว่างงาน ปัญหาการจราจร ปัญหาที่อยู่อาศัย ความเสื่อมโทรม เป็นต้น ดังนั้น การเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมและวัฒนธรรม จึงควรเป็นไปอย่างสมดุลและสัมพันธ์กัน    

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม

การเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมหมายถึงอะไร

๒. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมคือ การเปลี่ยนแปลงใน ด้านต่างๆที่เกิดจากมนุษย์เป็นผู้สร้าง มีทั้งรูปธรรม นามธรรม โดยการเปลี่ยนนามธรรมยากกว่ารูปธรรม เช่น ด้านค่านิยม ระเบียบบรรทัดฐาน สัญลักษณ์ทางสังคม ฯลฯ และต้องใช้เวลา ยาวนานกว่าจะเปลี่ยนแปลงไป

การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

3.3 เอฟเวอเรทเอ็ม. โรเจอร์ (Everett M. Rogers) ได้เน้นว่า “การเปลี่ยนแปลงสังคมส่วนใหญ่เกิดจากการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามามากกว่าเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นภายในสังคม และนวัตกรรม ที่ถ่ายทอดกันนั้นอาจเป็นความคิดซึ่งรับมาในรูปสัญลักษณ์ ถ่ายทอดได้ยาก หรืออาจเป็นวัตถุ ที่รับมาในรูปการกระทำ ซึ่งจะเห็นได้ง่ายกว่า” โร ...

วัฒนธรรม สามารถเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาจเกิดมาจากสิ่งแวดล้อม การค้นพบ (และอิทธิพลภายในอื่น ๆ) และการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอื่น ตัวอย่างเช่น ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุดช่วยนำไปสู่การค้นพบการทำเกษตรกรรม และตัวเกษตรกรรมเองก็เป็นตัวก่อให้เกิดนวัตกรรมมากมายทางเกษตรกรรม ซึ่งนวัตกรรมนี้ก็ได้นำไปสู่นวัตกรรมอื่น ๆ ทางวัฒนธรรม

ข้อใดคือความหมายที่ถูกต้องของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

สุริชัย หวันแก้ว (2549 : 156-157) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม หมายถึง การ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ ที่มนุษย์ประดิษฐ์และสร้างขึ้น และสิ่งที่ส าคัญก็คือท าให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในด้านค่านิยม บรรทัดฐานและระบบสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในสังคมนั้น ๆ เช่น การ เปลี่ยนแปลงของค่านิยมจากสถานภาพและบทบาทชายเป็นใหญ่ มาเป็น ...