การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตาม หลัก พุทธ ศาสนา

จำเนียร กิ่งแก้ว. 2555. ผลของการสอนแบบอริยสัจสี่ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าข่า จังหวัดอุบลราชธานี. , มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/STOU.the.2012.344

จำเนียร กิ่งแก้ว. (2555) ผลของการสอนแบบอริยสัจสี่ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าข่า จังหวัดอุบลราชธานี . มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช/นนทบุรี. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/STOU.the.2012.344

จำเนียร กิ่งแก้ว. ผลของการสอนแบบอริยสัจสี่ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าข่า จังหวัดอุบลราชธานี. . นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/STOU.the.2012.344

จำเนียร กิ่งแก้ว. (2555) ผลของการสอนแบบอริยสัจสี่ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าข่า จังหวัดอุบลราชธานี . มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช/นนทบุรี. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/STOU.the.2012.344

รายละเอียดคอร์ส

กระบวนการคิดตามหลักพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ คือการทำในใจ โดยแยบคายหรือคิดถูกวิธี แปลง่าย ๆ ว่า ความรู้จักคิด หรือคิดเป็น คือการรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งแวดล้อมตามสภาวะ และให้เห็นสภาวะตามความสัมพันธ์ที่สืบทอดถึงเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกของตนเองเข้าไปจับ จะทำให้เกิดความดีงามและแก่ปัญหาได้ เป็นวิธีการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม ที่ประกอบด้วยศรัทธาและปัญญาอย่างแท้จริง

Learning Outcomes

10 วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ

คิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

คิดแบบคุณ-โทษ และทางออก กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

ผู้เขียน

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตาม หลัก พุทธ ศาสนา

พระทัศพล ยสวฑฺฒโน

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน พุทธศาสตร์บัณฑิต (พธ.บ.) คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา

4 บทเรียน

คอลเลคชั่น

คอร์สที่เรียนจบแล้ว:

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตาม หลัก พุทธ ศาสนา

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

7 courses

ทักษะที่ฉันพัฒนาให้เด็กได้

ภาพรวมหลักสูตร

Topic

เข้าร่วมเป็นสมาชิก Starfish Labz

การสมัครขอรับบัญชีผู้ใช้งานระบบชุมชนเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ (Starfish Labz) ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Skip to content

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตาม หลัก พุทธ ศาสนา

  • การคิดเชิงวิพากษ์
  • การคิดแบบมีวิจารณญาณในพระพุทธศาสนา
  • ปรัชญาชีวิต
  • ปรัชญาสำหรับเด็ก
  • Book Review
  • สไลด์ดีอะไรก็ง่าย
  • คู่มือกิจกรรม (ฟรี)

บ่อแห่งข้อมูลร่วมกันคือต้นกำเนิดของการประสานพลัง

Posted on ตุลาคม 30, 2021 by Dr.Huang

เราทุกคนสามารถมีการสนทนาค...

จุดเริ่มต้นและระเบียบการโต้วาทะแบบทิเบต

Posted on กุมภาพันธ์ 23, 2020เมษายน 30, 2021 by Dr.Huang

หากกล่าวถึงการโต้ว...

ทิศทางพระพุทธศาสนาในศตรวรรษที่ 21 ในมุมมองของท่านดาไลลามะ

Posted on กุมภาพันธ์ 23, 2020เมษายน 30, 2021 by Dr.Huang

ปรากฏการณ์เรื่องวิทยาศาสต...

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ถูกระบุว่าเป็นทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับคนในศตวรรษที่ 21 ทำให้คิดว่าน่าจะเขียนถึงการคิดอย่างมี วิจารณญาณในกาลามสูตร

เมื่อกล่าวถึงกาลามสูตรคนส่วนใหญ่จะนึกถึงเรื่องอย่าเชื่อ หรือ สิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการ (ลอง Google ด้วยคำว่า กาลามสูตร ก็จะเห็นอย่างที่ว่านี้) ทั้งๆที่หัวใจของเรื่องน่าจะเป็นเรื่อง เมื่อไรจึงควรจะเชื่อ (หรือไม่เชื่อ) คิดให้ดีเสียก่อนแล้วค่อยสรุปว่าควรเชื่อ หรือไม่ควรเชื่อ หรือเรียกว่า การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ดังที่พระพุทธเจ้าสรุปเป็นหลักการไว้ว่า

"เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทาน ให้บริบูรณ์แล้วเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย " นั่นคือ ไม่ควรเชื่อ และ

"เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้วเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ " นั่นคือ ควรเชื่อ

ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือ ไม่ใช่แค่ให้หลักการ มีตัวอย่างการใช้จริงด้วย โดยพระองค์ทรงชวนชาวกาลามะให้คิดตามหลักการที่แสดงไว้ ดังต่อไปนี้ :

พระพุทธเจ้า: ...ความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์

กาลามะ: เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ...บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ มีจิตอันความโลภกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภย่อมชักชวนผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ

กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

จากนี้พระองค์ก็ทรงชวนให้คิดถึงบุคคลผู้โกรธ และบุคคลผู้หลง ในทำนองเดียวกัน แล้วชวนให้พิจารณาตามหลักการต่อไปว่า :

พ. ...ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ฯ

กา. เป็นอกุศล พระเจ้าข้า ฯ

พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ ฯ

กา. มีโทษ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ ฯ

กา. ท่านผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า ฯ

พ. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ฯ

กา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้ ฯ

พระองค์ทรงสรุปตามหลักการไม่ควรเชื่อว่า "... เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควร ละธรรมเหล่านั้นเสีย"

แล้วทรงชวนชาวกาลามะพิจารณา อโลภะ อโทสะ อโมหะ ในทำนองตรงข้ามกับกรณีข้างต้น แล้วสรุปตามหลักการควรเชื่อว่า "เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ "

การคิดอย่างมีวิจารณญาณตามกาลามสูตรจึงมิใช่เรื่องลึกลับอะไร โลภะโทสะโมหะเป็นเรื่องที่ทุกคนเคยมีประสบการณ์ตรง ชาวกาลามะ จึงคิดได้ตอบได้ เราก็น่าจะคิดได้ตอบได้เช่นกัน พระพุทธองค์ทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ต่อไปเราก็ถามเองตอบเองได้ ถ้าเป็นเรื่องที่ เกินกว่าประสบการณ์ของเรา เราก็ต้องเพิ่มด้วยการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร เมื่อได้มาก็นำมาคิดและตอบตามหลักการเดียวกันนี้ การคิดอย่างมีวิจารณญาณตามกาลามสูตรจึงประกอบด้วยหลักการและการคิดและตอบตามหลักการนั้น

นอกจากเรื่องการคิดอย่างมีวิจารณญาณแล้ว ในกาลามสูตร (ชื่อจริงคือเกสปุตตสูตร) ยังมีประเด็นอื่นที่น่าสนใจคือ วิธีเจริญเมตตาจิต และเรื่องนับถือพระพุทธศาสนาแล้วจะได้อะไร (อริยสาวกย่อมมีความอุ่นใจ 4 ประการ) ซึ่งเป็นเหตุให้จบลงด้วยชาวกาลามะยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา จึงน่าจะเป็นพระสูตรที่ชาวพุทธสมควรอ่านอย่างยิ่ง

(อ่านได้ที่ www.84000.org ค้นด้วยชื่อพระสูตรว่า เกสปุตตสูตร)

หมายเหตุ - ผมได้ข้อคิดเรื่องนี้มาจากปกด้านในของหนังสือเรื่อง การตรวจและการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับประชาชนไทย ผู้เขียนคือ คุณหมอสุรจิต สุนทรธรรม ได้อัญเชิญข้อความในกาลามสูตร จากหนังสือพุทธธรรม ของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ มาแสดงไว้ เห็นแล้วคิดได้ว่า ผู้เขียนต้องการเตือนให้ผู้อ่านใช้วิจารณญาณ ไม่ด่วนเชื่อหรือไม่เชื่อจากการอ่านเนื้อหาในหนังสือ ทั้งๆที่หนังสือ เล่มนั้นได้เลือกใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในระดับที่ค่อนข้างจะสูง การตรวจสุขภาพต้องใช้วิจารณญาณ การทำบุญก็ต้องใช้วิจารณญาณ การใช้วิจารณญาณเป็นทักษะที่จำเป็นของชีวิตมากว่า 21 ศตวรรษแล้ว เพียงแต่อาจจะใช้น้อยไปหน่อย