มิจฉาชีพโทรมาถามชื่อ นามสกุล

เมื่อเช้านี้เวลาประมาณ 9 โมงครึ่งค่ะ มีเบอร์ 021209900 โทรมาเข้าเบอร์มือถือนะค่ะ
แล้วก็เป็นเสียงเหมือนพวกระบบอัตโนมัติปกติน่ะค่ะ
แจ้งมาประมาณว่าคุณมียอดค้างชำระกับทาง TOT ทั้งหมด 16900 บาท ติดต่อ call center กด 9
แล้วคือเราก็ตกใจอ่ะค่ะ ตั้งหมื่นหก เลยกด 9 ทันทีเลย
ทางนั้นก็ TOT สวัสดีค่ะ แล้วเป็นเสียงผู้หญิงนะค่ะ เสียงแก่ๆด้วยค่ะ เราก็ถามๆว่าเราค้างชำระอะไรจากไหนอะไรยังไง
เค้าก็ถามชื่อนามสกุลค่ะ บอกว่าต้องเช็คข้อมูลไรก็ไม่รู้ เราก็ซื่อค่ะ ก็บอกไปๆ เค้าก็ถามวันเดือนปีเกิดค่ะ
เราก็บอกไป แต่พอบอกวันเดือนปีเกิดจบ เค้าก็บอกว่า อ้อ..ติดต่อลูกค้าผิดค่ะ แค่นี้นะค่ะ แล้วก็รีบวางเลย
คือเราก็จะถามต่อน่ะค่ะ แต่พี่แกไม่ฟังเลย รีบวางไปทันที ดูแบบรีบตัดบทมากๆๆเลย
เราคิดว่าที่เค้าไม่ถามเราต่อก็เพราะว่าเห็นเรายังเด็กมั้งค่ะ เกิด 2534 น่ะค่ะ คงไม่มีไรให้หลอก 5555

Show

พอวางสายไปเราก็มาคิดทบทวนดูนะค่ะ ว่ามันแปลกๆ เพราะถ้าเป็นทีโอทีจริงคงไม่โทรเข้ามือถือหรอกค่ะ
แล้วปกติพวก call center เวลารับสายจะต้องบอกนะค่ะ ว่าชื่ออะไร อย่างเช่น ทีโอทีสวัสดีค่ะ สมใจรับค่ะ อะไรอย่างนี้
เสียงพนักงานก็ฟังดูแก่มาก ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
เราเลยลองเอาเบอร์นี้เซิร์ทกูเกิ้ลดู พบเลยค่ะ มีคนโดนหลอกหลายคนอยู่ค่ะ บางทีบอกเป็นเอไอเอสบ้าง

อยากให้เพื่อนๆระวังไว้นะค่ะ อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวไปนะค่ะ เห็นบางคนโดนถามเลขประจำตัวประชาชนอะไรด้วยนะค่ะ
อย่าโง่เหมือนเราค่ะ นี่ถ้าเค้าถามต่อคงบอกต่ออ่ะค่ะ 5555 อย่างน้อยเราก็โชคดีที่ไม่โดนถามเยอะกว่านี้ :)

Jebanista คุณก็เป็นได้!

มีรีวิว หรือ How to อะไรเอามาแชร์กัน
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ JEBAN COMMUNITY
ได้ง่ายนิดเดียว เริ่มเขียนเลย

มิจฉาชีพในคราบแก๊งคอลเซนเตอร์ยุคสมัยนี้มาในหลากหลายรูปแบบมากขึ้นเรื่อย ๆ เรียกว่าโดนโทรหลอกกันเกือบทุกวัน บางวันโทรมาหลายสาย เล่นเอาปวดจิตไม่เป็นอันทำการทำงาน วันนี้เราจะมาแชร์ประสบการณ์จากผู้ใช้ facebook รายหนึ่ง ที่โดนมิจฉาชีพโทรมาแอบอ้างเป็นกสทช. แถมรู้ข้อมูลส่วนตัวเราอย่างเยอะ ทั้งชื่อ เบอร์โทร เลขบัตรประจำตัวประชาชน ทำให้นึกสงสัยไปเอาข้อมูลมาจากไหนกันเยอะแยะขนาดนี้

ประสบการณ์แก๊งคอลเซนเซอร์แอบอ้างเป็นกสทช.จากผู้ใช้ facebook ที่รู้ข้อมูลเราเยอะเหลือเกิน

โดยคุณ Ponglada Pongmanawut ได้มาแชร์ประสบการณ์ที่โดนแก๊งคอลเซนเซอร์แอบอ้างเป็นกสทช. เบอร์ 0986016578 โทรมาบอกชื่อ นามสกุล เบอร์โทร ยันเลขที่บัตรประชาชนถูกหมด โดยแจ้งว่าได้ไปเปิดเบอร์ทรูเบอร์หนึ่งที่โลตัสสาขาพันเที่ยงเชียงใหม่ ซึ่งเวลา 15.48 น. ได้พบการส่งข้อความต่อว่าด่าทอรัฐบาลจนทำให้ถูกดำเนินคดี พร้อมกับแจ้งเลขหมายศาลมาด้วย

ทางเจ้าตัวรู้สึกว่ามันดูจริงจังมาก ข้อมูลอะไรก็มีครบ แต่ก็ได้บอกปฏิเสธไปว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ทางคอลเซนเตอร์ก็เลยปิดท้ายถามว่าจะแจ้งความที่สภ.ใกล้บ้านเองหรือจะให้ทางนั้นดำเนินการให้ ซึ่งเจ้าตัวได้ตอบกลับไปว่าแจ้งความเอง ก่อนทางนั้นจะบอกว่าการสนทนานี้ได้บันทึกข้อความเสียงไว้แล้ว และได้วางสายไป…

พอโดนละเอียดแบบนี้ก็เลยเกิดความสงสัยว่านี่เรื่องจริงหรือเป็นมิจฉาชีพโทรมาหลอกกันแน่ เจ้าตัวเลยโทรไปตรวจสอบกับทางกสทช.โดยตรง ก็ได้ข้อสรุปว่ากสทช. ไม่มีนโยบายโทรแจ้งแบบนี้ เป็นมิจฉาชีพ 100% ซึ่งน่ากลัวมาก ๆ ตอนถามว่าจะให้ดำเนินการให้ไหม จะโดนขอข้อมูลอะไรไปเพิ่มบ้างอีกก็ไม่รู้ แล้วข้อมูลที่ได้มานี้ได้มายังไงทำไมถึงละเอียดขนาดนี้

ประสบการณ์แก๊งคอลเซนเตอร์ที่ผู้เขียนประสบเจอมา

ซึ่งทางผู้เขียนเองก็เคยเจอมิจฉาชีพในคราบแก๊งคอลเซนเตอร์มาหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นพัสดุตกค้างบ้าง กสทช.จะระงับเบอร์โทรเนื่องจากโดนร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมากบ้าง และอีกเยอะแยะมากมาย ล่าสุดมิจฉาชีพพวกนี้มีการพัฒนาขึ้นไปมาก มีการโทรมาบอกว่าเป็นบริษัทปล่อยเงินกู้ มีคนไปกู้เงินเงินแล้วเราเป็นคนค้ำต้องรับผิดชอบแทน ทั้งข้อมูลส่วนตัวเราที่บอกได้อย่างครบ ๆ แถมเบอร์เดียวกันยังโทรไปหาเครือญาติใกล้ชิดเราอีก สมจริงสมจังสุด ใครที่เจอคอลเซนเตอร์โทรมาในลักษณะแบบนี้ก็ต้องมีสติพิจารณากันดี ๆ ก่อนจะกลายเป็นเหยื่อ

วิธีป้องกันตัวง่าย ๆ จากเหล่ามิจฉาชีพในคราบแก๊งคอลเซนเตอร์

  • หากเป็นเบอร์แปลก ๆ หรือไม่คุ้นเคย ควรมีสติอยู่เสมอ ไม่หลงเชื่ออะไรง่าย ๆ
  • ถ้าฟังแล้วเนียนมาก ให้ติดต่อหรือโทรกลับไปหาต้นสังกัดที่สายนั้นกล่าวอ้าง เช่นโทรหากสทช. หรือเบอร์กลางของบริษัทขนส่งที่โทรมาอ้าง เพื่อเช็คซ้ำ
  • ถ้าไม่มั่นใจให้วางสายทันที อย่าไปให้ข้อมูลอะไรเพิ่ม
  • โหลดแอปช่วยตรวจสอบเบอร์อย่าง Who’s call มาใช้ ช่วยเตือนว่าเบอร์ไหนคือมิจฉาชีพ
  • หากมีเครื่องหมาย +66 โทรเข้ามา อาจเป็นเบอร์ของมิจฉาชีพที่โทรมาจากต่างประเทศ

คุณเป็นหนึ่งคนที่โดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรกวนใจใช่หรือไม่?

แล้วคุณเคยสงสัยบ้างไหมว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์เอาเบอร์โทรของคุณมาจากที่ไหน?

นี่เป็นคำถามที่หลายคนก็ต่างตั้งข้อสงสัยอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวเมื่อแก๊งต้มตุ๋นที่มาในรูปแบบของการโทรขอข้อมูลกลับมาระบาดอีกครั้งในปี 2565 บ้างก็อ้างว่าคุณมีพัสดุที่ยังไม่ได้รับ บ้างก็อ้างว่าคุณมียอดบัตรเครดิตที่ยังไม่ชำระ หรือแม้กระทั่งว่ามีการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยถูก ซึ่งข้ออ้างเหล่านี้ได้สร้างความรำคาญใจ สร้างปัญหาและสร้างมูลค่าความเสียหายอย่างมหาศาล ส่งผลให้ยอดผู้เสียหายสูงถึง 270% เมื่อเทียบกับปี 2564 แต่ทว่าการหลอกลวงแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์นั้นเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการโจรกรรมข้อมูลของมิจฉาชีพเท่านั้น ไม่ใช่แค่เบอร์โทรศัพท์ที่แก๊งมิจฉาชีพนี้ต้องการ แต่ยังรวมถึงข้อมูลส่วนตัวอีกมากมาย เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน และเลขบัตรเครดิต ที่ซึ่งการโทรไปหลอกนั้นจะสามารถเป็นประตูเปิดทางให้แก๊งมิจฉาชีพล้วงข้อมูลเหล่านี้ไปได้ 

ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของคุณ คุณจึงควรกลับไปแก้ไขที่ต้นตอ ลองสำรวจว่าคุณเคยเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่ไหนบ้าง แล้วแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ข้อมูลของคุณมาอย่างไร พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีปกป้องข้อมูลไม่ให้รั่วไหลไปกับ Demeter ICT

7 ข้อสำรวจแก๊ง Call Center เอาเบอร์โทรศัพท์ของคุณมาจากไหน?

1. เอามาจากเว็บไซต์สมัครงาน

เว็บสมัครงานถือเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เลยก็ว่าได้ เพราะหลาย ๆ คนได้ลงข้อมูลส่วนตัวไว้ในโปรไฟล์ก็ดี บน Resume ก็ดี โดยที่จะใช้ข้อมูลนั้นในการสมัครงานและหวังว่านั่นจะเป็นช่องทางที่คุณจะได้รับการติดต่อกลับนั่นเอง แต่ว่าคุณเองก็คงลืมเอะใจไปว่าชื่อ นามสกุล เบอร์โทร อีเมล และที่อยู่ของคุณก็ต่างเป็นที่หมายปองของแก๊งมิจฉาชีพอย่างเช่นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หรือแม้กระทั่งแก๊งโทรขายตรงหรือโทรขายฝันก็รวมอยู่ในเว็บไซต์รับสมัครงานกันไม่น้อยเลยทีเดียว 

2. เอามาจาก Social Media ส่วนตัว

Social Media ช่องทางยอดฮิตอีกช่องทางหนึ่งที่คุณอาจจะเปิดเผยข้อมูลโดยไม่รู้ตัวว่ามิจฉาชีพก็สามารถนำข้อมูลจากช่องทางนี้ไปใช้ได้เช่นกัน ลองกลับไปเช็คที่โปรไฟล์ของคุณดูว่าคุณได้ใส่เบอร์โทรหรืออีเมลไว้หรือไม่ เพราะจริง ๆ แล้วแค่มีข้อมูล 2 อย่างนี้ แก๊งมิจฉาชีพก็สามารถเอามาทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น การโทรหลอกเอาข้อมูลหรือที่หลายคนเรียกว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และการล้วงข้อมูลทางอีเมลแบบ Phishing หากใครที่มีข้อมูลเหล่านี้อยู่บนโปรโฟล์ ก็แนะนำว่าอย่าใส่จะดีกว่า ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, YouTube หรือ TikTok ก็ควรเก็บข้อมูลส่วนตัวไว้เป็นความลับ

3. เอามาจากการคลิกลิงก์

คุณเคยเจอบ้างไหมลิงก์แปลก ๆ ที่ถูกส่งมาในข้อความโดยมีคำพูดที่เย้ายวนใจราวกับว่าเขาอ่านความคิดคุณออก ซึ่งยากที่จะหักห้ามใจไม่กดเข้าไปเหลือเกิน หารู้ไม่ว่าเพียงแค่คุณคลิกเข้าไปแค่ครั้งเดียวแก๊งต้มตุ๋นก็สามารถล้วงความลับของคุณได้แล้วง่าย ๆ หรืออีกรูปแบบหนึ่งคือการตอบคอมเมนต์โดยการแนบลิงก์ลงบน Social Media ซึ่งหากคุณเผลอคลิกเข้าไป ลิงก์นั้นสามารถนำคุณไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่งที่ดูไม่น่าเชื่อถือได้ทันที 

4. เอามาจากการกรอกแบบฟอร์ม

หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ให้ความสนใจกับกิจกรรมออนไลน์เป็นพิเศษ คุณคือหนึ่งในเป้าหมายของแก๊งนี้ ซึ่งการหลอกลวงเช่นนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก แต่อย่างไรก็ตามป้องกันไว้ก่อนดีกว่าตามแก้ทีหลัง โดยการทำงานของแก๊งนี้จะมาในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์โปรโมชันต่าง ๆ เช่น การเปิดจองสินค้าใหม่หรือการเปิดแบบฟอร์มกรอกใบสมัครงานที่ซึ่งทำให้คุณนั้นหลงกลใส่ข้อมูลส่วนตัวด้วยความเต็มใจนั่นเอง 

5. เอามาจากการตกลงยินยอมสมัครใช้บริการบางอย่าง

สาเหตุนี้มักจะเกิดจากการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบางอย่างแล้วคุณนั้นต้องกดยินยอมเพื่ออนุญาตให้เขาเก็บข้อมูลส่วนตัวของคุณไว้ได้ แต่ทว่าคุณจะตกลงยินยอมให้ทางผู้ให้บริการนำข้อมูลของคุณไปขายหรือใช้เชิงพาณิชย์จริง ๆ หรอ? หยุดพิจารณาสักนิดเพื่อปกป้องสิทธิ์ของคุณกันเถอะ เพราะคุณไม่รู้ว่าแอปที่คุณดาวน์โหลดปลอดภัยหรือไม่ มาจากบริษัทที่น่าเชื่อถือหรือไม่ ซึ่งถ้าหากเขามีข้อมูลคุณอยู่ในมือแล้วเขาก็สามารถนำข้อมูลไปขายได้ง่าย ๆ 

6. เอามาจากการแฮกอีเมล

หลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตากันดีกับการโดนหลอกแฮกข้อมูลจากทางอีเมล เมื่อคุณเปิดอีเมลหรือคลิกลิงก์ที่แนบอยู่เพียงเท่านั้น ทั้ง Phishing และ Malware ก็แย่งกันเข้ามาหาคุณโดยทันที ทั้งปล่อยไวรัสเข้าอุปกรณ์ของคุณ ทั้งล้วงข้อมูลส่วนตัวมากมายที่ไม่ใช่แค่เบอร์โทร แต่ยังสามารถล้วงไปถึงข้อมูลบัตรประชาชนและข้อมูลบัตรเครดิตที่ซึ่งนับว่าเจ้าข้อมูลพวกนี้แหละเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของคุณเลยก็ว่าได้ เนื่องจากหลายคนใช้อีเมลในการทำธุรกรรมต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการชำระค่าบริการหรือการสมัครใช้งานใด ๆ คุณล้วนแต่ต้องกรอกข้อมูลด้วยการเชื่อมกับอีเมลทั้งนั้น ดังนั้นหากไม่อยากโดนหลอกครั้งใหญ่ก็ควรป้องกันไว้ก่อนไม่ว่าจะทางใดก็ตาม

7. เอามาจากการแฮกข้อมูลองค์กรที่คุณทำงานอยู่

ข้อสุดท้ายนี้จะขอพูดถึงการถูกล้วงข้อมูลหรือการเปิดเผยข้อมูลพนักงานในองค์กรกันบ้าง ซึ่งปัญหานี้ถือเป็นปัญหาใหญ่และทุกบริษัทควรให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะหากบริษัทไม่มีนโยบายหรือระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Data Loss Prevention) ที่เพียงพอ ไม่สามารถเก็บข้อมูลส่วนตัวของพนักงานไว้เป็นความลับได้ เป็นเหตุให้ข้อมูลพนักงานถูกเปิดเผยไปต่อสาธารณะหรือตกไปสู่มือของมิจฉาชีพได้ง่าย ซึ่งองค์กรจะได้รับโทษทางกฎหมายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ Personal Data Protection Act (PDPA) 

แนวทางป้องกัน

1. เพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะโดยการไม่ลงข้อมูลส่วนตัวและทำการเข้ารหัสแบบ 2 ชั้น

ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์สมัครงานหรือ Social Media อย่างเช่น Facebook Instagram Tiktok หรือช่องทางสาธารณะอื่น ๆ คุณก็ไม่ควรที่จะใส่เบอร์โทรหรือข้อมูลสำคัญไว้บนหน้าโปรไฟล์หรือหน้าที่ทุกคนสามารถเห็นและเข้าถึงได้ เพราะข้อมูลนั้นจะทำให้มิจฉาชีพได้ข้อมูลของคุณไปได้ง่าย ๆ หรือหากคุณต้องการเพิ่มความปลอดภัยทาง Social Media ให้มากยิ่งขึ้น คุณควรทำการตั้งค่าการเข้ารหัสแบบ 2 ชั้นไว้ที่บัญชีของคุณเพื่อป้องกันคนแอบอ้างมาใช้งานบัญชีของคุณได้

2. ตรวจสอบว่าลิงก์/แบบฟอร์ม/อีเมล มีความน่าเชื่อถือหรือไม่

ก่อนจะกระทำการใดคุณควรสังเกตให้ดีก่อนว่าบุคคลนั้นมาจากบริษัทอะไร มีโดเมนของบริษัทหรือไม่ น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน หากคุณดูเบื้องต้นแล้วว่าบุคคลนั้นใช้โดเมนเนมของบริษัท ก็สามารถมั่นใจได้ระดับนึงแล้วว่าองค์กรนี้มีตัวตนจริงและมีความน่าเชื่อถืออยู่พอสมควร ไม่เพียงแค่นั้นหากคุณต้องการตรวจสอบความปลอดภัยของอีเมลแบบเบื้องต้น คุณสามารถทำได้ ดังนี้

> เปิดหน้า Gmail
> กดลูกศร Dropdown ตรง To me จะเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ของอีเมลนั้นว่าถูกส่งมาจากบัญชีใด
> เช็ค Mailed by ว่าอีเมลถูกส่งมาจากที่ใด โปรแกรมใด
> เช็ค Signed by ว่าได้รับรองจากบริษัทนั้นหรือไม่
> หากข้อมูลถูกเข้ารหัสไว้ตามรูป ถือว่าอีเมลนั้นมีความปลอดภัย

มิจฉาชีพโทรมาถามชื่อ นามสกุล

หากคุณต้องการที่จะเจาะลึกลงไปอีกว่าอีเมลนี้มี IP Address อะไร ถูกส่งมาจากที่ใด สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> เจาะลึกวิธีดูอีเมลปลอม

3. ตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัยของบริษัทที่คุณทำงานอยู่

คุณจำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กร หรือที่เรียกว่า Data Loss Prevention (DLP) เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าถึงข้อมูลภายในองค์กร หรือแม้กระทั่งป้องกันไม่ให้คนในองค์กรส่งข้อมูลออกไปภายนอกเอง ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบได้ว่าอุปกรณ์/เครื่องมือ/ซอฟต์แวร์ในบริษัทของคุณได้รับรองมาตรฐานความปลอดภัยหรือไม่ เช่น 

  • ISO/IEC27001 ระบบมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งและลดความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมข้อมูล 
  • ISO/IEC27017 ระบบมาตรฐานรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์
  • ISO/IEC27018 แสดงถึงความโปร่งใสในการจัดเก็บข้อมูลของคนในองค์กร 

ด้วยเหตุนี้ทาง Demeter ICT จึงได้มีการนำ Google Workspace มาช่วยยกระดับความปลอดภัยในบริษัท ไม่เพียงแต่ได้รับการรับรองจากมาตรฐานเหล่านี้ ทั้งยังมีมาตรฐานความปลอดภัยอีกมากมายที่จะมาช่วยให้พนักงานในองค์กรรู้เท่าทันและป้องกันมิจฉาชีพได้อีกด้วย ดูเพิ่มเติมได้ที่ Data Loss Prevention (DLP) ใน Google Workspace ช่วยยกระดับความปลอดภัยของข้อมูลให้สอดคล้องกับ PDPA ได้อย่างไร?

ทั้งนี้หากบริษัทของคุณไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลความลับในองค์กร (DLP) ก่อให้เกิดการกระทำผิด ตั้งใจเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของพนักงานหรือทำข้อมูลรั่วไหลอันขัดต่อพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของบุคคล (PDPA) จะต้องได้รับโทษ ชำระค่าเสียหายสูงสุดถึง 5 ล้านบาทหรือชดเชยตามการกระทำผิดจริง 

อย่างไรก็ตามแก๊งมิจฉาชีพนี้ดูท่าทีจะแพร่ขยายไปเรื่อย ๆ ดังนั้นคุณจึงควรตระหนักถึงความสำคัญในการเปิดเผยและรักษาข้อมูลบนโลกไซเบอร์ให้ปลอดภัยอยู่เสมอ

ท้ายที่สุดนี้ Demeter ICT หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากและสามารถช่วยให้คุณรู้เท่าทัน ระวังตัว และช่วยลดปัญหาโดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรกวนใจได้ 

มิจฉาชีพโทรมาถามชื่อ นามสกุล

ระบบอีเมลองค์กรและชุดแอปพลิเคชันเพื่อการทำงานร่วมกัน ตอบโจทย์สำหรับทุกธุรกิจ

บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด - พันธมิตรระดับ Google Premier Partner

ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ

มิจฉาชีพโทรมาถามชื่อ นามสกุล