งานประดิษฐ์ด้วยใบตอง

ในโบราณมีการเรียกพิธีสู่ขวัญ ว่า บาศรี เหตุที่เรียกว่า บาศรี เนื่องมาจากเป็นพิธีสำหรับ บุคคลชั้นเจ้านายผู้ใหญ่ทำกัน จึงมีคำว่า บา อยู่ด้วย “บา” ในภาษาโบราณอีสานใช้เป็นคำนำหน้าเรียกเจ้านาย เช่น บาท้าว บาบ่าว บาคราญ เป็นต้น ส่วนคำว่า ศรี หมายถึงผู้หญิงและสิ่งที่เป็นสิริมงคล บาศรี จึงหมายถึง การทำพิธีที่เป็นสิริมงคลแต่ปัจจุบันนี้ คำว่า บาศรี ไม่ค่อยนิยมเรียกกันแล้ว มักนิยมเรียกว่า บายศรี เป็นส่วนมาก

ประวัติความเป็นมาของพิธีบายศรีสู่ขวัญ
กล่าวกันว่าพิธีบายศรีสู่ขวัญมาพร้อมกับพราหมณ์ทมิฬชานอินเดียที่อพยพมาสู่สุวรรณภูมิ หนังสือเก่าที่พบซึ่งออกในสมัยพระเจ้าอู่ทองกล่าวไว้ว่า บายเป็นภาษาเขมรแปลว่าข้าว ข้าวอันเป็นสิริมงคล ข้าวขวัญ กล่าวคือข้าวที่หุงปรุงรสโอชาอย่างดีเหมาะสมที่จะเป็นเครื่องสังเวยให้เทวดาโปรด พิธีใดเป็นพิธีเทวดาโดยตรง หรือต้องการที่จะอัญเชิญเทวดามาเป็นประธาน ต้องหาของสังเวยที่ดีและมีสีสะดุดตา ชาวทมิฬจึงมีเคล็ดลับความเชื่อในข้าวที่ย้อมสีตามสีประจำองค์เทวดา รวมถึงใช้สีล่อเทวดาฝ่ายร้ายให้ไปรวมต่างหากไม่ให้มาทำอัปมงคลให้โทษแก่มณฑลพิธีและบุคคล ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยกับทมิฬได้มีความเป็นมาอย่างเดียวกัน เนื่องจากได้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมต่าง ๆแก่กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีบวงสรวงเทวดา มีขนมต้มขาว มะพร้าวอ่อน กล้วย ข้าวย้อมสี เช่นข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวแดง ก็นำมาใช้ในพิธีไทยอย่างชัดเจน นอกจากนี้ภาชนะบายศรีตองเป็นกระทงที่สำหรับบรรจุอาหาร ภายหลังเอาพานซ้อนกันขึ้นไปแล้วเอาของตั้งบนปากพาน เมื่อมีการถ่ายทอดมาที่ประเทศไทย ซึ่งมีศิลปศาสตร์ที่เจริญขึ้น กระทงใบตองก็ถูกประดิดประดอยให้สวยงามเป็นกระทงเจิม ซึ่งประดับประดาตกแต่งที่ปากกระทงให้มีความงดงามมีกระจัง มียอดแหลมตามศิลปะแบบไทย ๆ

พิธีบายศรีสู่ขวัญหรือหลายท้องถิ่นในภาคอีสานจะเรียกว่าสู่ขวัญหรือสูดขวัญ ตามความเชื่อของคนไทยเชื่อกันว่าคนที่เกิดมามีขวัญประจำกายมีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษา ขวัญเป็นเหมือนพี่เลี้ยงที่คอยดูแลประคับประคองชีวิต คอยเลี้ยงดู และติดตามไปทุกหนทุกแห่ง เป็นสิ่งไม่มีตัวตนคล้ายจิตหรือวิญญาณแฝงอยู่ในตัวคนและสัตว์ ซึ่งขวัญตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่าในร่างกายเรามี 2 สิ่งรวมกัน คือร่างกายและจิตใจหรือขวัญ

ขวัญ คือความรู้สึก ถ้าขวัญของผู้ใดอยู่กับตัว ผู้นั้นจะมีความสุขกายสบายใจเป็นปกติ แต่ถ้าขวัญของผู้ใดหลบลี้หนีหาย ผู้นั้นจะมีลักษณะอาการตรงกันข้าม

    ส่วนประกอบหลักของการประดิษฐ์บายศรี คือ ใบตอง เพราะถือว่าใบตองเป็น วัสดุที่สะอาด บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน ซึ่งเมื่อประกอบขึ้นเป็นบายศรีให้มีรูปลักษณ์เหมือนกับ จำลองเขาพระสุเมรุอันเป็นที่สถิตของพระอิศวรตลอดจนเครื่องสังเวยประกอบบูชา เช่น ไข่ มะพร้าว แตงกวา ดอกไม้หอม ทำเป็นชั้น ๆ มีขนาดเล็กไปตามลำดับ ในหนังสือเล่มนี้ได้มีวิธีทำบายศรีให้ฝึกฝนหลายแบบด้วยกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านตามสมควร

งานประดิษฐ์ดอกไม้ใบตอง เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยที่มีมาช้านาน ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ            ในสมัยก่อนงานใบตองประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ส่วนประกอบของต่าง ๆ ของต้นกล้วย เช่น ใบกล้วยและกาบกล้วยมาประดิษฐ์เป็นบายศรี กระทงดอกไม้ กระทงลอย พานพุ่ม แจกันดอกไม้ ล้วนมาจากสิ่งที่สามารถสูญสลายได้เองตามธรรมชาติ แม้ว่าในปัจจุบันนี้ กระแสทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย แต่งานประดิษฐ์จากใบตองเหล่านี้ก็ยังได้รับการสืบทอด และสืบสานงานฝีมือในแขนงนี้ให้คงอยู่สืบไป

ความหมายและความเป็นมาของใบตอง
           ใบตอง คือ ใบของกล้วย ต้นกล้วย เป็นต้นไม้ที่มีความเกี่ยวพันธ์กับวิถีชีวิตของคนไทย เป็นอย่างยิ่ง ประโยชน์จากกล้วยได้ทั้งต้น ทั้งปลี และผลกล้วยมารับประทาน เช่น ต้น ต้นกล้วยมีกาบกล้วย ที่สามารถฉีกฝอยตากแห้งทำเป็นเชือกกล้วยได้ สามารถทำเป็นอาหาร กาบกล้วยใช้แกะสลักเป็นลวดลายไทยประกอบฐานจิตกาธาน ฐานเชิงตะกอน เรียกว่า “ลายแทงหยวก” ปลี (ดอก) ใช้เป็นเครื่องเคียงรับประทานสด ยำ หรือต้มกะทิ กาบปลีใช้ตกแต่งประดับเป็นกลีบดอกไม้ หรือเครื่องประกอบการจัดดอกไม้ และผล ใช้รับประทานทั้งสุกดิบ สามารถนำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เป็นต้น ใบ นำมาใช้งานโดยนำมาเป็นภาชนะสำหรับใส่ขนมหรืออาหารต่าง ๆ อาทิ ขนมกล้วย ข้าวเหนียวปิ้ง ข้าวต้มมัด ห่อหมก ฯลฯ เนื่องจากมีความทนทานต่อความร้อน นอกจากนี้ยังนิยมนำมาประดับพานร่วมกับดอกไม้ เพื่อใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ อีกด้วย ศิลปะงานใบตอง เป็นงานประดิษฐ์แบบไทยอีกแบบหนึ่ง ที่มีความละเอียดอ่อน สลับซับซ้อน และทำได้ยาก ต้องอาศัยความชำนาญ ทั้งการเลือกใบตอง ถ้าเลือกไม่ดีใบตองอาจฉีกขาดได้ง่าย จึงต้องอาศัยศึกษาเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ งานใบตองสามารถทำได้หลายแบบทั้งฉีก กรีด เจียน ตัด พับ ม้วน เย็บ ถัก สาน ให้เป็นรูปลักษณะต่าง ๆ ตามความต้องการ

งานประดิษฐ์ด้วยใบตอง
ประเภทของงานใบตอง
งานใบตองสามารถแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะการนำไปใช้งานได้ ดังนี้
           1. ประเภทใช้ห่อหรือบรรจุอาหาร ซึ่งงานใบตองประเภทนี้พบเห็นได้โดยทั่วไปในชีวิตประจำวันในยุคหนึ่งใบตองไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากความทันสมัยและความสะดวก ของพลาสติก แต่ปัจจุบันได้มีการรณรงค์ให้ลดใช้พลาสติก จึงมีการนำใบตองกลับมาใช้ในชีวิตประจำวันอีกครั้ง งานใบตองประเภทใช้ห่อหรือบรรจุอาหารได้แก่ การห่อแบบต่างๆ กระทงถาดใบตองและกระเช้า
           2. ประเภทกระทงดอกไม้ มีหลายรูปแบบ ซึ่งในแต่ละแบบพัฒนาและสร้างสรรค์ได้อย่างสวยงาม กระทงทุก ๆ แบบสามารถนำไปใช้ได้หลายโอกาส เช่นใช้เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัยใช้เป็นเครื่องสักการะพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์, ชุดขันหมาก เป็นต้น
           3. ประเภทกระทงลอย กระทองลอย คือ ภาชนะสำหรับใส่ดอกไม้ ธูป เทียน สิ่งของ ที่ลอยน้ำได้ ส่วนใหญ่ประดิษฐ์จากใบตองซึ่งใช้ในเทศกาลวันลอยกระทง
           4. ประเภทบายศรี บายศรี คือ ภาชนะที่ตกแต่งสวยงามเป็นพิเศษ เพื่อเป็นสำรับใส่อาหารคาว หวานในพิธีสังเวยบูชาและพิธีทำขวัญต่างๆ ทั้งพระราชพิธีและพิธีของราษฎร์บายศรีหลวง” คือ บายศรีที่ใช้ในการประกอบราชพิธีต่าง ๆ ส่วน “บายศรีราษฎร์” คือ บายศรีที่ใช้สำหรับสามัญชนทั่วไป แต่หากจำแนกตามการนำไปใช้ สามารถจำแนกได้หลายแบบ เช่น บายศรีเทพ, บายศรีพรหม, บายศรีใหญ่, บายศรีบัลลังก์ บายศรีต้น, บายศรีปากชาม เป็นต้น ด้วยบายศรีเป็นสิ่งสำคัญเกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย การประดิษฐ์บายศรีจึงต้องระมัดระวัง ประดิษฐ์องค์ประกอบต้องครบถ้วน และความระมัดระวังการนำไปใช้อย่างเหมาะสม เพื่อความเป็นมงคลสิริสวัสดิ์ในชีวิต

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานใบตอง
งานประดิษฐ์จากใบตอง เป็นงานประณีตใช้ฝีมือและทักษะความชำนาญ ใบตองมีหลายชนิดแต่ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการประดิษฐ์ที่สุด คือ ใบตองกล้วยตานี วัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในงานใบตอง จำเป็นต้องจัดเตรียมไว้ให้เหมาะสมกับชิ้นงาน และมีประสิทธิภาพ ดังนี้
           1. ใบตองตานี มีผิวเป็นมัน สีเขียวเข้ม ไม่แห้งกราก เหนียวนุ่ม ไม่เปราะ ไม่ฉีกขาดง่าย มีความหนาบางพอเหมาะ สีของใบตองจะไม่ตกติดอาหาร ถึงแม้จะถูกความร้อน
           2. กรรไกร ขนาดและรูปร่างเหมาะมือ น้ำหนักเบาและคมตลอดปลาย เวลาจับ นิ้วทั้งหมดเข้าช่องได้พอดี ตัดใบตองใช้กรรไกรขนาดใหญ่ ตัดด้ายใช้กรรไกรขนาดเล็ก
           3. เข็มมือ ถ้างานละเอียดชิ้นเล็กมากใช้เบอร์ 9 ถ้างานปกติใช้เบอร์ 8 เลือกที่แข็งแรง รูกว้างและตัวยาว
           4. เข็มหมุด ชนิดหัวมุกใช้ในบางครั้งที่ต้องการกลัด หรือตรึงให้อยู่กับที่ชั่วคราว ส่วนชนิดหัวเล็กใช้บ่อย ต้องเลือกตัวยาวและปลายแหลม
           5. ไม้กลัด ขนาดเล็กแหลมแข็งแรง ใช้ไม้ติดผิวหรือใกล้ผิว
           6. ด้าย สีเขียวเข้มหรือสีดำเบอร์ 60 ใช้สองเส้นดีกว่าเส้นเดียว เพราะใช้เส้นเดียวจะมีความคมตัดใบตองให้ขาดง่าย
           7. ผ้าขาวบาง สำหรับห่อใบตองที่ฉีกแล้วหรือห่อผลงานที่แช่น้ำพอแล้ว
           8. ผ้าเช็ดใบตอง ใช้ผ้าฝ้ายดีกว่าผ้าผสมใยสังเคราะห์ เพราะนุ่มและดูดซึมได้ดีกว่า
           9. ไม้บรรทัด เลือกที่เห็นเส้นและบรรทัดชัดเจน

คุณค่าของงานใบตอง
งานใบตองเป็นงานที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์       ภูมิปัญญาของบรรพชนไทยสมัยก่อนที่ได้รู้จักประดิดประดอยวัสดุธรรมชาติมาใช้เป็นภาชนะห่อหุ้มอาหารได้อย่างวิจิตรสวยงามความสำคัญ  และคุณค่างานใบตอง แบ่งออกได้ 3 ด้วย คือ
           1. คุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคม ใบตองกับชีวิตของคนไทยอยู่คู่กันมาตั้งแต่ยุคสมัยโบราณถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการนำมาประดิษฐ์เป็นกระทง บายศรี พานขันหมาก พานขันหมั้น ฯลฯ การประดิษฐ์งานใบตองแต่ละอย่างล้วนงดงาม ประณีต ความสามารถของคนไทยไม่มีชนชาติใดในโลกเหมือนซึ่งสมควรที่อนุชนรุ่นหลัง จะถือเป็นหน้าที่ที่ควรหวงแหน และรักษาไว้เป็นศิลปะและวัฒนธรรมประจำชาติสืบไป
           2. คุณค่าทางเศรษฐกิจ การประดิษฐ์งานใบตองนี้สามารถนำไปสร้างรายได้ให้แก่ผู้ที่มีความสามารถทางด้านศิลปะประดิษฐ์ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปประกอบอาชีพถาวร หรืออาชีพเสริม เช่น การจัดทำบายศรี การประดิษฐ์กระทงลอย ฯลฯ
           3. คุณค่าทางจิตใจ ขณะในการปฏิบัติงาน ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน มีสมาธิ ทำให้ผู้ที่ทำงานด้านนี้มีจิตใจเยือกเย็นสุขุม เกิดความภาคภูมิใจในผลงานที่สำเร็จ และยังเป็นการช่วยดำรงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างดี

งานประดิษฐ์ด้วยใบตอง

ที่มาของภาพ : http://market.onlineoops.com/37933/en_US

งานประดิษฐ์ด้วยใบตอง

งานประดิษฐ์ด้วยใบตอง

งานประดิษฐ์ที่ทำจากใบตองมีอะไรบ้าง

งานใบตองมีมากมายหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์กระทงลอย, บายศรี, พานขันหมากขันหมั้น การประดิษฐ์ถาดใบตอง ในการประดิษฐ์งานใบตองจะต้องมีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เหมาะสมเพื่อ ช่วยลดเวลาในการทางานและยังทาให้งานที่ออกมามีคุณภาพและสวยงามโดยพิจารณาจากการเลือกชนิดของ ใบตอง กรรไกร เข็ม ด้าย ฯลฯ ประเภทของงานใบตอง

ใบตองตานีประดิษฐ์อะไรได้บ้าง

1.2.1. ใบตองกล้วยตานี มีสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบตองมีความนุ่มเหนียวไม่เปราะและฉีกง่าย มีความหนาพอเหมาะ เส้นใบตองตรงด้านสีเขียวมีความมัน ด้านนวลใบตองมีสีขาวขุ่นเหมาะที่จะนำไปใช้ทำกระทงใส่ขนม ถาดใบตอง บายศรีปากชาม กระทงลอย

งานประดิษฐ์ใบตองที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ไทยมีอะไรบ้าง

งานใบตองมีมากมายหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์กระทงลอย, บายศรี, พานขันหมากขันหมั้นการประดิษฐ์ถาดใบตอง ในการประดิษฐ์งานใบตองจะต้องมีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดเวลาในการทำงานและยังทำให้งานที่ออกมามีคุณภาพและสวยงามโดยพิจารณาจากการเลือกชนิดของใบตอง กรรไกร เข็ม ด้าย ฯลฯ

หยวกกล้วยประดิษฐ์อะไรได้บ้าง

1.รากและลำต้น นำมาต้มก็ช่วยดับกระหายได้ หรือนำลำต้นมาทำสมุนไพรแผนโบราณ 2.ลำต้นเทียมหรือกาบลำต้น สามารถนำมาทำเส้นใย ทำเชือกทอผ้า ทำอาหารให้สัตว์ แล้วก็เป็นอาหารให้กับเราได้อีกด้วย เช่น เมนูแกงหยวกกล้วย 3.ใบกล้วย ใช้ห่ออาหารและขนมต่างๆ ทั้ง ห่อหมก ข้าวต้มมัด ฯลฯ หรือประดิษฐ์ทำกระทง , บายศรี ก็ได้อีกเช่นกัน