คําสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ขอที่ไหน

มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ของผู้ตาย เช่น ที่ดิน เงินฝากธนาคาร หุ้น กองทุน ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินที่มีผู้อื่นยืมไป หนี้ ภาระติดพันต่างๆ ทั้งการจำนองหรือค้ำประกัน เป็นต้น   ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่เราทุกคนควรจะต้องรู้ไว้คือ หลังจากที่ผู้ตาย หรือที่กฎหมายเรียกว่า “เจ้ามรดก” ได้ถึงแก่กรรมแล้วนั้น ถึงแม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมก็ตาม แต่ก็อาจมีปัญหาในการแบ่งมรดก ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินได้ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หรือลูกหนี้ของเจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ กฎหมายจึงให้ตั้งผู้ที่จะมาจัดการมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเรียกว่า “ผู้จัดการมรดก” และถึงแม้เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมโดยจะตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไว้หรือไม่นั้น ทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมก็มีความจำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเช่นกัน


แต่ก่อนที่จะไปรู้จักกับผู้จัดการมรดก ยังมีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่จะต้องทำความรู้จักเสียก่อน ซึ่งก็คือทายาทของเจ้ามรดกนั่นเอง ทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก มีด้วยกัน 6 ลำดับ ดังนี้
 

  1. ผู้สืบสันดาน คือ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม

  2. บิดามารดา ในกรณีของบิดา เฉพาะบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก

  3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

  4. พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน

  5. ปู่ ย่า ตา ยาย

  6. ลุง ป้า น้า อา

 

คําสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ขอที่ไหน

นอกจากทายาทโดยธรรมทั้ง 6 ลำดับดังกล่าวแล้ว คู่สมรสซึ่งจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ถือเป็นทายาทโดยธรรมเช่นกัน โดยกรณีคู่สมรส จะมีการแบ่งที่แตกต่างกับทายาทโดยธรรมประเภทญาติเพราะมีสิทธิได้รับมรดก 2 ส่วนคือ ครึ่งหนึ่งของสินสมรส และสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ตามกฎหมายลักษณะมรดก แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


การรับมรดกของทายาทโดยธรรมนั้นทั้ง 6 ลำดับนั้น ไม่ได้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันหมดทุกคน เพราะหากทายาทลำดับ 1 และ 2 รวมถึงคู่สมรส ยังมีชีวิตอยู่ ก็เฉพาะแต่ทายาทลำดับนั้นเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก   ทายาทในลำดับ 3 ถึง 6 ไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเลย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้วางหลักการแบ่งมรดกของทายาทโดยธรรมทั้ง 6 ลำดับ ดังนี้
 

  1. ถ้ามีทายาทในชั้นผู้สืบสันดาน คู่สมรสมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเหมือนเป็นทายาทชั้นบุตร กล่าวคือ เมื่อแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่งแล้ว คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกเท่ากับทายาทในชั้นผู้สืบสันดานด้วย

  2. ถ้ามีทายาทในชั้นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือถ้าไม่มีบุตรแต่บิดามารดาของผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิ์ได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่งแล้ว คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกครึ่งหนึ่งของกองมรดก   ส่วนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันหรือบิดามารดาของเจ้ามรดก แล้วแต่กรณี มีสิทธิได้รับมรดกเพียงครึ่งหนึ่งของกองมรดกเท่านั้น

  3. ถ้ามีทายาทคือ พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน หรือลุง ป้า น้า อา หรือมีปู่ ย่า ตา ยายแล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิ์ได้มรดก 2 ใน 3 ส่วน ของกองมรดก

  4. ถ้าผู้ตายไม่มีทายาทเลย คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด
     

นอกจากนี้ ถ้าทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันนั้นมีหลายคน ทายาทเหล่านั้นย่อมได้ส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกคนละเท่าๆ กัน 

คําสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ขอที่ไหน

ยกตัวอย่างเช่น หากเจ้ามรดกซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมมีคู่สมรส และบุตร 1 คน อีกทั้งบิดาและมารดาของเจ้ามรดกก็ยังมีชีวิตอยู่ ทรัพย์ของเจ้ามรดกจะถูกแบ่งในส่วนที่เป็นสินสมรสครึ่งหนึ่งให้คู่สมรสก่อน   หลังจากนั้น ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจะถูกแบ่งให้กับคู่สมรส บุตร บิดาและมารดา ในส่วนเท่า ๆ กัน   หรือหากเจ้ามรดกมีคู่สมรส แต่ไม่มีบุตร และบิดามารดาของเจ้ามรดกถึงแก่กรรมก่อนเจ้ามรดก แต่เจ้ามรดกมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 3 คน   ดังนั้น เมื่อสินสมรสถูกแบ่งให้กับคู่สมรสแล้ว คู่สมรสจะได้รับมรดกอีกครึ่งนึงของทรัพย์มรดกทั้งหมด ส่วนพี่น้องทั้ง 3 คน ของเจ้ามรดกจะได้ทรัพย์มรดกอีกครึ่งนึง โดยทั้ง 3 คน จะได้รับมรดกในสัดส่วนที่เท่ากันทั้ง 3 คน

แต่งตั้งผู้จัดการมรดก ทำอย่างไร

ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก

ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ในลำดับแรก ประกอบด้วย
1. ผู้สืบสันดาน คือ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม ของผู้ตาย

2. บิดามารดา ในกรณีของบิดา เฉพาะบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก

.3. สามีหรือภริยา หรือคู่สมรสของผู้ตาย

หากไม่มีทายาทดังกล่าวข้างต้น ทายาทลำดัถัดไปจึงมีสิทธิได้รับมรดก และมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก

4. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

5. พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน

6. ปู่ ย่า ตา ยาย

7. ลุง ป้า น้า อา

แต่งตั้งผู้จัดการมรดก ใช้เอกสารอะไรบ้าง

1. หลักฐานที่เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น บัญชีเงินฝาก โฉนดที่ดิน หุ้น สลากออมสิน เป็น

2. หลักฐานที่ผู้ยื่นเกี่ยวพันกับผู้ตาย เป็นบุตร หรือบิดามารดา สามีภริยา คือสำเนาทะเบียนบ้าน บุตร หรือบิดามารดา หรือทะเบียนสมรส

3. หลักฐานเกี่ยวกับการตาย เช่น ใบมรณบัตร

4. หลักฐานเกี่ยวกับที่อยู่ของผู้ตาย ก่อนถึงแก่ความตาย เช่น สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย

5. หนังสือให้ความยินยอมของทายาท

6. บัญชีรายชื่อทายาทของผุ้ตายที่มีสิทธิได้รับมรดก

แต่งตั้งผู้จัดการมรดก มีขั้นตอนอะไรบ้าง

1. หลังจากเอกสารต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว ทนายความจะทำเป็นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกยื่นต่อศาล

2. หลังจากยื่นคำร้องแล้ว ศาลจะประกาศหนังสือพิมพ์เป็นเวลา 30 วัน แล้วนัดไต่สวนหลังจากวันยื่นคำร้องประมาณ 45- 60 วัน

3. วันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องจะต้องนำเอาต้นฉบับเอกสารมาทั้งหมด มาสืบพยาน หรือไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก

4. หลังจากไต่สวนคำร้องแล้ว ผู้ร้องจะได้คำสั่งขอเป็นผู้จัดการมรดก ประมาณ 3-14 วัน

5. หลังจากไต่สวนคำร้องแล้ว 30 วัน ผู้ร้องขอหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดได้

6. ขั้นตอนสุดท้าย ผู้ร้องนำคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เอกสารเกี่ยวทรัพย์มรดก หลักฐานการตาย และทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดก ไปยื่นขอรับมรดก

เรียบเรียง ทนายรุ่งเรือง ลาภรุ่งเรือง

สำนักงานทนายความ อธิวัฒน์ ช่อผูก

จำนวนคนดู 3,170

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่

คําสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ขอที่ไหน

Facebook

0
คําสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ขอที่ไหน

Pinterest

0
คําสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ขอที่ไหน

Twitter

คําสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ขอที่ไหน

Linkedin

รอคำสั่งศาล เป็นผู้จัดการมรดกกี่วัน

ระยะเวลาในการดำเนินการ เมื่อยื่นคำร้องต่อศาลแล้ว จะนัดไต่สวนคำร้องประมาณ 2 เดือน หลังจากไต่สวนคำร้องเสร็จ 1 เดือน ผู้ร้องสามารถขอคัดสำเนาคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก พร้อมหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เพื่อใช้ดำเนินการต่อไป เขตอำนาจศาล

ยื่นผู้จัดการมรดกต้องมีทนายไหม

A การร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกที่ไม่มีผู้คัดค้านไม่จำเป็นต้องมีทนายความดำเนินการให้ก็ได้ ทายาทสามารถติดต่อเพื่อขอรับบริการได้ที่สำนักงานอัยการสูงสุด (หลักเมือง)

การเป็นผู้จัดการมรดกเป็นได้ทางใดบ้าง

บุคคลที่มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก.
ทายาท • ทายาทโดยชอบธรรม • ผู้รับพินัยกรรม.
ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก หรือสามีภรรยาซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมีทรัพย์สินร่วมกัน.
พนักงานอัยการ.

แต่งตั้งผู้จัดการมรดกใช้เอกสารอะไรบ้าง

แต่งตั้งผู้จัดการมรดก ใช้เอกสารอะไรบ้าง.
หลักฐานที่เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น บัญชีเงินฝาก โฉนดที่ดิน หุ้น สลากออมสิน เป็น.
หลักฐานที่ผู้ยื่นเกี่ยวพันกับผู้ตาย เป็นบุตร หรือบิดามารดา สามีภริยา คือสำเนาทะเบียนบ้าน บุตร หรือบิดามารดา หรือทะเบียนสมรส.
หลักฐานเกี่ยวกับการตาย เช่น ใบมรณบัตร.