ประเทศที่ลงทุนในไทยมากที่สุด 2564

เปิดสถิติคนไทย"ลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ"พบในไตรมาส1ปี 64 ธุรกิจไทยไปลงทุน นำโดย ฮ่องกง 7.7หมื่นล้าน รองลงมา สหราชอาณาจักร 2.3 หมื่นล้าน มีธุรกิจยอดนิยม ทำเหมือง การเงินและประกันภัย  การผลิตเครื่องดื่ม "ซีไอเอ็มบีไทย" ชี้เงินลงทุน TDI ปีนี้ยังโตแซง FDI

“ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย”  หนึ่งในธนาคารสมาชิกกลุ่มซีไอเอ็มบี กลุ่มการเงินชั้นนำของอาเซียน ได้จัดงานแถลงข่าวเนื่องในโอกาสวันอาเซียน ซึ่งตรงกับวันที่ 8 เดือน 8 ของทุกปี  ในหัวข้อ ASEAN Outlook Amid COVID-19 Storm “วิเคราะห์การลงทุนในอาเซียนท่ามกลางพายุโควิด” 

ล่าสุด ธนาคารรายงานสถิติ ยอดคงค้าง “มูลค่าการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ” (Thai Direct Investment : TDI) จำแนกรายประเทศ จากข้อมูลของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า 10ประเทศ ที่ภาคธุรกิจไทยเน้นไปลงทุนสะสมมากที่สุด 10อันดับ  ณ ไตรมาส 1 ปี 2564 ดังนี้

1. ฮ่องกง มูลค่า 77,257 ล้านบาท

2. สหราชอาณาจักร  มูลค่า 23,337 ล้านบาท

3. เนเธอร์แลนด์ มูลค่า 12,137 ล้านบาท

4. ลาว มูลค่า 3,707 ล้านบาท

5. มอริเชียส มูลค่า 2,729 ล้านบาท

6. อินโดนีเซีย มูลค่า 2,507 ล้านบาท

7. จีน มูลค่า 2,101 ล้านบาท

8. บริติช เวอร์จินไอส์แลนด์ มูลค่า 1,290 ล้านบาท

9. ไต้หวัน มูลค่า 747 ล้านบาท

10.เวียดนาม มูลค่า 465 ล้านบาท

ประเทศที่ลงทุนในไทยมากที่สุด 2564

และหากดุราย “ธุรกิจ” ที่คนไทย นิยมไปลงทุนมากที่สุด10 อันดับ  ดังนี้

1. การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน มูลค่า 57,177 ล้านบาท

2. การเงินและการประกันภัย  มูลค่า  31,150 ล้านบาท

3. การผลิตเครื่องดื่ม มูลค่า 7,871 ล้านบาท

4. การขายส่งและการขายปลีก มูลค่า 6,515 ล้านบาท

5. การผลิตคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์  มูลค่า 3,293 ล้านบาท

6. การขนส่งและคลังสินค้า มูลค่า 3,203 ล้านบาท

7. การผลิตไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำและระบบปรับอากาศ มูลค่า 1,303 ล้านบาท

8. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร มูลค่า 832 ล้านบาท

9.  กิจกรรมการก่อสร้าง มูลค่า 785 ล้านบาท

10. การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า มูลค่า 385 ล้านบาท

ชี้เงินลงทุน TDI ปีนี้ยังโตแซง FDI แม้เผชิญพายุโควิด

“เกษม พันธ์รัตนมาลา” กรรมการและหัวหน้าฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)  ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย)  มองว่า บริษัทไทย มองหาโอกาสลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านตลอดเวลา จากตัวเลข  Thailand Direct Investment (TDI) คนไทยไปลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2559  แม้ปี 2563 จะเผชิญโควิดแต่ TDI ยังคงโตสูงสุด มีมูลค่า 564,000 ล้านบาท  และโตต่อเนื่องมาถึงปีนี้  

อย่างไรก็ตามจากการแพร่ระบาดโควิด-19  ในฝั่งประเทศเกิดใหม่ของเอเชีย ตั้งแต่ต้นปี 2564 มานี้ ส่งผลให้ มูลค่า TDI  ในไตรมาส  1 ปีนี้  ยังเติบโตอยู่ที่ 9,300 ล้านบาท แต่ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนเติบโตถึง 181 ,000 ล้านบาท และยังพบว่า ในไตรมาส 1 ปีนี้ บริษัทไทยมีการขายเงินลงทุนในอาเซียนบางส่วน มูลค่าราว 23,000 ล้านบาท โยกย้ายเงินลงทุนมาในประเทศฝั่งยุโรปแทน มูลค่าราว 33,000 ล้านบาท

แต่มองว่า แนวโน้ม TDI ทั้งปีนี้ เม็ดเงินลงทุนอาจชะลอลงบ้าง จากผลกระทบโควิด  แต่มูลค่าเงินลงทุนจะยังคงมากกว่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทย(FDI ) แน่นอน 

“เงินลงทุน TDI ขึ้นอยู่กับการตกลงร่วมกับพาร์ทเนอร์ในต่างประเทศว่าจะสามารถเข้าลงทุนหรือซื้อกิจการสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงไหน ซึ่งยังต้องติดตามสถานการณ์ทุกไตรมาสในไตรมาส 1 ปีนี้ยังคงโตได้แม้ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ยังไม่มีผลกระทบจากโควิด”  

สำหรับในช่วงที่เหลือของปีนี้ ธนาคารซึ่งมีความเชี่ยวชาญการลงทุนในอาเซียนผ่านเครือข่ายของธนาคาร ยังมุ่งจับมือบริษัทไทยออกไปลงทุนใน “ตลาดอาเซียน” ที่ยังคงสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนได้ดีต่อเนื่องหลังโควิดคลี่คลาย

ปัจจุบันพบว่า บริษัทไทยส่วนใหญ่เข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ส่วนผลตอบแทนจากการไปลงทุนอาจต้องรอ 3-5 ปี หากธุรกิจเติบโต แข่งขันได้  เงินลงทุนจะเริ่มกลับเข้ามาในประเทศ ส่งให้เศรษฐกิจไทยแข็งแรงขึ้น

ประเทศที่ลงทุนในไทยมากที่สุด 2564

สายตาต่างชาติ ไม่สน “ลงทุนในไทย”

ขณะที่ เงินต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทย Foreign Direct Investment (FDI) "เกษม" กล่าวว่า  เงินลงทุน FDI กลับน้อยกว่าเงินที่คนไทยนำไปลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน โดย FDI ปีก่อน ติดลบ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมองย้อนกลับไปก่อนมีโควิด FDI มาไทยไม่ได้สูงมาตั้งแต่ปี 2559 เรื่อยมาถึงตอนนี้

“ตลาดไทยไม่น่าสนใจในสายตาต่างชาติอีกต่อไป เพราะเราไม่ค่อยมีบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่ส่วนใหญ่เป็น sector ใหม่เกี่ยวกับเทคโนโลยี สินค้าไฮเทค สมาร์ทโฟน รถ EV ซึ่งต้องมีเงินทุนใหม่ๆ มารองรับ ถ้าถามว่าไทยจะมีอุตสาหกรรมใดที่จะพัฒนาเพื่อต่อยอดเศรษฐกิจของเราเองได้ เป็นคำถามที่รัฐบาลต้องนำไปคิด ทำไมต่างชาติเขามองข้ามเราไป หรือโครงสร้างพื้นฐานเราเองมีปัญหา เช่น เรื่องคน เรื่องการศึกษา แรงงานเราค่าแรงไม่ถูก แต่ทักษะสูงไม่พอหรือเปล่า รวมถึงระบบโลจิสติกส์ที่ไม่เอื้อ ทำให้ประเทศไทยขาดความน่าสนใจในการลงทุน อย่าว่าแต่นักลงทุนต่างชาติเลย แม้แต่นักลงทุนไทยยังไปลงทุนเพื่อนบ้าน” 

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดพอร์ตนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยปี 2565 โดยพบว่า ‘อังกฤษ’ เป็นชาติที่ถือครองหุ้นไทยมากที่สุด ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 1.7 ล้านล้านบาท

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดพอร์ตการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยปี 2565 โดยพบว่า

ณ สิ้นเดือน ก.ค. 2565 นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทยรวมกว่า 5.11 ล้านล้านบาท สูงสุดในรอบ 4 ปี เพิ่มขึ้น 0.29% จากปีก่อน

หลักๆ มาจากการซื้อสุทธิกว่า 153,151 ล้านบาท ในช่วงเดือนก.ย. 2564 – ก.ค. 2565 และการถือครองหุ้นของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนซื้อขายใหม่ (New Listing Companies)

ส่งผลให้มูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศคิดเป็น 26.84% ของมูลค่าหลักทรัพย์รวมทั้งตลาด

อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจสูงสุด 3 อันดับแรก คือ 1. กลุ่มเทคโนโลยี 2. กลุ่มธุรกิจการเงิน และ 3. กลุ่มทรัพยากร

ด้วยมูลค่าถือครองหุ้นรวมกันกว่า 3.12 ล้านล้านบาท คิดเป็น 61% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ

ส่วนหมวดธุรกิจที่นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด 3 อันดับแรก คือ 1. หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG) 953,319 ล้านบาท 2. หมวดธนาคาร (BANK) 783,470 ล้านบาท และ 3. หมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ETRON) 617,210 ล้านบาท

โดย 3 หมวดธุรกิจนี้ มีมูลค่าการถือครองหุ้นรวม 2.35 ล้านล้านบาท หรือ 46.1% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม 72.3% ของมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ ยังเป็นการถือครองหุ้นที่อยู่ในดัชนี MSCI Thailand Index เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 68%

ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด 10 สัญชาติแรก พบว่า 8 ใน 10 สัญชาติ เป็นสัญชาติเดียวกันกับปีก่อน แต่มีสลับอันดับ

โดยนักลงทุนจากสหราชอาณาจักรมีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด ตามมาด้วยนักลงทุนจากสิงคโปร์ และสวิสเซอร์แลนด์ที่ขยับขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 3

ขณะที่ฮ่องกงลดลงไปอยู่อันดับ 4 และสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มอริเชียส เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และบริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์ ตามลำดับ

ประเทศใดเข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด

8 เดือนปี 2565 ต่างชาติลงทุนในไทย กว่า 83,282 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 เกือบ 33,156 ล้านบาท หรือ 66 % ญี่ปุ่นนำโด่ง 32,897 ล้านบาท ตามด้วย จีน 14,719 ล้านบาท และสิงคโปร์ 10,665 ล้านบาท

ต่างชาติลงทุนในไทยได้ไหม

ต่างชาติสามารถถือหุ้นในบริษัทที่จดจัดตั้งในไทย 100% ได้อย่างถูกกฎหมายโดย ยื่นขอ Foreign Business Licenses (FBL) คือ การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สามารถยื่นขอหนังสือรับรองประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติได้

ประเทศใดเป็นประเทศผู้รับการลงทุนโดยตรงมากที่สุด

สําหรับแหล่งที่มาของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากที่สุดคือ สหภาพยุโรป รองลงมา ได้แก่ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นแหล่งเงินทุนที่สําคัญในช่วงระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา จาก วิกฤตทางการเงินโลก ในปี 2551 ส่งผลให้การลงทุนจากยุโรปและสหรัฐอเมริกาในอาเซียนลดลง อย่างไรก็ตามการลงทุนภายในอาเซียนด้วยกันเองได้เพิ่มขึ้นในปีดัง ...

ทำไมต่างชาติถึงมาลงทุนในไทย

ประเทศไทยยังมีปัจจัยเอื้ออำนวยหลายด้าน นอกจากวัตถุดิบ ชิ้นส่วนที่เพียงพอแล้ว ยังมีบริการด้านการสื่อสาร ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน