หนังสือรับรองนําส่งเงินสมทบย้อนหลัง 1 ปี

สำนักงานประกันสังคม แจ้งผู้ประกันตนตามมาตรา 33, 39 และ 40 ที่มีเงินได้หรือรายได้ตามเกณฑ์กำหนด ยื่นภาษี ปี 2565 สามารถใช้เงินประกันสังคมที่ส่งมาคำนวณเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งผู้ประกันตนแต่ละมาตรา จะมีสิทธิการลดหย่อนที่แตกต่างกัน ดังนี้

ผู้ประกันตน ม.33 ขอหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ จากหน่วยงานที่ทำงานอยู่ สามารถนำไปลดหย่อนตามจำนวนเงินสมมบที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 5,100 บาท

ผู้ประกันตน ม.39 ลดหย่อนตามจำนวนเงินสมมบที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 3,003 บาท

ผู้ประกันตน ม.40 ลดหย่อนตามจำนวนเงินสมมบที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาท

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถนำบัตรประชาชนตัวจริงไปติดต่อขอคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่ง

หนังสือแจ้งการประเมินเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนประจำปี (กท. 26 ก.)และแบบแสดงเงินค่าจ้างประจำปี (กท. 20 ก.)
  • หนังสือมอบอำนาจ
  • หนังสือรับรองของแพทย์ผู้รักษา
  • หนังสืออุทธรณ์
  • แบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทน

    • แบบขอรับค่าบริการทางการแพทย์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางของผู้ป่วยประกันสังคม (สปส.2-17)
    • แบบคำขอรับค่าบริการทางการแพทย์ โดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและฉีดยาอิริโธรปัวอิติน(รายสัปดาห์) (สปส.2-181ก) (ใช้สำหรับสถานพยาบาล)
    • แบบคำขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ป่วยประกันสังคม(สำหรับสถานพยาบาล) (สปส.2-15 )
    • แบบคำขอรับค่าบำบัดทดแทนไต (สปส.2-18)
    • แบบคำขอรับค่าอวัยวะเทียมอุปกรณ์ในการบำบัดโรค สำหรับผู้ประกันตนสถานพยาบาล (สปส.2-09)
    • แบบคำขอรับบริการทางการแพทย์ โดยการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวรและการฉีดยาอิริโธรปัวอิติน (รายเดือน)(สปส.2-181ข) (ใช้สำหรับสถานพยาบาล)
    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16)
    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-017)
    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนการบำบัดทดแทนไต กรณีปลูกถ่ายไต (สปส.2-182)
    • แบบหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์กรณีตาย (ตัวอย่าง)
    • ใบรับรองแพทย์
    • หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน (กรณีสงเคราะห์บุตร)
    • หนังสือมอบอำนาจ (รับเงินประโยชน์ทดแทน)
    • หนังสือรับรองของนายจ้าง
    • หนังสือรับรองของบุคคลซึ่งอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยากับผปต.โดยเปิดเผย กรณีผปต.ถึงแก่ความตาย(เฉพาะกรณีสงเคราะห์บุตร)

      บทความงาน > การทำงาน > กฎหมายคนทำงาน > ถาม-ตอบประกันสังคมสำหรับคนว่างงาน

      ถาม-ตอบประกันสังคมสำหรับคนว่างงาน

      • 4 April 2018

      หนังสือรับรองนําส่งเงินสมทบย้อนหลัง 1 ปี
      หนังสือรับรองนําส่งเงินสมทบย้อนหลัง 1 ปี
      หนังสือรับรองนําส่งเงินสมทบย้อนหลัง 1 ปี
      หนังสือรับรองนําส่งเงินสมทบย้อนหลัง 1 ปี
      หนังสือรับรองนําส่งเงินสมทบย้อนหลัง 1 ปี
      หนังสือรับรองนําส่งเงินสมทบย้อนหลัง 1 ปี
      หนังสือรับรองนําส่งเงินสมทบย้อนหลัง 1 ปี

      หนังสือรับรองนําส่งเงินสมทบย้อนหลัง 1 ปี

                เนื่องจากมีคำถามมากมายเกี่ยวกับประกันสังคม กรณีว่างงาน jobsDB จึงรวบรวมทำเป็น 20 คำถามที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ และคุณสามารถตรวจสอบหลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับประกันสังคม กรณีว่างงานได้ที่บทความ ไขข้อข้องใจสิทธิประกันสังคม กรณีว่างงาน

      1. ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรจึงจะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานได้

                ตอบ : หลักเกณฑ์ที่จะทำให้คุณมีสิทธิ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน (ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา) โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย หากมีการจ่ายเงินสบทบน้อยกว่าระยะเวลาที่กล่าวไปแล้ว สิทธิประโยชน์นี้จะยังไม่เกิด

      2. ต้องใช้เอกสารอะไรในการขึ้นทะเบียนคนว่างงานบ้าง

                ตอบ : เอกสารที่ใช้มีดังต่อไปนี้และต้องไปยื่นเรื่องภายใน 30 วันนับจากวันลาออกจากงาน

      1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
      2. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
      3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
      4. หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
      5. หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
      6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน

      3. การออกจากงานโดยไม่ได้ลาออกจะมีสิทธิได้เงินทดแทนหรือไม่

                ตอบ : การออกจากงานโดยไม่ได้ลาออกจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนหากเป็นการหมดสัญญาจ้างตามที่กำหนดระยะเวลาหรือการเลิกจ้างโดยที่ผู้ว่างงานต้องมิได้ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณีดังต่อไปนี้

          –  ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

          –  จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

          –  ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณี ร้ายแรง

          –  ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร

          –  ประมาทเลินล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

          –  ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

          –  ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

      4. ถ้าหากได้งานใหม่หลังจากไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานแล้วต้องทำอย่างไร จะยังได้รับเงินทดแทนอยู่หรือไม่

                ตอบ : ไม่ว่าจะเป็นการได้งานใหม่ก่อนหรือหลังการรายงานตัวครั้งแรกก็ตาม ผู้ประกันตนยังมีสิทธิที่จะได้รับเงินทดแทนตามระยะเวลาที่ว่างงานจริง (ช่วงเวลาหลังจากออกจากงานที่เก่าและก่อนได้งานที่ใหม่) โดยทางสำนักงานประกันสังคมจะคำนวณวันให้ตามข้อมูลที่ผู้ประกันตนและนายจ้างทั้งเก่าและใหม่ยื่นเรื่องเข้ามา ดังนั้นเมื่อไรก็ตามหากผู้ประกันตนได้งานใหม่แล้ว สามารถแจ้งกับสำนักงานประกันสังคมให้ทำการบันทึกข้อมูลได้ทันที

      5. จะทำอย่างไรกรณีกรอกข้อมูลผิดพลาดตอนยื่นเอกสาร

                ตอบ : สามารถติดต่อสำนักงานสาขาที่ยื่นเรื่องเอาไว้เพื่อยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูล แต่หากเป็นข้อมูลที่ออกให้จากฝั่งนายจ้าง ผู้ประกันตนสามารถติดต่อให้นายจ้างส่งหนังสือขอแก้ไขข้อมูลเข้ามาทางสำนักงานได้เช่นกัน

      6. หากสงสัยในจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนที่ทางเจ้าหน้าที่คิดให้จะทำอย่างไร

                ตอบ : สามารถตรวจสอบกับทางสำนักงานสาขาที่ยื่นเรื่องได้โดยตรง โดยทั่วไปแล้วเงินทดแทนจะคำนวณจากวันออกจากงานตามที่นายจ้างแจ้งประกอบด้วย โดยมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย นอกจากนี้หากไปยื่นขึ้นทะเบียนล่าช้ากว่า 30 วัน ผู้ประกันตนจะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง

      7. จะได้รับเงินทดแทนภายในกี่วันหลังจากยื่นเรื่อง

                ตอบ : หากเอกสารต่าง ๆ ครบถ้วน จะได้รับเงินเข้าบัญชีประมาณภายใน 5-7 วันไม่นับเสาร์-อาทิตย์หลังจากยื่นเรื่อง

      8. หากออกจากงานแล้วนายจ้างยังไม่แจ้งเอาชื่อออกจากประกันสังคมจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนหรือไม่

                ตอบ : ทางสำนักงานจะสามารถดำเนินการให้ต่อเมื่อข้อมูลครบถ้วนเท่านั้น หากตรวจสอบแล้วพบว่านายจ้างเก่ายังไม่ได้ยื่นเรื่องการออกจากงาน ผู้ประกันตนสามารถติดต่อไปที่นายจ้างโดยตรง หรือลองสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพื้นที่ที่ยื่นเรื่องไว้ให้ช่วยติดตามอีกครั้ง

      9. หากมีการออกจากงาน ได้งานและออกจากงานมากกว่า 1 ครั้งภายในหนึ่งปี จะมีสิทธิสามารถรับเงินทดแทนไหม

                ตอบ : ในกรณียื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง หรือเหตุถูกเลิกจ้างและลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน

      10. หากจำไม่ได้ว่าลาออกจากงานเมื่อไร สามารถให้สำนักงานประกันสังคมเช็คให้ได้หรือไม่

                ตอบ : สามารถตรวจสอบได้เบื้องต้นในกรณีที่นายจ้างยื่นเรื่องกับทางสำนักงานเอาไว้เรียบร้อยแล้ว

      11. กรณีที่รายงานตัวครั้งสุดท้ายแล้วสามารถสมัครมาตรา 39 ได้เลยหรือเปล่าแล้วจะได้เงินชดเชยว่างงานหรือไม่

                ตอบ : การจะสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 นั้นจะต้องเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน และเมื่อเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แล้วจะไม่สามารถได้รับสิทธิประกันสังคมของผู้ว่างงาน

      12. การลาออกจากบริษัทที่แรกแต่ไม่ได้ไปยื่นเรื่องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานไว้เพราะว่าได้ทำงานอีกที่หนึ่งแต่ทำงานได้เพียงเดือนเดียวก็ลาออกอีกครั้ง สามารถไปยื่นเรื่องเป็นผู้ว่างงานได้ไหม

                ตอบ : สามารถไปขึ้นทะเบียนได้ หากมีคุณสมบัติครบถ้วน เช่น จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน แต่หากมีการยื่นเรื่องล่าช้าเกินกว่า 30 วัน ผู้ประกันตนจะไม่ได้รับสิทธิในย้อนหลังในวันที่ผ่านไปแล้ว

      13. หากมีการไปรายงานตัวช้ากว่าวันที่กำหนด จะส่งผลต่อเงินทดแทนการว่างงานในเดือนนั้นหรือไม่

                ตอบ : ตามแนวปฎิบัติ สามารถรายงานตัวได้ ก่อนและหลังวันนัด 7 วันค่ะ

      14. หากว่างงานมานานกว่า 8 เดือนแล้ว แต่ยังไม่ได้ไปขึ้นทะเบียน จะยังสามารถไปยื่นเรื่องได้ทันหรือไม่

                ตอบ : ตามหลักเกณท์ สามารถขึ้นทะเบียน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันลาออก โดยที่ถ้าเป็นกรณีลาออก ต้องไม่เกิน 90 วันและถ้าเป็นกรณีเลิกจ้างต้องไม่เกิน 180 วัน จำนวนวันจะถูกตัดสิทธิไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสิ้นสุดตามวันที่กำหนดค่ะ

      15. ในกรณีที่ว่างงานต่อเนื่องเกินกว่า 1 ปี จะได้รับสิทธิ 90 หรือ 180 วันต่อปีแล้วแต่เหตุผลการออกจากงานไปเรื่อยๆไหม

                ตอบ : กรณีว่างงาน สามารถขึ้นทะเบียนได้ ภายใน 1 ปี แต่ถ้าเป็นกรณีลาออก จะได้ 90 วัน ถ้าผู้ประกันตัวไปได้งานใหม่ และถูกเลิกจ้าง จะทบให้เพิ่ม จนครบ 180 วัน ภายใน 1 ปีนั้น ซึ่งถ้าต่อเนื่องข้ามปี จะคิดรวมให้ครบ และในปีถัดไปจะได้สิทธิตามหลักเกณท์ค่ะ

      16. การขาดส่งเงินสมทบส่วนของนายจ้างมีผลต่อการได้สิทธิประโยชน์ประกันสังคมสำหรับผู้ว่างงานไหม

                ตอบ : กรณีที่นายจ้างค้างจ่ายเงินสมทบ ย่อมมีผลกับการขอรับสิทธิกรณีว่างงานของผู้ประกันตนแน่นอน อาจจจะต้องให้เจ้าหน้าที่เขตพื้นที่ตามเรื่องเงินสมทบให้ค่ะ

      17. หากเคยขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานที่สำนักงานสาขาหนึ่ง ในภายหลังมีการแจ้งย้ายสิทธิประกันสังคมไปอีกจังหวัดหนึ่ง โดยที่ยังต้องไปรายงานตัวอยู่ อยากทราบว่าสิทธิประโยชน์จะยังคงเดิมหรือไม่ และสามารถย้ายไปรายงานตัวที่สาขานั้น ๆ ได้อย่างไร

                ตอบ : กรณีรายงานตัวสามารถรายงานตัวได้ทุกที่ ทุกเขต ทุกจังหวัดค่ะ ถ้าคุณยังไม่ได้งานทำใหม่ค่ะ

      18. ทำไมหลังจากยื่นเรื่องเป็นผู้ว่างงานแล้วต้องเว้น 1 เดือนเพื่อไปรายงานตัวครั้งแรก

                ตอบ : กรณีว่างงาน มีหลักเกณท์ คือ ผู้ประกันตนจะต้องขึ้นทะเบียนก่อนในรอบแรก จะยังไม่นับเป็นการได้สิทธิ ภายใน 1 เดือนนี้ ประกันสังคมจะให้ผู้ประกันตนออกหางานก่อน จะได้หรือไม่ได้ก็ตาม การนัดรายงานตัวครั้งที่ 1 ผู้ประกันตนจะต้องนำหลักฐานการหางานไปยื่นให้เจ้าหน้าที่กรมจัดหางานทราบ  แต่ถ้าไม่ได้งานทำตามระยะเวลาใน 1 เดือน ถ้านายจ้างมีการยื่นเรื่องลาออก และเจ้าหน้าที่ได้บันทึกข้อมูลลาออก เรียบรอยแล้ว ผู้ประกันตนรายงานตามวันที่กำหนด เจ้าหน้าที่ทำเรื่องอนุมัติให้ และเงินจะเข้าบัญชีภายในประมาณ 5-7 วันทำการค่ะ

      19. เคยส่งเงินสมทบแล้ว 186 งวด แต่มีเหตุให้ต้องไปต่างประเทศและขาดการส่งเงินสมทบเป็นเวลา 2 ปี จะยังได้รับสิทธิประโยชน์หรือไม่

                ตอบ : ผู้ประกันตนที่มีการนำส่งเงินสมทบเกิน 180 งวด และอายุครบ 55 ปี ถึงแม้ว่าจะขาดส่งไป 2 ปีก็ตาม สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ เป็นกรณีบำนาญ ได้ค่ะ

      2. การออกจากงานประจำมาทำอาชีพอิสระเช่นค้าขายที่มีรายได้ไม่แน่นอนจะยังมีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานไหม

                ตอบ : สามารถทำอาชีพอิสระระหว่างหางานใหม่ได้ค่ะ สามารถถ่ายรูปภาพให้เจ้าหน้าที่จัดหางานดูเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณา ถือว่าคุณได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเหมือนเดิม  

      ขอบคุณข้อมูลจาก : www.sso.go.th

      หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคม สามารถติดต่อสายด่วน 1506 ได้ค่ะ

      ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

      หนังสือรับรองนําส่งเงินสมทบย้อนหลัง 1 ปี

      คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

       

      เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

      สิทธิประกันสังคมสำหรับคนที่ออกจากงาน

      การรักษาสิทธิประกันสังคมหลังลาออกควรทำอย่างไร

      ประกันสังคมกรณีว่างงาน  ประกันสังคมคนว่างงาน  ประกันสังคมว่างงาน  ว่างงาน  สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน

      บทความยอดนิยม

      Can Be Term Paper Writing Services worth the Price?

      Students have many choices available to them when they’re...

      หนังสือรับรองนําส่งเงินสมทบย้อนหลัง 1 ปี

      10 เช็คลิสต์เคลียร์งานก่อนหยุดยาว

      ช่วงปลายปีถือเป็นถือช่วงเวลาแห่งความสุขที่ทุกคนรอคอยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเดือนธันวาคม ที่ถือเป็นเดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤ...

      หนังสือรับรองนําส่งเงินสมทบย้อนหลัง 1 ปี

      ตำแหน่ง Data Engineer คืออะไร? ต้องทำอะไรบ้าง

      ยุคที่สายงานด้าน Tech เติบโตอย่างรุ่งเรืองแบบก้าวกระโดด จะเห็นได้ว่ามีชื่อตำแหน่งงานใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเกิด...