ส่วนประกอบ ระบบ ดิ ส เบรค รถยนต์

ระบบดรัมเบรก (Drum brake system)

ส่วนประกอบของระบบดรัมเบรก

ดรัมเบรก คือระบบเบรกชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยโลหะวงกลม(จานดรัมเบรก,กระทะล้อ) ยึดติดกับดุมล้อ หมุนไปพร้อมล้อ และชุดฝักเบรก(ก้ามเบรก) ซึ่งประกอบด้วยผ้าเบรก กลไกปรับตั้งเบรก สปริงดึงกลับ และกระบอกเบรก ซึ่งไม่หมุนไปพร้อมล้อ ส่วนที่บริเวณกระบอกเบรก (Brake wheel cylinder) จะมีท่อส่งน้ำมันเบรก (Brake fluid) มาเชื่อมต่อ  ดรัมเบรกส่วนมากมักใช้กับล้อส่วนหลังของรถปัจจุบันยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ (เริ่มแรกทั้งล้อหน้าและล้อหลังต่างก็ใช้ดรัมเบรก)

กระบอกเบรก (Brake wheel cylinder)

กระบอกเบรก คือกระบอกสูบเล็กๆ ติดตั้งอยู่บนดรัมเบรก (Drum brake) รวมทั้งก้ามปูเบรกหรือคาลิปเปอร์เบรกที่ตั้งอยู่กับจานดิสเบรกด้วย โดยมีท่อน้ำมันเบรกเชื่อมต่ออยู่ เมื่อได้รับแรงดันจากน้ำมับเบรก ลูกปั๊มเบรกจะเกิดการขยายตัวไปดันผ้าเบรกให้เสียดทานกับจานเบรก หรือจานดรัมเบรก เพื่อชลอความเร็วของล้อที่วิ่งอยู่

ระบบดิสเบรก [Disk Brake System]

ระบบดิสเบรกจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนพื้นฐาน คือ จานเหล็กหล่อ(จานดิสเบรก) , ผ้าดิสเบรก , ก้ามปู และลูกสูบ จานดิสเบรกจะหมุนไปกับล้อ ไม่มีแผงหรือชิ้นส่วนใดมาปิด ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดี ( ที่อุณหภูมิสูงมาก ๆ ประสิทธิภาพการเบรกจะลดลง ) พร้อมทั้งช่วยให้เบรกที่เปียกน้ำ แห้งได้อย่างรวดเร็วอย่างไรก็ตาม ขนาดของจานเบรกก็มีข้อจำกัด เนื่องด้วยขนาดของขอบล้อ ทำให้ขนาดของผ้าดิสเบรกมีข้อจำกัดไปด้วย เพื่อชดเชยข้อจำกัดดังกล่าว ก็จะต้องป้อนแรงดันน้ำมันเบรกให้มากขึ้น ผ้าดิสเบรกจะสึกเร็วกว่าผ้าเบรกของเบรกครัม ในขณะที่ดิสเบรกบำรุงรักษาง่ายกว่า

ส่วนประกอบ ระบบ ดิ ส เบรค รถยนต์

ส่วนประกอบ ระบบ ดิ ส เบรค รถยนต์

  • October 21, 2019October 21, 2019
  • 0

ส่วนประกอบของระบบเบรคมีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบ ระบบ ดิ ส เบรค รถยนต์

ส่วนประกอบของเบรค

1. แป้นเบรก (Brake Pedal) หรือขาเบรก เป็นอุปกรณ์ที่ติดอยู่ในรถ ทำหน้าที่คล้ายคานกด รับแรงกดมาจากขา (เท้า) ของผู้ขับขี่ เมื่อเหยียบเบรก ขาเบรกก็จะไปกดสากเบรก ที่สามารถปรับตั้งให้เบรกสูง หรือต่ำได้ ให้เข้าไปกดชุดดันในหม้อลมเบรก

2. หม้อลมเบรก ( Booster) เป็นอุปกรณ์ช่วยเพิ่มแรงกด ให้กับขาของเราให้มีแรงกดมากขึ้น ออกแรงเหยียบน้อยลง โดยภายในจะเป็นชุดสุญญากาศ ต่อแรงลมดูดมาจาก เช่นในรถเครื่องยนต์เบนซิล จะต่อมาจากท่อร่วมไอดี หลังลิ้นปีผีเสื้อในบริเวณนี้ในรอบต่ำ ที่ลิ้นปีผีเสื้อยังเปิดไม่สุด แรงดูดของลูกสูบจะทำให้เกิดแรงดูดสุญญากาศสูงมาก แต่ในรอบเครื่องสูงๆแรงดูดจะน้อยลง หม้อลมนั้นจึงจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ เพื่อเก็บสะสมแรงดูดสุญญากาศไว้ให้มากๆ เพื่อไว้ใช้ในตอนเบรกที่รอบสูงๆ และการเบรกติดต่อกันหลายๆครั้ง ส่วนในเครื่องยนต์ดีเซลมักจะต่อมาจาก ปั้มสุญญากาศแบบอิสระ หรือต่อพ่วงจากปั้มลมหลังตูดไดชาร์จอีกที

3. วาล์วสุญญากาศ (Combo Vale) เป็นลักษณะ One Way Vale ทำหน้าที่ให้ระบบสุญญากาศ เป็นไปในทิศทางเดียว คือให้มีแรงดูดจากหม้อลมเบรกไปยังเครื่อง หรือปั้มลม ป้องกันแรงดันสุญญากาศย้อนกลับ หรือรั่วไหลออกจากหม้อลม

4. แม่ปั้มเบรก (Master Cylinder)  เป็นชุดสร้างแรงดันไฮโดริคให้กับน้ำมันเบรก ให้เกิดแรงดันสูง ภายในประกอบด้วยชุดลูกยางเบรกหลายตัว แต่ละตัวมีหน้าที่ส่งแรงดันของน้ำมันเบรก ไปในสาย หรือท่อน้ำมันเบรก แรงดันขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปั้ม ลูกสูบเบรก ขนาดของลูกยางเบรก และระยะของสากเบรกที่ติดกับแป้นเบรกว่ามีอัตตราทดเท่าไร

5 น้ำมันเบรก (Brake Fluid) เป็นสารเหลวที่ใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลัง แบบไฮโดรลิคไปสู่ปั้มเบรค หรือคาริบเปอร์เบรก อีกทั้งยังเป็นสารหล่อลื่นให้กับลูกยางเบรก ลูกสูบเบรก คุณสมบัติของน้ำมันเบรกแบ่งตามคุณสมบัติการทนความร้อน หรือที่เรียกกันว่า DOT (Department of Transportation) โดย DOT3 จะทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 205 องศา DOT4 ทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 230 องศา และDOT5 สามารถทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 260 องศาเซลเซียส

6. ท่อน้ำมันเบรค และสายอ่อนเบรก (Brake Lines) อยู่ในระบบส่งแรงดัน ท่อน้ำมันหรือที่เรียกกันว่า แป๊ปเบรก เป็นท่อเหล็ก หรือทองแดงภายในกลวง เพื่อให้น้ำมันเบรกไหลผ่านด้วยแรงดันสูง

7. สายอ่อนเบรก (Brake Host) สายอ่อนเบรกทำมาจากท่อยางไฮโดรลิค หลายชั้นหุ้มด้วยยางกันการเสียดสี และกันความร้อน สามารถอ่อนตัวไปตามการหมุนของล้อ และการขยับของช่วงล่างได้อย่างคล่องตัว

8. ปั้มเบรก หรือคาริเปอร์เบรก (Caliper Brakes)
ถ้าเป็นระบบดิสเบรก จะเป็นลักษณะเหมือนปากคีบ หรือเรียกกันว่าก้ามปู ภายในบรรจุลูกสูบเบรก แบ่งตามจำนวนลูกสูบ เรียกว่า พอร์ท เช่น 1 พอร์ท หรือ 4 พอร์ท เพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเบรกด้วยลูกยางเบรก เป็นชีลกลมๆรอบๆลูกสูปเบรก ป้องกันฝุ่นและน้ำเข้าด้วยลูกยางกันฝุ่นอีกครั้ง
ในระบบดรั้มเบรก ปั้มเบรก จะเรียกกันว่ากระบอกเบรก เป็นลักษณะเป็นแท่งกลวงยาว ภายในบรรจุลูกสูบเบรก เป็นแท่งกลมประกอบติดกับลูกยางเบรกทั้ง 2 ด้านต่อมาดันผ้าดรัมเบรกให้ขยับเข้าออกได้

9. จานเบรค แบ่งได้เป็น 2 ระบบคือ
ระบบ ดรั้มเบรก (Drum Brakes) จานเบรกจะเป็นรูปถ้วย มีชุดแม่ปั้มเบรก และผ้าเบรกประกอบอยู่ภายใน ผ้าดรัมเบรกจะเป็นลักษณะรูปเสี้ยวครึ่งวงกลม 2 ชิ้น ประกอบกับชุดสปริงดึงกลับ ชุดสายเบรคมือ และชุดตั้งระยะห่างของผ้าเบรก
ข้อดี ผ้าเบรก และจานเบรก มีเนื้อที่สัมผัสกันมาก การเบรกจึงมีประสิทธิภาพสูง สิ้นเปลืองวัสดุน้อย ผ้าเบรกสึกช้ากว่าอายุการใช้งานยาวนาน หมดปัญหาเรื่องจานเบรกคด
ข้อเสีย ระบายความร้อนได้ช้า ในการใช้งานเบรกหนักจะเกิดอาการเบรกเฟด (เบรกลื่นในขณะความร้อนสูง) ต้องคอยตั้งระยะผ้าเบรกอย่างสม่ำเสมอ ระยะผ้าเบรกในแต่ละล้อที่ไม่เท่ากัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเบรกไม่เท่ากันไปด้วย รถอาจเสียการทรงตัวเวลาเบรกได้ ถ้ามีการเปียกน้ำต้องใช้เวลาในการสลัดน้ำทิ้งนาน หรือรอเกิดความร้อนจนน้ำแห้ง และจะเกิดอาการลื่น เกิดการสะสมตัวของฝุ่นเบรก ทำให้ประสิทธิภาพต่ำลง
ระบบ ดิสเบรก (Disk Brakes) จานเบรกเป็นลักษณะกลมแบน คล้ายจานดิส มีทั้งแบบมีร่องระบายความร้อน และไม่มีร่องระบายความร้อน จานเบรกทำมาจากวัสดุหลายชนิด เช่นเหล็กหล่อ และวัสดุผสม ผ้าเบรกแบ่งเป็น 2 ชิ้นประกบกับจานเบรก โดยมีแม่ปั้มเบรก หรือก้ามปูหนีบไว้อีกที
ข้อดี มีการระบายความร้อนที่ดี ลดอาการเบรกเฟดในการใช้งานเบรกติดต่อกัน และรุนแรง ระยะห่างผ้าเบรกมีการปรับตั้งได้เอง ตามความหนาของผ้า ทำให้ประสิทธิภาพดีเท่ากันในทุกล้อ ลดการสะสมตัวของฝุ่นเบรก
ข้อเสีย จานเบรกติดตั้งภายนอกสัมผัสกับความชื้น น้ำ และฝุ่นผง ทำให้มีการสึกหรออย่างรวดเร็ว เกิดอาการบิดตัวได้ง่าย เมื่อต้องเจอกับน้ำในขณะมีความร้อน ใช้ต้นการผลิตทุนสูง

10. ผ้าเบรก (Brake Pad)  เป็นตัวที่ทำให้เกิดความฝืดระหว่าง ผ้าเบรก และจานเบรก ความฝืดมากมีผลทำให้รถยนต์ ลดความเร็วได้ระยะทางที่สั้นลง ผ้าเบรกแบ่งเกรดตามวัสดุที่ใช้ผสมในเนื้อผ้าเบรก และค่าความฝืดหรือค่า มิว Coefficient of Friction ได้ 3 แบบคือ
1. NAO (Non Asbestos Organic) ใช้วัสดุที่มีความอ่อน จำพวก เคฟล่า ส่วนผสม ของยางไม้ ไฟเบอร์ จากเดิมที่เคยใช้พวกแร่ใยหิน Asbestos ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว เนื่องจากความไม่ปรอดภัยต่อระบบหายใจ พวกนี้จะมีความฝืดที่ดีในอุณหภูมิต่ำ แต่ที่ความร้อนสูงจะจับตัวได้ไม่ดี มีเสียงรบกวนน้อย ส่วนมากใช้กับรถ OEM จากโรงงาน ระดับความฝืดอยู่ที่ 0.30 – 0.45
2. Semi-Metallic ใช้วัสดุจำพวกใยโลหะที่มีความอ่อน มีส่วนประกอบเช่น เนื้อไฟเบอร์ประมาณ 50% เป็นตัวช่วยให้เกิดความฝืด และทนความร้อน ใช้เรซิ่นประมาณ 15% ช่วยในการประสานตัว และสาร Abrasive 10% และพวก Metal Power อีก 10 % พวกนี้จะมีความฝืดดีที่อุณหภูมิสูง ใช้กับรถบรรทุกหนัก และรถที่ใช้งานเบรกหนักอย่างต่อเนื่อง เช่นรถที่ชอบขับที่ความเร็วสูงเบรกบ่อยๆ ระดับความฝืดจะอยู่ที่ 0.40-0.55
3. Fully Metallic ใช้วัสดุพวกผงเหล็กที่มีความละเอียด เช่นผงทองแดง ไททาเนียม เซรามิค คาร์บอน มาขึ้นรูป ผ้าเบรกพวกนี้จะมีประสิทธิภาพมากที่ความร้อนสูง มีความฝืดคงที่ แต่จะมีเสียงดัง มีการสึกหรอสูงทั้งผ้าเบรก และจานเบรก เหมาะสำหรับรถแข่งในสนามแข่งขันที่จานเบรกร้อนตลอดเวลา ระดับความฝืดอยู่ที่ 06.0 ขึ้นไป

Cr.korrawich5001

Posted in : ความรู้เกี่ยวกับรถยนต์Tagged : ระะบบเบรค เบรค