อิทธิพลของชุมชน

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ของการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของการท่องเที่ยวโดยชุมชนผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านบางน้ำผึ้งทั้ง 11 หมู่บ้าน จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียรสันเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และใช้สถิติการถดถอยพหุคูณแบบการประมาณค่ากำลังสองน้อยที่สุด (OLS) และการประมาณค่ากำลังสองน้อยที่สุดแบบสองขั้น (2SLS) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลหาว่าปัจจัยใจที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่และก่อให้เกิดความสำเร็จของการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผลการวิจัยสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการตัดสินใจ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการแบ่งปันผลประโยชน์ และด้านการติดตามและประเมินผลมีอิทธิพลทางบวกกับความสำเร็จของการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ปัจจัยความพร้อมของชุมชน ความผูกพันต่อชุมชน และกรอบนโยบายการท่องเที่ยวมีอิทธิพลทางบวกต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกตามแต่ละปัจจัย พบว่า ความพร้อมของชุมชน ทุกตัวแปรล้วนมีอิทธิพลทางบวกกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนความผูกพันต่อชุมชน มีเพียงแค่ด้านความพึงพอใจในชุมชนและความเชื่อมั่นและยอมรับเป้าหมายของชุมชนที่มีอิทธิพลทางบวกกับการมีส่วนร่วมของประชาชน สุดท้ายเป็นกรอบนโยบายการท่องเที่ยว ทุกตัวแปรล้วนมีอิทธิพลทางบวกกับการมีส่วนร่วมของประชาชน 3) ปัจจัยความพร้อมของชุมชน และความผูกพันต่อชุมชนมีอิทธิพลทางบวกต่อความสำเร็จของการท่องเที่ยวโดยชุมชนผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามการดำเนินนโยบายที่จะสร้างความพร้อมของชุมชนและความผูกพันต่อชุมชนเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถที่จะทำให้เกิดความสำเร็จของการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้ แต่จะต้องคำนึงถึงกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นทั้งก่อนและระหว่างดำเนินการเพิ่มระดับความสำเร็จของการท่องเที่ยวโดยชุมชน จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้นำชุมชนควรที่จะให้ความสำคัญกับสร้างความพร้อมของชุมชนและความผูกพันให้กับสมาชิกในชุมชนที่จะผลักดันให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าและผลประโยชน์ของส่วนรวมที่จะได้รับ ซึ่งจะทำให้ประชาชนเข้ามาช่วยกันทำงานเพื่อชุมชน ทำให้การท่องเที่ยวของชุมชนประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน
The purposes of this study were 1) to explore participation of people in Ban Bang Nam Pueng affecting The success of CBT 2) to explore the factors affecting participation of people in Ban Bang Nam Pueng and 3) to analyze the influence of factors that affect participation of people contributting the success of CBT via the participation of people in Ban Bang Nam Pueng. The research used quantitative methods conducting on questionnaire from the sample population of 400 people living in Ban Bang Nam Phueng community. Statistics used to analyze data were 1) Descriptive Statistics 2) Correlation of Pearson Bivariate Correlation and 3) Multiple Regression Analysis in 2 technique, Ordinary Least Squares (OLS) and Two-Stage Least Squares (2SLS), to investigate the factors affecting the participation of people in the area and contribute the success of CBT. The research results were as follows: Firstly, people's participation in 4 sub-variables, decision making, operation, benefits sharing and follow-up and evaluation, have a positive significantly influence on the success of community-based tourism. Secondly, the community readiness, community engagement and the tourism policy framework factor have a positive significantly influence on the participation of people in Ban Bang Nam Pueng. When it was classified by individual factors, it was found that all the community readiness sub-variables have a positive influence on people’s participation. Next, community satisfaction and acceptance of community goals in community engagement has a positive influence on people’s participation. Last one, all the tourism policy framework sub-variables have a positive influence on people's participation. Finally, community readiness factor and community engagement factor have a positive significantly influence on the success of CBT via people's participation in area. However, the implementation of policies to not only create community readiness and community engagement to the community but also consider process of participation of people in before and during the process to increase the level of CBT success. From the results of the study indicated that community leaders should focus on encouraging community readiness and community engagement in order to push people to realize the value and the collective benefit which will be awarded people to work for the community and support the tourism of the community successful. Especially, the economic and social aspects of the community

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของชุมชน ได้แก่ ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์และปัจจัยทางสังคมซึ่งปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนปัจจัยทางสังคม เช่น ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การควบคุมธรรมชาติ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

 มฐ ส4.2 ป.3/1 ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของชุมชน

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของชุมชนได้

2. การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของชุมชน

3. เห็นความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของชุมชน

การวัดผลและประเมินผล

1. ใบงาน เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของชุมชน
2. การถาม-ตอบ
3. การเล่นเกม