การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ตัวอย่าง

Show

ที่มา เจตนารมณ์ และเป้าหมายของการสนับสนุนงานเศรษฐกิจและทุนชุมชน

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 ได้เห็นความสำคัญของฐานงานเศรษฐกิจและทุนชุมชน เนื่องจากเล็งเห็นว่าจะเป็นรากฐานอันมั่นคง ที่จะทำให้ขบวนองค์กรชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน จึงกำหนดการสนับสนุนงานดังกล่าวไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) มาตรา 7 (1) ว่า “สนับสนุนและให้การช่วยเหลือแก่องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพ การเพิ่มรายได้ การพัฒนาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชนทั้งในเมืองและชนบท โดยยึดหลักการพัฒนาแบบองค์รวมหรือบูรณาการ และหลักการพัฒนาที่สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมเป็นแนวทางสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและประชาสังคม”

เจตนารมณ์สำคัญของการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน

พอช. มีเจตนารมณ์มุ่งเน้นให้ “ชุมชนท้องถิ่นมีระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนที่มั่นคง สามารถพึ่งตนเอง และจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน” โดยรูปธรรมของการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนที่ผ่านมา ตั้งอยู่บนฐานคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสามารถแยกหมวดของฐานงานที่นำไปสู่ หรือสามารถเชื่อมโยงกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน ดังนี้

1) ฐานระบบการเงินและทุน ที่ปรากฏรูปธรรมในเรื่อง การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ องค์กรการเงิน การสนับสนุนระบบสินเชื่อเพื่อการพัฒนา การบูรณาการกองทุน การแก้หนี้นอกระบบ และสถาบันการเงินชุมชน เป็นต้น

2) ฐานการพัฒนาอาชีพ รายได้ เช่น การส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพต่างๆ การจัดทำบัญชีครัวเรือน การจัดตั้งธุรกิจชุมชน-วิสาหกิจชุมชน และการจัดทำแผนชุมชน ระบบการผลิต เกษตรยั่งยืน เป็นต้น

3) ฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การอนุรักษ์/การจัดการลุ่มน้ำ ป่าชุมชน การดูแลที่ดิน เกษตรธรรมชาติ/ความมั่นคงทางอาหาร ประมงชายฝั่ง การจัดการขยะ เป็นต้น

4) ฐานการสร้างสวัสดิการ จากที่องค์กรชุมชน/กลุ่มจัดตั้งขึ้นเอง หรือผ่านการสนับสนุนงบประมาณสมทบกองทุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น กองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนผู้สูงอายุ กองทุนสวัสดิการชาวบ้าน กองทุนรักษาบ้าน-รักษาดิน กองทุนฌาปณกิจ เป็นต้น

5) ฐานการพัฒนาจากเครือข่ายงานประเด็น หรือเครือข่ายคลัสเตอร์ (Cluster) ที่เป็นการเชื่อมโยงประสานการทำงานร่วมกันของขบวนองค์กรชุมชนที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้เกิดพลังการเคลื่อนงาน หรือเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ แลกเปลี่ยนสินค้า หรือเป็นคู่ค้า ฐานการผลิตซึ่งกันและกัน เช่น เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ เครือข่ายข้าว ท่องเที่ยวชุมชน ร้านค้าชุมชน การจัดการที่อยู่อาศัย (บ้านมั่นคง) การก่อสร้างชุมชน/ช่างชุมชน ประมงพื้นบ้าน การจัดการภัยพิบัติหรือภัยจากธรรมชาติ สภาองค์กรชุมชน เครือข่ายภูมินิเวศน์วิถี วัฒนธรรม เป็นต้น

เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน

การพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนมีเป้าหมาย สำคัญ 4 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 ระดับครอบครัว : ทุกครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี “กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้ลด” โดยดูได้จาก 4 ปัจจัยหลัก คือ

    • อยู่ดีกินดี (ปากท้องอิ่ม)
    • เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
    • ผลผลิตขายได้ มีรายได้ที่มั่นคง
    • สุขภาพร่างกาย จิตใจแข็งแรง

ระดับที่ 2 ระดับกลุ่มองค์กร/ชุมชน/หมู่บ้าน : มีกลุ่มองค์กรชุมชนด้านเศรษฐกิจและทุนชุมชนที่เข้มแข็ง มีความมั่นคงทางอาหาร ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ สุขภาพกายใจแข็งแรง

ระดับที่ 3 ระดับพื้นที่/ ตำบล : มีฐานงานเศรษฐกิจและทุนชุมชนที่เข้มแข็ง เพื่อนำไปสู่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง

ระดับที่ 4 ระดับจังหวัด : เชื่อมโยงเครือข่ายเศรษฐกิจและทุนชุมชน ที่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาระดับนโยบาย เพื่อยกระดับให้เป็นจังหวัดการตนเองด้านเศรษฐกิจและทุนชุมชน

การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ตัวอย่าง

ความเป็นมา

“เศรษฐกิจฐานราก” คือ ระบบเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น ที่สามารถพึ่งตนเองภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน มีคุณธรรม และเป็นระบบเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาด้านอื่นๆ ในพื้นที่ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน เป็นระบบเศรษฐกิจแนวราบที่ส่งผลและสร้างความสัมพันธ์ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างผู้คนในชุมชนท้องถิ่น มิใช่เป็นเฉพาะเศรษฐกิจแนวดิ่งแบบปัจเจกแต่สามารถทำให้เกิดความร่วมมือ เกิดโอกาสและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเศรษฐกิจร่วมของชุมชนกับเศรษฐกิจของปัจเจก เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนสร้างความสัมพันธ์ ทั้งในชุมชนท้องถิ่นและในระดับที่กว้างขวางอื่นๆ และภายนอก

องค์ประกอบสําคัญของเศรษฐกิจฐานรากที่เข็มแข็งมีอะไรบ้าง

  • มีการรวมกลุ่ม เพื่อสร้างพลังในการทำงานร่วมกัน ความสามารถที่จะเจรจาต่อรองและประสานงานทั้งภายในและกับภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีการจัดการระบบการเงินของชุมชน การบูรณาการทุนร่วมกัน มีกองทุนของชุมชนที่เข้มแข็ง สามารถเป็นกลไกการเงินของชุมชนในการพัฒนาทั้งเศรษฐกิจสังคม อาชีพ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมของชุมชน และของคนในชุมชน
  • มีระบบการจัดการทุนชุมชนที่ครอบคลุมทุนทางสังคม ทุนคน ฟื้นฟูทรัพยากร วิถีวัฒนธรรมภูมิปัญญา อัตลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น ประวัติศาสตร์
  • มีระบบข้อมูลที่ทันสมัยรอบด้านทั้งภายในและภายนอก เพื่อการวิเคราะห์ระบบของท้องถิ่น อาชีพ รายได้รายจ่าย การผลิต ฐานเศรษฐกิจ ที่ดิน ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ข้อมูลความรู้ระบบเศรษฐกิจเกี่ยวข้องภายนอก เป็นฐานสำคัญในการวางแผนชุมชน การวางแผนเพื่อการตัดสินใจ การติดตาม วัดผลและรายงานผล
  • มีระบบการผลิตของชุมชนทั้งขั้นพื้นฐานและก้าวหน้า ที่ได้มาตรฐาน มีมูลค่าเพิ่มและสามารถเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจภายนอกได้
  • สร้างความร่วมมือในทุกระดับและทุกมิติ เพื่อให้เกิดความร่วมมือให้บรรลุเป้าหมายและสัมพันธภาพที่ดี ทั้งระดับกลุ่มต่อกลุ่ม กลุ่มกับชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภูมินิเวศน์ หรือรวมตัวกันเป็นเครือข่ายประเด็นต่างๆได้ เช่น เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ เครือข่ายข้าว เครือข่ายประมงพื้นบ้าน เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชน เครือข่ายภูมินิเวศน์วิถีวัฒนธรรม หรือการสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนกับหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น
  • มีระบบการอยู่ร่วมกัน หรือเคารพกติกา จารีตประเพณีในการอยู่ร่วมกัน ระบบสวัสดิการการดูแลซึ่งกันและกันและการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสังคมใหญ่อย่างสร้างสรรค์และเกื้อกูล
  • มีคุณธรรม จริยธรรมในการทำกิจกรรม การประกอบกิจการ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม หรือการดำรงชีวิต
  • มีความเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยคนในชุมชนร่วมทุนร่วมกิจกรรมหรือกิจการ ในการพัฒนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน มีสำนึกถึงความเป็นเจ้าของร่วมกัน
  • คนในพื้นที่ของชุมชนสามารถมีส่วนร่วม มีความรู้เรื่องราวการพัฒนาในพื้นที่รวมทั้งความรู้ในสังคมอื่นๆ มีคุณภาพ มีความมั่นใจที่จะให้ความรู้ความเห็น ร่วมคิดร่วมทำ ตื่นรู้ มีความสร้างสรรค์ มีคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน ครอบครัวมีความเข้มแข็ง และสามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้มากที่สุด

กระบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากมีอะไรบ้าง

เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เห็นผลรูปธรรมที่ชัดเจน จึงกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ที่จะใช้เป็นแนวทางตั้งต้น ดังนี้

  1. ใช้พื้นที่ตำบลเป็นตัวตั้ง โดยกำหนดให้มี
  • เป้าหมาย คือ ระบบเศรษฐกิจชุมชนสร้างความสุขยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์ คือ สร้างระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนฐานราก ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสังคมมีความสุข
  • เครื่องมือ คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเทคโนโลยี
  • มาตรการ คือ กำหนดให้พื้นที่ทุกระดับเป็นเขตเศรษฐกิจชุมชนพิเศษ
  • หลักการ คือ เศรษฐกิจปลอดภัย หรือเศรษฐกิจสีเขียว
  • พื้นที่ดำเนินงาน คือ ตำบล หรือท้องถิ่น
  • พื้นที่บูรณาการ คือ การรวม 2-3 ตำบลขึ้นไป ภายใต้ประเด็นงานร่วมที่ตำบลได้ปรึกษาหารือ และตกลงร่วมกัน
  • พื้นที่จัดการ คือ ใช้พื้นที่ระดับอำเภอ จัดการเป็น “เครือข่ายระดับอำเภอจัดการตนเอง” ครบวงจร (ผลิต บริโภค แปรรูป ซื้อขาย ทุน กำไร)
  1. สร้าง และพัฒนาแกนนำตำบล อำเภอ จังหวัด โดยตำบลและหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ และภาคธุรกิจเอกชน ต้องรับรู้ ทำความเข้าใจต่อเป้าหมาย และวางแผนงานร่วมกัน
  2. การสร้างกลไกการขับเคลื่อนทั้งในระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล และชุมชน เช่น
  • มีการกำหนดตัวแทนในแต่ละระดับร่วมกับหน่วยงานภาคี
  • วางเป้าหมาย และกำหนดแผนงานในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากร่วมกัน
  • จัดทำแผนพัฒนาด้านต่างๆ เช่น แผนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการผลิต แผนการจัดระบบการกระจายสินค้า แผนการสร้างพื้นที่ทางการตลาด การเพิ่มรายได้ การลดหนี้สิน การมีคุณภาพชีวิตที่ดี การมีสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นต้น
  1. การพัฒนาองค์ความรู้ ที่มาจากกรอบคิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากโดยชุมชน เพื่อพัฒนาเป็นระบบข้อมูล องค์ความรู้ ขยายผล เผยแพร่ ใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับการจัดการทรัพยากรในชุมชน
  2. การจัดการองค์กรชุมชน และเครือข่ายองค์กรชุมชนในด้านต่างๆ เช่น
  • การจัดการทุนชุมชน
  • การจัดความสัมพันธ์ระหว่างคน กลไกในระดับต่างๆ
  • การจัดความสัมพันธ์ของระบบเครือข่ายทั้งแนวราบ และแนวดิ่ง เพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
  • การสร้างระบบเศรษฐกิจในระยะต่างๆ ภายใต้ต้นทุนที่มีอยู่ เช่น ระยะสั้น ดำเนินการจัดการทรัพยากรในชุมชนให้เหมาะสม ระยะกลาง พัฒนาคนให้เข้าใจระบบเศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืน และระยะยาว การตลาดภายในภายนอก และการสร้างและพัฒนาเทคโนโลยี  เป็นต้น

เศรษฐกิจชุมชนคืออะไร

เศรษฐกิจชุมชนคือ วิถีการผลิตของกินของใช้ หรือสินค้าและบริการของคนในชุมชน เพื่อตอบสนองความจําเป็นในการดํารงชีพ (Need) และความต้องการ หรือความอยาก (Want) ของมนุษย์

กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน สู่ SDGs (Sustainable Development Goals) เป็นอย่างไร

  1. สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (ธรรมชาติ)
  2. ทุกสิ่งอย่างที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นทั้งสิ้น ทั้งที่เป็นรูปธรรม เรียกว่าเครื่องมือเครื่องจักร หรือที่เป็นนามธรรม เรียกว่า เทคนิควิทยากร (technical knowhow) หรือ ก็คือ “ทุน-Capital” นั่นเอง
  3. แรงกาย แรงสมอง
  4. ความสามารถในการประกอบการ
  5. ปัจจัย 3 ด้านพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

(1.) ผลผลิต : รายได้ที่ดีขึ้นสุขภาพที่ดีขึ้นของสมาชิกในชุมชน
(2.) ผลลัพธ์ : คนในชุมชนนั้นๆ มีการ “ร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมเรียนรู้ ร่วมตรวจสอบ ร่วมแบ่งปัน” เพิ่มขึ้น หรือรักกันมากขึ้น
(3.) ผลกระทบ : สภาพแวดล้อมและธรรมชาติเพิ่มพูนดีงามขึ้น

“แผนธุรกิจเพื่อชุมชน” (Communit Business y  Model Canvas ; CBMC) คืออะไร

  1. “เศรษฐกิจชุมชน” หมายถึง วิถีการผลิตของกิน ของใช้ สินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความจำเป็น(need) และความต้องการ (want) ของมนุษย์ ด้วยปัจจัยทางการผลิตที่เอื้อต่อวิถีของชุมชน“ธุรกิจชุมชน” หมายถึง การรวมตัวกันทำมาหากิน ทำมาค้าขาย สร้างรายได้ลดค่าใช้จ่าย โดยคนในชุมชน ของคนในชุมชน เพื่อคนในชุมชน“แผนธุรกิจชุมชน” หมายถึง การออกแบบการประกอบการของธุรกิจชุมชน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพดังนั้น “แผนธุรกิจชุมชน” จึงหมายถึง การออกแบบแผนดำเนินการธุรกิจชุมชน ที่เกิดจากแบบจำลองทางธุรกิจที่เรียกว่า Community Business Model Canvas โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพของ Capacity Building ประกอบด้วย ยกระดับความรู้(Knowledge : K) ทักษะ(Skill : S) เครือข่าย(Network : N) และการประกอบการ(Business model : B) หรือเรียกว่า การพัฒนา KSNB

การทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน (Business Model Canvas ; BMC) มีกี่ขั้นตอน

  1. มี  4 ขั้นตอน ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 : การออกแบบและพัฒนา ชุดความรู้ C-BMC หรือ “แคนวาสชุมชน 9 ขั้นตอน” คือ
    1. ค้นหาจุดขาย หรือคุณค่าของสินค้าและบริการที่ลูกค้าจะได้รับ
    2. กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจน (ผู้ซื้อและรับบริการ) คือใครบ้าง? จะต้องระดมความเห็นให้ครอบคลุมทุกระดับ
    3. การสื่อสารการตลาด ทำอย่างไร ให้ ข้อ 2 และ ข้อ 1 ได้ พบกัน
    4. การปิดการขายและการซื้อซ้ำ ทำอะไร? อย่างไร?
    5. ที่มาของรายได้ ให้ร่วมกันค้นหา ว่ารายได้จะสามารถมาจากกิจการไหนอีกได้บ้าง ? (ระดมสมองให้ละเอียด ครบถ้วน) จากสินค้า และบริการในข้อที่ 1
    6. กิจกรรมที่สำคัญที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุ ข้อที่ 4 , 3 , 2 และ 1
    7. ค้นหาปัจจัยการผลิตใดบ้างที่ยังนำมาใช้ได้ไม่เต็มที่ เพื่อทำให้เป้าหมายในข้อ 6 สำเร็จ
    8. สิ่งที่จำเป็นต้องทำ ในข้อ 6 แต่ทำด้วยกลุ่มเองเพียงลำพังไม่ได้ ต้องร่วมมือกับภายนอกหรือภาคี คืออะไร กับใครบ้าง
    9. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ต้องใช้เงินกับกิจกรรมใดในข้อที่ 6 บ้าง ถ้าทำ ข้อ 7 และ 8 ได้ดี จะช่วยให้ลดการใช้เงินในการลงทุนได้มาก

    ขั้นตอนที่ 2 : ติดตามกระบวนการทำแผนธุรกิจชุมชน
    ขั้นตอนที่ 3 : การเชื่อมโยงต่อยอด  งานพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน
           ผลลัพธ์ในขั้นตอนที่ 3   คือ การเกิดแผนธุรกิจชุมชนที่สมบูรณ์แบบ และการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ
    ขั้นตอนที่ 4 : การศึกษาและการจัดทำชุดความรู้ กระบวนการทำแผนธุรกิจชุมชนและการนำแผนธุรกิจชุมชนไปสู่การปฏิบัติ

หัวใจสำคัญของการจัดทำ “แผนธุรกิจเพื่อชุมชน”

หัวใจสำคัญของการจัดทำ “แผนธุรกิจเพื่อชุมชน” คือ การพัฒนาผู้นำองค์กรชุมชนให้เกิดความเข้าใจ และเปลี่ยนวิธีคิดในการจัดทำธุรกิจของชุมชน จากการใช้ “เงินเป็นตัวตั้ง” มาเป็นการใช้ “ทุน” ที่เป็นปัจจัยทางการผลิตในการประกอบการ หรือการรู้จักใช้ “ปัจจัยการผลิต ที่ประกอบด้วย ธรรมชาติ ทุนที่เป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้น และหนึ่งสมองสองมือ” ที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนมาเป็นตัวตั้ง และทำให้องค์กรชุมชนเกิดความมั่นใจว่า “องค์กรชุมชนสามารถจัดการธุรกิจได้ด้วยตนเอง” เป็นธุรกิจเพื่อชุมชน เพื่อคนในชุมชนท้องถิ่น เกิดการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ ในพื้นที่ที่หลากหลายทั้งผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน

คุณลักษณะ 8 ประการ ของชุมชนท้องถิ่นที่มีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน ประกอบด้วย

  1. มีกระบวนการสำรวจข้อมูล และวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจของพื้นที่/ตำบล
  2. มีการตั้งเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน และตัวชี้วัดความสำเร็จ
  3. มีการจัดกลไกรับผิดชอบการทำงาน เช่น สภาองค์กรชุมชน องค์กรการเงิน กองทุน และกลุ่มต่างๆ
  4. มีการเชื่อมโยงความร่วมมือกับภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
  5. มีการดำเนินการตามแผน เชื่อมโยงแผนไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ
  6. มีเวทีเรียนรู้ สรุปบทเรียน และจัดการความรู้/ถอดความรู้จากการทำงาน
  7. มีผลการเปลี่ยนแปลงจากการทำงานตามแผนอย่างเป็นรูปธรรม หรือเห็นผลได้อย่างชัดเจน
  8. มีการยกระดับงาน ขยายผลงานในเชิงพื้นที่ และนโยบาย

การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ตัวอย่าง

ขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน

การสนับสนุนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนนั้น ยึดหลักการพัฒนาแบบบูรณาการ โดยให้สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิธีการพัฒนาด้วยตนเอง  ซึ่งการสนับสนุนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนนั้น พอช. ได้ให้การสนับสนุนตามความเหมาะสมของบริบทพื้นที่/ตำบล และความต้องการของขบวนองค์กรชุมชน เพื่อเสริมสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง โดยมีกลไกการทำงานที่มีองค์ประกอบจากหลากหลายภาคส่วนในพื้นที่/ตำบล ทั้งนี้องค์ประกอบนั้น จะต้องมีขบวนองค์กรชุมชนเป็นองค์ประกอบหลักในการดำเนินงาน

ดังนั้น ในการขับเคลื่อนงานเศรษฐกิจและทุนชุมชนให้เป็นจริง จึงมีขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนสำหรับพื้นที่ใหม่ที่กำลังสนใจดำเนินงานด้านพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน และพื้นที่เดิม รวมถึงพื้นที่การพัฒนาจากประเด็นงานต่างๆ ที่สนใจยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนของพื้นที่/ตำบลในรูปแบบใหม่ เพื่อการพัฒนาต่อยอด การแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและทุนชุมชนของคนในพื้นที่/ตำบล ให้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองได้ในเรื่องเศรษฐกิจและทุนชุมชน พื้นที่/ตำบลสามารถดำเนินงานพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนตามขั้นตอน 7 ขั้นตอน ดังนี้

การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ตัวอย่าง

ผลการดำเนินงาน

สถาบันฯ สนับสนุนให้กลุ่มองค์กรเศรษฐกิจและทุนชุมชนใน 5 ภาค ได้มีการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน (CBMC : Community Business Model Canvas) ด้วยการส่งเสริมความเข้มแข็ง “ขีดความสามารถขององค์กรชุมชนในการทำธุรกิจ” (Capacity building) ด้วยกระบวนการให้องค์กรชุมชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ศักยภาพ วิเคราะห์ทุนภายในชุมชนของตนเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ “ปรับเปลี่ยนวิธีคิด” (Mind set) จากการทำธุรกิจชุมชนที่ใช้ “เงินเป็นตัวตั้ง” มาเป็นการใช้ “ทุนที่ปัจจัยทางการผลิต” ที่ประกอบด้วย ธรรมชาติ ทุนที่เป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้น และหนึ่งสมองสองมือ มาเป็นตัวตั้ง และพัฒนา “ทักษะความสามารถ” (Skill set) ในการจัดทำธุรกิจชุมชนจาก “มวยวัด” มาเป็น “มืออาชีพ” และให้องค์กรชุมชนเกิดความมั่นใจว่า “องค์กรชุมชนสามารถจัดการธุรกิจได้ด้วยตนเอง” เป็นธุรกิจเพื่อชุมชน เกิดการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อแบ่งปันซึ่งกันและกัน เป็น “เครือข่าย” (Network) การเรียนรู้ ที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ ในพื้นที่ที่หลากหลาย ทั้งผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ดังนี้

  1. สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนกับองค์กรชุมชนทั่วประเทศ ให้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน และแผนธุรกิจเพื่อชุมชน (CBMC : Community Business Model Canvas) ตั้งแต่ปี 2560-2563 รวม 1,799 ตำบล ครอบคลุมใน 3 คลัสเตอร์ ได้แก่ คลัสเตอร์การผลิต (เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสารพิษ วัตถุดิบธรรมชาติ) คลัสเตอร์การแปรรูป-การตลาด (ตลาดสีเขียว ตลาดชุมชน) และคลัสเตอร์การบริการ (ท่องเที่ยวโดยชุมชน)
    • ปี 2560 สนับสนุนให้มีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน จำนวน 513 ตำบล
    • ปี 2561 สนับสนุนให้มีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน จำนวน 557 ตำบล
    • ปี 2562 สนับสนุนให้มีการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน จำนวน 121 ตำบล
    • ปี 2563 สนับสนุนให้มีการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน จำนวน 608 ตำบล
  1. สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพผู้นำตำบลแผนธุรกิจเพื่อชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจสามารถจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชนเป็น โดยจัดกระบวนการเรียนรู้อบรมเชิงปฏิบัติการ 2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการเรียนรู้ออนไลน์ และ 2) รูปแบบการเรียนรู้ในห้อง (Face to Face) มีผู้นำที่ได้รับการพัฒนา จำนวน 1,216 คน จาก 589 ตำบล
    • รูปแบบเรียนออนไลน์ จำนวน 3 รุ่น ผู้นำได้รับการพัฒนา จำนวน 433 คน 216 ตำบล
    • รูปแบบเรียนออฟไลน์ (Face To Face) ผู้นำได้รับการพัฒนา จำนวน 783 คน 373 ตำบล ได้แก่
      • ภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก จำนวน 190 คน           83 ตำบล
      • ภาคเหนือ จำนวน 318 คน          159 ตำบล
      • ภาคกลางและตะวันตก จำนวน   67 คน           31 ตำบล
      • ภาคใต้ จำนวน 208 คน 100 ตำบล
  1. จัดทำ คู่มือการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน (Community Business Model Canvas : CBMC) พิมพ์เผยแพร่ จำนวน 1,000 เล่ม และเผยแพร่ในเว็บไซต์ของ พอช. codi.or.th เพื่อให้ผู้นำองค์กรชุมชน และผู้ปฏิบัติงานของ พอช. นำไปใช้เป็นเครื่องมือจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน
  2. ยกระดับตำบลแผนธุรกิจเพื่อชุมชน ให้เป็นศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชน หรือศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจและทุนชุมชนระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัด ในการถ่ายทอดความรู้ รวบรวมและกระจายผลผลิตของชุมชน โดยเชื่อมโยงกับเพจเฟซบุ๊ก “ตลาดนัดองค์กรชุมชน” จำนวน 11 ศูนย์ใน 5 ภาค ดังนี้
    • ภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก จำนวน 4 ศูนย์ ได้แก่
      • ศูนย์บ่มเพาะเครือข่ายผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
      • ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจแปรรูปสินค้าชุมชนเขตบางบอน กรุงเทพฯฃ
      • ศูนย์บ่มเพาะเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนจังหวัดตราด ศูนย์ประสานงานขบวนองค์กรชุมชนคนตราด
      • ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจชุมชนบ้านจำรุง ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
    • ภาคกลางและตะวันตก จำนวน 1 ศูนย์ คือ ศูนย์สาธิตการตลาดครบวงจรตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
    • ภาคเหนือ จำนวน 2 ศูนย์ ได้แก่
      • พื้นที่เรียนรู้เกษตรปลอดภัยสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
      • วิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านเพชรชมพู ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอเมือง จังหวัดตาก
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 1 ศูนย์ คือ พื้นที่เรียนรู้การแปรรูปข้าวเม่าตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
    • ภาคใต้ จำนวน 3 ศูนย์ ได้แก่
      • ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ตำบลนาขา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
      • การท่องเที่ยวโดยชุมชนและธุรกิจไมซ์บ้านถ้ำเสือ ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
      • การท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลตะโละกาโปร์ (บูดานารา) อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
  1. จัดทำฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์-สินค้าชุมชน และเชื่อมโยงไปสู่จัดทำเพจเฟซบุ๊ก “ตลาดนัดองค์กรชุมชน” เพื่อเป็นช่องทางในการซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์-สินค้าขององค์กรชุมชน และสร้างเครือข่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนออนไลน์ให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ

คำสั่งโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

ประกาศโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

เข้าชมแล้ว: 41,021

การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนคืออะไร

เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน คือ เพื่อพัฒนาศักยภาพตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยใช้กิจกรรมเศรษฐกิจสร้าง “กระบวนการเรียนรู้” ซึ่งจะทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ ในขณะเดียวกันยังมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ หรืออีกนัยหนึ่ง เพื่อพัฒนา ...

การพัฒนาเศรษฐกิจมีอะไรบ้าง

การพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องมีปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ดังนี้ 1. ประชากร จำนวนประชากร และคุณภาพของประชากร 2. ทรัพยากรธรรมชาติ ปริมาณและชนิดของทรัพยากรมีผลต่อการผลิต 3. การสะสมทุนการออมและการลงทุนภายในประเทศ 4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิธีการผลิตและการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ

เศรษฐกิจในชุมชนเป็นระบบเศรษฐกิจแบบใด

เศรษฐกิจฐานราก” คือ ระบบเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น ที่สามารถพึ่งตนเองภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน มีคุณธรรม และเป็นระบบเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาด้านอื่นๆ ในพื้นที่ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน เป็นระบบเศรษฐกิจแนว ...

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชนมีอะไรบ้าง

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชนต่างๆ ในประเทศไทยจะมีทั้งด้านการผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการภายในชุมชนของตนเองและกับต่างชุมชน นอกจากนี้ ต้องมีการผลิตสินค้าออกจำหน่ายสู่สังคมเมือง โดยเฉพาะสินค้าประเภทเกษตรกรรม และในขณะเดียวกันก็มีการบริโภคสินค้าและบริการประเภทอุตสาหกรรมจากสังคมเมืองด้วย