หนังสือรับรองการเลี้ยงดูบุตร

การจดทะเบียนรับรองบุตร

  • หนังสือรับรองการเลี้ยงดูบุตร

Details

Details Parent Category: คู่มือการบริการ Category: ทะเบียนทั่วไป

คู่มือด้านทะเบียนทั่วไป > การจดทะเบียนรับรองบุตร  
    การจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา เนื่องจากบุตรที่เกิดจากบิดา และมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาเท่านั้น

ขั้นตอนการจดทะเบียนรับรองบุตร
    สามารถทำได้โดยให้บิดาเป็นผู้ยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักงานเขต แห่งใดก็ได้ โดยนำหลักฐาน คือ

  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ของบิดา มารดา และ บุตร
  • บัตรประจำตัวประชาชน ของบิดา มารดา สูติบัตรของบุตร ไปแสดง
  • พยานบุคคลจำนวน 2 คน

     ทั้งนี้การจดทะเบียนรับรองบุตรมารดาและบุตรต้องให้ความยินยอมด้วย ในกรณีที่มารดาหรือบุตรคัดค้านว่าบิดา ผู้ขอจดทะเบียนรับรองบุตรไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ในกรณีบุตรเป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา หรือมารดาเสียชีวิตแล้ว นายทะเบียนไม่สามารถจดทะเบียนรับรองบุตรให้ได้ นอกจากจะได้ยื่นร้องต่อศาลให้มีคำพิพากษาให้บิดาจดทะเบียนรับรองบุตรได้ไปแสดง

       * การจดทะเบียนรับรองบุตรไม่เสียค่าธรรมเนียม

ขอหนังสือรับรองอำนาจปกครองบุตร หรือ ป.ค.14 เพื่อขอ Passport / Visa

โดย: ทีมงานทนายThanulegal [IP: 110.169.11.xxx]

เมื่อ: 2018-04-21 11:24:15

หนังสือรับรองอำนาจปกครองบุตร หรือ ป.ค.14 เพื่อขอ Passport / Visa

กรณี บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกัน หรือบิดาไม่เคยจดทะเบียนรับรองบุตร

ตามป.พ.พ.มาตรา 1546 ถือว่ามารดาเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตร แต่เพียงผู้เดียว

ยื่นคำร้องที่ฝ่ายทะเบียน : สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่แม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ไม่ดูลูก)

เอกสาร ตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด

1 สูติบัตรของลูก

2 ทะเบียนบ้านลูก แม่ และพยาน 2 คน

3 บัตรประจำตัวประชาชน ลูก(ถ้ามี) แม่ และพยาน 2 คน

4 ใบสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อนามสกุล(ถ้ามี)

คุณสมบัติของพยาน

1 อายุ 20 ปีขึ้นไป

2 ใครก็ได้ แต่ควรเป็นญาติกับแม่เด็ก เนื่องจากนายทะเบียนอาจจะสอบสวนเพิ่มเติม

หมายเหตุ

1 เด็กไม่ต้องไปด้วยก็ได้

2 ทำวันเดียวเสร็จ ก่อนออกหนังสือ นายทะเบียนจะทำเรื่องไปขอตรวจสอบการจดทะเบียนรับรองบุตรก่อน

3 เอกสารตัวจริงเก็บไว้ เวลาใช้ให้ใช้สำเนา โดยจะใช้ไปตลอดจนกว่าเด็กจะอายุ 20 ปี

Visitors: 106,687