เช็ค เงิน คืน ประกันสังคม มาตรา 39

เช็ค เงิน คืน ประกันสังคม มาตรา 39

อย่าเสียรู้ ทิ้งเงินก้อนโต เงื่อนไขรับเงินคืนจาก ”ประกันสังคม” บางคนได้เกือบแสนสำหรับคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือน ที่จะต้องจ่ายเงินประกันสังคม จะต้องสมทบเงินประกันสังคมทุกเดือน

ซึ่งจะหักจากเงินเดือนประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์แต่สูงสุดได้ไม่เกิน 750 บาท นั่นก็คือคนที่ได้รับเงินเดือน

15,000 บาทขึ้นไปนั้นเอง แต่เราเคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า สำนักงานประกันสังคมนั้น เขาเอาเงินที่เราจ่ายทุกเดือนไปทำอะไรกันบ้างระบบงานประกันสังคม

เช็ค เงิน คืน ประกันสังคม มาตรา 39

เป็นสิ่งที่ต่างประเทศมีมานานแล้ว แต่บ้านเรานั้นเพิ่งจะเริ่มมี โดยประกันสังคมนั้นเป็นระบบที่บังคับให้ทุกคนออมเงินส่วนหนึ่ง มันก็คือ 5 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนข้อดีของเงินประกันสังคม คือลูกจ้างอย่างเราจะจ่ายเงินประกันสังคมอย่างนี้เพียง 1 ใน 3 ส่วนเท่านั้น เพราะผู้ที่มีหน้าที่จะต้องจ่ายประกันสังคมสมทบกองทุนประกันสังคม ประกอบด้วย 3 ฝ่ายนั้นก็คือ

1. ฝ่ายรัฐบาล

2. ส่วนนายจ้าง

3. ลูกจ้าง

ดังนั้นลูกจ้างจึง จ่ายเงินเข้ากองทุนเพียง 5% ของค่าจ้าง และรัฐบาลสมทบอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งทำให้เราได้รับผลประโยชน์มากขึ้น คุ้มค่าเกินกว่ามูลค่าเงินที่เราลงไป

เช็ค เงิน คืน ประกันสังคม มาตรา 39

2. 75 บาท สำหรับใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ สามารถเอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างตกงานหรือรอหางานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้รับคืน

เงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม จะถูกแบ่งเป็น

– 225 บาท ดูแลเรื่องเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสีย ถ้าไม่ใช้สิทธิ เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

– 75 บาท ใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ ก็เอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างที่หางานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

เช็ค เงิน คืน ประกันสังคม มาตรา 39

– 450 บาท เก็บเป็นเงินออม จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี

โดยเงื่อนไขการได้เงินก้อนสุดท้าย (เงินออม เมื่ออายุครบ 55 ปี) คืน คือ

1. จ่ายประกันสังคมไม่ครบ 1 ปี ได้คืนส่วนที่จ่ายเป็นเงินก้อน เรียกว่าบำเหน็จชราภาพ เช่น จ่ายเดือนละ 750 บาทมาโดยตลอด 10 เดือน (750 บาท จะถูกหักเป็นเงินออม 450 บาท) เมื่ออายุครบ 55 ปี จะได้คืน 450 บาท x 10 เดือน = 4,500 บาท

2. จ่ายครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 15 ปี จะได้เป็นเงินก้อนเรียกว่าบำเหน็จเช่นกัน แต่จะมากกว่าข้อ 1. คือ ได้ส่วนที่นายจ้างสมทบด้วย เช่น จ่าย 750 บาท ตลอด 7 ปี (84 เดือน) ที่จะได้รับคืนเมื่ออายุครบ 55 ปี คือ 450 บาท (ส่วนที่ตนเองจ่าย) + 450 บาท (ส่วนที่นายจ้างจ่าย) x 84 เดือน = 75,600 บาท

3. จ่ายตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเป็นเงินรายเดือน เรียกว่า บำนาญชราภาพ โดยคำนวณ 2 กรณี คือ– กรณีจ่ายครบ 15 ปีเป๊ะๆ จะได้รับรายเดือน คือ 20% ของเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย สมมติ 60 เดือนสุดท้าย เฉลี่ยแล้วเท่ากับ 15,000 บาท จะได้รับ 20% คือ เดือนละ 3,000 บาท ไปจนเสีย– กรณีสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับโบนัสเพิ่ม 1.5% ของเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย หากครบปี เช่น จ่ายครบ 20 ปี รายเดือนที่จะได้รับ คือ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน + 1.5% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน x 5 ปี (จ่าย 20 ปี เกินจากที่กำหนดขั้นต่ำมา 5 ปี)สมมติเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย เท่ากับ 15,000 บาท จะได้รายเดือน คือ (20% x 15,000 บาท = 3,000 บาท) + (1.5% x 15,000 บาท x 5 ปี) = 3,375 บาท รวมเป็น 6,375 บาท ต่อเดือน ไปจนเสียกรณีที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว ยังไม่ครบ 5 ปีเลย แต่เสียซะละ กรณีนี้จะได้รับบำเหน็จ 10 เท่าของเดือนสุดท้ายของเงินบำนาญที่ได้รับ เช่น รับรายเดือน เดือนล่าสุด 6,375 บาท เสียปุ๊บ รับ 63,750 บาท

เรียบเรียงโดย : Postsara
แหล่งที่มา : http://siamama.com/?p=4313

เช็ค เงิน คืน ประกันสังคม มาตรา 39
รัฐบาล แจ้งผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ที่อายุครบ 55 ปีและสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน อย่าลืมเช็กสิทธิและยื่นขอรับบำเหน็จ บำนาญชราภาพ สามารถแจ้งรับเงินผ่านพร้อมเพย์ไม่ต้องใช้สำเนาหน้าสมุดธนาคาร

12 ก.ย.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้แจ้งเตือนผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ซึ่งมีอายุครบ 55 ปี และปัจจุบันมีสถานะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแล้ว ให้ตรวจสอบสิทธิการได้รับบำเหน็จ หรือบำเหน็จชราภาพ พร้อมกับยื่นขอรับเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด

สำหรับช่องทางการตรวจสอบสิทธิและยอดเงินสมทบชราภาพ หากไม่สะดวกเดินทางไปยังสำนักงานประกันสังคม ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบผ่านช่องทางออนไลน์ได้ 3 ช่องทาง คือเว็บไซต์ของ สปส. [http://www.sso.go.th,]www.sso.go.th, แอปพลิเคชั่น SSO Connect สามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง ระบบ iOSและ Android และ Line Official Account ของ สปส. @ssothai

ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบและทราบสิทธิที่จะได้รับแล้วสามารถยื่นขอรับบำเหน็จ หรือ บำเหน็จชราภาพ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด โดยใช้เอกสารเป็นบัตรประชาชนตัวจริง และกรอกใบคำขอ สปส. 2-01 หรือ SSO. 2-01 พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ที่จะรับโอนเงิน แต่หากผู้ประกันตนมีบัญชีพร้อมเพย์ที่ใช้เลขบัตรประชาชนผูกกับบัญชีออมทรัพย์ สามารถแจ้งขอรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ไปพร้อมการยื่นคำร้องได้ โดยไม่ต้องใช้สำเนาสมุดบุญชีธนาคาร (บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ไม่สามารถใช้ได้)

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับสิทธิของผู้ประกันตนกรณีชราภาพนั้นจะแยกเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1) รับบำเหน็จชราภาพ ได้แก่ ผู้จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ซึ่งจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตนที่จ่ายให้กับสำนักงานประกันสังคม แต่หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนของผู้ประกันตน รวมกับส่วนของนายจ้างที่จ่ายเงินสมทบให้และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปี

2) กรณีรับบำนาญชราภาพ ได้แก่ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็น รายเดือนตลอดชีวิต ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินค่าจ้าง(ไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และกรณีที่จ่ายเกินกว่า 180 เดือนจะเพิ่มอัตราการจ่ายเงินบำนาญ ให้อีกร้อยละ 1.5 ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ 12 เดือน

นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ผู้รับบำนาญชราภาพเสียชีวิตลงระหว่างรับบำนาญชราภาพยังไม่ถึง 60 เดือน ที่ทายาทสามารถติดต่อเพื่อรับบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนได้ โดยสามารถดูข้อเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หรือสอบถามที่สายส่วน สปส. 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง