ลักษณะงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย

ลักษณะงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย

แบบอย่างงานทัศนศิลป์สมัยอยุธยาเจริญขึ้นทางภาคกลางของประเทศไทย มีช่วงเวลาวิวัฒนาการนานถึง 417 ปี แนวคิดและเนื้อหาของผลงานทัศนศิลป์ส่วนใหญ่จะยังคงสะท้อนถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีการสร้างผลงานทัศนศิลป์เป็นจำนวนมากเพื่อถวายแด่พระศาสนา แต่ขณะเดียวกันก็มีการสร้างสรรค์ผลงานสำหรับพระมหากษัตริย์ด้วย โดยเฉพาะการก่อสร้างปราสาทราชวังเพื่อใช้เป็นที่ประทับในกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีความงดงามวิจิตร โดยนำเอาช่างแขนงต่างๆ มาร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้น

ลักษณะงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย

 ด้านจิตรกรรม

จิตรกรรมในสมัยอยุธยาส่วนใหญ่ จะเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา โดยช่วงแรกจะได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบลพบุรี สุโขทัย และลังกาผสมผสานกัน บางภาพจะมีลักษณะแข็งและหนัก ใช้สีดำ ขาว และแดง มีการปิดทองบนภาพบ้างเล็กน้อย เช่น ภาพเขียนบนผนังในกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ ซึ่งสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ภาพเขียนบนผนังในตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธศวรรย์ เป็นต้น แต่ช่วงหลังจิตรกรรมสมัยอยุธยามักวาดภาพที่เกี่ยวกับไตรภูมิ และมีภาพพุทธประวัติประกอบอยู่ด้วย ซึ่งวิธีการเขียนภาพจะเป็นเช่นเดียวกับจิตรกรรมฝาผนังสมัยสุโขทัยที่นิยมใช้สีแดงเข้มเป็นพื้น แต่สมัยอยุธยาจะมีการใช้สีเพิ่มมากขึ้น อาทิ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดราชบุรี วัดใหม่ประชุมพล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.2172–2199) จนสิ้นสุดสมัยอยุธยา จิตรกรรมของอยุธยา แสดงให้เห็นถึงลักษณะของจิตรกรรมไทยแท้อย่างสมบูรณ์ มีการปิดทองบนรูปและลวดลายเนื้อเรื่องที่เขียนจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทพชุมนุม พุทธประวัติ ไตรภูมิ วิธีการเขียนยังคงใช้สีน้อย ภาพมีลักษณะแบน และตัดเส้นด้วยสีขาว และสีดำ

ลักษณะงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย

 ด้านประติมากรรม

ผลงานที่มีลักษณะเด่นทางด้านทัศนศิลป์ประเภทประติมากรรมในสมัยอยุธยา ที่สำคัญ ได้แก่ การสร้างพระพุทธรูป ซึ่งจำแนกเป็นกลุ่มได้ ดังนี้

1) พระพุทธรูปแบบศิลปะทวารวดีผสมเขมร สร้างขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17–18 มีพุทธลักษณะที่สำคัญ คือ มีรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม มีจีวรคล้ายแบบทวารวดี มีพระพักตร์เป็นลักษณะสี่เหลี่ยมตามแบบเขมรองค์พระพุทธรูปทำด้วยศิลาหรือโลหะ

2) พระพุทธรูปแบบศิลปะอู่ทอง ศิลปะอู่ทองเป็นศิลปะที่แพร่หลายอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างก่อนการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ซึ่งจะมีลักษณะบางอย่างผสมผสานกันระหว่างศิลปะทวารวดีกับศิลปะลพบุรี ซึ่งต่อมาศิลปะอู่ทองก็ค่อยผสมกลมกลืนเปลี่ยนไปเป็นศิลปะแบบอยุธยา ตัวอย่างพระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง เช่น หลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง เศียรพระพุทธรูปสำริด วัดธรรมิกราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปหลายองค์ที่พบในเขตอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดสุพรรณบุรี 

 ด้านสถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยานอกจากจะสร้างขึ้นเพื่อศาสนาแล้ว ยังมีการสร้างเป็นตำหนักสำหรับพำนักอาศัยของเชื้อพระวงศ์ และเป็นอาคารเพื่อว่าราชการอีกด้วย ซึ่งสามารถจำแนกลักษณะสถาปัตยกรรมเด่นๆ สมัยอยุธยาได้ ดังนี้

ลักษณะงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย

1) เจดีย์ หมายรวมถึงสถูปด้วย เจดีย์ในสมัยอยุธยาสามารถจำแนกได้หลายรูปแบบไปตามแนวความคิด คติความเชื่อทางศาสนาในแต่ละช่วงเวลา โดยในช่วงระยะแรก อยุธยานิยมสร้างเจดีย์แบบทรงปรางค์ตามธรรมเนียมนิยมที่เคยมีมาก่อน แต่มีการปรับเปลี่ยนรูปทรงองค์ปรางให้มีความเพรียวได้สัดส่วนมากกว่าศิลปะแบบขอม เช่น ปรางค์วัดพระราม ปรางค์วัดพุทไธศวรรย์ เป็นต้น 

ลักษณะงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย

2) อาคาร นอกจากอาคารที่เป็นแบบไทย ซึ่งเคยสร้างกันขึ้นมาแล้ว ยังเป็นสมัยแรกที่มีการนำเอาแบบอย่างการก่อสร้างสถาปัตยกรรมตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทยด้วย โดยสร้างอาคารแบบก่ออิฐถือปูน มีการวางผังการก่อสร้างอย่างเป็นระเบียบจัดบริเวณให้ร่มรื่น มีลานกว้าง มีการสร้างอ่างเก็บน้ำหรือประปาไว้ใช้ ที่เห็นได้เด่นชัด คือ สถาปัตยกรรมภายในเขตพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี

3)โบสถ์ วิหาร มณฑป นิยมสร้างให้มีขนาดใหญ่ ยกฐานสูง ผนังด้านข้างทำเป็นช่องแบบลูกมะหวด และแบบหน้าต่าง เสาจะมีการก่อด้วยอิฐเป็นส่วนใหญ่ ทำเป็นเสากลม ปลายเสาตกแต่งด้วยบัวหัวเสาหรือบัวกลุ่มในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย จะทำฐานให้เห็นเป็นแนวแอ่นโค้งรับกับส่วนหลังคาที่ทำซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นและโค้งมักใช้เสากลมก่ออิฐสอปูน ตรงหัวเสาจะทำเป็นบัวตูม มีการตกแต่งด้วยลายปูนปั้น ในส่วนของซุ้มประตู หน้าบัน หน้าต่าง นิยมแกะสลักไม้ปิดทองประดับกระจก


ลักษณะงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย

        

ลักษณะงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย

     ไทยเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมในการก่อสร้างอาคารที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาช้านาน หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่หลงเหลืออยู่ คือสถาปัตยกรรมในสมัยเชียงแสนและสมัยสุโขทัย อิทธิพลที่ปรากฏอย่างเด่นชัด ของศิลปวัฒนธรรมไทย ส่วนใหญ่รับมาจากอินเดียและได้พัฒนาให้เหมาะกับท้องถิ่น และเชื้อชาติตามยุคสมัย โดยผ่านทางมอญศรีวิชัย และขอมกัมพูชา ส่วนที่ผ่านเข้ามาทางตรงก็คือ อิทธิพลทางพุทธศาสนา ทั้งที่ได้ปรับปรุงจากที่อื่น และที่คิดค้นขึ้นเป็นของตนเอง รวมทั้งเป็นตัวอย่างให้ชาติอื่นนำไปปรับปรุงอีกมากมาย สถาปัตยกรรมของไทยที่นับเนื่องเป็นประวัติศาสตร์นั้น ชนชาวไทยในสุวรรณภูมิได้ทุ่มเทสรรพกำลัง ทั้งกายและใจ ให้กับพุทธศาสนาโดยสิ้นเชิง ดังจะเห็นได้จากโบราณสถาน ที่พบเห็นได้ทั่วไปในดินแดนนี้ เช่น พระสถูปเจดีย์ พระปรางค์ และวัดวาอาราม โบสถ์ วิหาร เป็นต้น

     พุทธเจดีย์สมัยสุโขทัย จำแนกได้ตามลักษณะรูปทรงดังนี้

               1. พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม
               2. พระเจดีย์ทรงระฆังหรือดอกบัวคว่ำ
               3. พระเจดีย์ทรงพระปรางค์
               4. เจดีย์บุษบก หรือ เจดีย์วิมาน
               5. เจดีย์จอมแห
               6. เจดีย์ทรงปราสาท

     1. พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม
     พระเจดีย์แบบนี้มียอดเป็นรูปดอกบัวตูม หรือเรียกกันว่า ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงทนาฬ
ตั้งอยู่เหนือเรือนธาตุสี่เหลี่ยมย่อไม้ยี่สิบ ที่เรือนธาตุลางองค์มีการจัดซุ้มพระพุทธรูปยืนทั้ง 4 ทิศ เช่นที่เจดีย์ วัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูมมีรูปทรงสูงเด่นสง่างาม ฐานชั้นล่างมีแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนลดหลั่นกัน 3 หรือ 4 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานแว่นฟ้าซ้อนกันค่อนข้างสูงรองรับเรือนธาตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระเจดีย์ประธานวัดมหาธาตุ อำเภอเมืองสุโขทัย ที่สำคัญรองลงไปได้แก่ เจดีย์ประธานทรงดอกบัวตูมวัดเจดีย์เจ็ดแถวอำเภอศรีสัชนาลัย นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลปะพากันยกย่องว่า พระเจดีย์ทรงบัวตูม เป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ที่ศิลปินสุโขทัยคิดแบบอย่างของตนขึ้น พระเจดีย์แบบนี้นิยมสร้างไว้ตามเมืองต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยเท่านั้น ไม่มีการสร้างต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเลย

     พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูมเท่าที่มีหลักฐานปรากฏมีอยู่ตามเมืองต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยหลายองค์ด้วยกัน เช่น วัดมหาธาตุ วัดตระพังเงิน วัดซ่อนข้าว วัดทักษิณาราม วัดอ้อมรอบ วัดก้อนแล้ง วัดอโศการาม และที่อำเภอศรีสัชนาลัย มีปรากฏที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้วอุทยายน้อย วัดราหู วัดน้อย
เจดีย์ทรงดอกบัวตูมเป็นข้อขบคิดกันมานานว่า มีแรงบันดาลใจจากที่ใด นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลปะมีแนวคิดเห็นแตกต่างกันหลายทฤษฎี ดังนี้

     สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยว่า …อาจได้แบบอย่างมาจากเจดีย์จีน (ถะ) แล้วดัดแปลงให้เหมาะสมกับกระบวนการช่างของไทย ด้วยทรงเห็นภาพพระเจดีย์จีนจากที่ฝังศพโบราณในหนังสือ "อินลัสเตรทเต็ด ลอนดอนนิวส์ " (ค.ศ. 1928) มีลักษณะแบบอย่างคล้ายคลึงอยู่บ้าง ประกอบกับในสมัยสุโขทัยได้มีการติดต่อกับจีนอย่างใกล้ชิด…
     ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี มีความเห็นในแง่ของศิลปว่า … อาจได้รับแบบอย่างมาจากสถาปัตยกรรมแบบ ซาราเซน (Saracenic style) ก็ได้ เพราะมีลักษณะรูปทรงคล้ายคลึงกับยอดสุเหร่า หรือมัสยิด (mosque)ของมุสลิมหรือชาวอาหรับ…
     ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ให้ความเห็นไว้ในบทความเรื่อง "อิทธิพลของอินเดียต่อศิลปไทย " ในหนังสือ Indian Art & Letters (ค.ศ. 1950) ว่า …โครงสร้างของเจดีย์แบบนี้ดูเหมือนว่าจะมาจากรูปทรงของโกศบรรจุพระบรมอัฐิ…
     นายกริสโวลด์ มีความเห็นไว้ในหนังสือ Towards a History of Sukhodaya Art ว่า
…พญาเลอไทคงจะได้แบบอย่างมาจากเจดีย์จำลองที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของลังกา ซึ่งมีดอกบัวตูม…    
     อาจารย์จิตร(ประกิต) บัวบุศย์ มีความเห็นตามแนวทางพุทธปรัชญามหายานในหนังสือ ประวัติย่อพระพิมพ์ในประเทศไทย ว่า …การสร้างเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ได้รับอิทธิพลมาจากนิกายสุขาวดี จากน่านเจ้า ซึ่งไทยน่านเจ้าลางกลุ่มนำลงมาเผยแพร่ไว้ระหว่าง พ.ศ. 1500-1600…
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ มีความเห็นว่า … คงมาจากทรงของยอดปราสาทแบบขอม.. ฯลฯ

     2. เจดีย์ทรงระฆัง หรือดอกบัวคว่ำ
     มักเรียกกันโดยทั่วไปว่า แบบลังกา ตามทฤษฎีเดิมเชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาจากลังกาโดยตรง แต่ถ้าพิจารณาในแง่ของแบบอย่างศิลปะแล้ว จะเห็นว่าอิทธิพลทางศิลปะของลังกามีไม่มากนัก เพราะในระยะที่อิทธิพลของพระพุทธสาสนาหินยานจากลังกาทวีปหลั่งไหลเข้ามาสู้ศรีสัชนาลัยนั้น อิทธิพลศิลปะอินเดียได้เข้ามาก่อนแล้ว เช่น สกุลช่างปาละ-เสนะ (Pala-Sena School) สกุลช่างโอริสสา(Orissan School) และสกุลช่างโจฬะ (Chola School)

     เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัยมิได้มีลักษณะที่ลอกเลียนมาจากลังกาโดยตรง แต่เป็นแบบที่ศิลปินสุโขทัยประดิษฐ์ขึ้นจากการผสมผสานแต่งเติมจนมีสัดส่นกลมกลืน และมีรูปทรงสูงสวยงาม อันเป็นอิทธิพลที่ได้มาจากคติมหายานแบบอย่างของเจดีย์แบบปาละ และโจฬะ เช่น การประดิษฐ์ฐานสูงซ้อนกันหลายชั้น การประดิษฐ์บัวปากระฆัง การทำรูปทรงระฆังให้พองออกในตอนบนและคอดในส่วนที่เป็นปากระฆัง เจดีย์บางองค์มีการจัดซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ทิศ เช่น เจดีย์วัดนางพญา เจดีย์วัดเขาสุวรรณคีรี เจดีย์วัดชมชื่น อำเภอศรีสัชนาลัย เจดีย์วัดสระศรี เจดีย์วัดต้นจันทน์ และเจดีย์วัดเขาพระบาทน้อย อำเภอเมืองสุโขทัย เป็นต้น
พระเจดีย์ทรงระฆังองค์ที่ใหญ่ที่สุดและมองเห็นได้ในระยะไกลที่สุดได้แก่ เจดีย์วัดเขาสุวรรณคีรี อยู่บนเนินเขากลางเมืองศรีสัชนาลัย

 

ลักษณะงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย

พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม  หรือ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์


ลักษณะงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย

เจดีย์ทรงระฆัง หรือ ดอกบัวคว่ำ


ลักษณะงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย

พระเจดีย์ทรงพระปรางค์


ลักษณะงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย


เจดีย์จอมแห

      พระปรางค์ของไทยโดยทั่วไปมีลักษณะรูปทรงคลี่คลายมาจากอิทธิพลแบบอย่างสถาปัตยกรรมสิขร ของขอมและอินเดียผสมผสานกัน แต่มิได้ลอกเลียนแบบมาโดยตรง พุทธปรางค์ในสมัยสุโขทัยแม้จะมีอยู่เพียงไม่กี่องค์ก็ตาม แต่ก็มีปัญหาถกเถียงกันในหมู่นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ศิลปะ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ปรางค์ต่างๆ เป็นปรางค์ที่ขอมสร้างไว้เมื่อครั้งยังมีอำนาจในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและเลยขึ้นไปถึงลำน้ำยม ต่อมาเมื่อไทยมีอำนาจมากขึ้น ได้ดัดแปลงแต่งเติมเพิ่มขึ้นภายหลัง จึงปรากฏรูปแบบศิลปะของฝีมือช่างไทย คือรูปทรงสูงชลูด ความเห็นส่วนน้อยคือ ขอมไม่เคยมีอำนาจปกครองดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเลย ปรางค์ต่างๆ ล้วนเป็นฝีมือช่างไทยก่อสร้างขึ้นตามแบบอย่างขอม พุทธปรางค์เท่าที่ปรากฏอยู่มี พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระปรางค์วัดเจ้าจันทน์ ในอำเภอศรีสัชนาลัย พระปรางค์วัดศรีสวาย (สามองค์) พระปรางค์วัดพระพายหลวง (สามองค์) และศาลผาตาแดง(ยอดพังลงหมดแล้ว)ในอำเภอเมืองสุโขทัย

      4. เจดีย์บุษบก หรือเจดีย์ทรงวิมาน

      แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม ย่อมุมไม้ยี่สิบ และย่อมุมไม้สิบสองเรือนธาตุมีซุ้มพระพุทธรูปทั้ง 4 ทิศ ส่วนยอดทำเป็นชั้นๆ ซ้อนกันถึง 9 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นรูป อามลกะ ตามแบบยอดสิขรของอินเดีย และยอดบนสุดเป็นยอดแหลม เจดีย์แบบนี้พบอยู่ สามสี่องค์ เช่น ที่วัดชนะสงคราม วัดตระพังเงิน ที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย ก่อด้วยศิลาแลง ยอดทำเป็นชั้นลดหลั่นกันถึง 9 ชั้น อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์และมีขนาดใหญ่

      เจดีย์แบบจอมแหนี้ ที่ฐานทำเป็นกลีบดอกบัว 3 ชั้น ชั้นที่ 3 ทำเป็นซุ้มคูหาสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ด้านสี่ทิศ เรือนพระเจดีย์ทำเป็นรูประฆังครอบปากผาย ออกเป็นแบบระฆัง 8 เหลี่ยม แต่ตอนที่เป็นตัวระฆังไม่กลมอวบอ้วนเหมือนอย่างเจดีย์ทรงระฆังครอบ คือ ทำเป็นอย่างกระโจมมีกลีบยาวเป็นลอนเรียงกันเป็นกลีบ ๆ รอบองค์พระเจดีย์ นับได้ 28 กลีบ จากลักษณะของรูปกระโจมเจดีย์ที่คล้ายกับร่างแหที่แขวนตากแดดแขวนไว้กับเสากระโดง จึงเรียกกันว่า เจดีย์จอมแห มีพบเพียงแห่งเดียวบนเนินเขาวัดพระบาทน้อย อำเภอเมืองสุโขทัย เท่านั้น

       เจดีย์แบบนี้นักโบราณคดีเชื่อกันว่าได้รับอิทธิพลแบบอย่างจากเจดีย์วัดมหาธาตุเมืองไชยา และเจดีย์วัดมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช เป็นเจดีย์แบบหลายยอด เช่น เจดีย์วัดมหาธาตุ เมืองไชยา ลักษณะโดยทั่วไปมีฐานสี่เหลี่ยมสูง เรือนธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประกอบด้วยซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทับยืนทั้ง 4 ทิศ แต่ละซุ้มนิยมจัดเสาแบนและหน้าบันซ้อนกันสองชั้น ลวดลายประดับซุ้มประดิษฐ์เป็นรูปใบไม้ หรือขนนกยาว ๆ เรียงลดหลั่นกันซุ้มละ 7 อัน เหนือเรือนธาตุทำเป็นฐาน 8 เหลี่ยม ตรงส่วนที่เป็นบัวปากระฆังนิยมทำเป็น "บัวกลุ่ม" องค์ระฆังตอนบนพองออกมากกว่าส่วนที่เป็นปากระฆัง มีลาย "รัดอก" หรือ "รัดเอว" คาดเป็นเครื่องประดับ ไม่มีบัลลังก์ เหนือองค์ระฆังทำเป็นบัวกลุ่มอีกสองชั้นก่อนที่จะถึงปลียอด ตามมุมเจดีย์ทั้งสี่มีการประดิษฐ์เจดีย์บริวารสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก หรือ "สถูปิกะ" เช่น เจดีย์บริวารที่วัดมหาธาตุ อำเภอเมืองสุโขทัย และเจดีย์รายที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย
http://www.info.ru.ac.th/province/sukhotai/art1.htm

ลักษณะงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย

     ประติมากรรมไทยส่วนใหญ่ มีจุดประสงค์ในการสร้างขึ้น ด้วยศรัทธาอันแน่นแฟ้นในพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จาก พระพุทธรูป ในสมัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปั้น หล่อ หรือแกะสลัก อีกส่วนหนึ่งสำหรับใช้เป็นเครื่องประกอบ ตกแต่งปราสาทราชวังและเครื่องใช้ต่างๆ สำหรับพระมหากษัตริย์
ประติมากรรมไทยแบ่งได้เป็นสาม ลักษณะใหญ่ๆ คือ

          2.1 ลักษณะนูนต่ำ (Bas Relief) คือผลงานที่มองได้ด้านเดียว แสดงความตื้นลึกของภาพ โดยมีความสูงต่ำ เพียงเล็กน้อย เช่น ลวดลายปูนปั้นบนสถูป และลายแกะสลักต่างๆ เป็นต้น

          2.2 ลักษณะนูนสูง (High Relief) สามารถมองเห็นได้ 3 ด้าน คือด้านหน้า และด้านข้างอีก ๒ ด้าน โดยมีความตื้นลึกที่แตกต่างกันมาก จนเห็นได้ชัดเจน เช่น ลายปูนปั้นบนหน้าบัน

          2.3 ลักษณะลอยตัว (Round Relief) สามารถมองเห็นได้รอบด้าน เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ต่างๆ รวมถึงเครื่องปั้นดินเผาด้วย

     ประติมากรรมสมัยสุโขทัย เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800-1918 เมืองสำคัญทางศิลปสมัยสุโขทัยมีเมืองสุโขทัย เก่า กำแพงเพชร และศรีสัชนาลัยปรากฏโบราณสถานใหญ่โต มีศิลปวัตถุเป็นจำนวนมาก ชาวสุโขทัยนับถือพุทธศาสนายุคแรกตามแบบสมัยลพบุรี คือ พุทธศาสนาแบบมหายาน ภายหลังพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์แพร่ขยายเข้ามาในสมัยพ่อขุนรามคำแหง วัสดุที่นำมาสร้างประติมากรรมมี ปูนเพชร ดินเผา ไม้ โลหะสำริด และทองคำ

     แบบอย่างของประติมากรรมสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น 4 ยุค คือ

          ยุคที่ 1 ประติมากรรมยุคนี้ยังแสดงอิทธิพลของศิลปะลพบุรีที่เห็นได้ชัด คือ ภาพปูนปั้นลวดลายประดับประตูรั้วทางเข้าองค์ปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ การสร้างพระพุทธรูปในยุคนี้มีแบบเฉพาะเป็นของตนเองที่เรียกกันว่า "แบบวัดตระกวน" เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ลังกา และสุโขทัย ผสมผสานกัน พระพักตร์กลม พระรัศมีเป็นแบบลังกา พระวรกายและชายสังฆาฏิสั้นแบบเชียงแสน

          ยุคที่ 2 ในยุคนี้ฝีมือการสร้างประติมากรรมของช่างไทยเชี่ยวชาญขึ้น พัฒนารูปแบบการสร้างพระพุทธรูปจนก่อเกิดรูปพุทธลักษณะอันงดงามของสกุลช่างสุโขทัยเอง ยังเป็นศิลปะสุโขทัยแบบบริสุทธิ์ ในยุคนี้มีการสร้างพระพุทธรูปไว้มากมายตั้งแต่พระพุทธรูปขนาดใหญ่ เช่น พระอัฏฐารส พระอัจนะ จนถึงพระบูชาขนาดเล็ก และพระพิมพ์ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปนูนต่ำนูนสูงประดับภายในซุ้มมณฑปหรือพระเจดีย์เป็นจำนวนมาก สมดังศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า "กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม " พระพุทธรูปสุโขทัยไม่นิยมสลักหิน แม้จะเป็นพระพุทธรูปขนาดสลักหิน นิยมปั้นด้วยปูนหรือหล่อด้วยโลหะมีค่าต่างๆ รวมทั้งทองคำบริสุทธิ์ ลักษณะพระพุทธรูปสุโขทัยยุคนี้ คือ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระเศียรสมส่วนกับพระศอและพระอังสา หมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระอุระผายสง่า พระอังสาใหญ่กว้าง พระถันโปน ปั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวจรดมาถึงพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ พระกรเรียวดุจงาช้าง นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาททำแบบธรรามชาติ ดุจมีชีวิต ฐานเป็นหน้ากระดานเกลี้ยง ปางที่นิยมคือ ปางมารวิชัย และปางลีลา องค์พระพุทธรูปปางลีลาที่งดงามปัจจุบันประดิษฐานที่ระเบียงคด วัดเบญจมบพิตร

          ยุคที่ 3 การปั้นพระพุทธรูปยุคนี้พัฒนาไปจากศิลปะสุโขทัยแบบบริสุทธิ์ มีความประณีต มีระเบียบและกฎเกณฑ์มากขึ้น พระรัศมีเป็นเปลวมีขนาดใหญ่ขึ้น พระพักตร์รูปไข่สั้น พระอุณาโลมเป็นตัวอุหงายระหว่างหัวพระขนง พระวรกายมีความอ่อนไหวน้อยลง พระอาการสงบเสงี่ยมแลดูนิ่งสงบขึ้น พระกรยาว นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่เสมอกัน ฝ่าพระบาทเรียบสั้น พระบาทยาว พระพุทธรูปที่สำคัญๆ ในยุคนี้ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระศรีศากยมุนี เป็นต้น

          ยุคที่ 4 เป็นยุคที่ประติมากรรมสมัยสุโขทัยถูกกลืนไปกับอิทธิพลของศิลปสมัยอยุธยาเมื่อราชวงศ์พระร่วงสิ้นสุดลงในพ.ศ. 1981 นับเป็นยุคสุโขทัยเสื่อม แม้มีการสร้างศิลปะในชั้นหลังก็เป็นสกุลศิลปะเล็กๆ พระพุทธรูปมีลักษณะกระด้างขึ้นทั้งอิริยาบท และทรวดทรง มักสร้างพระพุทธรูปยืน พระสำคัญในยุคนี้เช่น พระอัฎฐารส วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร

     สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแบ่งแบบอย่างพระพุทธรูปซึ่งสร้างในสมัยสุโขทัยเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง มักทำดวงพระพักตร์กลมตามแบบพระพุทธรูปลังกา เช่น พระอัฏฐารสในวิหารวัดสระเกศ กลุ่มที่สอง เมื่อฝีมือช่างเชี่ยวชาญขึ้นคิดแบบใหม่ ทำดวงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม เช่นพระร่วงโรจนฤทธิ์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเชิญไปไว้ที่พระปฐมเจดีย์ และพระสุรภีพุทธพิมพ์ที่เป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถวัดปรินายก พระพุทธรูปที่สร้างแบบนี้มีมากกว่ากลุ่มแรก กลุ่มที่สามสันนิษฐานว่าเห็นจะเป็นในรัชกาลพระมหาธรรมราชาพญาลิไทย ซึ่งในตำนานกล่าวว่า ทรงเป็นพระราชธุระบำรุงกิจในพระศาสนายิ่งกว่าในรัชกาลก่อนๆ โปรดให้เสาะหาช่างที่มีฝีมือดีทั้งในอาณาเขตลานนาและอาณาเขตข้างฝ่ายใต้มาประชุมปรึกษากัน และทรงสอบสวนหาหลักฐานพุทธลักษณะในคัมภีร์พระไตรปิฎกประกอบ จึงเกิดแบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ดวงพระพักตร์เป็นทำนองผลมะตูมคล้ายแบบอินเดียเดิมแต่งามยิ่งนัก และแก้พุทธลักษณะแห่งอื่น เช่น ทำปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกันทั้งสี่นิ้ว เป็นต้น แบบพระพุทธรูปเช่นนี้ทำกันแพร่หลายขึ้นไปจนถึงเมืองเหนือ และลงมาข้างใต้ แต่ที่ทำได้งามเหมือนองค์พระพุทธรูปที่เป็นต้นตำรามีน้อย


     พระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ทำในสมัยสุโขทัย ดูเหมือนจะไม่มีทำพระปางอย่างอินเดีย มีปางพุทธอิริยาบท คือ พระนั่ง พระนอน พระยืน พระเดิน พระนั่งทำปางมารวิชัยกับสมาธิ นั่งขัดสมาธิราบทั้งสองอย่าง พระนอนไม่ถือว่าเป็นปางนิพพานอย่างอินเดีย พระยืนมีแต่ปางประทานอภัย ยกพระหัตถ์ข้างเดียวบ้างสองข้างบ้าง สมมุติเรียกกันว่า ปางห้ามสมุทรและปางห้ามญาติ พระเดินไม่ถือว่าเป็นปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ไม่ทำปางพระกรีดนิ้วพระหัตถ์แสดงเทศนา พระพุทธรูปแบบสุโขทัยทำชายจีวรยาว พระรัศมีเป็นเปลว พระแบบที่สร้างสอลกลุ่มแรกนิ้วพระหัตถ์ไม่เท่ากันทั้งสี่นิ้ว แบบบัวรองพระพุทธรูปเป็นอย่างสุโขทัยไม่เหมือนกับบัวเชียงแสน จากหลักฐานที่พบในเมืองสวรรคโลก สุโขทัย และกำแพงเพชร ชั้นเดิมสร้างเป็นพระก่อแล้วปั้นประกอบเป็นพื้น มาถึงชั้นกลางและชั้นหลังจึงชอบสร้างพระหล่อ ข้อนี้มีที่สังเกตตามวัดในเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย นอกจากนี้ที่เป็นวัดสำคัญ พระประธานที่เป็นพระปั้นยังอยู่โดยมาก แต่วัดสำคัญในเมืองพิษณุโลก สุโขทัย และกำแพงเพชร มักไม่มีพระประธานเหลืออยู่ ด้วยเป็นพระหล่อเชิญมาไว้ที่กรุงเทพ ฯ ในสมัยรัตนโกสินทร์โดยมาก เช่น พระศรีศากยมุนีที่พระวิหารวัดสุทัศน์ พระพุทธชินสีห์ที่วัดบวรนิเวศ และพระอัฏฐารส ที่วิหารวัดสระเกศ เป็นต้น พระพิมพ์ก็ชอบสร้างในสมัยสุโขทัยเหมือนสมัยอื่น แต่แปลงมาเป็นพระพุทธรูปตามคติหินยาน ทำต่างพุทธอิริยาบท มักชอบทำพระลีลา เรียกกันสามัญว่า "พระเขย่ง" อีกอย่างหนึ่งก็ทำเป็นพระนั่ง แต่หลาย ๆ สิบองค์ในแผ่นพิมพ์อันหนึ่ง

     ในพ.ศ. 2494 หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์และนาย A.B. Griswold ได้แบ่งหมวดหมู่พระพุทธรูปสุโขทัยออกเป็น 5 หมวด คือ
     1. หมวดใหญ่ตรงกับหมวดชั้นกลางที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ จัดเป็นแบบที่งามที่สุด
     2. หมวดกำแพงเพชร ลักษณะเหมือนหมวดใหญ่ พระพักตร์สอบจากตอนบนลงมาหาตอนล่างมาก พบสร้างมากที่กำแพงเพชร
     3. หมวดพระพุทธชินราช ตรงกับหมวดที่สามที่ทรงกล่าว
     4. หมวดพิษณุโลกชั้นหลัง ลักษณะทรวดทรงยาว แบบจืดและแข็งกระด้าง จีวรแข็ง มักทำพระยืน เป็นพระพุทธรูปสุโขทัยชั้นหลัง เมื่อตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาแล้ว
     5. หมวดเบ็ดเตล็ด หมายถึงพระพุทธรูปแบบสุโขทัยซึ่งเข้ากับ 4 หมวดข้างต้นไม่ได้ รวมทั้งแบบวัดตระกวนซึ่งมีลักษณะเป็นพระเชียงแสน ลังกา และสุโขทัย ผสมกัน แบบวัดตระกวนนี้อาจจัดเข้าอยู่ในหมวดชั้นแรกซึ่งมีวงพระพักตร์กลม

     ต่อมานายกริสโวลด์ ได้แบ่งพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยออกเป็นเพียง 3 หมวดคือ
      1. Pre-classic ซึ่งตรงกับหมวดที่ 1 ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
      2. High-classic ซึ่งตรงกับหมวดที่สองของสมเด็จ ฯ
      3. Post-classic ซึ่งตรงกับหมวดที่สามของสมเด็จ ฯ ในหมวดที่สามนี้นายกริสโวลด์ได้พบพระพุทธรูป 5 องค์ ซึ่งมีจารึกบอกศักราชที่หล่อขึ้น องค์หนึ่งอยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม ธนบุรี หล่อขึ้นในพ.ศ. 1963 หรือ 1966 อีก 4 องค์อยู่ที่จังหวัดน่านหล่อขึ้นเมื่อพ.ศ. 1970

     นอกจากการสร้างพระพุทธรูปแล้วสมัยสุโขทัยยังนิยมทำภาพปูนปั้นเพื่อประกอบงานสถาปัตยกรรมและงานอื่นๆ จำนวนมาก โดยทำขึ้นหลายรูปแบบทั้งสวยงาม แปลกประหลาดและตลกขบขัน ตัวอย่างลวดลายปูนปั้นที่งดงามมีอยู่มากมาย เช่น
     ลายปูนปั้นที่วัดมหาธาตุ อำเภอเมืองสุโขทัย เป็นเรื่องพุทธประวัติแสดงปางประสูติ ปรินิพพาน
     ลายปูนปั้นที่วัดนางพญา อำเภอศรีสัชนาลัย เป็นลายดอกไม้
     ลายปูนปั้นที่วัดช้างล้อม อำเภอศรีสัชนาลัย ปั้นเป็นรูปช้างรายรอบฐานพระเจดีย์
     ลายปูนปั้นที่วัดตระพังทองหลาง เป็นเรื่องพุทธประวัติแสดงปางเสด็จจากดาวดึงส์
http://www.info.ru.ac.th/province/sukhotai/art2.htm

ลักษณะงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย

   

ลักษณะงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย

          จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Traditional Thai painting) โดยมากเขียนไว้เพื่อจุดประสงค์ ในการประดับตกแต่ง อาคารศาสนสถานและเครื่องใช้ ที่เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนา เช่น ในโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ คูหาในสถูปเจดีย์ คัมภีร์ต่างๆ และบนภาพพระบฏ เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวจากพระไตรปิฎก เช่น พุทธประวัติ ชาดก ไตรภูมิ และอื่นๆ โดยนอกจากจะเป็นไปเพื่อการประดับตกแต่งแล้ว ยังได้เล่าเรื่อง และแสดงธรรมบางประการไว้ด้วย นอกเหนือไปจากการให้ความรู้ความเพลิดเพลินแล้ว จิตรกรรมไทยยังได้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไป ของสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และคติความเชื่อของคนไทยในยุคสมัยต่างๆ สอดแทรกไว้ด้วย 

          งานจิตรกรรมสมัยสุโขทัยนั้นปรากฏว่ามีการทำภาพแกะลายเบา โดยแกะสลักบนหินเป็นลายเส้น ตัวอย่างเช่น ภาพแกะสลักลายเส้นบนเพดานผนังอุโมงค์วัดศรีชุม สลักเรื่องโคชานิยชาดก สำริดจากวัดเสด็จ ตลอดจนจิตรกรรมฝาผนังพบที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว ภายในคูหาชั้นในของมณฑปที่มีเรือนยอดเป็นปรางค์ผสมเจดีย์ทรงระฆังมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แต่ปัจจุบันลบเลือนเกือบหมดแล้ว แต่นับเป็นคุณูปการแก่คนไทยอย่างยิ่งที่ท่านศาสตราจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ซึ่งเป็นผู้ที่รัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าของจิตรกรรมไทย ได้ทำการคัดลอกภาพจิตรกรรมฝาผนังจากวัดเจดีย์เจ็ดแถวไว้เป็นหลักฐานให้อนุชนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาต่อมา
         งานศิลปกรรมของแต่ละชาติแต่ละยุคในสมัยแรกๆ อาจมีลักษณะแบบอย่างดั้งเดิม หรือได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากชนชาติที่มีความเจริญสูงกว่า ต่อมาก็พัฒนาสร้างลักษณะแบบอย่างที่มีเอกลักษณ์ของตนเองจนจัดได้ว่ามีความเจริญสูงสุด หรือที่เรียกว่าเป็นยุคทอง (golden age)  
หรือยุคคลาสสิค (classic age) ที่ชี้ชัดให้เห็นถึงความสามารถทางศิลปะเป็นพิเศษไม่มียุคใดสมัยใดของชาตินั้นๆ เปรียบเทียบได้
         ประเทศต่างๆ ได้พยายามจัดยุคที่รุ่งเรืองของตนให้เป็น ยุคทอง เพื่อให้ประชาชาติของตนรู้สึกภาคภูมิใจและให้ชาวโลกได้รู้จักได้ศึกษา เช่นสมัยสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ (Elizabethan Age) เป็นยุคทองของชาวอังกฤษ สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV Reign) เป็นยุคทองของชาวฝรั่งเศส สมัยคุปตะ (Guptan Period) เป็นยุคทองของชาวอินเดีย สมัยราชวงศ์ถัง (Tang dynasty) เป็นยุคทองของชาวจีน สมัยนารา(Nara Period) เป็นยุคทองของชาวญี่ปุ่น เป็นต้น
         สมัยสุโขทัยได้รับการยอมรับว่า เป็น ยุคทองของความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรมของชาติไทย และชาวโลก ด้วยความงดงามแห่งทัศนศิลป์ด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ของสุโขทัยนี้เองที่ทำให้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) คัดเลือกให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เป็นมรดกโลก (World Heritage) ในปีพุทธศักราช 2534 

ผลงานทัศนศิลป์ของไทยสมัยสุโขทัยมีลักษณะอย่างไร

งานจิตรกรรมสมัยสุโขทัยนั้นปรากฏว่ามีการทำภาพแกะลายเบา โดยแกะสลักบนหินเป็นลายเส้น ตัวอย่างเช่น ภาพแกะสลักลายเส้นบนเพดานผนังอุโมงค์วัดศรีชุม สลักเรื่องโคชานิยชาดก สำริดจากวัดเสด็จ ตลอดจนจิตรกรรมฝาผนังพบที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว ภายในคูหาชั้นในของมณฑปที่มีเรือนยอดเป็นปรางค์ผสมเจดีย์ทรงระฆังมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แต่ปัจจุบันลบเลือน ...

งานทัศนศิลป์สมัยอยุธยามีลักษณะอย่างไร

งานทัศนศิลป์สมัยอยุธยาประกอบด้วย งานจิตรกรรม , ประติมากรรม , และสถาปัตยกรรม เช่นเดียวกันกับสมัยสุโขทัย ซึงได้ แสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมดังนี งานจิตรกรรม งานวาดภาพระบายสีในสมัยอยุธยา เป็นงานศิลปะทีนิยมวาดในสมุดข่อย เพือ บันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ หรือประกอบเรืองราวทางวรรณกรรม หรือวรรณคดี และภาพจิตรกรรมฝาผนัง ...

งานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากสิ่งใดมากที่สุด

ศิลปะสุโขทัย เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18–19 ในบริเวณลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แถบจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ พิษณุโลก และบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ทางตอนใต้ของจังหวัดกำแพงเพชร ถือกำเนิดขึ้นมาจากแรงบันดาลใจทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนาแบบเถรวาทซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากลังกา ดังปรากฏในโบราณสถานหลายแห่งที่มีแนวความ ...

ข้อใดคือลักษณะเด่นของศิลปกรรมในสมัยสุโขทัย

ศิลปกรรมของอาณาจักรสุโขทัยมีความงดงามและเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยมีพื้นฐานมาจากความเชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งประกอบด้วยสถาปัตยกรรม ประติมากรรมและ ศิลปกรรมต่างๆ โดยเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นสถาปัตยกรรมไทยสมัยสุโขทัย สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบต่างๆ เข้ามาผสมผสานกับศิลปะ ของสุโขทัย ...