ลักษณะคําประพันธ์ของศิลาจารึกหลักที่ 1

ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง

ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง มรดกแห่งความทรงจำของโลก

.

เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นมรดกแห่งความทรงจำของโลก (The Memory of the World Register) เนื่องในโอกาสนี้เราจะนำทุกท่านมาทำความรู้จักกับศิลาจารึกหลักที่ ๑ 

.

ศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๖ หรือตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๓  โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ เมื่อครั้งยังทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ได้เสด็จจาริกธุดงค์ไปทางหัวเมืองแถบเหนือของประเทศไทย เมื่อถึงเมืองเก่าสุโขทัย ทรงพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ที่บริเวณเนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย ทอดพระเนตรเห็นเป็น “โบราณวัตถุที่สำคัญ” จึงโปรดให้นำลงมาที่กรุงเทพมหานคร พร้อมกับศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาเขมร (สท.๓) หลักที่ ๔ และพระแท่น มนังคศิลาบาตร ปัจจุบันศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 

.

เนื้อความของศิลาจารึกหลักที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวชได้ทรงอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นพระองค์แรก ซึ่งถือว่าเป็นการอ่านจารึกภาษาไทยโบราณ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมามีนักปราชญ์ราชบัณฑิตอีกหลายท่านได้ทำการอ่านและแปลความ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง สามารถสรุปเนื้อหาได้ ๓ ตอนดังนี้ ตอนที่ ๑ กล่าวถึงเรื่องราวส่วนพระองค์ของพ่อขุนรามคำแหงตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชสมบัติ สันนิษฐานว่าตอนที่ ๑ นั้นจารึกขึ้นโดยพระราชดำรัสของพ่อขุนรามคำแหงเอง สังเกตได้จากการใช้ว่า “กู” ในการเล่าเรื่องราว ตอนที่ ๒ เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ และธรรมเนียมในเมืองสุโขทัย การสร้างพระแท่นมนังคศิลาเมื่อ มหาศักราช ๑๒๑๔ (พ.ศ.๑๘๓๕) การสร้างพระธาตุเมืองศรีสัชนาลัย เมื่อ มหาศักราช ๑๒๐๗ (พ.ศ.๑๘๒๘) และการประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นเมื่อ มหาศักราช ๑๒๐๕ (พ.ศ.๑๘๒๖) ตอนที่ ๓ สันนิษฐานว่าจารึกขึ้นภายหลังหลายปี เพราะตัวหนังสือไม่เหมือนกับตอนที่ ๑ และที่ ๒ คือตัวพยัญชนะลีบกว่าทั้งสระที่ใช้ก็ต่างกันบ้าง เนื้อหาของตอนที่ ๓ นี้ เป็นคำสรรเสริญ และยอพระเกียรติคุณของพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตเมืองสุโขทัย 

.

(จำนวนผู้เข้าชม 5324 ครั้ง)

ศิลาจารึก เป็นวรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปในสมัยสุโขทัยเพื่อเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของศิลาจารึก ที่เป็นการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ บนแผ่นดิน ถ้าอยากรู้แล้วว่าแผ่นหินที่ว่านี่มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ประวัติความเป็นมา

ลักษณะคําประพันธ์ของศิลาจารึกหลักที่ 1

ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกโดยพ่อขุนรามคำแหง ใช้อักษรไทย สุโขทัย หรือ ลายสือไทย ประดิษฐ์ขึ้นในปี 1826 จุดประสงค์คือเพื่อบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย ทั้งลักษณะการปกครอง ความเป็นอยู่ของประชาชน ความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง

ลักษณะคําประพันธ์ของศิลาจารึกหลักที่ 1

การค้นพบศิลาจารึก หลักที่ 1

ในปี พ.ศ. 2376 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงค้นพบศิลาจารึกหลักที่ 1 และพระแท่นมนังคศิลาบาตรที่ปราสาทเก่าเมืองสุโขทัย โดยให้ผู้ที่มีความรู้ด้านภาษาโบราณแปล คือ ศ.ยอร์ช เซเดส์ และ ศ.ฉ่ำ ทองคำวรรณ

ลักษณะคําประพันธ์ของศิลาจารึกหลักที่ 1

เกร็ดน่ารู้

ในตอนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวค้นพบศิลาจารึก พระองค์ยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงงผนวชอยู่ 27 พรรษาก่อนลาผนวชเพื่อมาขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลต่อไป

ลักษณะคำประพันธ์

ลักษณะคำประพันธ์ในศิลาจารึกแต่งเป็นร้อยแก้วบรรยายโวหาร

ลักษณะของศิลาจารึก

เป็นหลักสี่เหลี่ยมทรงกระโจม เนื้อศิลาเป็นหินทรายแป้ง มีข้อความจารึก 4 ด้าน โดยด้านที่ 1 และ 2 มีจารึกด้านละ 35 บรรทัด ส่วนด้านที่ 3 และ 4 มีจารึกด้านละ 27 บรรทัด แท่นศิลาจารึกมีความสูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร

ลักษณะคําประพันธ์ของศิลาจารึกหลักที่ 1

เรื่องย่อศิลาจารึก หลักที่ 1

ลักษณะคําประพันธ์ของศิลาจารึกหลักที่ 1

เนื้อหาของศิลาจารึกหลักที่ 1 แบ่งออกเป็น 3 ตอน

ตอนที่ 1 พ่อขุนรามคำแหงเล่าถึงประวัติของตัวพระองค์เองว่าเป็นใคร ย้อนไปถึงเรื่องเราในยุคของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ที่ทำศึกสู้รบกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด เมื่อพระราชบิดาเสร็จสวรรคต พ่อขุนบานเมืองซึ่งเป็นพระเชษฐาของพ่อชุนรามคำแหงขึ้นครองราชย์ต่อพระราชบิดา จนกระทั่งพ่อขุนบานเมืองเสด็จสวรรคต พ่อขุนรามคำแหงจึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชอาณาจักรสุโขทัย

ตอนที่ 2 ในตอนนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์บ้านเมืองและความเจริญรุ่งเรืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเนื้อหาในตอนนี้จะแตกต่างกับตอนแรกตรงที่ในศิลจารึกเลิกแทนตัวสรรพนามบุรุษที่ 1 ว่า “กู” ซึ่งหมายถึงตัวพ่อขุนรามคำแหงเอง แต่เป็นการบันทึกโดยใช้ชื่อของพ่อขุนรามคำแหง จึงมีสันนิษฐานว่าเนื้อในส่วนนี้มีผู้อื่นบันทึกต่อหลังสิ้นรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหงหรือจารึกแทน

ตอนที่ 3 ตอนนี้จะกล่าวถึงพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณของพ่อขุนรามคำแหงในด้านต่าง ๆ ทั้งความฉลาด ความกล้าหาญ และความสามารถด้านการปกครอง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเรื่องที่สำคัญมาก ๆ อย่างการประดิษฐอักษรไทยตามแบบที่พระองค์ทรงใช้ในศิลาจารึกนี่อีกด้วย

ลักษณะคําประพันธ์ของศิลาจารึกหลักที่ 1

ศิลาจารึก เป็นการแสดงวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของจารึก ซึ่งศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนี้ก็ทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความเป็นอยู่และเรื่องราวสำคัญ ๆ ทางประวัติศาสตร์อีกมาก อย่างการเมือง การปกครอง หรือการประดิษฐ์อักษรไทยของพ่อขุนราม ในบทต่อไปน้อง ๆ จะได้ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาและคุณที่อยู่ในศิลาจารึกเพิ่ม แต่ก่อนอื่น น้อง ๆ อย่าลืมทำแบบฝึกหัดและทบทวนความรู้ในบทนี้โดยการดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มนะคะ ไปรับชมและรับฟังพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

หลักศิลาจารึกหลักที่ 1 มีลักษณะอย่างไร

ลักษณะของศิลาจารึก เป็นแท่นหินชนวนสีขาว รูปทรงสี่เหลี่ยม ออกกลมมนมีความสูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร ความหนา 35 เซนติเมตร มีจารึกทั้ง 4 ด้าน ด้านที่ 1 มีอักษรจารึก 35 บรรทัด ด้านที่ 2 มีอักษรจารึก 35 บรรทัด ด้านที่ 3 มีอักษรจารึก 27 บรรทัด และด้านที่ 4 มีอักษรจารึก 27 บรรทัด ทุกหน้ามีรอยชำรุด ขีดข่วนและร่องรอยถูกกระเทาะ

ศิลาจารึกหลักที่ 1 แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด

แต่งเป็นความเรียงร้อยแก้วแต่บางตอนมีสัมผัส เรื่องย่อ หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทำจากหินทรายแป้ง ลักษณะเป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่าทรงกระโจม หรือทรงยอ กว้างด้านละ ๓๕ เซนติเมตร สูง ๑๑๑ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑ เมตร ๑๐ เซนติเมตร มีคำจารึก ๔ ด้าน กล่าวคือ

หลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 1 มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร

ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง บางทีเรียกว่า จารึกหลักที่ 1 เป็นจารึกที่สำคัญและยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทยที่บั นทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้เพราะการใช้ภาษาในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนั้นเข้าลั กษณะสากลที่ว่า ภาษาของคนโบราณมักใช้ถ้อยคำพื้นๆ ประโยคที่ใช้กินความเป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน บางตอนมีเสียงของคำ ...

ข้อใดคือคุณค่าศิลาจารึกหลักที่ 1

ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นวรรณคดีที่สำคัญเรื่องหนึ่งในสมัยสุโขทัย ที่มีคุณค่าทางด้านภาษาประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง และสังคม เพราะตัวอักษร อักขรวิธี คำศัพท์ที่ใช้ และการเรียงร้อยความนั้นมีความวิจิตรบรรจง ความละเมียดละไม ความไพเราะ ซึ่งแสดงอัจฉริยภาพด้านภาษาของพ่อขุนรามคำแหงได้เป็นอย่างดี ทำให้เห็นความสำคัญและเกิดความ ...