ตลาด กลาง ในย่านชุมชน ใน สมัย สุโขทัย สํา ห รับ ติดต่อ ซื้อขาย ใน ชีวิต ประ จํา วัน

การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1763 - พ.ศ. 1893)

ตลาด กลาง ในย่านชุมชน ใน สมัย สุโขทัย สํา ห รับ ติดต่อ ซื้อขาย ใน ชีวิต ประ จํา วัน

ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ราชอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะพระองค์เป็นทั้งนักรบและนักปราชญ์ ทรงปกครองประเทศชาติได้เป็นปึกแผ่นและมีการขยายการค้าไปทั่วราชอาณาจักรและไปถึงต่างประเทศ จากความเจริญรุ่งเรืองและมีการประกอบการค้าทั้งในและนอกราชอาณาจักรในยุตสมัยราชอาณาจักรสุโขทัยดังที่กล่าวมาข้างต้นปรากฏในศิลาจารึกซึ่งแสดงหลักฐานว่า มีการจัดเก็บภาษีอากรมาตั้งแต่ก่อนยุคพ่อขุนรามคำแหง คือข้อความตอนหนึ่งที่ว่า

เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง   เมืองสุโขทัยนี้ดี

ในน้ำมีปลาในนามีข้าว   เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ลู่ทาง

เพื่อนจองวัวไปค้า   ขี่ม้าไปขาย

ใครจักค้าช้างค้า   ใครจักค้าม้าค้า

ตลาด กลาง ในย่านชุมชน ใน สมัย สุโขทัย สํา ห รับ ติดต่อ ซื้อขาย ใน ชีวิต ประ จํา วัน

จากข้อความที่ว่าแต่เดิมมีการจัดเก็บจังกอบ จำกอบ หรือจกอบนี้ เป็นค่าเดียวกัน เป็นภาษีชนิดหนึ่งที่เก็บจากผู้นำสัตว์และสิ่งของสินค้าไปเพื่อขายในที่ต่างๆ หรือหมายถึงภาษีที่เก็บจากสัตว์และสิ่งของที่นำเข้ามาจำหน่าย โดยวิธีเก็บจังกอบในสมัยนั้นจะเก็บในอัตรา 10 ชัก 1 และการเก็บนั้นมิได้เก็บเป็นตัวเงินเสมอไป คือเก็บเป็นสิ่งของแทนตัวเงินก็ได้แล้วแต่จะเก็บอย่างใดได้สะดวก เพราะในสมัยนั้นวัตถุที่ใช้แทนเงินตรายังไม่สมบูรณ์ ในยุคสมัยนั้น ในการจัดเก็บจังกอบ รัฐบาลจะตั้งเป็นสถานที่คอยดักเก็บในสถานที่ที่สะดวก เช่นถ้าเป็นทางบก ก็จะไปตั้งที่ปากทางหรือทางที่จะเข้าเมือง ถ้าเป็นทางน้ำ ก็จะตั้งใกล้ท่าแม่น้ำหรือเป็นทางร่วมสายน้ำ โดยสถานที่เก็บจังกอบ เรียกว่า ขนอน ทั้งนี้ขนอนจะเป็นที่คอยเก็บจังกอบสินค้าทั่วไป ไม่เฉพาะเพียงการนำเข้าและขนออกนอกราชอาณาจักรเท่านั้น เพราะมีทั้งขนอนบก ขนอนน้ำ ขนอนชั้นนอก ขนอนชั้นใน และ ขนอนตลาด เป็นต้น การจัดเก็บจังกอบเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนยุคสุโขทัย และได้ยกเว้นไม่เก็บจังกอบจากราษฎรเลยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในภายหลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงไม่มีหลักฐานว่า ในยุคสุโขทัยได้มีการจัดเก็บจังกอบจากราษฎรอีกหรือไม่

ที่มา :: หนังสือที่ระลึกในการเปิดอาคารกรมสรรพากร 2 กันยายน 2540

แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

คำชี้แจง   ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว  

        1.        อาณาจักรสุโขทัยถือกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร

                ก.        กลุ่มคนไทยอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานโดยเลือกทำเลที่มีความอุดมสมบูรณ์        

                ข.        ที่ตั้งเหมาะสมเป็นศูนย์กลางทางการค้าจึงมีการรวมตัวกันตั้งเป็นเมืองขึ้นมา

                ค.        อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่สถาปนาขึ้นมาเป็นรัฐไทย แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวาย

                ง.        กลุ่มคนไทยรวมตัวกันตั้งตนเป็นอิสระ เพื่อให้หลุดพ้นจากการยึดครองของอาณาจักรขอม

        2.        “ตลาดกลางในย่านชุมชน สำหรับติดต่อซื้อขายในชีวิตประจำวัน” คือข้อใด

                ก.        ปสาน                

                ข.        สรีดภงส์

                ค.        ตระพัง                        

                ง.        ทุเรียง

        3.        การที่ “เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง” ก่อให้เกิดผลในข้อใด

                ก.        ไพร่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน                

                ข.        รัฐขาดรายได้จากการเก็บภาษี        

                ค.        ไพร่ไม่ต้องเสียค่าปรับถ้าทำผิด

                ง.        สินค้าบางอย่างรัฐไม่อนุญาตให้ขาย

        4.        ผู้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ เรื่อง “ไตรภูมิพระร่วง” คือใคร

                ก.        พ่อขุนศรีอินทราทิตย์                

                ข.        พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

                ค.        พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)                

                ง.        พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)

        5.        ศัตรูที่อยู่ทางเหนือและใต้ของสุโขทัย คือข้อใด

                ก.        ล้านนา - อยุธยา                

                ข.        เขมร - อยุธยา

                ค.        ล้านนา - นครศรีธรรมราช                

                ง.        อยุธยา – นครศรีธรรมราช

        6.        พระมหากษัตริย์ของสุโขทัยพระองค์ใดที่ทรงนำพระพุทธศาสนามาเป็นเครื่องมือในการสร้าง
                สัมพันธไมตรีกับอาณาจักรต่าง ๆ

                ก.        พ่อขุนศรีอินทราทิตย์                

                ข.        พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

                ค.        พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)                

                ง.        พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)

7.        การสร้าง “สรีดภงส์” ในสมัยสุโขทัย มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

                ก.        เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากธรรมชาติ                

                ข.        เพื่อให้อาณาจักรเกิดความมั่นคง

                ค.        เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่คนรุ่นหลัง                

                ง.        เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข

        8.        ภูมิปัญญาของชาวสุโขทัยที่เกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือใช้ คือภูมิปัญญาใด

                ก.        การสร้างตระพัง                

                ข.        การสร้างเครื่องสังคโลก

                ค.        การสร้างพระพุทธรูป                

                ง.        การสร้างอาวุธที่ทำด้วยสำริด

        9.        แหล่งผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญในสมัยสุโขทัย คือที่ใด

                ก.        เมืองอู่ทอง                

                ข.        เมืองสองแคว

                ค.        เมืองกำแพงเพชร        

                ง.        เมืองศรีสัชนาลัย

        10.        มรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญที่คนปัจจุบันได้รับจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือสิ่งใด

                ก.        ลายสือไทย                

                ข.        เมืองฉอด

                ค.        พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย                

                ง.        การปกครองแบบปิตุลาธิปไตย

        1.        ง        2.        ก        3.        ข         4.        ค        5.        ค

        6.        ค        7.        ก        8.        ข         9.        ง        10.        ก