สาเหตุ ความขัดแย้งระหว่าง พ่อ แม่ กับลูก

สาเหตุ ความขัดแย้งระหว่าง พ่อ แม่ กับลูก
Figure 1 https://goo.gl/49hUQS

เป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่จะทะเลาะกัน แต่การทะเลาะกันนั้นสามารถส่งผลต่อเด็กอย่างมาก สิ่งที่ผู้ปกครองสามารถหยุดยั้งปัญหาที่มาจากบทบาทของพวกเขาได้มีอะไรบ้าง

สิ่งที่เกิดขึ้นที่บ้านสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการพัฒนาระยะยาวของเด็กได้ ไม่ใช่แค่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่-ลูกที่สำคัญ แต่การที่ผู้ปกครองปฏิบัติต่อกันและกันก็เป็นบทบาทหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก และสามารถส่งผลต่อทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่สุขภาพจิตไปจนถึงความสัมพันธ์ในอนาคต ในกรณีการทะเลาะกันส่วนใหญ่จะมีไม่มีผลทางลบต่อเด็กหรืออาจมีน้อย แต่เวลาที่ผู้ปกครองตะโกนหรือโกรธกัน หรือเวลาที่ผู้ปกครองไม่พูดคุยกัน หรือใช้วิธี “สงครามเย็น” ปัญหาก็จะยิ่งหนักขึ้น การวิจัยนานาชาติและประเทศอังกฤษที่ใช้เวลาหลายทศวรรษในการสังเกตที่บ้าน ติดตามผลระยะยาว และศึกษาผลการทดลอง ให้ความเห็นว่าเด็กอายุ 6 เดือนที่ได้รับรู้ความขัดแย้งจะมีอัตราการเต้นของหัวใจและการหลั่งฮอร์โมนความเครียดที่เพิ่มสูงขึ้น เด็กทารก เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยรุ่นสามารถแสดงสัญญาณของการพัฒนาสมองเบื้องต้นที่ถูกทำลาย ภาวะความผิดปกติของการนอนหลับ ความวิตกกังวล ความสะเทือนใจ นำมาซึ่งความผิดปกติและปัญหารุนแรงอื่นๆ ที่เป็นผลมาจากการอาศัยอยู่กับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ปกครองเป็นระยะเวลานานและรุนแรง ด้านการเรียนก็ได้รับผลกระทบจากการรับรู้ความขัดแย้งที่ไม่สิ้นสุดของผู้ปกครอง ผลกระทบเดียวกันนี้ยังสามารถพบได้ในเด็กที่ต้องรับรู้การขัดแย้งที่ต่อเนื่องแต่มีความรุนแรงน้อยกว่า เทียบกับเด็กที่มีผู้ปกครองที่ใช้การเจรจาและแก้ปัญหาแบบสร้างสรรค์

สาเหตุ ความขัดแย้งระหว่าง พ่อ แม่ กับลูก
Figure 2 https://www.noyshop.com/web-board/board.php?newsId=1580

พันธุกรรม หรือการเลี้ยงดู

ผลกระทบที่มีต่อเด็กอาจไม่ได้เป็นดั่งที่คิดเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น การหย่าร้าง และการที่ผู้ปกครองตัดสินใจแยกกันอยู่ เป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบที่รุนแรงและยาวนานต่อเด็กหลายต่อหลายคน แต่ในบางกรณีก็สามารถกล่าวได้ว่าการทะเลาะเบาะแว้งของผู้ปกครองในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการแยกกันอยู่เป็นส่วนที่ส่งผลร้ายให้กับลูกมากกว่าการหย่าร้าง  ในทางเดียวกัน มีการสันนิษฐานบ่อยครั้งว่าพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดว่าเด็กจะตอบสนองต่อความขัดแย้งนั้นอย่างไร และความเป็นจริงที่ว่า “พันธุกรรม” เป็นส่วนสำคัญของสุขภาพจิตของเด็ก และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาตั้งแต่ความวิตกกังวลจวบจนถึงความเศร้าและความวิกลจริต แต่สภาพแวดล้อมที่บ้านและ “การเลี้ยงดู” ที่เด็กๆ ได้รับเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก มีคนจำนวนเพิ่มขึ้นที่คิดว่าพันธุกรรมที่ซ่อนอยู่เป็นภัยต่อสุขภาพจิตที่ไม่ดีที่สามารถทำให้แย่ลงหรือดีขึ้นได้ คุณภาพของความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ด้วยกันหรือไม่ หรือเด็กจะมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมกับผู้ปกครองหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น การมีลูกจากการรับบริจาคไข่และอสุจิ หรือการรับอุปถัมภ์เด็ก

 การทะเลาะเรื่องที่เกี่ยวกับลูก

ทั้งหมดนี้มีความหมายอย่างไรต่อผู้ปกครอง อันดับแรก สิ่งที่สำคัญคือการตระหนักว่าการทะเลาะและการไม่เห็นด้วยเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ปกครอง แต่อย่างไรก็ตาม เวลาที่ผู้ปกครองต้องเผชิญกับความขัดแย้งที่บ่อยครั้ง รุนแรง และไม่รับการแก้ไข เด็กก็จะแย่ลง ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเรื่องที่ทะเลาะเกี่ยวกับลูก เช่น ทางที่เด็กจะโทษตัวเอง หรือรู้สึกผิดที่ทำให้เกิดการทะเลาะ ผลกระทบทางลบเหล่านี้รวมไปถึง ภาวะความผิดปกติของการนอนหลับ การพัฒนาของสมองเบื้องต้นถูกทำลายในเด็กวัยแรกเกิด ปัญหาด้านความประพฤติของเด็กปฐมวัย ความสะเทือนใจ ปัญหาด้านการเรียน และปัญหารุนแรงอื่นๆ เช่น การทำร้ายตัวเองในเด็กโตหรือวัยรุ่น หลายทศวรรษที่ผ่านมา เราได้รับรู้ว่าความรุนแรงในครอบครัวสามารถทำร้ายเด็กได้ แต่ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องแสดงอารมณ์ที่แปรปรวนหรือพฤติกรรมก้าวร้าวต่ออีกฝ่ายหนึ่งเพื่อที่จะทำร้ายให้เลิกรากัน หากผู้ปกครองไม่พูดคุยกัน หรือแสดงความรู้สึกที่ดีต่อกันน้อยลง การพัฒนาทางด้านอารมณ์ ด้านพฤติกรรมและด้านสังคมของเด็กก็จะได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ปัญหาไม่จบแต่เพียงเท่านั้น ไม่ใช่เพียงแต่เด็กเท่านั้นที่ชีวิตความเป็นอยู่ได้รับผลกระทบ แต่ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นอีกว่าความสัมพันธ์แย่สามารถส่งผ่านไปยังรุ่นถัดไปได้ มันเป็นวัฏจักรที่ควรจะทำลายทิ้งถ้าหากต้องการชีวิตที่มีความสุขเพื่อเด็กในวันนี้ และเพื่อการสร้างครอบครัวในรุ่นต่อไป

สาเหตุ ความขัดแย้งระหว่าง พ่อ แม่ กับลูก
Figure 3 https://is.gd/0Lgy9a

 การทะเลาะกันแบบ ‘ส่วนตัว

มีอีกหลายปัจจัยที่สามารถลดสาเหตุของความเสียหายได้ งานวิจัยพบว่า เด็กอายุประมาณ 2 ขวบ หรืออาจจะเริ่มจากอายุน้อยกว่านั้น เป็นนักสังเกตที่มีไหวพริบในการสังเกตพฤติกรรมของพ่อแม่ เด็กๆ มักจะสังเกตเห็นการทะเลาะเบาะแว้ง แม้แต่ตอนที่ผู้ปกครองคิดว่าลูกๆ ของพวกเขาไม่เห็น หรือเชื่อว่าพวกเขาปกป้องลูกๆ ด้วยการทะเลาะกันแบบส่วนตัว สิ่งที่สำคัญคือ เด็กๆ จะตีความหรือเข้าใจสาเหตุและผลของการทะเลาะนั้นอย่างไร อ้างอิงจากประสบการณ์ในอดีตของเด็กๆ พวกเขาจะคิดว่าการทะเลาะกันมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น หรือเกี่ยวกับตัวพวกเขา หรือสามารถสั่นคลอนครอบครัวได้ พวกเขาอาจจะกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ว่าความสัมพันธ์ของพวกเขากับพ่อแม่จะแย่ขึ้น การวิจัยแนะว่าเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงจะตอบสนองต่างกัน เด็กผู้หญิงจะมีความเสี่ยงในด้านปัญหาทางอารมณ์มากกว่า ในขณะที่เด็กผู้ชายจะมีความเสี่ยงทางด้านปัญหาทางพฤติกรรมมากกว่า บ่อยครั้งที่นโยบายต่างๆ ที่มีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาสุขภาพจิตของเด็กๆ พุ่งเป้าไปที่การสนับสนุนที่ตัวเด็ก หรือที่ตัวผู้ปกครองโดยตรง แต่การสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองอาจจะสร้างความแตกต่างให้กับเด็กในระยะสั้น รวมถึงเตรียมความพร้อมพวกเขาให้สร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งร่วมกับคนอื่นต่อไปในอนาคตได้ดีกว่า เมื่อเด็กๆ มีความสัมพันธ์ที่คอยสนับสนุนช่วยเหลือกับญาติ ลูกพี่ลูกน้อง หรือผู้ใหญ่คนอื่นๆ (เช่น คุณครู) และเพื่อนๆ สิ่งนี้เป็นส่วนสำคัญสำหรับการพัฒนาสุขภาพที่ดีในระยะยาว สิ่งที่เกิดขึ้นที่บ้านมีอิทธิพลอย่างมากต่อความสัมพันธ์ของพวกเขาทั้งในแง่ดีและไม่ดี เป็นเรื่องธรรมชาติที่ผู้ปกครองจะรู้สึกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะมีต่อลูกจากการทะเลาะของพวกเขา และมันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ปกครองจะทะเลาะหรือไม่เห็นด้วยในบางครั้ง ในความเป็นจริงเด็กๆ จะตอบสนองได้ดีเมื่อผู้ปกครองอธิบายว่าทะเลาะเกี่ยวกับเรื่องอะไรหรือแก้ปัญหาได้ด้วยทางที่เหมาะสม ในความเป็นจริง ถ้าผู้ปกครองแก้ไขเรื่องที่ทะเลาะได้ เด็กๆ จะสามารถเรียนรู้บทเรียนที่ยิ่งใหญ่ในแง่ดีได้ซึ่งช่วยพวกเขาค้นพบอารมณ์ของพวกเขาและความสัมพันธ์ในวัฏจักรครอบครัว ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจว่าความสัมพันธ์ของพวกเขาส่งผลต่อระดับการพัฒนาของเด็กอย่างไรเพื่อเด็กที่สุขภาพดีในวันนี้ และเพื่อครอบครัวที่สมบูรณ์ในวันข้างหน้า

ความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่กับลูกเกิดสาเหตุใดบ้าง

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างบิดา มารดา หรือผู้ปกครองกับบุตรหลาน ส่วนใหญ่จะพบในครอบครัวที่มีบุตร หลานอยู่ในช่วงวัยรุ่น ซึ่งสาเหตุของความขัดแย้ง มีดังนี้ - นิสัยจู้จี้จุกจิก ขี้บ่นของพ่อแม่ - การเรียนเกิดความคาดหวังจากการเรียนของลูก - การคบเพื่อน พ่อแม่บางคนเข้มงวดในการคบเพื่อนของลูก - ช่องว่างระหว่างวัย พ่อแม่และลูกต้องปรับ ...

ความขัดแย้งระหว่างพี่กับน้องในครอบครัวมาจากสาเหตุใด

จนไม่ชอบน้อง การสอนให้เด็กแข่งขัน แก่งแย่งชิงดีระหว่างพี่น้องมากเกินไป ครอบครัวไม่สงบสุข มีความเครียดบ่อย ๆ พ่อแม่ไม่มีเวลาเอาใจใส่ลูก ทำให้เด็กไม่มีความสุข กังวล

สาเหตุของความขัดแย้งในครอบครัวมีอะไรบ้าง

สาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาครอบครัว.
ภาวะเจ็บป่วย ... .
ปัญหาด้านการเงิน ... .
นิสัยและความเคยชินส่วนตัว ... .
ความบกพร่องในการรับผิดชอบหน้าที่ ... .
การนอกใจ ... .
การใช้ความรุนแรง.

พ่อแม่ขัดแย้งกับลูกเรื่องใดบ้าง

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมักจะเป็นเรื่องเดิม ๆ ที่มีการโต้เถียงกันซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น เรื่องผลการเรียน ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องนอน การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ การนอนตื่นสาย การพูดโทรศัพท์นานเกินไป และการออกไปเที่ยวเตร่นอกบ้านกับเพื่อน เป็นต้น ทั้งนี้ พ่อแม่ต้องยอมรับว่าจะต้องมีความขัดแย้งในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ครั้งแล้ว ...