พรบ.รถยนต์ กรณีเสียชีวิต ไม่มีคู่กรณี

มอไซค์ล้ม  ไม่มีคู่กรณี เบิก พ.ร.บ.  ได้ไหม?

        เมื่ออุบัติเหตุเกิดได้ทุกเมื่อ แม้ว่าเราจะระวังแค่ไหนก็ตาม ก็อาจมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับเราได้ เช่น ขี่มอเตอร์ไซค์ชนฟุตบาท หรือรถมอเตอร์ไซค์เสียหลักลื่นล้มจนได้รับบาดเจ็บ แล้วถ้าหากรถล้มแบบไม่มีคู่ กรณี จะเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม? ANC มีคำตอบ!

        ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น รถล้มเอง หรือ รถเสียหลักชนกับสิ่งกีดขวาง จนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หากรถมอเตอร์ไซค์คันที่เกิดเหตุมี พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ที่ถูกต้องตามกฎหมายและยังไม่หมดอายุ ผู้ประสบจากรถมอเตอร์ไซค์คันนั้น รวมทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก จะได้รับความคุ้มครองเฉพาะ “ค่าเสียหายเบื้องต้น” เท่านั้น

ค่าเสียหายเบื้องต้น

1. กรณีบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) ได้สูงสุดคนละไม่เกิน 30,000 บาท

2. กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ สามารถเบิกค่าชดเชยได้คนละ 35,000 บาท (หากผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายทั้ง 2 กรณี สามารถเบิกรวมกันไม่เกินคนละ 65,000 บาท)

ความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ (อุบัติเหตุไม่มีคู่กรณี)

ค่ารักษาพยาบาล กรณีบาดเจ็บ

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ ที่สามารถพิสูจน์ตัวตนผู้ประสบภัย 2. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ฉบับจริง)

ค่าทดแทนสินไหม กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบภัย 2. ใบรับรองแพทย์ 3. หนังสือรับรองคนพิการ 4.สำเนาบันทึกประจำวันหรือหลักฐาน ที่แสดงว่าประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์

 ค่าทดแทนสินไหม กรณีเสียชีวิต

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบภัย 2. ใบมรณบัตรของผู้ประสบภัย 3.สำเนาบัตรปชช และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทโดยธรรม 4. สำเนาบันทึกประจำวันหรือหลักฐาน ที่แสดงว่าประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์

        จะเห็นได้ว่าการมี พ.ร.บ. นั่น เป็นประโยชน์มาก นอกจากบรรเทาค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วนั้น

ต่อให้เมื่อเกิดเหตุจะมีคู่กรณี หรือ ไม่มีคู่กรณีก็ตาม พ.ร.บ. ก็ยังคงคุ้มครอง แต่ พ.ร.บ ต้องห้ามอายุเด็ดขาด เพราะจะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ จาก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์เลยค่ะ

Show

มีจุดเด่นที่ไม่จำเป็นต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อนการทำประกัน อีกทั้งยังไม่มีการจำกัดอายุของรถยนต์ มาพร้อมความคุ้มครองการบาดเจ็บของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลที่สาม ที่ประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์ที่เอาประกัน

พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองทั้งค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ ไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน ซึ่งเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นที่ไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด

มาพร้อมความคุ้มครองที่ครบครัน ทั้งความคุ้มครองส่วนบุคคลและค่ารักษาพยาบาลทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร ความรับผิดชอบต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียหายของรถยนต์จากอุบัติเหตุทั่วไป รถสูญหาย ไฟไหม้ และน้ำท่วม

การทำประกันรถยนต์ชั้น 1 นั้นจะคุ้มครองแบบเต็มจำนวนเงินตามที่เอาประกัน ทั้งความเสียหายของรถยนต์ การบาดเจ็บตามร่างกาย ทั้งกรณีเล็กน้อย สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต มาพร้อมวงเงินในการประกันตัวผู้ขับขี่ในกรณีที่เป็นฝ่ายกระทำความผิด ไม่ว่าผู้ขับขี่คนนั้นจะเป็นเจ้าของรถยนต์หรือไม่ก็ตาม

คุ้มครองแบบ 100% เต็ม ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ ยาง และสารเหลวภายในเครื่องยนต์ กรณีที่ตัวรถยนต์เกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุและทำให้แบตเตอรี่ ยาง เครื่องยนต์ หรือหม้อน้ำได้รับความเสียหายตามมา

เรื่องซ่อมมั่นใจได้ด้วย อู่ซ่อมรถที่ได้รับมาตรฐาน A+ มากกว่า 100 แห่ง พร้อมอู่มาตรฐานและอู่ห้างที่อยู่ในสัญญาอีกมากกว่า 700 แห่งทั่วประเทศ

สบายใจกว่าด้วยบริการช่วยเหลือฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการบริการยกรถหรือลากรถ (กรณีรถเสียฉุกเฉินหรือน้ำท่วม) บริการจัดส่งน้ำมัน (กรณีน้ำมันหมดฉุกเฉิน) บริการกุญแจสำรองฉุกเฉิน (กรณีรถล็อคโดยไม่ได้ตั้งใจ) พร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำทางด้านเทคนิคในกรณีฉุกเฉิน

หากสนใจทำdummyประกันรถยนต์ชั้น 1 และ dummyพ.ร.บ.รถยนต์ กับ อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย สามารถเช็คเบี้ยประกันพร้อมซื้อประกันผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย

หมายเหตุ: เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด

ดังนั้นถือเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนแล้วว่า ถึงแม้รถเราจะมี พ.ร.บ.รถยนต์ อยู่แล้วก็ตาม การตัดสินใจที่จะทำ ประกันรถยนต์ เพิ่มเติมนั้นเป็นสิ่งที่ดีและเป็นสิ่งที่แนะนำเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะช่วยซื้อความสบายใจได้แล้วนั้น ยังช่วยเซฟเงินในอนาคตของเราได้อีกด้วย เพราะไม่มีใครรู้ได้ว่าอุบัติเหตุนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อไร และความรุนแรงของอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะนำมาซึ่งภาระทางการเงินของเรามากน้อยเพียงใด เพราะฉะนั้นแล้วการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจึงควรทำควบคู่ไปกับ พ.ร.บ.รถยนต์ และไม่ว่าจะทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ชั้น 2 หรือชั้น 3 ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งสำคัญทั้งสิ้น