จ่ายประกันสังคมออนไลน์ได้ไหม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้

Show

ผู้ประกันตนของสำนักงานประกันสังคมต้องชำระเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 สามารถนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทั้งทางสำนักงานและทางออนไลน์

ผู้ประกันตนของสำนักงานประกันสังคมต้องชำระเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยผู้ประกันตนในมาตรา 33 ประกันสังคมจะทำการหักผ่านเงินเดือนของบริษัท ขณะที่มาตรา 39 และ 40 ผู้ประกันสามารถนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมได้ โดยวิธีการดังนี้


ช่องทางการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม มีทางไหนบ้าง


ช่องทางการชำระเงินผู้ประกันตนมาตรา 33

การชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 33 บริษัทจะเป็นผู้หักจากเงินเดือนของลูกจ้างและนำส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม โดยสามารถชำระเงินสมทบได้ดังนี้

1. ชำระเงินสมทบ ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ /จังหวัด/สาขา

2. ชำระเงินสมทบเป็นธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน หรือเช็คทางไปรษณีย์

3. ชำระเงินสมทบผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร 3 แห่ง คือ

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต

4. ชำระเงินสมทบผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-payment) 11 แห่ง คือ

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น

ธนาคาร มิซูโฮ จำกัด

ธนาคารซิตี้แบงก์ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต จำกัด (มหาชน)

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์

บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด

จ่ายประกันสังคมออนไลน์ได้ไหม

ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม

ช่องทางการชำระเงินผู้ประกันตนมาตรา 39

1. ชำระเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมทุกเขตใกล้บ้าน

2. ชำระเงินโดยหักเงินฝากผ่านบัญชีธนาคาร

3. ชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารและเคาน์เตอร์ให้บริการ

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารออมสิน จำกัด (มหาชน)

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.)

บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด

จ่ายประกันสังคมออนไลน์ได้ไหม

ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม

ช่องทางการชำระเงินผู้ประกันตนมาตรา 40

1. ชำระเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมทุกเขตใกล้บ้าน

2. หักเงินฝากผ่านบัญชีธนาคาร

3. ชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารออมสิน จำกัด (มหาชน)

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.)

4. ชำระผ่านเคาน์เตอร์ให้บริการ

บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด

ช้อปปี้ เพย์
ตู้บุญเติม

ห้างสรรพสินค้าโลตัส

บิ๊กซี ซุปเปอร์เซนเตอร์


ทั้งหมดนี้คือช่องทางการชำระเงินประกันสังคมทั้งที่สาขาและแบบออนไลน์ ซึ่งสำนักงานประกันสังคมพร้อมอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประตนทุกรายให้มากที่สุด

สมัยนี้ผู้ประกันตนไหน ๆ ก็หันมาใช้วิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์กันมากขึ้น แต่หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ หรือรู้แล้วแต่ยังไม่กล้าใช้วิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์เลยสักที เพราะยังเคยชินกับวิธีการจ่ายเงินประกันสังคมด้วยวิธีเดิม ๆ แต่ว่ายุคสมัยนี้เทคโนโลยีเขาก็พัฒนาอะไรต่าง ๆ ให้สะดวกและเข้ากับวิถีชีวิตของผู้คนกันมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่เรื่องวิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกันตนที่จะต้องมีหน้าที่ส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทุก ๆ เดือน

ซึ่งความคุ้มครองของกองทุนประกันสังคมได้แบ่งรูปแบบของผู้ประกันตนออกเป็น 3 แบบด้วยกัน คือ มาตรา 33 (พนักงานบริษัท), มาตรา 39 (เคยเป็นลูกจ้างหรือพนักงานบริษัท) และมาตรา 40 (อาชีพอิสระ)

โดยวิธีจ่ายเงินประกันสังคมเมื่อก่อน ผู้ประกันตนอาจจะต้องเดินไปจ่ายถึงที่สำนักงานประกันสังคม, เคาน์เตอร์ธนาคาร หรือไปจ่ายที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส แต่ตอนนี้เค้าพัฒนาให้มีวิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งช่องทางแล้วจ้า ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่รองรับการใช้ชีวิตของผู้คนสมัยนี้ได้เป็นอย่างดี และวิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์ก็ยังเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อีกทางด้วย

หากตอนนี้คุณเป็นคนหนึ่งที่เป็นผู้ประกันตน ไม่ว่าจะเป็นมาตราไหนที่กล่าวไว้ข้างต้น เรามาดูวิธีการจ่ายประกันสังคมออนไลน์ของแต่ละมาตรากันดีกว่าว่า เขามีขั้นตอนและวิธีการอย่างไรกันบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้ค่ะ

จ่ายประกันสังคมออนไลน์ได้ไหม

วิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์สำหรับผู้ประกันตน

ตามที่ได้เกริ่นไปเมื่อข้างต้นว่า ความคุ้มครองของกองทุนประกันสังคมแบ่งออกตามรูปแบบผู้ประกันตนได้ 3 แบบด้วยกัน คือ มาตรา 33 (พนักงานบริษัท), มาตรา 39 (เคยเป็นลูกจ้างหรือพนักงานบริษัท) และมาตรา 40 (อาชีพอิสระ) สำหรับผู้ประกันตนในมาตรา 39 และ มาตรา 40 มีหน้าที่ที่จะต้องไปส่งเงินสมทบเองในทุก ๆ เดือน ซึ่งอาจจะต่างจากผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่บริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการนำส่งเงินสมทบให้

ผู้ประกันตนมาตรา 39 

เป็นผู้ประกันตนที่สมัครใจที่จะส่งเงินสมทบต่อเองและใช้สิทธิกับประกันสังคม เมื่อออกจากการเป็นผู้ประกันมาตรา 33 แล้ว พบว่าผู้ประกันตนมาตรา 39 จะถูกตัดสิทธิบ่อย ๆ เพราะขาดส่งเงินสมทบติดต่อกัน 3 เดือน ด้วยเหตุนี้ทางประกันสังคม จึงพัฒนาเพิ่มช่องทางการชำระเงินสมทบเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกันตนมากขึ้น โดยเฉพาะวิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์ซึ่งเราจะได้พูดถึงรายละเอียดในลำดับถัดไป

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ก็คือ กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร และชราภาพ ซึ่งจะได้รับสิทธิต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และจะต้องนำส่งเงินสมทบต่อเนื่องทุกเดือน เป็นจำนวน 432 บาท ซึ่งวิธีจ่ายเงินสมทบหรือเงินประกันสังคมมีหลายวิธีด้วยกัน แต่ปัจจุบันยังไม่มีวิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์และจ่ายผ่าน Application แต่วิธีที่สะดวกและนิยมมากที่สุดในผู้ประกันตนมาตรา 39 คือการหักจากบัญชีเงินฝากธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ โดยการหักจากบัญชีเงินฝากนั้น ผู้ประกันตนจะต้องไปทำเรื่องที่สำนักงานประกันสังคมด้วยตัวเอง พร้อมทั้งเอาสมุดบัญชีธนาคารที่ต้องการให้ประกันสังคมหักบัญชีไปด้วยนะคะ

โดยทุกวันที่ 15 ของเดือน ธนาคารจะทำการหักบัญชีเงินฝากของผู้ประกันตนมาตรา 39 หากเดือนไหนที่วันที่ 15 ตรงกับวันหยุดธนาคารจะเลื่อนไปหักบัญชีในวันทำการถัดไป ในส่วนนี้จะมีค่าธรรมเนียมธนาคาร รายการละ 10 บาท สำหรับธนาคารที่ร่วมโครงการได้แก่

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
จ่ายประกันสังคมออนไลน์ได้ไหม

แม้ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะยังไม่มีวิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์ แต่ก็ยังสามารถจ่ายค่าประกันสังคมได้อีกหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น

  • จ่ายด้วยเงินสด ณ สำนักงานประกันสังคม ทุกจังหวัดทั่วไประเทศ
  • จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกสาขาของร้านเซเว่นอีเลฟเว่น โดยใช้แค่บัตรประจำตัวประชาชน
  • จ่ายผ่านระบบ Pay at Post ที่เคาน์เตอร์ที่ไปรษณีย์
  • จ่ายทางธนาณัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศแต่ต้องแนบแบบส่งเงิน (สปส.1-11) ส่งให้สำนักงานประกันสังคมด้วย
  • จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ Cen Pay (ห้างเซ็นทรัล)
  • จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ห้างบิ๊กซี ห้างเทสโก้โลตัส และ
  • จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และทหารไทยธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

. . . . . . . . . .

ผู้ประกันตนมาตรา 40 

คือ กลุ่มของประกันสังคมที่มีการขยายระบบให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ รวมถึงผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า พนักงานอิสระ เกษตรกร ให้ได้มีหลักประกันชีวิตตามสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับ

โดยวิธีการจ่ายค่าประกันสังคมมาตรา 40 มีหลากหลายตัวเลือกทั้งแบบออฟไลน์และวิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์ที่ให้คุณสามารถเลือกช่องทางที่สะดวกในการชำระเงินประกันสังคม ดังนี้

1. การจ่ายเคาน์เตอร์บริการ จุดรับชำระ เช่น Tesco Lotus, เคาน์เตอร์เซอร์วิส, Big C, ตู้บุญเติม เป็นต้น

2. การหักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร สามารถชำระงวดปัจจุบันด้วยการหักผ่านบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารที่สำนักงานประกันสังคมระบุไว้ คือ

  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (มหาชน)
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

. . . . . . . . . .

นอกจากนี้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ยังมีวิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์ ด้วยการจ่ายผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่รองรับ ได้แก่ Shopee และ AirPay โดยวิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์ผ่านทั้ง 2 แอปพลิเคชันนี้ มีขั้นตอนดังนี้ค่ะ

วิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชัน Shopee

จ่ายประกันสังคมออนไลน์ได้ไหม

1. โหลดแอปพลิเคชัน Shopee ใน App Store หรือ Play Store ตามด้วยลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งาน

จ่ายประกันสังคมออนไลน์ได้ไหม

2. เข้าไปที่แอปพลิเคชัน Shopee เลือกเมนู “Top-up Bill & Movies”

จ่ายประกันสังคมออนไลน์ได้ไหม

3. จากนั้นเลือกเมนู “บิลประกัน และประกันสังคม”

จ่ายประกันสังคมออนไลน์ได้ไหม

4. เลือกชำระ “ประกันสังคมมาตรา 40”

จ่ายประกันสังคมออนไลน์ได้ไหม

5. กรอกเลขประจำตัวประชาชน จากนั้นกด “ตรวจสอบบิล”

จ่ายประกันสังคมออนไลน์ได้ไหม

6. กดชำระบิล

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถชำระเงินสมทบและเงินสมทบเพิ่มเติม (ถ้ามี) งวดเดือนปัจจุบัน และชำระเงินสมทบงวดเดือนล่วงหน้าไม่เกิน 12 งวดเดือน รวมชำระเงินสมทบ ได้ไม่เกิน 13 งวดเดือน สามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ได้ด้วยตนเองบนเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมในวันถัดไปหลังจากชำระเงินค่ะ

วิธีจ่ายประกันสังคมผ่านแอปพลิเคชัน AirPay

1. เข้าไปที่แอปพลิเคชัน AirPay

2. เลือกเมนู “จ่ายบิล”

3. กดเลือก “บิลประกันและประกันสังคม”

4. เลือกชำระ “ประกันสังคมมาตรา 40”

5. กรอกเลขประจำตัวประชาชน จากนั้นกด “ตรวจสอบบิล”

6. ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง กดชำระบิล

วิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์สำหรับนายจ้าง

ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 คือ ผู้ที่มีนายจ้างหรืออยู่ในระบบบริษัท (พนักงานประจำ) กรณีการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมจะเป็นหน้าที่ของทางนายจ้าง ซึ่งก็มีวิธีการจ่ายเงินประกันสังคมหลายช่องทางรวมถึงวิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์ด้วยเช่นกัน

สำนักงานประกันสังคมมีตัวแทนธนาคารและหน่วยบริการที่ให้บริการจ่ายประกันสังคมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) คือ

  • ธนาคาร 10 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ., ธนาคาร มิซูโฮ จำกัด สาขากรุงเทพฯ, ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น, ธนาคารทหารไทยธนชาติ จำกัด (มหาชน) และธนาคาร ดอยซ์ แบงก์ นายจ้างชำระเงินโดยวิธีหักบัญชีเงินฝากธนาคาร
  • หน่วยบริการ 1 แห่ง ได้แก่ บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด ชำระเงินด้วยบัตรเดบิต/เครดิต มาสเตอร์การ์ด

 ขั้นตอนวิธีจ่ายค่าประกันสังคมออนไลน์โดยนายจ้าง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ของเงินกองทุนประกันสังคม สามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

1. ยื่นคำขอทำธุรกรรมเพื่อชำระเงินสมทบ นายจ้างลงทะเบียนเพื่อขอทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ต

  • เข้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th เลือกหัวข้อ “สถานประกอบการ”
  • เลือกเมนู “ขอทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ต” กรอกข้อมูลให้ครบ เพื่อลงทะเบียน สปส. 1-05
  • ระบบจะส่งแบบลงทะเบียน (สปส.1-05) ให้นายจ้างทาง e-mail และให้นายจ้างพิมพ์แบบ สปส.1-05 นำไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
  • สำนักงานประกันสังคมจะส่ง User และ Password ให้ทาง e-mail เพื่อให้นายจ้างสามารถส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม

2. นายจ้างติดต่อธนาคารเพื่อเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารและสมัครชำระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์กับธนาคารที่ให้บริการรับชำระเงินกองทุนประกันสังคมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ธนาคารจะกำหนด User และ Password ให้นายจ้าง เพื่อทำรายการชำระเงินผ่านธนาคาร

3. เมื่อนายจ้างดำเนินการตามข้อ 1.4.1 – 1.4.2 เรียบร้อยแล้ว ให้เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th เพื่อทำรายการชำระเงินสมทบ ดังนี้

3.1 นายจ้างยื่นข้อมูลการส่งเงินสมทบ แบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 หรือ สปส.1-10/1 และส่วนที่2 ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม ดังนี้

1) Log in เข้าสู่ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์

2) เลือกเมนู “ส่งข้อมูลเงินสมทบ”

3) เลือกเมนู “เงินสมทบกองทุนประกันสังคม” และเลือกวิธียื่นข้อมูลการส่งเงินสมทบ

4) นายจ้างส่งข้อมูลเงินสมทบในระบบ e-Service ขั้นตอนที่ 1-5 เมื่อส่งข้อมูลเงินสมทบสำเร็จ ในขั้นตอนที่ 5 แล้ว ต่อจากนั้นให้เลือกปุ่ม “ชำระเงิน” เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนที่ 6 การชำระเงิน

5) ในขั้นตอนที่ 6 เลือกเมนู “ชำระเงินผ่านระบบ e-Payment” และเลือกธนาคารหรือหน่วย

บริการตามที่นายจ้างต้องการใช้บริการชำระเงิน ต่อจากนั้นให้เลือกปุ่ม “ดำเนินการต่อ”

6) ต่อจากนั้นให้เลือกปุ่ม “ชำระเงิน” ระบบจะ Link ไปยัง Website ของธนาคารหรือหน่วยบริการตามที่นายจ้างเลือก เพื่อชำระเงิน

7) เข้าสู่ระบบการชำระเงินของธนาคารและหน่วยบริการที่เป็นตัวแทนให้บริการรับชำระเงิน

กองทุนประกันสังคมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ตามขั้นตอนการชำระเงินของแต่ละธนาคารหรือหน่วยบริการนั้นๆ

แม้ปัจจุบันวิธีจ่ายประกันสังคมออนไลน์อาจยังไม่ครอบคลุมผู้ประกันตนทุกมาตรา แต่ก็ยังมีวิธีจ่ายประกันสังคมช่องทางอื่น ๆ ให้ผู้ประกันตนได้เลือกใช้ให้เข้ากับความสะดวกของแต่ละคน และด้วยสถานการณ์ปัจจุบันส่งผลให้เทคโนโลยีกลายเป็นเรื่องปกติของชีวิตผู้คนไปแล้ว เชื่อว่าทางสำนักงานประกันสังคมเองก็คงจะพัฒนาช่องทางและวิธีการจ่ายประกันสังคมออนไลน์ใหม่ๆ ที่จะสามารถเข้าถึงผู้ประกันตนทุกกลุ่มได้มากยิ่งขึ้นเช่นกัน

จ่ายค่าประกันสังคมออนไลน์ยังไง

1. เปิดเว็บไซต์ส านักงานประกันสังคม www.sso.go.th เลือก สถานประกอบการ เลือก สถานประกอบการ Page 3 2. เลือกส่งข้อมูลเงินสมทบ Page 4 3. กรอกรหัสผู้ ใช้งาน : xxxxxxxxxxxx รหัสผ่าน : xxxxxxxx Page 5 4. เลือกส่งข้อมูลเงินสมทบ Page 6 5. เลือกส่งเงินสมทบแบบแยกยื่น และ คลิกค าว่า ตกลง

ประกันสังคม ม.40 จ่ายออนไลน์ได้ไหม

ผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ สำนักงานประกันสังคมจะได้สิทธิประโยชน์คุ้มครอง 5 กรณี โดยผู้ประกันตนสามารถชำระเงินสมทบได้หลากหลายช่องทางทั้งธนาคาร ระบบออนไลน์ และเคาน์เตอร์บริการต่างๆ

จ่ายประกันสังคม ม.40 ทางไหนได้บ้าง

วิธีชําระเงินประกันสังคมมาตรา 40.
เคาน์เตอร์บริการ จุดรับชำระ เช่น Tesco Lotus, เคาน์เตอร์เซอร์วิส, Big C, ตู้บุญเติม เป็นต้น.
หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร สามารถชำระงวดปัจจุบันด้วยการหักผ่านบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารที่สำนักงานประกันสังคมระบุไว้.

ประกันสังคมจ่ายผ่านแอพอะไรได้บ้าง

ทั้งนี้ ผู้ประกันตน สามารถดาวน์โหลด Application AirPay ลงทะเบียนใช้งานด้วยหมายเลขโทรศัพท์มือถือ และสามารถชำระเงินสมทบได้ทันที ซึ่งรองรับทั้งระบบปฏิบัติการ android และระบบ iOS โดยสามารถชำระได้ทั้ง Wallet ของ AirPay และการผูกบัญชีเงินฝากธนาคารใน Application AirPay และไม่เสียค่าธรรมเนียม และสามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน ...