บลูทู ธ 4.0 ใช้กับหูฟัง 5.0 ได้ไหม

อุปกรณ์ต่างๆในปัจจุบันของเรานั้นไม่ว่าจะเป็น คีย์บอร์ด เม้าส์ หรือ แม้แต่หูฟังเอง ก็มักจะเขียนว่ารองรับ Bluetooth 4.2 เอย Bluetooth 5.0 เอย (แต่อุปกรณ์ใหม่ๆในช่วงปลายปี 2019 เริ่มจะเป็น 5.0 กันหมดแล้ว)
 

คำถามคือ แล้ว 4.2 / 5.0 เลขที่ว่ามันแตกต่างกันตรงไหน ? เรามาดูกัน

1.ระยะการรับ(ส่ง)สัญญาณของ Bluetooth ที่แรงและไกลกว่า

ระยะการรับส่งสัญญาณของ Bluetooth 4 นั้นอยู่ที่ประมาณ 50 เมตรในพื้นที่โล่งแจ้ง และ 10 เมตรภายในอาคาร ในขณะที่ Bluetooth 5 นั้นรองรับ 200 เมตรในพื้นที่โล่งแจ้ง และ 40 เมตรภายในอาคาร

บลูทู ธ 4.0 ใช้กับหูฟัง 5.0 ได้ไหม

หลายคนพออ่านถึงท่อนนี้ก็อาจจะคิดว่า อ้าวแล้วทำไมหูฟังของฉันระยะใช้งานจริงมันถึงสั้นกว่าที่ระบุไว้ล่ะ ?

ในความเป็นจริงนั้นในการใช้งานจริงจะมีปัญหาเรื่องของคลื่นสัญญาณรบกวนจากแหล่งต่างๆ เช่น จากอุปกรณ์ไร้สายต่างๆที่ใช้ย่านความถี่ที่ 2.4Ghz ซึ่งเป็นย่านความถี่เดียวกันกับบลูทูธ(อย่างไวไฟเร้าเตอร์), คลื่นสัญญาณโทรศัพท์มือถือ, คลื่นแม่เหล็กที่มาจากอุปกรณ์ไฟฟ้า, สิ่งของกีดขวางต่างๆเช่นกำแพง ตู้โต๊ะเตียงเป็นต้น ทำให้ระยะของสัญญาณ Bluetooth ลดลงอาจจะเหลือเพียง 60-70% เท่านั้น (สังเกตุดูว่าตอนใช้งานตามสถานที่แออัด เช่น ห้าง BTS หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน สัญญาณจะดรอบลงหรือขาดๆหายๆแบบเห็นได้ชัด)

2.ประหยัดพลังงานมากกว่า

Bluetooth 5 ประหยัดพลังงานกว่า Bluetooth 4 สังเกตุดูว่าพวกอุปกรณ์ที่รองรับ Bluetooth 5 นั้นจะประหยัดพลังงานกว่า และมีชั่วโมงการใช้งานที่ยาวนานกว่า Bluetooth 4 พอสมควร

บลูทู ธ 4.0 ใช้กับหูฟัง 5.0 ได้ไหม

3.การโอนถ่ายข้อมูลที่มากกว่า

Bluetooth 5 นั้นรองรับการโอนถ่ายข้อมูลที่ 255byte ต่อวินาที แต่ Bluetooth 4 ส่งข้อมูลได้เพียง 31byte ต่อวินาที (แต่จริงๆใช้ได้แค่ 17-20 Byteต่อวินาที เนื่องจากต้อง Header สำหรับชุดคำสั่งและทฤษฎีคอขวด) 

ซึ่งการโอนถ่ายข้อมูลที่เร็วกว่านี้เอง ทำให้อุปกรณ์ Bluetooth ใหม่ๆ ที่รองรับ Bluetooth 5.0 นั้นส่วนมากรองรับการถอดรหัส Code ที่สูงขึ้นกว่าเดิม เช่น APT-X HD หรือเทียบเท่ากับ CD

บลูทู ธ 4.0 ใช้กับหูฟัง 5.0 ได้ไหม

ต้นน้ำ และ ปลายน้ำ สำคัญยังไง ?

ท้ายที่สุดแล้ว หากหูฟังของคุณเป็น Bluetooth 5.0 แล้วก็อยากให้ย้อนกลับมามองที่ต้นน้ำ (มือถือ หรือ Dap) ของคุณว่ารองรับ Bluetooth 5.0 หรือ Codec นั้นหรือยัง

เพราะถ้าหากหูฟังของคุณเป็น Bluetooth 5.0แล้ว แต่มือถือคุณยังเป็น Bluetooth 4.0 การเชื่อมต่อก็จะเป็นคอขวด และ รองรับเพียงแค่ Bluetooth 4.0 เท่านั้นอยู่ดี ดังนั้นแล้วอย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์ของคุณด้วยเช่นกัน โดยไปที่ Settings > Applications > Applications ที่กำลังทำงานอยู่

Bluetooth 5 เป็นเวอร์ชันล่าสุดที่เปิดตัวออกมาเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งการมาของ Bluetooth เวอร์ชั่นใหม่นั้นแน่นอนว่าต้องระบส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม และมีระยะทางที่ไกลกว่าเดิมด้วย ส่วนมันจะแตกต่างจาก Bluetooth 4.2 ที่เราใช้กันในตอนนี้มากน้อยแค่ไหน ลองมาดูรายละเอียดกันครับ

บลูทู ธ 4.0 ใช้กับหูฟัง 5.0 ได้ไหม

Bluetooth 5.0 นั้นออกมาเพื่อใช้งานกับพวก IoT (Internet of Things) เป็นหลัก และรวมถึงอุปกรณ์สวมใส่บางประเภท เช่นสมาร์ทวอทช์ด้วย เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้ต้องการการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วหรือมีปริมาณมากในคราวเดียว หากแต่เป็นการส่งข้อมูลครั้งละน้อย ๆ แบบต่อเนื่องเสียมากกว่า ดังนั้นเทคโนโลยี BLE (Bluetooth Low Energy) จึงตอบโจทย์ในส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งในการอัปเกรดขึ้นมาจาก Bluetooth 4.2 ก็จะมีทั้งในเรื่องของอัตราบริโภคพลังงาน ระยะการเชื่อมต่อ ความเสถียร ความเร็ว และอื่น ๆ โดย Bluetooth 5.0 เริ่มมีให้เห็นบ้างแล้วกับสมาร์ทโฟนที่เปิดตัวในปีนี้

บลูทู ธ 4.0 ใช้กับหูฟัง 5.0 ได้ไหม

นอกจากนี้การส่งข้อมูลแบบ connectionless ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลแบบไม่ต้องสร้าง connection (ส่งต่อๆ กันระหว่างอุปกรณ์ไปเรื่อยๆ จนถึงปลายทาง) ไม่เป็นที่นิยมสำหรับ Bluetooth 4.2 เนื่องจากขนาดในการส่งแต่ละข้อความอยู่ที่ 31 bytes ซึ่งมันเล็กเกินไป แต่ Bluetooth 5 สามารถส่งได้ถึงข้อความละ 255 bytes และด้วยระยะการเชื่อมต่อที่ไกลขึ้น ทำให้ห้างร้านต่างๆ สามารถวาง Bluetooth beacon เพื่อส่งโฆษณาสินค้าและบริการต่างๆ เข้าไปตามอุปกรณ์ของลูกค้าได้สะดวกมากขึ้นอีกด้วย

ตารางเปรียบเทียบความสามารถของ Bluetooth 5 และ Bluetooth 4.2

ฟีเจอร์ Bluetooth 5 Bluetooth 4.2
ความเร็ว (BLE) เร็วกว่าเป็นเท่าตัว, ความเร็ว 2 Mbps ช้ากว่า, ความเร็ว 1 Mbps
ระยะการเชื่อมต่อ ไกลกว่าถึง 4 เท่า, เชื่อมต่อได้ไกลถึง 200 เมตรในบริเวณภายนอกอาคารที่ไม่มีผนังกั้น และ 50 เมตรภายในอาคาร สั้นกว่า, เชื่อมต่อได้ 50 เมตรภายนอกอาคาร และ 10 เมตรภายในอาคาร
พลังงานที่ใช้ น้อยกว่า มากกว่า
ขนาดของข้อความ ใหญ่กว่า, ประมาณ 255 bytes เล็กกว่า, ประมาณ 31 bytes ซึ่งจริงๆส่งไปได้แค่ 17 ถึง 20 bytes เท่านั้น
ความสามารถในการทำงานในสภาวะสัญญาณแออัด สูงกว่า ต่ำกว่า
ระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ นานกว่า สั้นกว่า
ระดับความปลอดภัย สูงกว่า ต่ำกว่า
ความสามารถในการจัดการข้อมูล 2 Mbps, 1.6 Mbps หากใช้ร่วมกับเสาสัญญาณ 1Mbps
ความแน่นอน สูง ต่ำ
การสนับสนุนชีวิตแบบดิจิตอล ดีกว่า ไม่ดีเท่าเวอร์ชัน 5
การรองรับอุปกรณ์ IoT รองรับ ไม่รองรับ
Bluetooth beacon เป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจากมีระยะการส่งและความเร็วที่สูงขึ้น นิยมน้อยกว่าเนื่องจากส่งข้อความที่มีขนาดสูงสุดได้เพียง 31 bytes

บลูทู ธ 4.0 ใช้กับหูฟัง 5.0 ได้ไหม

ข้อมูลจาก kontakt.io

Bluetooth 5 มีความจำเป็นต่ออุปกรณ์ IoT, Bluetooth beacon และสมาร์ทโฟนต่างๆมาก โปรโตคอลของ Bluetooth beacon หลักๆก็จะมี iBeacon จาก Apple ซึ่งรองรับทั้ง iOS และ Android (แต่รองรับแบบ native สำหรับ iOS เท่านั้น) และ Eddystone จาก Google ที่สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบกว่า iBeacon แต่ก็มีความยุ่งยากในการใช้งานมากกว่าเช่นกัน ประโยชน์ของ Bluetooth beacon สามารถใช้ได้ทั้งการนำทางภายในอาคารต่างๆเช่น นำทางไปยังร้านต่างๆภายในห้างสรรพสินค้า, การติดตามตำแหน่งของมีค่าต่างๆ ไปจนถึงการปลดล็อคประตูโดยไม่ต้องใช้กุญแจ

ทั้งนี้ เพื่อน ๆ ไม่ต้องตกใจกับตัวเลขความเร็ว 2 Mbps ของ Bluetooth 5.0 ไปนะครับ เพราะนี่เป็นความเร็ว BLE สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ส่วนการเชื่อมต่ออื่น ๆ ที่ต้องอาศัยการส่งข้อมูลปริมาณมากจะยังคงทำได้ที่ระดับ High Speed (HS) ไม่ต่างจาก Bluetooth 3.0 หรือที่เรียกว่า “Bluetooth Classic” นั่นแหละครับ

ที่มา: RF Wireless World

บลูทู ธ 4.0 ใช้กับหูฟัง 5.0 ได้ไหม

บลูทูธ4.0ต่อ5.0ได้ไหม

บลูทูธ 4 จะทำงานได้ดีเมื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่รองรับเวอร์ชั่น 4 ด้วยกัน แต่จำไม่ทำงานเมื่อใช้ร่วมกับบลูทูธ 5 ในขณะที่บลูทูธ 5 ทำงานร่วมกันได้กับเวอร์ชั่นเก่าๆ (Backward Compatibility) อย่าง v1, v2, v3, v4, v4.1 และเวอร์ชั่น 4.2 แต่จะไม่รองรับฟังก์ชั่นใหม่ๆ ทีมีมาในเวอร์ชั่น 5 เท่านั้นเอง (แบบเดียวกับมาตรฐานของ USB) ...

บลูทูธ 4.2 กับ 5.0 ต่างกันยังไง

Bluetooth 5.0 VS Bluetooth 4.2 จะเห็นว่า BT 5.0 มันส่งข้อมูลต่อครั้งได้มากกว่าเดิมถึง 8 เท่า (จาก 31 bytes เป็น 255 bytes) มีระยะรับส่งสัญญาณไกลขึ้นถึง 4 เท่าตัว (จาก 50 เมตร เป็น 200 เมตร) และ เร็วขึ้น 2 เท่าตัว (จาก 1 Mbps เป็น 2 Mbps) ระยะรับส่งข้อมูล … ถ้าดูจากสเป็ค BT5.0 มีระยะรับส่งไกลถึง 200 เมตรเลยทีเดียว …

ข้อได้เปรียบหลักของ Bluetooth 4.0 . คืออะไร

Bluetooth 4.0 โดย Bluetooth เวอร์ชันนี้จะเน้นไปที่การใช้พลังงานที่ต่ำจนสามารถใช้พลังงานจากแบตเตอรี่แบบเหรียญในการรับ-ส่งข้อมูล อีกทั้งมีการออกแบบชิปให้สามารถใช้งานแบบ Dual Mode และ Single Mode กับอุปกรณ์เวอร์ชันเก่าได้อีกด้วย

Bluetooth 3.0 กับ 4.0 ต่างกันอย่างไร

อย่างที่เล่าไปในตอนแรกว่าเมื่อความเร็วไม่ใช่หัวใจสำคัญของ Bluetooth ดังนั้น Bluetooth 4.0 จึงนำเสนอออกมาในรูปแบบของการประหยัดพลังงานมากกว่า ซึ่งความเร็วในการรับส่งข้อมูลก็คือ 24 Mbps เหมือนกับ Bluetooth 3.0 นั่นแหละ แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้ประหยัดพลังงานมากขึ้นเพื่อใช้กับใน Smart Device อย่างพวก Wearable Device.