การคํานวณ โซล่าเซลล์ on grid

การคํานวณ โซล่าเซลล์ on grid


ระบบออนกริด (
On Grid) เป็นระบบโซลาร์เซลล์แบบต่อเข้ากับระบบสายส่งจากการไฟฟ้า (ไฟบ้าน) การผลิตไฟฟ้าระบบนี้จะใช้แผงโซลาร์เซลล์สำหรับการกำเนิดไฟฟ้า หลังจากนั้นจะจ่ายไฟให้กับกริดไทอินเวอร์เตอร์ (Grid Tie Inverter) หรือพูดง่ายๆ ก็คือหม้อแปลงไฟนั้นเอง ซึ่งจะแปลงไฟฟ้ากระแส (DC) ตรงเป็นไฟกระแสสลับ (AC) และจะต่อเข้ากับระบบไฟบ้าน เพื่อใช้งานร่วมกันต่อไป ระบบออนกริดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยประหยัดพลังงาน โดยใช้แผงโซล่าเซลล์ที่ใช้รับพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ซึ่งระบบนี้เหมาะกับการใช้งานในตอนกลางวันเท่านั้น เช่น บ้านที่มีการใช้งานในตอนกลางวัน อาคารสำนักงานที่ทำงานตอนกลางวัน วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือ ออฟฟิต เป็นต้น

อินเวอร์เตอร์ แบบออนกริดคืออะไรและทำงานอย่างไร ??

             อินเวอร์เตอร์ แบบออนกริด จะทำงานเมื่อมีเงื่อนไขว่า มีไฟจากแผงโซลาร์เซลล์ และมีไฟบ้านเท่านั้น เนื่องจากเป็นการป้องกันเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับแล้วเจ้าหน้าที่การไฟฟ้ามาซ่อมไฟ อาจได้รับอันตรายได้ โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์เซลล์ จะถูกนำมาใช้งานในตอนกลางวัน แต่เมื่อมีการใช้ไฟมากเกินว่าระบบผลิตได้ ระบบจะจ่ายไฟบ้านเข้ามาเสริมอีกแรง และเมื่อตอนเย็นใกล้ค่ำโวลท์ของแผงโซลาร์จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อต่ำถึงเกณฑ์ที่กำหนด อินเวอร์เตอร์ จะปิดตัวลงอัตโนมัติและกลับไปใช้ไฟบ้านตามปกติ รอรุ่งเช้าของวันใหม่เมื่อมีแสงสว่างโวลท์ของแผงโซลาร์จะค่อยๆสูงขึ้น ทำให้อินเวอร์เตอร์กลับมาทำงานอีกครั้ง

อุปกรณ์ใช้สำหรับติดตั้งระบบ
– กริดไทอินเวอร์เตอร์ (อินเวอเตอร์เชื่อมสายส่ง)
– แผงโซล่าเซลล์
– คอนโทรล เบรคเกอร์ DC, AC Surge
– อุปกรณ์ยึดแผงโซล่าเซลล์และโครงสร้างรองรับแผง
– อุปกรณ์การเดินสายไฟฟ้า สายไฟ DC ข้อต่อสาย MC4

ข้อดีและข้อเสียของระบบ ออนกริด

ข้อดี คือ จะมีแหล่งจ่ายไฟจากทั้ง 2 ทาง ทางหนึ่งจากการไฟฟ้า และ อีกทางหนึ่งจากแผงโซล่าเซลล์ ระบบไฟที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ จะแปลงไฟโดยอินเวอร์เตอร์ และสามารถต่อไฟร่วมกับระบบไฟจากการไฟฟ้าได้ ไม่ต้องทำระบบสลับไฟก็สามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด โดยระบบนี้ไม่ต้องสำรองแบตเตอรี่ สามารถลดค่าไฟฟ้า หรือเรียกได้ว่าฟรีค่าใช้จ่ายเนื่องจากผลิตไฟฟ้าได้เองในตอนกลางวันใช้ไฟฟ้าฟรี
ข้อเสีย คือ กรณีที่ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับ ถึงแม้ว่าระบบโซลาร์เซลล์ยังจ่ายไฟปกติก็ตาม แต่กริดไทน์อินเวอร์เตอร์จะหยุดทำงาน โดยไม่จ่ายไฟเข้าสายส่ง เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า ซึ่งกำลังซ่อมระบบสายไฟฟ้าตามท้องถนน การใช้งานระบบนี้ จะใช้ในพื้นที่ ที่มีไฟฟ้าเข้าถึง ใช้เพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้า ซึ่งทางผู้ที่ต้องการติดตั้ง ต้องมีพื้นที่สำหรับรองรับแผงโซล่าเซลล์ และรู้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวัน โดยดูจากหน่วยการใช้ไฟฟ้า ที่เสียค่าไฟฟ้าแต่ละเดือน เพื่อออกแบบกำลังการผลิต หาขนาดกริดไทอินเวอร์เตอร์ และจำนวนแผงโซล่าเซลล์

การคํานวณ โซล่าเซลล์ on grid

หากท่านผู้อ่านสนใจติดตั้งโซล่ารูฟท็อป ระบบออนกริดสามารถคลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ หรือติดต่อหาเราโดยตรงได้ที่ Line @Richestsupply ทางเรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำแนะนำคุณอยู่เสมอ

สนใจ โซล่ารูฟท็อป ระบบออนกริด ติดต่อเราได้ที่ 065-845-8698

Login

แผงโซล่าเซลล์ใช้ไฟกี่โวลต์

โดยทั่วไปแผงโซลาร์เซลล์ มักใช้แรงดันไฟ 12 โวลต์ และ 24 โวลต์ ซึ่งที่นิยมซื้อกันจะเป็นแผ่น 12V 300W และ 250W (แรงดันไฟ 12 โวลต์ 300 วัตต์ และ 250 วัตต์) แต่แผงโซลาร์เซลล์จะมีประสิทธิภาพสูงสุดกี่วัตต์นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องประเภท ขนาด และจำนวนแผงเซลล์ ซึ่งมีผลทำให้กระแสไฟวิ่งไม่เท่ากัน ซึ่งหากการติดตั้งมี ...

แผงโซล่าเซลล์ชาร์จกี่ชั่วโมง

ขนาดของระบบแผงโซล่าเซล = 550วัตต์ / 3.5 ชั่วโมง = 157วัตต์ ส่วนเราจะเผื่อขนาดระบบให้ใหญ่ขึ้น เพื่อให้ใช้ได้อย่างเพียงพอ ก็เป็นเรื่องที่ดีครับ จำนวนชั่วโมงที่แผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ใน 1 วันเท่ากับประมาณ 3.5 ชั่วโมง สำหรับระบบชาร์จแบตเตอรี่ เช่นแผงขนาด 100วัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 100วัตต์x3.5ชั่วโมง = 350วัตต์

โซล่าเซลล์ 5kw ผลิตไฟได้ กี่หน่วย

5kw ผลิตไฟได้วันละกี่หน่วย : เฉลี่ยวันละ 20 – 30 หน่วย ในวันที่มีแดดปกติ ระยะเวลากี่ปี คืนทุน : ประมาณ 4-5 ปีคืนทุน

ปั๊มน้ําใช้กับแผงโซล่าเซลล์ขนาดเท่าใด

วิธีการคำนวณขนาดปั๊มน้ำให้พอดีกับแผงโซล่าเซลล์ = 1 แรงม้า x 746 วัตต์ = 746 วัตต์ กำลังไฟฟ้าของปั๊มที่ต้องการ = 746 วัตต์ ที่แรงดัน 60-400 Vdc. เลือกขนาดแผง Solar Cell ที่ 320 วัตต์ แรงดันที่ 45 Vdc.