พุทธศาสนิกชนนิยมไปเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ยกเว้นวันใด

ชาวพุทธต้องรู้! "เวียนเทียน" ทำแล้วดียังไง? รวบรวบข้อควรรู้เกี่ยวกับการเวียนเทียน เป็นต้นว่า.. ต้องเวียนเทียนวันไหนบ้าง การเวียนเทียนที่ถูกต้องทำอย่างไร ถึงจะได้บุญหนักในวัน "มาฆบูชา" 2565

16 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นวัน "มาฆบูชา" นอกจากการไหว้พระ ทำบุญ ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว อีกหนึ่งกิจกรรมที่ชาวพุทธนิยมปฏิบัติกันทุกปีก็คือการ "เวียนเทียน" ปีนี้เป็นอีกปีที่ "กรมศาสนาและสำนักพระพุทธฯ" ออกมารณรงค์ให้คนไทย "เวียนเทียนออนไลน์" เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

แต่ทั้งนี้ วัดต่างๆ ยังสามารถจัดกิจกรรมทางศาสนาเนื่องในวันมาฆบูชา ได้อยู่ (ยกเว้นบางแห่งที่มีประกาศงดจัดงาน) และพุทธศาสนิกชนยังคงสามารถไป "เวียนเทียน" ได้เช่นเดิม แต่ต้องเว้นระยะห่าง และหลีกเลี่ยงหากพบว่าคนแออัดมากเกินไป

สำหรับพิธีกรรม "เวียนเทียน" นั้น ยังมีหลายคนสงสัยว่า ทำไมต้องไปเวียนเทียนในวันมาฆบูชา เวียนเทียนแล้วได้อะไร แล้วต้องเวียนเทียนวันไหนบ้าง กรุงเทพธุรกิจออนไลน์หาคำตอบมาให้รู้กัน ดังนี้ 

  • ความสำคัญของวัน "มาฆบูชา"

ก่อนอื่น มารู้ความสำคัญและที่มาของวัน "มาฆบูชา" กันสักหน่อย เริ่มจากคำว่า มาฆบูชา ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินอินเดีย หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

  • "มาฆบูชา 2565" ตรงกับวันไหน เปิดประวัติวันมาฆบูชา พร้อมแนะเทคนิคเวียนเทียน
  • เช็คความเข้าใจ "มาฆบูชา 2565" แตกต่างกับ วิสาขบูชา-อาสาฬหบูชา อย่างไร
  • บทสวดมนต์ "วันมาฆบูชา" เสริมความเป็นสิริมงคล วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓

พุทธศาสนิกชนนิยมไปเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ยกเว้นวันใด

วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธโดยชาวพุทธทั่วโลก เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน คือ พระพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” หรือ การแสดงธรรมที่เป็นหัวใจหลักของพระพุทธศาสนา ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา

พร้อมกับมีเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้น 4 ประการ คือ พระภิกษุ 1,250 รูป ได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระภิกษุทั้งหมดได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 ดังนั้น จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4

  • "เวียนเทียน" แล้วดียังไง? ต้องทำวันไหนบ้าง?

ส่วนพิธีกรรม "เวียนเทียน" นั้น มีข้อมูลจากกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และเว็บไซต์ธรรมะไทย อธิบายไปในทิศทางเดียวกันว่า เป็นกุศลพิธีอย่างหนึ่ง ที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติในเบื้องต้นอย่างสามัญ โดยพิธีกรรมเวียนเทียนนั้น สามารถทำได้ในวันสำคัญทางศาสนา 4 วันด้วยกัน คือ วันมาฆบูชา, วันวิสาขบูชา, วันอาสาฬหบูชา, วันอัฐมีบูชา

แล้วการ "เวียนเทียน" ในวันสำคัญทางศาสนา ในที่นี้คือเวียนเทียนวันมาฆบูชา ทำแล้วดีอย่างไร? คำตอบคือ ผลดีที่จะได้รับจากการเวียนเทียนตามความเชื่อของชาวพุทธเถรวาท ได้แก่

พุทธศาสนิกชนนิยมไปเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ยกเว้นวันใด

- ช่วยให้ชีวิตสุกสว่าง: ไฟถือเป็นสื่อกลางในการแสดงความศรัทธาต่อศาสนาพุทธ การเวียนเทียนจึงเปรียบเหมือนการเพิ่มความสุกสว่างให้ชีวิตราบรื่นเจริญรุ่งเรือง เป็นความเชื่อที่ตกทอดมาแต่โบราณในแถบอินเดียและเอเชียตะวันออก ส่วนมากใช้ในพิธีเผาเทียนเล่นไฟ พิธีปล่อยโคมลอย ใช้เผาศพ และใช้จุดธูปเทียนสำหรับการเวียนเทียน

- เตือนสติชาวพุทธ: การเวียนเทียนนอกจากเพื่อแสดงความเคารพบูชาต่อปูชนียบุคคลหรือปูชนียสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นเหมือนกุศโลบายเตือนสติให้ตระหนักถึง "วัฏสงสาร" หรือการเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเพื่อให้ใช้ชีวิตไม่ประมาท

- ได้อานิสงส์แรง-ได้บุญหนัก: การเวียนเทียนจะช่วยส่งอานิสงส์ผลบุญให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติ ในทางตรงคือผู้ปฏิบัติจะมีกายที่สำรวมขึ้น มีจิตใจที่สะอาด สงบ ระหว่างที่เดินเวียนเทียน และในทางอ้อม (ตามความเชื่อ) คือ จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้บุญหนัก หลุดพ้นจากภูมิเปรต เดรัจฉาน อีกทั้งบันดาลให้จิตพ้นอบายภูมิได้

  • 7 ขั้นตอนการ "เวียนเทียน" ให้ถูกต้อง

1. ชำระร่างกายและจิตใจ : ก่อนที่จะไปเวียนเทียนที่วัด เนื่องใน "วันมาฆบูชา" ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เหมาะสมกับสถานที่ งดใส่กางเกงขาสั้น กระโปรงสั้น เสื้อสายเดี่ยว ควรสวมเสื้อผ้าที่มิดชิด กางเกงหรือกระโปรงยาวคลุมเข่า

2. เตรียม 3 สิ่งสำคัญที่ต้องมี! เตรียม "ของบูชา" ที่จะนำไปสักการะพระพุทธเจ้าตามความเชื่อของชาวพุทธ นั่นก็คือ ดอกไม้ 1 คู่ เช่น ดอกบัว ดอกดาวเรือง ดอกกล้วยไม้ หรือจะใช้พวงมาลัยดอกไม้สำหรับถวายพระก็ได้ นอกจากนี้ก็ต้องมีธูป 3 ดอก และเทียน 1 เล่ม 

3. ไหว้พระประธานในโบสถ์ก่อน : เมื่อไปถึงวัด ให้เข้าไปสักการะพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานหลักด้านในโบสถ์ก่อน แล้วค่อยออกมาตั้งแถวเตรียมตัวเวียนเทียน หัวแถวจะมีพระภิกษุเดินนำ ต่อด้วยสามเณร ท้ายสุดเป็นอุบาสก อุบาสิกา ชายหญิงทั่วไป 

พุทธศาสนิกชนนิยมไปเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ยกเว้นวันใด

4. เวียนประทักษิณาวัตร : จากนั้นจุดธูปและเทียน นำมาถือไว้ในมือพร้อมดอกไม้ พนมมือขึ้น แล้วเดินวนรอบโบสถ์ไปทางด้านขวามือ 3 รอบ เรียกว่าการเวียนแบบประทักษิณาวัตร พร้อมสวดมนต์ไปด้วยในแต่ละรอบ

5. บทสวดมนต์ขณะเวียนเทียน : รอบที่ 1 ให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ โดยสวดบทอิติปิโส "อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ..." 

รอบที่ 2 ให้ระลึกถึงพระธรรมคุณ สวดบทสวากขาโต "สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม..." 

รอบที่ 3 ให้ระลึกถึงพระสังฆคคุณ โดยสวดบทสุปะฏิปันโน "สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ..."

6. ระวังอันตรายจากธูปเทียน : ขณะเดินเวียนเทียนต้องสำรวมกาย วาจา ใจ และควรรักษาระยะการเดินทางให้ห่างจากคนข้างหน้าพอสมควร เพื่อไม่ให้ธูปเทียนโดนผู้อื่น อาจทำให้บาดเจ็บได้

7. วางดอกไม้ธูปเทียน หลังจากเวียนเทียนจนครบ 3 รอบ ให้นำดอกไม้ธูปเทียนไปปักบูชาตามจุดที่เตรียมไว้ 

--------------------------------------

อ้างอิง : กรมการศาสนา , dhammathai.org , สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันใด ไม่มีการเวียนเทียน *

สำหรับวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนสามารถร่วมพิธีเวียนเทียนได้ มีเพียง 4 วันใน 1 ปีเท่านั้น นั่นคือ วันวิสาขบูชา, วันมาฆบูชา, วันอาสาฬหบูชา และวันอัฏฐมีบูชา (วันเข้าพรรษาและวันออกพรรษาไม่มีพิธีกรรมเวียนเทียน)

การเวียนเทียนวันไหนบ้าง

ส่วนพิธีกรรม "เวียนเทียน" นั้น มีข้อมูลจากกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และเว็บไซต์ธรรมะไทย อธิบายไปในทิศทางเดียวกันว่า เป็นกุศลพิธีอย่างหนึ่ง ที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติในเบื้องต้นอย่างสามัญ โดยพิธีกรรมเวียนเทียนนั้น สามารถทำได้ในวันสำคัญทางศาสนา 4 วันด้วยกัน คือ วันมาฆบูชา, วันวิสาขบูชา, วันอาสาฬหบูชา, วันอัฐมีบูชา

วันวิสาขบูชามีเวียนเทียนไหม

วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา เวียนเทียน รอบที่ 1 : รำลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า โดยภาวนาบท อิติปิโส ภะคะวาฯ ไปจนจบ เพื่อให้จิตใจมีสมาธิ เวียนเทียน รอบที่ 2 : รำลึกถึงคุณพระธรรม ภาวนาบทสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโมฯ ไปจนจบ

วันใดที่พุทธศาสนิกชนนิยมน าเทียนพรรษาไปถวายวัด

วันเข้าพรรษา 2565 นี้ ตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา อีกวันหนึ่ง โดยในประเทศไทยเราจะมีการจัดกิจกรรม ถวายเทียนพรรษา และ งานแห่เทียนพรรษา เป็นประจำทุกปีค่ะ ตามเรามารู้ ที่มา ประวัติของวันเข้าพรรษา ในสมัยพุทธกาล กันได้เลย