บดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประวัติ

‘พัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ’ จากน้องชายคนที่สองของตระกูล สู่ประธานอาณาจักรไทยซัมมิท พ่อผู้วางรากฐานให้ลูกชายที่ชื่อ ‘ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ’

16 May , 2021

บดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประวัติ
บดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประวัติ
บดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประวัติ

พัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ ชื่อนี้คุ้นหูแค่ไหน?

หากจะบอกว่า เขาคือ (อดีต) ประธานแห่งอาณาจักรไทยซัมมิทกรุ๊ป ผู้คนในแวดวงธุรกิจคงร้องอ๋อ แต่หากเพิ่มความคุ้นเคยเข้าไปอีกสักนิด เขาคนนี้ คือคุณพ่อบังเกิดเกล้าของ เอก-ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า นั่นเอง

พัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ เดิมมีชื่อว่า นายฮั้งฮ้อ แซ่จึง เป็นบุตรชายคนที่สองของ นายโหลยช้วง แซ่จึง กับนางบ่วยเชียง แซ่โป่ว มีพี่น้องด้วยกัน 5 คน คือ พี่ชาย-นายฮังตง แซ่จึง (เปลี่ยนชื่อและนามสกุลเป็น สรรเสริญ จุฬางกูร) น้องชายคนที่สาม โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ น้องชายคนที่สี่ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และน้องสาวคนเล็ก อิสริยา จึงรุ่งเรืองกิจ

ทั้ง ฮังตง (สรรเสริญ) และ (ฮั้งฮ้อ) พัฒนา เกิดที่เมืองจีน และได้ติดตามป๊าและม้าเดินทางมาที่เมืองไทย โดยเป็น พัฒนา ที่ช่วยกิจการร้านก๋วยเตี๋ยวของพ่อและแม่ จนได้พบรักกับลูกสาวร้านขายกระเพาะปลาที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน นั่นคือ สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ และตัดสินใจแต่งงานกันในเวลาต่อมา

ย้อนกลับไปเกือบสิบปีที่แล้วในงานเกมใหญ่ระดับประเทศ ถ้าเราลองไล่รายชื่อนักแข่งเกมในวันนั้น คุณจะพบว่ามีชื่อ เบอร์ดี้–บดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ปรากฏอยู่

บดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประวัติ

ในวันที่เครื่องแบบประจำตัวยังเป็นชุดนักเรียน เบอร์ดี้เป็นเกมเมอร์คนหนึ่งที่เอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ในระดับที่เรียกได้ว่าเข้มข้น ฝีมือการเล่นเกมของเขาในวันนั้นไม่ได้น้อยหน้าใคร แข่งชนะมากกว่าแพ้ แถมบางคราที่ผู้เล่นมักรวมตัวกัน เขายังรับหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มในเกมอีกต่างหาก

ตัดภาพมาที่ปัจจุบัน สิ่งที่เขาทำอยู่มีความแตกต่างที่ไม่ค่อยต่างกับเด็กชายคนนั้นสักเท่าไหร่

บดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประวัติ

ปัจจุบัน เบอร์ดี้–บดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ คือ CEO ของบริษัท เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์​ จำกัด (REAL ASSET) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ทำให้ชีวิตของเขาเหมือนเล่นเกมด่านยากสุดตลอดเวลา ในฐานะของหัวหน้าทีม มีอะไรหลายอย่างที่เขาต้องสินใจในทุกๆ วัน แต่ถึงแม้การเป็นผู้ใหญ่จะหนักหนาขึ้นขนาดไหน ผลงานที่เขาเพิ่งสร้างขึ้นก็เป็นเหมือนหลักฐานว่าเด็กชายเกมเมอร์คนนั้นก็ยังอยู่

เมื่อไม่นานมานี้ REAL ASSET ภายใต้การนำของเบอร์ดี้เพิ่งจัดการแข่งขัน ‘RA Esports League’ ลีก eSports เกม ROV ขนาดย่อมที่มีจุดเด่นคือผู้ที่เข้าแข่งขันไม่ใช่นักกีฬา eSports แต่เป็นพนักงานออฟฟิศจากแต่ละที่ที่จัดทีมรวมกันเป็นตัวแทนจากบริษัทต่างๆ 

ในวันนั้น ผู้ชนะคือทีม Emotional Moho ตัวแทนจากบริษัท Internet Thailand Public Company Limited (INET) แม้จะเป็นงานขนาดเล็ก แต่ยอดผู้ชมรวมถึงฟีดแบ็คที่ได้ เบอร์ดี้บอกกับเราว่ามันเป็นการเริ่มต้นที่ดีเลยทีเดียวและเขามองเห็นความเป็นไปได้หลายๆ ทางสำหรับการขยับขยายเรื่องนี้ในอนาคต

สำหรับคนทั่วไป การต่อยอดจากงานพัฒนาอสังหามาสู่การจัดแข่ง eSports อาจเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนสงสัย แต่สำหรับตัวเบอร์ดี้ เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ไม่มีคำว่าบังเอิญหรือชั่วครู่ชั่วคราว

เพราะเด็กชายผู้หลงรักเกมในวันนั้น ปัจจุบันเขากำลังเริ่มเล่นเกมใหม่ในด่านแรกที่มีชื่อว่า ‘การเริ่มต้น’

บดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประวัติ

ทุกวันนี้คุณยังเล่นเกมอยู่ไหม

เล่นครับ แต่หลังๆ งานเยอะมากก็เล่นน้อยลง แต่ถ้าเล่นก็จะเล่น ROV นี่แหละ

 

จากการเล่นเกมธรรมดามาสู่การจัดแข่ง RA Esports League ได้อย่างไร

จริงๆ ต้องย้อนไปกลับช่วงหลายปีก่อนหน้า ผมเป็นเกมเมอร์คนหนึ่งที่เรียกได้ว่าเล่นมาเกือบทุกเกม ตั้งแต่ Ragnarok, StarCraft I, StarCraft II, Warcraft, Dota, Counter-Strike, PangYa และ TS Online ผมเลยมีประสบการณ์คุ้นเคยว่าวงการเกมเป็นอย่างไร 

จากตรงนั้นทำให้ผมเริ่มเห็นว่าเทรนด์ eSports แรงขึ้นมากโดยเฉพาะช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมนี้กำลังโต มีเงินรางวัล สปอนเซอร์ และคนดูออนไลน์ที่โตกว่ากีฬาแบบเดิมเสียอีก เมื่อสิ่งนี้บวกรวมกับแพสชั่นที่มี ผมเลยเกิดความคิดว่าเราน่าจะลองลงมาทำอะไรดูไหมเพราะในแง่หนึ่งมันก็เป็นธุรกิจที่น่าสนใจ เราเองก็จะได้แบรนด์ดิ้งในเชิงบริษัทว่าเป็นบริษัทรุ่นใหม่ เราเลยจัดตั้งเป็น RA Esports League ขึ้นมา ถึงจะเป็นระดับเล็กแต่เราก็คิดว่าในอนาคตมันอาจเป็นอะไรได้มากกว่านั้น

บดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประวัติ

การเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มาทำเกี่ยวกับ eSports ฟังแล้วดูห่างไกลอยู่เหมือนกัน ทำไมคุณถึงคิดว่าน่าจะทำได้

ผมว่ามันเป็นอะไรที่ท้าทาย ยิ่งถ้าเราตั้งเป้าว่านี่จะเป็น business model ที่หาเงินได้ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นเรื่องท้าทายเสมอ

ตอนแรกเรามองถึงการสร้าง eSports stadium อยู่เหมือนกัน แต่เราคิดต่อว่าถ้าจะดึงคนให้ไปที่นั่นช่วงวันจันทร์-ศุกร์ หรือการจะทำให้คนมาดูจนเต็มช่วงมีอีเวนต์นั้นยากมาก เรายังไม่มีคอนเนกชั่น ยังไม่มีฐานแฟนหรือสัมพันธ์อันดีกับบริษัทเกม ดังนั้นเราเลยคิดว่าเริ่มจากการจัดแข่งเล็กๆ ในพื้นที่เราเองก่อนดีกว่า

พอจะจัดจริง เราโชคดีที่ได้พาร์ตเนอร์กับ GamingDose และ Kochii ที่เป็นเกมมิ่งแพลตฟอร์มที่มาช่วยเราจัดทุกอย่าง ทีมที่เข้ามาแข่งเราก็จำกัดอยู่ไม่กี่ทีมซึ่งก็เกิดจากการชวนบริษัทรอบข้างหรือบริษัทในเครืออุตสาหกรรมเดียวกันก่อน สุดท้ายงานออกมาราบรื่น ผลตอบรับค่อนข้างดีและเราก็มองเห็นว่ามันน่าจะไปต่อได้ เป็นพื้นที่ให้เราได้ทำอะไรใหม่ๆ ด้วย

 

ทำไมตัดสินใจชวนพนักงานออฟฟิศมาแข่งเกม

เราคิดถึงการชวนนักแข่งอาชีพมาเหมือนกัน เพราะเขามีแฟนเบสอยู่แล้ว แต่เราก็สงสัยว่านั่นสร้างความต้องการให้คนดูมากพอหรือเปล่า เราเลยมามองตามความเป็นจริงในแง่ของคนที่รู้จักเกม เราจะเห็นว่าคนเหล่านี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือคนที่เก่งไปเลย คนที่ไม่สนใจเกมเลย และสุดท้ายคือคนที่รู้จัก อินอยู่บ้าง เคยเล่น เคยได้ยิน เคยดู กลุ่มนี้คือกลุ่มที่มีจำนวนคนมากที่สุด ซึ่งเรามองว่ายังไม่มีคนลงมาจัดแข่งสำหรับคนกลุ่มนี้  ผมเลยตั้งคำถามว่าแล้วทำไมเราไม่หันมาทำตรงนี้แทนล่ะ เพราะเรารู้กันอยู่แล้วว่าคนหาเช้ากินค่ำ พนักงานออฟฟิศหรือคนที่ทำงาน เขาก็เล่นเกมกัน 

บดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประวัติ

แต่นั่นก็อาจจะมีคนสงสัยว่าโตแล้ว ทำงานแล้ว ทำไมยังสนับสนุนให้คนเล่นเกมอยู่อีก

จริงๆ ก็ตั้งแต่สมัยก่อนแล้วที่เราอาจเคยได้ยินผู้ใหญ่พูดว่า ‘เด็กติดเกมจะไปทำอะไรกินได้’ ขนาดตัวผมเองยังโดนเลย แต่ผมคิดว่าสังคมตอนนี้เปลี่ยนไปแล้ว ในแง่หนึ่ง เราเห็นคนที่ทำอาชีพจริงจังเกี่ยวกับเกมแล้วทำเงินได้หลายแสน หลายล้านบาท โอเค มันอาจจะยังไม่ได้เยอะ แต่ผมมองว่าในอนาคตถ้าเราช่วยส่งเสริมและผลักดันคอมมิวนิตี้หรืออุตสาหกรรมเหล่านี้ให้โตต่อไปได้ นั่นน่าจะเป็นเรื่องดี

 

คุณเองเคยจริงจังกับการเล่นขนาดไหน

สมัยก่อนก็เล่นหนักครับ เฉลี่ยวันละ 4-5 ชั่วโมง เคยไปแข่งเกม StarCraft II ในงาน Thailand Game Show ด้วย เข้ารอบ 16 คนสุดท้ายจาก 64 คน

 

แต่พอมาถึงวัยทำงาน หรือแม้กระทั่งจัดแข่งเกมระหว่างพนักงานออฟฟิศด้วย คุณคิดว่าเราต้องหาสมดุลระหว่างการเล่นเกมและทำงานไหม

หลายคนน่าจะตั้งคำถามตรงนี้ ผมเข้าใจและพยายามเน้นอยู่ว่าเราต้องแยกแยะความรับผิดชอบและแบ่งเวลาให้ได้ องค์กรรุ่นใหม่บางองค์กรให้อิสระพนักงานในเวลางานให้งีบหรือเล่นเกมได้เพียงแต่ความรับผิดชอบต้องไม่ตก ผมว่านี่คือเรื่องสำคัญ  บริษัทผมเองอาจยังไม่ได้ไปถึงขั้นนั้นแต่ก็ยังอนุญาตให้เล่นเกมได้บ้าง ขอแค่งานคุณเสร็จอย่างที่บอกไว้ ดังนั้นสำหรับผม คำว่า ‘โตแล้วเล่นเกมได้’ หมายถึงคุณต้องแยกแยะความรับผิดชอบ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้เหมือนกัน

บดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประวัติ

หลังจากจัดแข่งครั้งแรกผ่านไป คุณได้เรียนรู้อะไรเพิ่มบ้าง

จากผลตอบรับที่ค่อนข้างดี ผมก็เล็งเห็นว่านี่อาจเป็นไอเดียหนึ่งในอนาคตก็ได้ เราอาจจะเห็นเทรนด์เรื่องเกมใหม่ๆ เกิดขึ้นตามมา เราไม่ได้มองว่าสิ่งที่เราทำจะจำกัดอยู่แค่ eSports แต่เรามองไปถึงไลฟ์สไตล์ในสังคม สุดท้ายเกมอาจจะต่อยอดโดยการไปเป็น facility ในคอนโดก็ได้ หรืออาจจะเป็น eSports cafe หรือ eSports hotel เป็นต้น

 

คุณคิดว่าสิ่งนี้จะเป็นเทรนด์ในระยะยาวแน่ๆ

ผมมองว่ามันจะโตขึ้น ยิ่งปัจจุบัน เราเห็นอยู่แล้วว่าเด็ก 7-8 ขวบเล่นเกมเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นเทรนด์คงไม่ตก ยิ่งดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาในทุกอุตสาหกรรมแบบนี้ ยังไงเทรนด์ก็ยังอยู่ ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจจะเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคอนโตต้องมีห้อง eSports ทั้งหมดนี้เป็นไปได้ถ้ามีฐานแฟนและคอมมิวนิตี้ที่แข็งแรงพอรองรับ

บดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประวัติ

สุดท้ายแล้วในฐานะเกมเมอร์คนหนึ่ง คุณว่าการเล่นเกมสำคัญอย่างไร

ถ้าอธิบายอย่างง่าย ผมคิดว่าในขั้นต้นเกมคือ work-life balance เกมช่วยเราผ่อนคลายได้ ถ้าเป็นวัยทำงานก็แค่แยกแยะความรับผิดชอบแค่นั้นเอง แต่ถ้ามองไปเรื่องที่ไกลกว่านั้น เดี๋ยวนี้เกมไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อีกต่อไปแล้ว คนที่เล่นเกมเป็นอาชีพต้องมีการวางแผน ซ้อมและจริงจัง อย่างช่วงที่ผมเคยแข่งเกม ผมยังจำได้เลยว่าตอนนั้นเวลาใส่หูฟังเราเครียดขนาดไหน เกมต้องใช้ความทุ่มเทไม่แพ้กีฬาอื่นเลย 

และอย่างสุดท้าย ผมว่าเกมกำลังจะสร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ อุตสาหกรรมมากมายและ ecosystem จะเกิดขึ้นตามมาและเติบโตไปพร้อมๆ กับวงการ อย่างในไทย ไม่แน่ว่าวันหนึ่งเกมอาจจะกลายเป็นวัฒนธรรมเหมือนกับที่เกาหลีใต้ก็ได้ นี่เป็นสิ่งที่น่าจับตาดูกันต่อไป เพราะมันพิสูจน์แล้วว่าเกมก็สามารถพัฒนาประเทศได้เหมือนกัน

บดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประวัติ

สุดท้าย คุณเมนฮีโร่ตัวไหนใน ROV

ผมเล่น Butterfly ครับ ฟาร์มป่าเร็วดี เวลาออกจากป่าตอนเลเวล 4 แล้วไปช่วยคนอื่นหรือไปไล่ฆ่าแล้วมันฟิน (หัวเราะ)