โครงงานพลาสติกชีวภาพจากแป้ง

TITLE NAME

ชื่อโครงการ (Project Name)

พลาสติกชีวภาพจากหญ้า

ผู้พัฒนา (Owner)

- กฤติยา นามวิจิตร
- ณัฐวิภา ทนาวัน
- พชรพร เพชรวิชิต

อาจารย์ที่ปรึกษา (Advisor)

- สมชนะ ปัตลา

โรงเรียน (School)

รร.บัวขาว

เนื้อหาบทคัดย่อ (Abstract Detail)

โครงงาน พลาสติกชีวภาพจากหญ้า โดย 1. นางสาวกฤติยา นามวิจิตร 2. นางสาวณัฐวิภา ทนาวัน 3. นางสาวพชรพร เพชรวิชิต อาจารย์ที่ปรึกษา นายสมชนะ ปัตลา โรงเรียนบัวขาว ที่อยู่ ตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46110 โทรศัพท์ 043-851208 โทรสาร 086-4563134 ระยะเวลาทำโครงงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม - 5 กันยายน 2560 บทคัดย่อ การศึกษาและพัฒนาพลาสติกชีวภาพจากหญ้า ซึ่งเป็นพลาสติกที่ได้จากวัชพืช เพื่อใช้ทดแทนพลาสติกจากโพลีเอธิลีน โดยการนำเซลลูโลสจากหญ้ามาทำเป็นพลาสติกชีวภาพ ซึ่งมีคุณสมบัติยืดหยุ่นเหมือนพลาสติก แต่สามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาไม่นาน จุดประสงค์ของการทำโครงงานนี้ เพื่อศึกษาคุณสมบัติด้านความสามารถในการทนแรงดึงของพลาสติกชีวภาพและพัฒนาคุณสมบัติของพลาสติกชีวภาพให้ดีมากยิ่งขึ้น และศึกษาระยะเวลาการย่อยสลายของพลาสติกชีวภาพจากหญ้า ผลการศึกษาทดลอง พบว่า จากการทดลองเพื่อศึกษาและพัฒนาพลาสติกชีวภาพจากหญ้า พบว่าเมื่อนำหญ้าเนเปียร์ หญ้าจักรพรรดิ์ และอ้อย มาหามวลเซลลูโลสต่อมวลแห้ง หญ้าจักรพรรดิ์มีมวลเซลลูโลสต่อมวลแห้งมากที่สุด เมื่อนำเซลลูโลสจากพืชทั้ง 3 ชนิด ทำเป็นพลาสติกชีวภาพแล้วศึกษาค่าการทนแรงดึงของแผ่นพลาสติกชีวภาพจากพืชทั้ง 3 ชนิด พลาสติกชีวภาพจากหญ้าเนเปียร์มีค่าการทนแรงดึงได้ดีที่สุด เมื่อศึกษาอัตราส่วนผสมของเซลลูโลสต่อแป้งข้าวโพดต่อกลีเซอรีนแผ่นพลาสติกที่มีอัตราส่วนผสมของเซลลูโลสต่อแป้งข้าวโพดต่อกลีเซอรีนในอัตราส่วน 6 : 3 : 1 มีคูณสมบัติเหมาะสมต่อการผลิตเป็นไบโอพลาสติกดีที่สุด เมื่อนำพลาสติกชีวภาพจากหญ้าจักรพรรดิ์ ไปทดสอบการย่อยสลาย พลาสติกจากหญ้าสามารถย่อยสลายได้หมดภายในระยะเวลา 3 วัน ดังนั้นแสดงว่าพลาสติกชีวภาพจากหญ้ามีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งด้านการทนแรงดึง และสามารถย่อยสลายได้ในเวลารวดเร็ว สามารถนำไปพัฒนาทำเป็นพลาสติกได้