การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ผลกระทบ

ปารีส, ฝรั่งเศส – รายงานความหลากหลายทางชีวภาพขององค์การสหประชาชาติย้ำเตือนถึงการสูญเสียสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตครั้งใหญ่อันเนื่องมาจากผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ต้องจุดประกายให้เกิดการลงมือทำอย่างเร่งด่วนในการปกป้องผืนป่า มหาสมุทรโลกและนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านระบบเกษตรกรรมและการผลิตและบริโภคอาหาร

รายงานการประเมินระดับโลกของคณะทำงานระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและนิเวศบริการ (IPBES) เตือนว่า มีสิ่งมีชีวิตกว่า 1ล้านสายพันธุ์ที่ตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ ถือเป็นความเสี่ยงที่สูงมากกว่าครั้งใดๆประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ทั้งนี้ รายงานยังระบุเพิ่มเติมว่าเป้าหมายเพื่อปกป้องธรรมชาติของโลกภายในปี พ.ศ.2563 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ(Strategic Plan for Biodiversity หรือ  Aichi biodiversity target) จะไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ และบ่อนทำลายเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)ลงครึ่งหนึ่ง

ด็อกเตอร์ คริสโตฟ ธีส์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านป่าไม้ของกรีนพีซเยอรมนี กล่าวว่า

“นี่คือผลจากการทำลายทรัพยากรที่เกิดขึ้นจริง รัฐบาลจำเป็นต้องลงมือปฏิบัติให้ประชาชนและภาคเอกชนใส่ใจและให้ความร่วมมือในการปกป้องธรรมชาติตามที่รายงานระบุเอาไว้ ผู้นำจำเป็นต้องนำรายงานนี้ไปปรับใช้เป็นแผนการการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการประชุมด้านสิ่งแวดล้อมครั้งต่อไปที่จีน (COP15) ในขณะนี้ ผลประโยชน์ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้สิ่งแวดล้อมเดินไปสู่หายนะ เราใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอดของเราเองมากเกินไป ทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในภาวะเสี่ยงและเร่งเร้าวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

รายงานฉบับนี้ไม่เพียงแค่ต้องการการลงมือปกป้องธรรมชาติอย่างเป็นรูปธรรม แต่ยังย้ำเตือนว่าหากเรายังคงไม่ระมัดระวังในการใช้ทรัพยากร ก็อาจจะเกิดหายนะทางธรรมชาติที่ไม่สามารถกู้คืนมาได้ การอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพมีบทบาทอย่างมากในฐานะเป็นทางออกตามธรรมชาติของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และตอนนี้คือเวลาสำคัญที่เราจะต้องกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศด้วยการปกป้องธรรมชาติซึ่งเป็นผู้ประคับประคองพวกเราเหล่ามนุษย์

ป่าไม้ ป่าพรุ และระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ควรจะต้องได้รับการปกป้องและฟื้นฟู โดยการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมไปกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงให้มากที่สุด โดยการเพิ่มพื้นที่กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยจำกัดการเพิ่มขึ้นอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ หากเราลงมือได้อย่างทันท่วงที เราอาจปกป้องโลกจากการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตครั้งใหญ่นี้

รายงานของ IPBES ยังระบุอีกว่ามหาสมุทรกว่าร้อยละ 66 กำลังเผชิญการคุกคามจากมนุษย์ และสัตว์ทะเลก็กำลัง “ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง” ทั้งนี้รายงานยังเตือนอีกว่าความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในมหาสมุทรกำลังร่อยหรอลง ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร และการปกป้องโลกจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

หลุยส์ซาร์ คาร์สสัน ผู้ประสารงานรณรงค์ปกป้องมหาสมุทรกล่าวว่า

มหาสมุทรเป็นแหล่งสนับสนุนค้ำจุนทุกชีวิตบนโลก ทั่วโลกควรร่วมมือกันหันมาใส่ใจและหาวืธีที่ดีที่สุดในการปกป้องสิ่งมีชีวิตในทะเลและธรรมชาติอันมีค่านี้ แทนที่จะหาประโยชน์จากมหาสมุทรในระยะสั้นๆ รัฐบาลต้องผลักดันมาตรการที่ยั่งยืนให้เป็นหัวใจสำคัญสู่การปกป้องมหาสมุทร

“รายงานยืนยันว่าวิธีการปกป้องมหาสมุทรในปัจจุบันนั้นไม่ได้ผล เพราะปัจจุบันนี้มีมหาสมุทรที่ได้รับการคุ้มครองเพียงร้อยละ 1 ของมหาสมุทรโลก และยังไม่มีกลไกด้านกฎหมายที่เอื้อให้เกิด “เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล(Ocean Santuaries)” ในน่านน้ำสากล

เราต้องการสนธิสัญญาทะเลหลวงที่จะปกป้องผืนมหาสมุทรอย่างน้อยร้อยละ 30 จากทั้งหมด ภายใน พ.ศ.2563 สนธิสัญญาหลวงจะเปิดโอกาสให้รัฐบาลทั้งหลายทำงานร่วมกันในการปกป้องชีวิต รวมทั้งยังปกป้องความมั่นคงทางอาหารสำหรับผู้คนอีกหลายล้านคน มหาสมุทรที่อุดมสมบูรณ์นั้นคือส่วนเชื่อมโยงสำคัญในการกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ

รายงานของ IPBES ย้ำเตือนว่าปัจจัยสำคัญเช่น การใช้ที่ดิน การใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิต วิกฤตสภาพภูมิอากาศ และระดับการบริโภค ได้เร่งเร้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน

อีริค แดริเออร์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กล่าวว่า

เรายินดีกับการเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงระบบอาหารอย่างเร่งด่วน การกินอาหารที่มีพืชผักเป็นหลักเพื่อลดเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม จะเป็นแนวทางลดผลกระทบทางลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และดีต่อสุขภาพของมนุษย์เรา

การปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรมต้องการพื้นที่การเกษตรเพื่อผลิตอาหารสัตว์เป็นจำนวนมาก ซึ่งการใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรในลักษณะดังกล่าวคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าและการทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและพรรณพืช ดังนั้น การปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรมควรบรรจุเป็นหนึ่งในนโยบายรัฐ ว่าทั่วโลกจะต้องลดการผลิตและบริโภคอาหารจากระบบปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรมให้ได้ร้อยละ 50 ภายใน พ.ศ.2593

อ่านรายงานการวิเคราะห์ของกรีนพีซ

การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ผลกระทบ

ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

ปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ย่อยสลาย ในปัจจุบันระบบนิเวศทั่วโลกกำลังเสียสมดุลจากการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติและการถูกทำลาย ส่งผลให้แนวโน้มอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในอนาคตจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ

สาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีดังนี้

1. ภัยธรรมชาติ เช่น การตกของอุกกาบาตขนาดใหญ่ลงมาบนพื้นโลกซึ่งเคยทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์มาแล้ว

2. การสูญพันธุ์หรือลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ ตามธรรมชาติ เช่น สัตว์ป่าบางชนิดล่ากันเอง การเกิดโรคระบาดในสัตว์ป่าบางชนิดและการไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้

3. การเปลี่ยนแปลงของอากาศประจำประเทศอย่างกะทันหัน เช่น ประเทศที่เคยมีอากาศร้อนแต่กลายเป็นประเทศที่มีอากาศหนาวและมีหิมะตกอย่างกะทันหันหรือประเทศที่เคยมีอากาศหนาวแต่กลายเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนอย่างกะทันหันส่งผลให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อาจเกิดการปรับตัวไม่ทันและสูญพันธุ์ในที่สุด

สาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์มีดังนี้

1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรมนุษย์อย่างรวดเร็ว ทำให้มีการบุกรุกทำลายป่าสูงขึ้นไปด้วย โดยมนุษย์ต้องการใช้พื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในการสร้างเป็นที่อยู่อาศัยหรือที่ทำกินของตัวเอง นอกจากนี้ยังมีปัญหาการเผาป่า การล่าสัตว์และการลักลอบตัดไม้ไปขายอีกด้วย (โดยปกติการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติอยู่แล้วแต่ใช้เวลาค่อนข้างนานอาจจะเป็นหลายล้านปี ซึ่งส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงได้เล็กน้อยแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์)

2. สิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien Species) หมายถึง พืชและสัตว์สายพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามาแพร่หลาย ขยายพันธุ์ในถิ่นอื่น ซึ่งให้ทั้งประโยชน์และโทษ

*ตัวอย่างประโยชน์ของสิ่งมีชีวิตพันธุ์ต่างถิ่น เช่น ยางพาราความจริงแล้วเป็นพืชต่างถิ่นที่นักเดินเรือชาวโปรตุเกสนำมาแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งต่อมายางพาราได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย

*ตัวอย่างโทษของสิ่งมีชีวิตพันธุ์ต่างถิ่น เช่น สิ่งมีชีวิตพันธุ์ต่างถิ่นบางชนิดจับสิ่งมีชีวิตท้องถิ่นกินเป็นอาหาร แย่งอาหาร แย่งที่อยู่อาศัย ทำให้เกิดโรคระบาด เป็นต้น ซึ่งโทษที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนั้นเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตท้องถิ่น

ต้นเหตุที่ทำให้มีพืชและสัตว์ต่างถิ่นเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทยมีดังนี้

2.1 มนุษย์เอามาเลี้ยงแล้วจงใจปล่อยออกสู่ธรรมชาติ เช่น หอยเชอรี่เป็นหอยทากน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ไทยได้นำเข้ามาเลี้ยงเพื่อกำจัดตะไคร่น้ำและเศษอาหารในตู้ปลา ต่อมามีคนตั้งใจขยายพันธุ์เพื่อใช้เป็นสัตว์เศรษฐกิจสำหรับการบริโภคแต่เมื่อไม่ได้รับความนิยมจึงปล่อยลงแหล่งน้ำตามธรรมชาติจึงกลายเป็นปัญหาสิ่งมีชีวิตพันธุ์ต่างถิ่นที่ทำลายระบบนิเวศของไทยในปัจจุบัน (หอยเชอรี่สร้างปัญหาให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมากเพราะกินพืชที่มีลักษณะนุ่มได้เกือบทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งชอบกัดกินต้นข้าว ส่วนสาเหตุที่เรียกหอยทากชนิดนี้ว่าหอยเชอรี่เพราะมีการออกไข่เป็นสีชมพูคล้ายผลเชอร์รี่)

2.2 มนุษย์เอามาเลี้ยงแล้วหลุดออกสู่ธรรมชาติโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น น้ำท่วมทำให้ปลาช่อนอเมซอนยักษ์หลุดออกสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติและกินสัตว์ท้องถิ่นเป็นอาหาร

2.3 ติดมากับชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาจากต่างประเทศทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เช่น แมงมุมแม่ม่ายสีน้ำตาลติดเข้ามากับเรือขนสิ่งสินค้าและมาแพร่พันธุ์ระบาดตามบ้านเรือน แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียนเข้ามาแพร่พันธุ์ในถ้ำเพราะติดมากับเส้นทางรถไฟสายมรณะในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น (วิธีสังเกตแมงมุมพิษให้ดูที่ท้อง แมงมุมพิษส่วนท้องจะป่อง กลมโตกว่าส่วนตัวเป็นพิเศษมากกว่าแมงมุมทั่วไป)

2.4 คนบางกลุ่มลักลอบนำเข้าสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง เช่น มีการลักลอบนำเข้าปลาอัลลิเกเตอร์หรือปลาจระเข้แถบอเมริกาใต้มาปล่อยลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ มีการลักลอบผสมจระเข้น้ำเค็มเข้ากับจระเข้น้ำจืดแล้วปล่อยลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ เป็นต้น

2.5 สิ่งมีชีวิตพันธุ์ต่างถิ่นบางชนิดสามารถมีชีวิตรอดอยู่บนขยะพลาสติกนานกว่า 6 ปี และอาจถูกพัดพาจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งได้ ที่สำคัญสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่ใช่แค่มีชีวิตรอดแต่ยังสามารถเจริญเติบโตและผสมพันธุ์จนเกิดจำนวนมากขึ้นในขยะพลาสติกระหว่างที่กำลังถูกพัดพาได้ (ขยะพลาสติกที่พบในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ นอกจากจะถูกทิ้งลงสู่แหล่งน้ำโดยฝีมือมนุษย์แล้ว ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ อีก เช่น สึนามิ ลมพัด เป็นต้น)

3. สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นหลุดออกสู่ระบบนิเวศตามธรรมชาติ

วิธีการป้องกันการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

1. ปลูกฝังให้คนไม่แพร่พันธุ์สิ่งมีชีวิตต่างถิ่นสู่ระบบนิเวศตามธรรมชาติ

2. ปลูกฝังให้คนไม่ทิ้งขยะพลาสติกและขยะต่าง ๆ สู่ระบบนิเวศตามธรรมชาติ

3. ปลูกฝังให้คนไม่ลักลอบเผาป่า ตัดไม้ทำลายป่าและล่าสัตว์

4. เฝ้าระวังไม่ให้มีสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหลุดออกสู่ระบบนิเวศตามธรรมชาติ

วิธีการแก้ไขปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

1. กำจัดสิ่งมีชีวิตพันธุ์ต่างถิ่นด้วยวิธีการที่ทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การเก็บผักตบชวามาทำเครื่องจักสาน การจับปลาซักเกอร์และหอยเชอรี่มาทำอาหาร เป็นต้น

2. เพาะพันธุ์สิ่งมีชีวิตท้องถิ่นที่ใกล้จะสูญพันธุ์คืนสู่ธรรมชาติ เช่น เนื้อทรายเคยเป็นสัตว์ป่าสงวนแต่เนื่องจากสามารถเพาะขยายพันธุ์คืนสู่ธรรมชาติได้ค่อนข้างมากจึงถูกถอดชื่อออกจากการเป็นสัตว์ป่าสงวนในเวลาต่อมา

3. ฟื้นฟูผืนป่าที่ถูกทำลายโดยฝีมือมนุษย์และเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติ

บทความด้านบนเป็นเพียงตัวอย่างสาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในปี 2562 เท่านั้น ในอนาคตอาจจะมีสาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่มากมายหลากหลายยิ่งขึ้น ซึ่งการแก้ไขปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชนหรือแม้กระทั่งประชาชนทั่วไป

ผลกระทบจากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพมีอะไรบ้าง

การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพจะทำให้ผลผลิตของระบบนิเวศลดลง ทำให้ระบบนิเวศไม่มั่นคงและมีความสามารถในการรองรับภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ ลดลง ไม่ว่าจะเป็นภัยจากพายุ น้ำท่วม ภาวะแห้งแล้ง รวมทั้งภัยคุกคามที่เป็นผลจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น มลพิษต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบัน เราต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ...

ความสําคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ มีอะไรบ้าง

ความสำคัญของความหลากหลายชีวภาพทางการเกษตร ผลผลิตทางเกษตรเพิ่มขึ้น และสร้างคามมั่นคงทางด้านอาหาร สร้างความมีเสถียรภาพและความยั่งยืนให้กับพื้นที่เกษตรกรรมและสภาพแวดล้อม การมีสายพันธุ์พืช สายพันธุ์สัตว์ ที่หลากหลายซึ่งช่วยป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชได้ มีส่วนช่วยในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพมีอะไรบ้าง

การคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพมีสาเหตุสำคัญมาจากการบุกรุกทำลายป่าและปรับเปลี่ยนพื้นที่ป่าเพื่อการทำการเกษตรกรรม ซึ่งจะส่งผลทำให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สภาพปัจจัยแวดล้อมรูปแบบใหม่ที่มีความแปรปรวนสูงได้ การสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย

ปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพมีอะไรบ้าง

การเติบโตของประชากรและการกระจายตัวของประชากร ทำให้เกิดการรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศ การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์นานาพันธุ์เช่น การทำลายป่า การล่าสัตว์ การอพยพหนีภัยธรรมชาติของสัตว์ ทำให้เกิดการขาดสมดุลทางธรรมชาติ