ถูกผู้บังคับบัญชากลั่นแกล้ง

กรณีที่ข้าราชการถูกกลั่นแกล้งจากหัวหน้างาน ไม่ยอมเซ็นประเมินผลงานให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงขึ้น โดยอ้างว่าผลงานที่เคยทำไม่เข้มพอที่จะส่งประเมินได้ กรณีนี้ ข้าราชการผู้นั้นควรทำอย่างไร เนื่องจากการกระทำของหัวหน้างานดังกล่าว ทำให้ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานเสียสิทธิอันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร และจริง ๆ ใครจะเป็นผู้ตัดสินว่างานที่ประเมินนั้นเข้มพอหรือไม่


ในระบบการประเมินจะต้องเสนอผ่านผู้บังคับบัญชา และผู้บังคับบัญชาย่อมมีอำนาจในการพิจารณาผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ แต่ถ้าหากผู้ถูกประเมินเห็นว่าเป็นการประวิงเวลา หรือหน่วงเหนี่ยวการดำเนินการอันเป็นเหตุให้เสียสิทธิ หรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร ก็อาจใช้สิทธิร้องทุกข์ เพราะเหตุคับข้องใจได้ตามนัยมาตรา 130 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ประกอบกฎ ก.พ. ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2543) ว่าด้วยกรณีที่อาจร้องทุกข์ การร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ขอให้แก้ไขความคับข้องใจ โดยจะต้องร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี เช่น ถ้าเหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชาในราชการบริหาร ส่วนกลางที่ต่ำกว่าอธิบดี ให้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. กรม และ อ.ก.พ. ดังกล่าวจะเป็นผู้พิจารณา เป็นต้น นอกจากนั้นอาจร้องทุกข์ตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2540) ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ขอให้แก้ไขการปฏิบัติไม่ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายได้ด้วย หากเป็นกรณีที่เข้าเกณฑ์ตามที่กำหนดใน กฎ ก.พ.

Show
คำถามที่เกี่ยวข้องAction
การนับระยะเวลาว่าพนักงานราชการปฏิบัติงานต่อเนื่องมาครบ 1 ปี เพื่อมีสิทธิสะสมวันลาพักผ่อน มีวิธีการนับอย่างไร เรียกดูข้อมูล
วันลาพักผ่อนของพนักงานราชการสะสมได้หรือไม่ เรียกดูข้อมูล
เมื่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้รับเรื่องร้องเรียนหรือตรวจพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิดวินัยจะต้อง ดําเนินการอย่างไร เรียกดูข้อมูล
การพิจารณาดําเนินการในกรณที่มีการร้องเรียนกล่าวหามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เรียกดูข้อมูล
เมื่อข้าราชการถูกล้างมลทิน ยังถือว่าเคยกระทําผิดวินัยอยู่หรือไม่ และ การล้างมลทินก่อให้เกิดสิทธิใดแก่ข้าราชการที่ได้รับการล้างมลทินบ้าง และข้าราชการนั้น จะมีสิทธิขอรับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาได้หรือไม่ เรียกดูข้อมูล

หากพูดถึงเรื่องของ “การเมือง” อาจไม่ได้หมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศของเราเสมอไป แต่อาจหมายถึงเรื่องราวสุดซับซ้อนที่เกิดขึ้นในที่ทำงานได้เช่นกัน หลายออฟฟิศอาจมีปัญหาการเมืองภายใน ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการลาออกของพนักงานที่ไม่สามารถทนปัญหานี้ได้ จนต้องทำให้บริษัทนั้นต้องเปลี่ยนพนักงานอยู่เรื่อยๆ

ถูกผู้บังคับบัญชากลั่นแกล้ง
รังแกลูกน้องมีโทษ

โดยการเมืองภายในบริษัทนั้น มักมาพร้อมเรื่องราวของการกลั่นแกล้งในที่ทำงาน ทั้งจากเพื่อนร่วมงานกันเอง หรือจากหัวหน้าสู่ลูกน้อง การถูกกระทำเช่นนี้มักทำให้คนที่โดนกระทำเกิดความรำคาญใจ ไม่สบายใจ พาลไปจนเกิดความเครียด และไม่มีความสุขในการทำงานได้ ยิ่งไปกว่านั้น บางทีก็อาจจะต้องกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาเพื่อนร่วมงานคนอื่น จนถูกเอาไปนินทา กลายเป็น Power Harrassment (การข่มเหงรังแกในที่ทำงาน)

รู้หรือไม่? การโดนรังแกในที่ทำงาน มีกฎหมายคุ้มครองอยู่

เราเชื่อว่าตอนนี้น่าจะมีหลายคนที่กำลังเจอปัญหาการถูกกลั่นแกล้งในที่ทำงานอยู่ แต่ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะจริงๆ แล้วในประเทศไทยมีตัวบทกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองและปกป้องผู้ถูกกระทำอยู่ด้วย โดยผู้ถูกกระทำสามารถแจ้งความเอาผิดต่อผู้ที่มากลั่นแกล้งหรือข่มเหงรังแกได้ โดยเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 397

ใจความสำคัญของมาตรา 397

“ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำการให้ได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำในที่สาธารณสถาน หรือต่อหน้าธารกำนัล หรือเป็นการทำในลักษณะส่อไปในทางล่วงเกินทางเพศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่ง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสอง เป็นการกระทำโดยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำ อันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท”

สำหรับความผิดตามมาตรานี้นั้นจะเป็นความผิดแบบลหุโทษ ซึ่งหมายถึงความผิดที่จริงๆ แล้วถือว่ายอมความกันได้ในชั้นของพนักงานสอบสวน แต่ถ้าหากผู้เสียหายอยากต่อสู้จนถึงที่สุด ก็สามารถดำเนินการร้องทุกข์ต่อไปได้ เพื่อก้าวเข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินคดีในชั้นศาลต่อไปได้เช่นกัน

การกลั่นแกล้งในที่ทำงาน มีโทษอย่างไร

เรื่องราวของการกลั่นแกล้งกันในที่ทำงานนั้น ถือเป็นข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในสถานประกอบการ โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งระหว่างลูกน้องด้วยกันเอง หรือจะเป็นหัวหน้ากับลูกน้อง รวมไปถึงลูกจ้างกับนายจ้าง เพราะฉะนั้นแล้วการข่มเหงรังแกในการทำงานนั้น ย่อมอาจเป็นการกระทำความผิดกฎหมายข้อหาในข้อหา รังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ และยิ่งถ้าคนที่ทำความผิดเป็นถึงระดับหัวหน้าด้วยแล้วล่ะก็ ความผิดนั้นจะเป็นการกระทำในบทฉกรรจ์ ซึ่งจะต้องรับโทษหนักมากขึ้นด้วย

ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าความผิดนี้เป็นความผิดแบบลหุโทษ ซึ่งอัตราโทษก็คือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยหากผู้กระทำผิดระบุว่าตนเองกระทำไปโดยไม่ได้เจตนา ก็ยังต้องรับโทษอยู่ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความผิดแบบลหุโทษถือเป็นความผิดเล็กน้อย ซึ่งอำนาจจะอยู่ที่พนักงานสอบสวนที่สามารถเลือกลงโทษด้วยการเปรียบเทียบปรับอย่างเดียว หากเห็นสมควรว่าผู้นั้นไม่ควรได้รับโทษจำคุก โดยผู้ต้องหาและผู้เสียหายจะต้องยินยอมให้พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบปรับด้วย

สำหรับความผิดแบบลหุโทษนี้จะเน้นการป้องกันข้อพิพาทระหว่างบุคคลไม่ให้เรื่องราวบานปลายใหญ่โต และป้องกันไม่ให้ความผิดอาญาขยายใหญ่เกินไป จนไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นปกติสุข

ตัวอย่าง 10 พฤติกรรมการข่มเหงรังแกในที่ทำงาน

รับรู้ข้อมูลของมาตรา 397 พร้อมบทลงโทษกันไปแล้ว คราวนี้มาดูตัวอย่างกันบ้างดีกว่า ว่าพฤติกรรมการรังแกแบบใดที่เสี่ยงผิดกฎหมายอาญา

1. ได้รับมอบหมายงาน ที่ไม่สามารถทำได้

ตั้งแต่วันสมัครงาน ทุกคนจะต้องมี Job Description ของตนเองระบุไว้อยู่แล้ว หากได้เข้าไปทำงานจริงๆ แล้ว บางครั้งการได้ทำงานนอกเหนือจากหน้าที่ หากมองในแง่บวกก็ถือเป็นเรื่องดี ที่เราจะได้ฝึกฝนทักษะ และเพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆ ต่อยอดให้ชีวิตการทำงานของเรา แต่หากเป็นการถูกโยนงานให้แบบไม่ชอบธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งให้ทำงานที่ไม่ตรงขอบเขต จนลามไปถึงการกลั่นแกล้งให้เราเกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน จุดนี้ก็สามารถถือเป็นความผิดได้เช่นกัน

2. ได้รับความกดดันมากไป

พื้นฐานของการทำงานที่ดีควรมาจากความสุข หากเรามีความสุขในการทำงานแล้ว ย่อมส่งผลให้ชิ้นงานนั้นๆ ออกมามีคุณภาพ แต่หากงานดังกล่าวกลับมีความกดดันเกิดขึ้น จนก่อให้ความเครียดสะสม ลามไปจนถึงการใช้ชีวิตประจำวันนอกออฟฟิศของเรา แบบนี้ก็ถือเป็นความผิดที่เสี่ยงอาญาได้

3. ถูกดุด่าว่ากล่าวอย่างรุนแรง ต่อหน้าคนในออฟฟิศ

ในการทำงาน คนเรามักมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ในฐานะหัวหน้าที่ดีคือ สามารถเรียกลูกน้องไปตักเตือนด้วย แต่ต้องเป็นการเตือนแบบไพรเวท ไม่ใช่การดุด่าว่ากล่าวด้วยถ้อยคำรุนแรงในสถานที่ที่มีคนอยู่ด้วยเยอะๆ หรือด่าต่อหน้าคนในออฟฟิศ ยิ่งถ้าความผิดนั้นถือเป็นความผิดเล็กน้อยด้วยแล้ว แต่หัวหน้ากลับเล่นใหญ่ไฟกระพริบ ด่ากราดลูกน้องที่ทำผิดแบบไม่ไว้หน้าต่อหน้าธารกำนัล ทำให้ลูกน้องเกิดความอับอาย ก็สามารถนำเรื่องนี้มาร้องทุกข์กล่าวโทษได้เหมือนกัน

4. ถูกสอบถามเรื่องส่วนตัวมากจนเกินงาม

อีกหนึ่งความผิดที่สามารถนำมาร้องทุกข์ได้ก็คือ การถูกละลาบละล้วงเรื่องส่วนตัวจนเกินไป แน่นอนว่าชีวิตในออฟฟิศมักไม่ได้แต่เรื่องงาน ซึ่งบางคนก็อยากแยกเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวออกจากกันให้ชัดเจน แต่ก็มักจะมีกลุ่มคนบางประเภทที่มักจะอยากรู้ชีวิตส่วนตัวของคนอื่นมากจนเกินไป จนทำให้ผู้เสียหายรู้สึกอึดอัด

5. ได้รับมอบหมายงานที่ไม่มีคุณค่า เพราะต้องการกลั่นแกล้ง

ข้อนี้อาจจะคล้ายๆ กับข้อ 1 แต่ก็มีหัวหน้าบางประเภทที่ไม่ชอบลูกน้องคนนี้เอาซะเลย เพราะฉะนั้นก็แกล้งด้วยการให้ลูกน้องคนนี้อยู่เฉยๆ ดีกว่า หรือมอบหมายงานอะไรสักอย่างที่ไม่มีคุณค่า หรืองานที่ไม่จำเป็นให้ทำ แล้วพอถึงเวลาประเมินผลงาน ก็กลับตลบหลังด้วยการบอกว่าลูกน้องคนนั้นไม่มีผลงานชิ้นโบว์แดง เลยต้องให้คะแนนน้อยกว่าปกติ

6. ถูกข่มขู่ว่าจะลดเงินเดือนหรือลดประโยชน์

ตามหลักแล้วก่อนการทำงาน เราทุกคนจะต้องมีการตกลงกับนายจ้างอย่างชัดเจนอยู่แล้ว ว่าเงินเดือนที่ได้รับจะอยู่ที่เท่าไร และส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีการลดเงินเดือนเกิดขึ้น หากพนักงานคนนั้นไม่ได้ทำผิดร้ายแรงจริงๆ หรือถ้าหากทำผิด บริษัทส่วนใหญ่ก็มักจะลงโทษด้วยวิธีอื่นๆ ดังนั้นถ้าหากเราถูกข่มขู่ด้วยเงื่อนไขที่ว่า ถ้าไม่ยอมทำงานที่ได้รับมอบหมาย แล้วจะถูกลดเงินเดือนหรือจะถูกลดผลประโยชน์ต่างๆ ให้รู้ไว้เลยว่า นี่คือการกลั่นแกล้งแน่นอน

7. โดยบังคับให้ไปเที่ยวหรือดื่มเหล้าหลังเลิกงาน ทั้งๆ ที่ไม่เต็มใจ

ไม่ใช่ทุกคนที่จะรักการสังสรรค์ บางคนถ้าเลิกงานก็อยากกลับบ้านไปพักผ่อนและผ่อนคลายจากงานที่เหนื่อยมาทั้งวัน ดังนั้นถ้าใครโดนบังคับจากหัวหน้าให้ไปเที่ยวด้วย หรือออกไปดื่มเหล้าต่อจนดึกดื่นหลังเลิกงาน หรือนอกช่วงเวลางาน ก็สามารถนำเรื่องราวเหล่านี้ไปร้องทุกข์ได้เช่นกัน

8. เมื่อทำความผิด แล้วถูกเอาไปเม้าท์ต่อลับหลัง

คนขี้เม้าท์ ขี้นินทา มีอยู่ในทุกสังคม ยิ่งเป็นในที่ทำงานด้วยล่ะก็ บอกเลยว่ามีทุกที่ ซึ่งถ้าหากเราดันเกิดทำงานผิดพลาด แล้วเพื่อนร่วมงานรู้ จนเกิดการเอาไปกระจายข่าวให้ระบือไกลซะยิ่งกว่าสำนักข่าวระดับโลก ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตัวเรา หรือแม้กระทั่งตัวหัวหน้าเอง ก็ไม่ควรเอาความผิดของลูกน้องตัวเองไปนินทาให้คนอื่นฟังด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้าหากเราทนไม่ไหว แล้วอยากแก้เผ็ดบุคคลประเภทนี้ ก็สามารถดำเนินการฟ้องท่านเปาได้เลย

9. ถูกประเมินผลงานแบบไม่แฟร์

เรื่องประเมินผลงานในออฟฟิศก็ถือเป็นเรื่องใหญ่ การเป็นหัวหน้าที่ดีควรประเมินลูกน้องตามผลงานจริง ไม่ควรเลือกที่รักมักที่ชัง หรือมีลูกน้องที่เป็นคนโปรดของตัวเองแล้วจะให้คะแนนพิศวาสเยอะกว่า ส่วนลูกน้องคนไหนที่เหม็นขี้หน้า ก็ให้คะแนนต่ำๆ ไป ทั้งๆ ที่ผลงานก็ทำออกมาได้ดีเหมือนกัน ถ้าลูกน้องคนไหนอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ให้รู้ไว้เลยว่า เราสามารถนำเรื่องดังกล่าวไปดำเนินการทางกฎหมายต่อได้

10. ถูกนำความลับส่วนตัว ไปเปิดเผยต่อคนในออฟฟิศ

เหมือนที่บอกไปในข้อ 4 ว่า ทุกคนล้วนมีเรื่องส่วนตัวที่ไม่อยากเปิดเผยให้ใครรู้ทั้งสิ้น แล้วถ้าสุดท้ายความลับดันเกิดรั่วไหลไปเข้าหูขาเม้าท์ประจำออฟฟิศ จนทำให้เราเกิดความเสียหายล่ะ บอกเลยว่าแบบนี้ต้องการจัดการดำเนินคดี ยิ่งเป็นถ้าเป็นเรื่องในครอบครัว เรื่องชู้สาว เรื่องโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เรื่องแบบนี้ยิ่งไม่ควรพูดต่อ หรือทำให้บุคคลใดๆ เกิดความอับอายทั้งสิ้น 

สรุปพฤติกรรมเสี่ยงผิดอาญา ถ้าหัวหน้ารังแกลูกน้อง

ทั้ง 10 ตัวอย่างที่กล่าวไป ในบางข้ออาจจะดูเป็นเรื่องจุกจิกเล็กน้อย ที่บางคนอาจจะทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และไม่คิดว่าจะเป็นการทำร้ายจิตใจผู้อื่น ยิ่งถ้าเป็นหัวหน้าด้วยแล้ว ย่อมต้องมีหลักการทั้งในเรื่องของความยุติธรรมและมนุษยธรรมอยู่เสมอ ส่วนใครที่เป็นผู้ถูกกระทำ แล้วอึดอัดจนเกิดความเครียด จนทนไม่ไหว ก็สามารถศึกษาข้อมูลของมาตรา 397 ไว้ได้ เพื่อจะได้นำเรื่องราวต่างๆ นี้ไปดำเนินคดี แต่อย่างไรก็ตามเพื่อสังคมออฟฟิศที่น่าอยู่ ทุกคนควรนึกถึงใจคนอื่น จะได้มีความสุขและอยากตื่นมาทำงานในทุกวัน

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

ถูกผู้บังคับบัญชากลั่นแกล้ง

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​
พนักงานมือใหม่เจอความกดดัน ควรทำอย่างไร
7 พฤติกรรมที่จะทำให้น้องใหม่ไม่ผ่านโปร