พฤติกรรม การใช้ สื่อ ออนไลน์ที่ไม่ควร ทำ

มักจะมีการใช้อีเมล์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไลน์ วอทช์แอป อินสตาแกรมอย่างแพร่หลาย หากใครไม่มีแอปฯไม่มีการติดต่อสื่อสารทางสังคมออนไลน์แบบนี้ก็ถือว่าตกเทรนด์ ไม่ทันสมัยและเชยมาก แต่สื่อสังคมออนไลน์นั้นเหมือนดาบสองคม คือมีทั้งให้คุณและให้โทษด้วยในเวลาเดียวกัน เพราะแม้ว่าระบบการสื่อสารที่ทันสมัยของเทคโนโลยีจะทำให้เราก้าวทันเหตุการณ์แต่ในทางกลับกันการให้ลูกหมกมุ่นกับสังคมออนไลน์มากเกินไปอาจมีอันตรายต่อเด็กได้เช่นกัน ดังนี้

1.สร้างให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมใหัเกิดขึ้น มีเด็กๆ หลายคนที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างไม่รู้ตัวเพราะสื่อออนไลน์ เช่น ลูกเห็นว่าเพื่อนๆลงรูปแต่งตัวโป๊ วับๆ แวมๆ ลงตามสื่อออนไลน์ต่างๆ แล้วมีคนให้ความสนใจกด like จำนวนมาก เด็กก็เลยอยากจะเป็นที่สนใจเช่นนั้น ก็เลยนำรูปถ่ายวับๆ แวมๆ ของตนเองลงตามสื่อออนไลน์ต่างๆ บ้าง ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงและอาจมีผลกระทบต่อการเรียนและการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมของลูกได้

2.อาจตกเป็นเหยื่อของพวกผู้ร้ายหรือผู้ที่ไม่ประสงค์ดี พวกคนร้ายมักแฝงตัวอยู่ในสังคมออนไลน์ เพราะมันสามารถทำความผิดได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง การรับบุคคลใดเป็นเพื่อนผ่านเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือโปรแกรมสนทนาออนไลน์โดยที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน อาจเป็นช่องทางให้ถูกหลอกลวง ซึ่งแน่นอนว่าอาจเกิดความไม่ปลอดภัยและเกิดผลเสียต่อลูกได้ เช่น การหลอกนัดให้ออกมาเจอตัวกันจริงๆ แล้วพาไปล่วงละเมิดทางเพศ หรือชิงทรัพย์ หรือไม่เช่นนั้นอาจเป็นช่องทางให้คนที่คิดไม่ดีกับเด็ก ใส่ความในทางที่อาจเสียหายต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง เช่น การนำรูปเด็กไปตัดต่อ การนำข้อมูลส่วนตัวของเด็กไปใช้ในทางที่เสียหาย

3.ทำให้หมดเปลืองเวลาโดยไร้ประโยชน์ หากเทียบกับผู้ใหญ่ที่หมกมุ่นอยู่ในสื่อออนไลน์ การแชทผ่านทางวอทช์แอป ไลน์ การเข้าไปดูข่าวสารหรือการเข้าไปดูยูทิวบ์ ยังสามารถทำให้เสียเวลาเสียงานเสียการไปมาก ยิ่งไปกว่านั้นสักแค่ไหนสำหรับลูกซึ่งยังเป็นเด็กอยู่ในวัยที่ไม่สามารถควบคุมตัวเอง อารมณ์และความต้องการได้ จะยิ่งตกเป็นทาสของสื่อออนไลน์มากยิ่งไปกว่าผู้ใหญ่เสียอีก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเข้ามาช่วยควบคุมลูกในเรื่องของเวลาในการเล่นสื่อออนไลน์อย่างจริงจัง เช่น กำหนดให้ใช้โทรศัพท์หรืออินเตอร์เน็ตได้หลังจากทำการบ้าน อ่านหนังสือทบทวนบทเรียนเรียบร้อยแล้ว หรือกำหนดจำนวนชั่วโมงที่จะให้ใช้ได้ จะช่วยให้เด็กไม่ติดกับมันมากเกินไปและทำให้เขามีเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่นมากขึ้น

4.ทำใหัละเลยกิจกรรมที่มีประโยชน์ การใช้เวลากับอินเทอร์เน็ต หรือสมาร์ทโฟนมากเกินไป ทำให้เด็กไม่ได้ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ที่ควรจะทำตามวัย เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน พูดคุยกับครอบครัว รวมถึงการทำงานเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม

5.ลักลอบทำสิ่งผิดกฎหมาย มีเว็บไซต์มากมายที่เป็นช่องทางแห่งอบายมุขและการทำธุรกิจที่ผิดกฎหมาย เช่น การค้าประเวณี การขายยาเสพติด การพนันออนไลน์ ซึ่งหากลูกเข้าไปดูไปชมเว็บไซต์เหล่านี้ก็อาจถูกชักชวนให้เข้าไปข้องเกี่ยวกับสิ่งไม่ดีเหล่านี้ได้ ด้วยความที่เด็กๆ เป็นวัยที่อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากลอง ก็อาจทำให้ถูกหลอกล่อได้ง่าย

6.เป็นสื่อสกปรกที่ใช้ทำร้ายกันได้ไม่ยาก สังคมออนไลน์เป็นแหล่งของการหลอกลวงที่ใหญ่มาก เด็กๆ จะได้อ่านข้อความใส่ร้าย โจมตี หยาบคาย ลามก ตลอดจนการลงรูปภาพผ่านทางสื่อออนไลน์ที่อาจจะเป็นรูปภาพที่แต่งเติมตัดต่อเพื่อใช้ประจานหรือกลั่นแกล้งผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งจะทำให้ลูกซึมซับความก้าวร้าว รุนแรง ผ่านสื่อเหล่านี้ไปอย่างไม่รู้ตัว

ทุกวันนี้ โซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตของคนเราเป็นอย่างมาก ด้วยความที่มันทำให้ทั้งโลกสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างไร้ขอบเขต มีประโยชน์ด้านการติดต่อสื่อสารที่ค่อนข้างหลากหลาย จนแทบพูดได้ว่าเกือบทุกคนน่าจะมีบัญชีโซเชียลมีเดียเป็นของตนเองอย่างน้อย 1 บัญชี ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มใดก็ตาม

การใช้ชีวิตในโซเชียลมีเดีย จะเรียกว่าเป็นโลกเสมือนก็ดูจะไม่ผิดนัก เพราะทุกอย่างมันอยู่บนออนไลน์เป็นสำคัญ บางอย่างจับต้องไม่ได้ในโลกความเป็นจริง รวมถึงอาจไม่มีอยู่จริงในโลกความเป็นจริงก็ได้ ชีวิตในโลกเสมือนเราจะเป็นใครก็ได้ที่ไม่ใช่ตัวเอง ถือเป็นความบันเทิงอีกรูปแบบที่อาจเป็นดาบสองคมต่อการใช้ชีวิตจริง ๆ และอาจทำให้เราติดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์บางอย่างมาจากการใช้โซเชียลมีเดียที่ไม่ได้ต้องการความเป็นทางการ หรือไม่ได้เป็นกิจจะลักษณะเท่าที่ควร

ดังนั้น พอต้องมาเข้าสังคมในโลกแห่งความเป็นจริง หลายคนก็อาจจะเผลอติดเอาพฤติกรรมเหล่านั้นมาใช้ ทั้งที่มันไม่ค่อยเหมาะสม เช่น ในการติดต่อสื่อสารที่ต้องการความเป็นทางการ หลายคนติดใช้ภาษาพูดแบบที่ใช้โพสต์ในโซเชียลมีเดียเป็นประจำ ในกรณีนี้อาจถึงขั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน้าที่การงานได้ เช่น ถูกตำหนิเพราะการสื่อสารไม่เหมาะกับกาลเทศะ สร้างความเข้าใจผิด เนื่องจากมันกำกวม หรืออาจถึงขั้นที่การสื่อสารไม่สัมฤทธิ์ผล ตรงที่สร้างความไม่พอใจให้กับคู่สนทนาที่เขาอาจจะถือเรื่องมารยาทมาก ๆ กับคนที่เขาสนใจจะติดต่องานด้วยก็ได้

ลองมาดูกันสักนิดว่าเราท่านอาจทำพฤติกรรมไม่พึงประสงค์อะไรบ้าง ที่ติดมาจากการใช้โซเชียลมีเดีย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ ในกรณีที่ต้องกลับมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง จนก่อให้เกิดปัญหาได้

พฤติกรรม การใช้ สื่อ ออนไลน์ที่ไม่ควร ทำ

1. ใช้สติกเกอร์เกินความจำเป็น

หลายคนอาจรู้สึกว่าการใช้สติกเกอร์แทนคำพูดนั้นช่วยให้การสนทนาดูเป็นมิตร เข้าถึงง่าย ดูเป็นกันเอง น่ารักมากกว่าตัวหนังสือเพียงอย่างเดียวที่อาจจะดูห้วน ๆ แข็ง ๆ จริงจังจนเครียด จึงมักจะใช้สติกเกอร์แสดงความรู้สึก แทนคำพูดในการสนทนา หรือใช้จบบทสนทนาของฝั่งตัวเอง แต่ในการสนทนาที่ค่อนข้างเป็นทางการ เช่น ในรูปของกิจธุระหรือธุรกิจควรหลีกเลี่ยงการใช้สติกเกอร์ เพราะมันจะทำให้บทสนทนานั้นดูเบาลงจนอาจดูไม่น่าเชื่อถือ ดูไม่เป็นมืออาชีพ เหมือนเห็นเรื่องทุกเรื่องเป็นเรื่องเล็ก ในเมื่อเราไม่รู้ว่าคู่สนทนามีทัศนคติอย่างไรหรือจะคิดอะไร ก็ระวังไว้ก่อนจะดีกว่า

2. ใช้ภาษาผิด ๆ ถูก ๆ

การใช้ภาษาผิด ไม่ได้หมายถึงแค่การสะกดคำผิด แต่รวมถึงการใช้คำผิดความหมาย ใช้คำผิดระดับ ใช้ลักษณนามไม่ถูกต้อง หากพูดคุยเรื่องที่เป็นงานเป็นการ ควรหลีกเลี่ยงการเขียนสะกดคำง่าย ๆ แบบที่ไม่ถูกหลักไวยากรณ์ แม้ว่าจะอ่านแล้วเข้าใจว่าหมายถึงอะไร ทว่ามันไม่เหมาะกับกาลเทศะ ทำให้ผู้ส่งสารดูไม่น่าเชื่อถือ ทั้งยังอาจทำให้การสื่อสารกำกวม ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ ฉะนั้น เมื่อใดที่ต้องติดต่อกับคนอื่นในเรื่องที่เป็นกิจจะลักษณะ ควรเช็กการใช้ภาษาให้ถูกต้อง สะกดคำให้ถูก และพยายามใช้ภาษามาตรฐานเท่านั้น เพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน

3. แชร์ข่าวปลอมกันอย่างง่ายดาย

ในการติดต่อสื่อสารภายในทีม หรือระหว่างหน่วยงาน ระหว่างองค์กรที่ติดต่อธุระกัน มักจะมีกลุ่มแชตในแอปฯ สำหรับพูดคุยติดต่อสื่อสารเรื่องงาน บ่อยครั้งที่เราจะเห็นคนในกลุ่มส่งข้อมูลบางอย่างมาด้วยความหวังดี อยากแชร์ให้คนอื่นได้รู้ด้วย แต่กลับไม่ได้ตรวจสอบก่อนที่จะแชร์ว่านั่นข่าวจริงหรือข่าวปลอม พอไม่ได้เช็ก คนอื่นในกลุ่มก็จะได้รับข้อมูลนั้นต่อ ทำให้ข่าวปลอมหรือข่าวบิดเบือนถูกส่งต่ออย่างกว้างขวางในเวลาอันรวดเร็ว มีผลให้การเสพข่าวสารกลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าที่ควร ดังนั้น หลีกเลี่ยงการแชร์ข้อมูลต่อในกลุ่มคุยงาน หรือต้องสังเกตและตรวจสอบให้มากขึ้น

4. เข้าใจว่าโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลักของการสื่อสาร

ช่องทางโซเชียลมีเดีย ไม่ควรจะเป็นช่องทางหลักสำหรับการติดต่อสื่อสารเรื่องที่เป็นกิจจะลักษณะ ด้วยความที่ส่วนมากมันจะเป็นช่องทางส่วนตัว ที่สามารถเข้าถึงผู้ติดต่อคนนั้นได้โดยตรง ๆ ฉะนั้น การส่งหรือคุยงานในแชตส่วนตัว ควรมีเฉพาะเรื่องที่ไม่จำเป็น ไม่สำคัญมาก และไม่เร่งด่วน ส่วนเรื่องสำคัญ เก็บไปไว้สื่อสารด้วยวิธีที่เป็นทางการกว่านี้ เช่น ส่งไฟล์งาน หรือการพูดคุยที่ต้องการหลักฐานอ้างอิงให้ใช้เป็นอีเมลในการคุยงาน ถ้ามีเรื่องด่วนให้โทร อย่าทิ้งข้อความไว้ในแชต เพราะผู้คนไม่ได้ออนไลน์ดูแอปฯ แชตตลอดเวลา ก็อาจจะไม่เห็นข้อความหรือยังไม่มีเวลาดู

5. โพสต์ทุกอย่างที่คิดในหัว แต่ปราศจากการคิดไตร่ตรอง

จำไว้ว่า “อดีตไม่เคยหายไปจากโลกดิจิทัล” เมื่อทุกอย่างเข้าสู่ระบบออนไลน์แล้ว ถึงจะแค่ไม่กี่วินาทีแล้วลบทิ้ง ก็มีพวก “แคปทัน” อยู่เกลื่อนเมือง ส่วน Digital Footprint ก็ตรวจหาร่องรอยไม่ยาก หากวันถูกขุดพบเข้า ชีวิตอาจจบเห่ได้ หลายคนมีบทเรียนตกม้าตายจากการคิดน้อยหรือไม่คิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะโพสต์อะไรลงโซเชียลมีเดีย ไม่คำนึงว่ามันอาจสร้างความเสียหายให้ตัวเองภายหลัง เช่น เรื่องดราม่าเรียกทัวร์ลง ด่าคนนั้นด่าคนนี้ คำหยาบคายสารพัด พอมีปัญหาก็หงายการ์ดรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขอให้สังคมให้อภัย มีกรณีตัวอย่างให้เห็นอยู่มากมาย

6. สร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

การติดต่อสื่อสารผ่านการแชตในโซเชียลมีเดีย มักจะเป็นการสื่อสารกันผ่านตัวอักษร พิมพ์ข้อความหากัน การรับสารจากการอ่าน บ่อยครั้งที่อาจทำให้เราเข้าใจคู่สนทนาคลาดเคลื่อน เพราะเราไม่มีทางรู้อารมณ์ น้ำเสียง สีหน้า อากัปกิริยา และเจตนาที่แท้จริงของคู่สนทนาได้เลย ด้วยความที่ไม่เห็นหน้าคู่สนทนา เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่สามารถรับรู้อารมณ์ที่แท้จริงของกันและกันได้ อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดระหว่างกันได้ง่ายมาก แค่เราเดาน้ำเสียงและอารมณ์ของผู้ส่งสารไม่ออก กว่าจะสื่อสารตรงกัน ระหว่างทางอาจเข้าใจกันไปคนละทิศคนละทางแล้ว

7. ภาวะเสพติดโซเชียลมีเดีย

การใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์มากเกินไป ให้โซเชียลมีเดียครอบงำชีวิตแทบทุกช่วงเวลา อาจทำให้เกิดภาวะเสพติดโซเชียลมีเดียได้ นำไปสู่สุขภาพจิตที่แย่ลง ความเครียด และอีกหลาย ๆ เช่น ลักษณะอาการ FOMO (Fear Of Missing Out) หรือ “กลัวตกกระแส” โรคขาดมือถือไม่ได้ หรือ “โรคโนโมโฟเบีย” (No Mobile Phone Phobia) การอยากอวดชีวิตของตัวเอง จนมีอาการป่วยเพราะโซเชียลมีเดียเป็นพิษ รวมถึงอาการคลั่งการกดไลก์ คอมเมนต์ หรือแชร์ข้อความต่าง ๆ ในโลกโซเชียล ด้วยเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่สำคัญทางจิตใจ และคนในสังคมให้คุณค่า

การกระทำใดที่ไม่ควรทำในการใช้สื่อออนไลน์

ใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการโพสต์ หรือ เผยแพร่ ส่งต่อ ข้อความ รูปภาพ วีดิโอที่อาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย เช่น ภาพหลุด คลิปหลุด หรือ โพสต์รูปภาพที่สื่อถึงอบายมุขต่างๆ และไม่ควรใช้ถ้อยคำหยาบคาย ถ้อยคำลามก อนาจาร ดูหมิ่น ส่อเสียด เสียดสี ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม

พฤติกรรมที่เป็นมารยาทออนไลน์ที่ไม่เหมาะสมคือข้อใด

ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-นามสกุลจริง , วันเกิด , อายุ , ที่อยู่ , เบอร์โทรศัพท์ หรือ สิ่งที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวคุณ เพราะนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้ข้อมูลต่างๆ ของเราถูกแฮกได้ เช่น การเปิดเผยที่อยู่จริงของคุณ เป็นเรื่องที่อันตรายมาก ใครที่ประสงค์ร้ายอาจเข้าใกล้คุณได้มากขึ้น , การเปิดเผยเบอร์โทร อายุ วันเกิด ...

การกระทำใดที่เป็นการสุ่มเสี่ยงในการใช้สื่อออนไลน์

การใช้งานบนเบราว์เซอร์ให้หลีกเลี่ยงการเข้าเครือข่ายทางสังคมผ่านทางคลิกลิงก์จากผลแสดงการค้นหา หรือจากอีเมล เพราะอาจเป็น URL ปลอมที่นำเราไปยังเว็บไซต์ปลอม เพื่อหลอกเอาบัญชีผู้ใช้และ Password ได้ เช่น www.facebook.com อาจมี URL หลอกเป็น www.faeebook.com เป็นต้น คัดกรองคนที่ขอเป็นเพื่อน

สิ่ง ใด ที่ไม่ควรทำ ใน Social Media

10 ข้อมูลที่ไม่ควรโพสต์ลงโซเชียล ... .
1. ภาพหน้าจอของการสนทนาส่วนตัว (Private Conversation Screenshot) ... .
2. การแท็กสถานที่ว่าอยู่ที่ไหน (Check-in Location) ... .
3. กำหนดการของทริปถัดไป (Your Trip Plans) ... .
4. รูปถ่ายบัตรเครดิตของคุณ (Your Credit Card Picture) ... .
5. ข้อมูลทางการเงิน (Financial Information).