วิทยาศาสตร์ความงามและสุขภาพ เงินเดือน

วิทยาศาสตร์ความงามและสุขภาพ เงินเดือน

          มธ. เผยผลสำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตจบใหม่ ชี้แพทย์ ได้เงินเดือนสูงสุด ส่วนโอกาสทำงาน บัญชี แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และสหเวชศาสตร์ มีงานทำสูงสุด 100% เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปิดเผยผลการสำรวจ “ภาวะการมีงานทําของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นปี การศึกษา 2554” ซึ่งจัดเก็บข้อมูลในเดือนสิงหาคม 2555 และติดตามภาวะการมีงานทํา ต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤษภาคม 2556โดยนําเสนอข้อมูลทั้งหมดในภาพรวมรายกลุ่มสาขาวิชา 3 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

โดยผลสํารวจภาวะการมีงานทําของบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นปี การศึกษา 2554 พบว่า บัณฑิตระดับปริญญาตรีภาคปกติ สําเร็จการศึกษาทั้งสิ้น 5,693 คน และได้ตอบแบบสํารวจภาวะการมีงานทํา 5,107 คน (ร้อยละ 90.75) ในจํานวนนี้

  • มีงานทําแล้ว ร้อยละ 71.33 (3,643 คน)
  • ยังไม่ได้ทํางาน ร้อยละ 1.53 (78 คน)
  • ศึกษาต่อ/อื่น ๆ ร้อยละ 27.14 (1,386 คน)

เมื่อพิจารณาข้อมูลการมีงานทําของบัณฑิตในรายคณะ เรียงลําดับตามร้อยละการมีงานทําเทียบกับผู้สําเร็จการศึกษาสูงสุด

  • อันดับแรก คือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตมีงานทําสูงสุด ร้อยละ 100 เท่ากัน
  • อันดับ 2 คือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร้อยละ 98.57
  • อันดับ 3 คือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ร้อยละ 98.54
  • อันดับ 4 คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ร้อยละ 98.26
  • อันดับ 5 คือ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ร้อยละ 97.92

ส่วนประเภทงานที่ทำ

  • พนักงานบริษัท/องค์กรธุรกิจเอกชน ร้อยละ 68.71 (2,503 คน)
  • ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ร้อยละ 12.93 (471 คน)
  • ธุรกิจอิสระ/เจ้าของกิจการ ร้อยละ 7.91 (288 คน)
  • ประกอบอาชีพอื่น ๆ ร้อยละ 4.97 (181 คน)
  • พนักงาน/ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.78 (65 คน)
  • พนักงานองค์การต่างประเทศ/ระหว่างประเทศ ร้อยละ 1.15 (42 คน)
  • ไม่ระบุ ร้อยละ 2.55 (93 คน)

บัณฑิตที่ได้งานทําแล้วได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 21,059.69 บาท โดยคณะที่บัณฑิตได้รับเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับ ได้แก่

  • คณะแพทยศาสตร์ 46,477.74 บาท
  • คณะทันตแพทยศาสตร์ 38,030.85 บาท
  • สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร 23,577.91 บาท
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ 23,532.06 บาท
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 22,902.01 บาท
  • คณะเศรษฐศาสตร์ 20,142 บาท
  • คณะศิลปศาสตร์ 19,813.05 บาท
  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 19,112 บาท
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ 18,826.75 บาท
  • คณะสหเวชศาสตร์ 18,693.14 บาท
  • คณะรัฐศาสตร์ 18,450.84 บาท
  • คณะพยาบาลศาสตร์ 17,977.80 บาท
  • คณะนิติศาสตร์ 17,577.93 บาท
  • คณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง 17,026.53 บาท
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 16,722.40 บาท
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ 16,638.21 บาท
  • คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 16,561.64 บาท
  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 14,552.77 บาท
  • วิทยาลัยสหวิทยาการ 13,482.53 บาท

ความรู้ความสามารถพิเศษที่ทําให้ได้งานทําสอดคล้องกับกลุ่มสาขาวิชาที่สําเร็จการศึกษา คือ

  • กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คือ ด้านภาษาต่างประเทศ ร้อยละ 44.04
  • กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 41.31
  • กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ อื่น ๆ (ซึ่งระบุว่า เป็นความรู้เฉพาะสาขาวิชาชีพ) ร้อยละ 25.67

บัณฑิตส่วนใหญ่ได้งานทําตรงสาขาที่สําเร็จ ร้อยละ 96.90 (3,530 คน) และสามารถนําความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับงานที่ทําได้ในระดับมาก ร้อยละ 37.47 (1,365 คน) และพึงพอใจต่องานที่ทํา ร้อยละ 85.59 (1,819 คน)

ส่วนบัณฑิตที่ไม่พึงพอใจในงานที่ทํา มีสาเหตุเนื่องจาก

  • ไม่พอใจค่าตอบแทน ร้อยละ 25.14 (132 คน)
  • ไม่ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา ร้อยละ 21.90 (115 คน)
  • ระบบงาน ร้อยละ 20.00 (105 คน)
  • ขาดความก้าวหน้า ร้อยละ 11.81 (62 คน)
  • ขาดความมั่นคง ร้อยละ 8.95 (47 คน)
  • สาเหตุอื่น ๆ ร้อยละ 8.19 (43 คน)
  • ผู้ร่วมงาน ร้อยละ 4.00 (21 คน)

สําหรับบัณฑิตยังไม่ได้ทํางาน (78 คน) นั้น มีสาเหตุมาจาก

  • ยังไม่ประสงค์จะทํางาน ร้อยละ 43.59 (34 คน)
  • รอฟังคำตอบจากหน่วยงาน ร้อยละ 32.05 (25 คน)
  • สาเหตุอื่น ๆ ร้อยละ 21.79 (17 คน)
  • ไม่ระบุ ร้อยละ 3.70 (2 คน)

สําหรับบัณฑิตที่กำลังศึกษาต่อ (1,371 คน) ส่วนใหญ่กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ร้อยละ 70.75 (970 คน) โดย

  • เลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาเดิม ร้อยละ 49.23 (675 คน)
  • เลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาใหม่ ร้อยละ 47.12 (646 คน)
  • ไม่ระบุ ร้อยละ 3.65 (50 คน)

เมื่อพิจารณาแหล่งการศึกษาต่อ พบว่า

  • ศึกษาต่อในประเทศ ร้อยละ 77.61 (1,064 คน)
  • ศึกษาต่อต่างประเทศ ร้อยละ 22.39 (307 คน)

เหตุผลที่ตัดสินใจศึกษาต่อส่วนใหญ่เนื่องจาก

  • งานที่บัณฑิตต้องการต้องใช้วุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 39.97 (548 คน)
  • เป็นความต้องการของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ร้อยละ 26.55 (364 คน)
  • เหตุผลอื่น ๆ ร้อยละ 24.29 (333 คน)
  • ไม่ระบุ ร้อยละ 4.67 (64 คน)
  • ได้รับทุนศึกษาต่อ ร้อยละ 4.52 (62 คน)

ที่มา : กระปุกดอทคอม

New jobs every day means new opportunities. Don't miss out. Create a Job Alert

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

หางานนักศึกษาจบใหม่

รอยเท้าดิจิทัล กับโอกาสได้งานทำ