บุคคลใดที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ดูแล และแก้ปัญหาของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

บุคคลใดที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ดูแล และแก้ปัญหาของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์






บุคลากรทางคอมพิวเตอร์

           บุคคลกรทางคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กรและนโยบายของผู้บริหารรวมถึงงบประมาณและการพัฒนาบุคคลากรขององค์กรนั้นๆ เพื่อให้ระบบพัฒนาแล้วดำเนินไปด้วยดี ผู้ประกอบวิชาชีพเหล่านี้ได้แก่ ผู้บริหารด้านระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบ วิศวกรระบบ วิศวกรซอฟแวร์ ผู้บริหารระบบเครือข่าย นักโปรแกรมระบบ โปรแกรมเมอร์ เหล่านี้เป็นต้น

บุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์สามาแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ดังนี้

       1.ผู้บริหารระดับสูงในการพัฒนาระบบสารสนเทศหรือผู้จัดการศูนย์คอมพิวเตอร์

       2.หัวหน้าฝ่ายหรือผู้ดูแลเกี่ยวข้องกับระบบและโปรแกรม

       3.เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์

 1.ผู้บริหารระดับสูงในการพัฒนาระบบสารสนเทศหรือผู้จัดการศูนย์คอมพิวเตอร์

            ผู้บริหารด้านระบบสารสนเทศขององค์กร หรือรู้จกกุนใน IRM (conformation Resource Management Manager) มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ในการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมดขององค์กร วางแผนการจัดการด้านงบประมาณและดำเนิดการ ขัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ให้ความรู้ความสามารถทันกับเทคโนโลยี

  2.หัวหน้าฝ่ายหรือผู้ดูแลเกี่ยวข้องกับระบบและโปรแกรม     ประกอบไปด้วย

           นักวิเคราะห์ระบบ(system analyst)และออกแบบระบบ( system designers) เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการพัฒนาโปรแกรนงมมาแล้วเป็นอย่างสูง มีหน้าที่ประสานงานกับผู้บริหารระดับสูงในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ศึกษาและรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ เพื่อนำมาวิเคราะห์และออกแบบระบบใหม่เป็นผู้แก้ปัญญาที่เกิดขึ้นในองค์กรอันเนื่องมาจากใช้สารสนเทศปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบงานติดตามและพัฒนาระบบงานให้ทันสมัยเป็นผู้นำนโยบายในการพัฒนาระบบขององค์กรมาสู่การปฏิบัติ จัดทำเอกสารทาง  เทคนิคและคู่มือผู้ใช้ระบบงานที่พัฒนาขึ้นดำเนินการวางแผนติดตั้งโปรแกรมต่างๆ

          วิศวกรระบบ(system engineer) มีหน้าที่มรการควบคุม การใช้งานฮาร์ดแวร์ และการใช้งานโปรแกรมระบบปฏิบัติงาน ควบคุมการออกแบบระบบที่ใช้งานอยู่ รวมถึงพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ติดตามผลการใช้ฮาร์แวร์ ตรวจสอบรายงนของระบบ หาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ให้คำแนะนำและอบรมแก่ผู้ควบคุมหรือผู้ใช้เครื่องเกี่ยวกับข้อควรระวังและข้อปฏิบัติในการใช้ จัดทำรายงานผลการทำงานของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ปริมาณงานที่ใช้ในงานขิงหน่วยประมวลผล (CUP time)และการใช้เนื้อที่ของหน่วยจำสำรองรอเป็นต้น

           วิศวกรซอฟต์แวร์ (softwere engieer) มีหน้าที่ดูแล วิเคราะห์ประเมินผลการใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ ขององค์กร จัดทำโครงการพัฒนาระบบตั้งแต่เริ่มต้นจาสิ้นสุดโครงการ กำหนดหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รายงานผลต่อผู้บริหาร ปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับซอฟ์แวร์

           ผู้บริหารระบบเครือข่าย ( network administrator ) มีหน้าที่ในการออกแบบระบบเครือข่าย ( lan หรือ wan ) รวมถึงการกำหนดอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายซอฟต์เเวร์ที่เกี่ยวข้อง ประสานกับผู้ออกแบบระบบ ดูแลและแก้ปัญหาการใช้เครือข่าย รวบรวมสถิติข้อผิดพลาดในการใช้ระบบเครือข่ายเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

           นักโปรแกรมระบบ ( system programmer ) เป็นผู้ที่มีความรู้ในฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) เป็นอย่างดี ศึกษาและพัฒนาโปรแกรมระบบตลอดเวลาบำรุงรักษาโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ติดตามผลการใช้ซอฟต์แวร์ระบบและการบำรุงรักษาประสานงานในการพัฒนาระบบเกี่ยวกับการเขียนบนโปรแกรมกับนักวิเคราะห์ระบบ

          นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (aplication programmer) มีหน้าที่และความรับผิดชอบในด้านการศึกษาฮาร์ดแวร์ของระบบเดิม จัดการบริหารกำลังคน เจ้าหน้าที่ในส่วนของการพัฒนาระบบให้รับผิดชอบงานได้อย่างเหมาะสม พิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการใช้งาน โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ พิจารณาจัดหาโปรแกรมประยุกต์มาใช้กับระบบงานต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ประเมินผลและจัดทำรายงานผลการพัฒนาโครงการต่างๆ ให้ผู้บริหารทราบ

         ผู้บริหารระบบฐานข้อมูล(database administrator:DBA) มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล การออกแบบโครงสร้างไห้เหมาะสมกับอง๕์การนั้นๆ การสร้างและเก็บข้อมูล ในฐานข้อมูลต่างๆ ข้ององค์การใช้งานร่วมกันได้ กำหนดมาตรตาฐานการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลการจัดระดับการใช้ข้อมูล การบำรุงรักษาฐานข้อมูล การสำรองขอมูล การจัดการ ข้อมูลออกจากระบบ การกำหนอดมาตรฐาน ข้อมูล ศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับ ระบบฐานข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิเพิ่มมากขึ้น

          นักพัฒนาโปรแกรม หรือผู้เขียนโปรแกรม ( programmer) เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมแพนใต้ข้อกำหนดและลักษณะของโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ โดยมีลักษณะการเขียนตามมาตรฐานของการเขียนโปรแกรม ประสานงานกับนักโปรแกรม ระบบและ นักวิเคราะห์ระบบเพื่อกำหนดขั้นตอน ในการทำงานสารสนเทศ และแสดงออกมาเป็นชุดคำสั่ง เพื่อสั่งให้ระบบทำงานได้ตามความต้องการ ของโปรแกรมและทดสอบการทำงานของโปรแกรม แก้ไขปัญหา หรือข้อผิดพลาดของโปรแกรม

3. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์  ประกอบด้วย

       ผู้ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ (computer operator) เป็นผู้รับผิดชอบ ดูแล บำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ไห้สามารถทำงานกับเป็นปกติ ปิด-เปิดเครื่องตามเวลาที่กำหนดไว้ทำรายงานความผิดพลาด และความผิดปกติของการประมวลผลหรือการทำงานของคอมพิวเตอร์ แจ้งผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

       ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (computer user) เป็นผู้ไห้ข้อมูลการใช้คอมพิวเตอร์ ไห้ข้อมูลความต้องการในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานในหน่วยงาน การใช้โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนโปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้น

    นอก จากวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกได้แก่

            ผู้สร้างและดูแลเว็บไซต์ขององค์การบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งต้องมีความรู้เรื่องเครื่องมือผ่านพัฒนาต่างๆในระบบ อินเตอร์เน็ตและมีส่วนร่วมในการพิจารณาฮาร์ดแวร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้ในห้องอินเตอร์เน็ต

ผู้เชี่ยวชาญการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุตล เป็นผู้ใช้ในการอบรมมาเพื่อจัดการด้านการใช้ PC และอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเข้าใจในระบบ LAN ศึกษาและรู้จักซอฟแวร์พื้นฐานที่ใช้กับ PC ทุกประเภท และสร้าง interface ลักษณะกราฟิกต่างๆได้

          ผู้เชี่ยวชาญการทำงานคอมพิวเตอร์เฉพาะงาน เป็นผู้ใช้ที่คุ้มเคยระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศเฉพาะงานด้านต่างๆ เช่น ระบบสารสนเทศเพื่อการบัญชี การตลาดการสิ้นค้าคงคลัง ขึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับงานธุรกิจด้านนั้นๆ และรู้จักระบบสารสนเทศเพื่องานนั้นๆ เป็นอย่าง 

บุคคลในข้อใดทำหน้าที่วิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ดูแล และแก้ปัญหาของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

นักวิเคราะห์ระบบ (SYSTEM ANALYST) คือผู้ที่ศึกษาปัญหา และรวบรวมความต้องการของระบบ เพื่อวิเคราะห์ระบบงานในการกำหนดบุคคล ข้อมูล การประมวลผล การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ ว่าจะจัดการหรือปรับปรุงอย่างไร เพื่อสามารถพัฒนาระบบธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ

บุคลากรที่มีหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์คือใคร

ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่น การพิมพ์งาน การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ก็ได้

ใครมีหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร

System Administrator มีหน้าที่บริหารและจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร ที่คอยดูแลและจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีความหลากหลายขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือโครงการ แต่โดยทั่วไปแล้ว จะมีหน้าที่ติดตั้ง ตอบคำถาม ดูแลเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงการวางแผนงาน การดูแล ควบคุมโครงการที่เกี่ยวข้อง

ผู้ใดมีหน้าที่ในการให้คำแนะนำวิเคราะห์และแก้ปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่าย และอุปกรณ์ต่างๆ

นักวิเคราะห์ระบบ ทำหน้าที่ศึกษาปัญหา และความต้องการขององค์กรในการกำหนดบุคคล ข้อมูล การประมวลผล การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ว่าจะจัดการกับข้อมูลที่มีอย่างไร หรือจะทำการปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไรจากข้อมูลที่มี เพื่อสามารถพัฒนาระบบของธุรกิจ ไปสู่ความสำเร็จได้