เฉลย ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโลก

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

                                    แผนที่1 ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5                                             เวลาเรียน  9  ชั่วโมง

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559

1.มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

       5.1   ม.4-6/1   ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศ

                             อย่างมีประสิทธิภาพ

                 ม.4-6/3   วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์

                             ในประเทศไทยและทวีปต่างๆ

2.สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

       อิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ในประเทศไทย และทวีปต่างๆ ของโลก ซึ่งมีผลต่อวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์

3.สาระการเรียนรู้

3.1  สาระการเรียนรู้แกนกลาง

1)  เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ให้ข้อมูล และข่าวสารภูมิลักษณ์ ภูมิอากาศ และภูมิสังคมของไทย

     และภูมิภาคต่างๆ ของโลก

2)  การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทยและ

     ทวีปต่างๆ เช่น การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก

4.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

       4.1   ความสามารถในการสื่อสาร

       4.2   ความสามารถในการคิด 

       4.3   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต                   

5.คุณลักษณะอันพึงประสงค์                                        

       1.      มีวินัย                                                

       2. ใฝ่เรียนรู้

       3.   มุ่งมั่นในการทำงาน

6.ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

    บทความวิเคราะห์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์

7.     การวัดและการประเมินผล

7.1    การประเมินก่อนเรียน

       -    แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์

          7.2     การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

              1) ใบงานที่ 1.1   เรื่อง  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโลก

              2)  ใบงานที่ 1.2   เรื่อง  ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ของโลก

              3)  ใบงานที่ 1.3   เรื่อง  ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

              4)  ใบงานที่ 2.1   เรื่อง  ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ในประเทศไทย

              5)  ประเมินการนำเสนอผลงาน

              6)  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

       7.3   การประเมินหลังเรียน

       -    แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์

       7.4   การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

       -    ประเมินบทความวิเคราะห์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์

8. กิจกรรมการเรียนรู้

 ชั่วโมงที่ 1-6  (วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคคู่คิด (Think-Pair-Share), เทคนิคการจัดทีมแข่งขัน (TGT : Team Games Tournament) )

1.   นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์

2.    ครูนำภาพถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม แผนที่โลก และลูกโลก มาให้นักเรียนดู แล้วให้

นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ว่า นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับโลกในประเด็นใดบ้าง ซึ่งนักเรียนสามารถตอบได้อย่างหลากหลาย

3.    ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโลกในหัวข้อสัณฐานและโครงสร้างของโลก

และส่วนประกอบของเปลือกโลก

4.    นักเรียนจับคู่กันศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโลกเพิ่มเติม จากหนังสือเรียน หรือหนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม

หรือแหล่งข้อมูลสารสนเทศ ตามความเหมาะสม แล้วนำมาอภิปรายประเด็นสำคัญ

5.    นักเรียนแต่ละคู่ช่วยกันทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโลก และช่วยกันตรวจสอบ

ความถูกต้อง

6.    ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงานที่ 1.1 และช่วยกันสรุปความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัณฐาน

และโครงสร้างของโลก และส่วนประกอบของเปลือกโลก

7.    ครูนำภาพเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของโลกเปิด Powerpoint  ภาพบรรยากาศและท้องฟ้า การเกิดกลางวัน

กลางคืน การละลายของธารน้ำแข็ง การเกิดข้างขึ้นข้างแรม ฯลฯ แล้วครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลาง ค่อนข้างเก่ง ปานกลางค่อนข้างอ่อน และอ่อน ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ภาพในข้างต้น ว่า ภาพดังกล่าวให้ข้อคิดเกี่ยวกับสภาพของโลกในปัจจุบันอย่างไรบ้าง แล้วให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอความคิดเห็นที่หน้าชั้นเรียน

8.    ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจว่า การดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งในประเทศ และในส่วนต่างๆ

ของโลกจะสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ เกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ ของโลกทั้ง 4 ประการ ได้แก่

            1)  ปรากฏการณ์จากบรรยากาศและท้องฟ้า

            2)  ปรากฏการณ์จากธรณีภาค

            3)  ปรากฏการณ์จากอุทกภาค

            4)  ปรากฏการณ์จากชีวภาค

       9. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ ของโลก

ในข้อ 7 เพิ่มเติม โดยศึกษาความรู้จากหนังสือเรียน หรือหนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม แล้วนำมาอภิปราย

ร่วมกันในหัวข้อที่สำคัญ หรือแหล่งข้อมูลสารสนเทศ ตามความเหมาะสม

10.   นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำใบงานที่ 1.2 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ของโลก โดยแบ่งหน้าที่กัน

ทำงาน ดังนี้

1)      สมาชิกแต่ละกลุ่มเริ่มทำใบงาน จากคำถามข้อ 1 โดยให้สมาชิกแต่ละคนปฏิบัติ ดังนี้

                                         มีหน้าที่อ่านคำถาม และแยกแยะสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญของคำถาม

                                         วิเคราะห์หาแนวทางตอบคำถาม อธิบายให้ได้มาซึ่งแนวคำตอบ                             

                                         หรืออธิบายให้ได้มาซึ่งคำตอบ

                                         รวบรวมข้อมูล และเขียนคำตอบ

                                         สรุปขั้นตอนทั้งหมด ตรวจคำตอบ

            2)   เมื่อถึงคำถามข้อ 2 ก็ให้สมาชิกคนที่ 2 เลื่อนขึ้นมาทำหน้าที่แทนคนที่ 1 สมาชิกคนที่ 3 เลื่อนขึ้นมา

                 ทำหน้าที่แทนคนที่ 2 สมาชิกคนที่ 4 เลื่อนขึ้นมาทำหน้าที่แทนคนที่ 3 สมาชิกคนที่ 1 เลื่อนขึ้นมา

                 ทำหน้าที่แทนคนที่ 4 จะหมุนเวียนเปลี่ยนหน้าที่กันไปเรื่อยๆ จนครบคำถาม ซึ่งรวมแล้วสมาชิก

                 ทุกคนจะได้ทำหน้าที่ทุกบทบาท

            สมาชิกทุกคนร่วมมือกันตอบคำถามที่กำหนดไว้จนเสร็จเรียบร้อย มีการพึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือกัน

            และมีการอธิบายให้กันฟังจนเข้าใจ จนสมาชิกทุกคนสามารถทำแบบฝึกหัดได้ครบทุกข้อ แล้วจึงมี

            การดำเนินกิจกรรมขั้นต่อไป คือ มีการแข่งขันกันตอบปัญหา

11.   การเตรียมแข่งขัน มีการจัดโต๊ะแข่งขันที่มีตัวแทนแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีทั้งเก่ง ปานกลางค่อนข้างเก่ง

ปานกลางค่อนข้างอ่อน และอ่อน ครูจัดโต๊ะแข่งขัน โดยกำหนดให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ซึ่งมี

ความสามารถแตกต่างกันไป แยกย้ายกันไปแข่งขันในโต๊ะที่จัดไว้ตามความสามารถ ตัวอย่างเช่น

-          นักเรียนที่มีความสามารถอยู่ในระดับเก่งของแต่ละกลุ่มจะไปแข่งขันในโต๊ะที่จัดไว้สำหรับ

คนที่มีความสามารถอยู่ในระดับเก่ง

-          นักเรียนที่มีความสามารถอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างเก่งของแต่ละกลุ่มก็จะไปแข่งขัน

     ในโต๊ะที่จัดไว้สำหรับคนที่มีความสามารถระดับปานกลางค่อนข้างเก่ง

-          นักเรียนที่มีความสามารถอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างอ่อนของแต่ละกลุ่มก็จะไปแข่งขัน

ในโต๊ะที่จัดไว้สำหรับคนที่มีความสามารถระดับปานกลางค่อนข้างอ่อน

-          นักเรียนที่มีความสามารถอยู่ในระดับอ่อนของแต่ละกลุ่มก็จะไปแข่งขันในโต๊ะที่จัดไว้สำหรับ

คนที่มีความสามารถระดับอ่อน

12.   การดำเนินการแข่งขัน

            1)   ครูแจกซองคำถามให้ทุกโต๊ะ ซึ่งมีคำถามเท่ากับจำนวนนักเรียน ซึ่งถ้ามีเวลามากอาจจะมีคำถาม

                 เป็น 2 หรือ 3 เท่าของจำนวนนักเรียน โดยตอบเป็น 2 หรือ 3 รอบก็ได้ ครูควรชี้แจงให้นักเรียน

                 ทราบว่า ทุกคนผลัดกันเป็นผู้อ่านคำถาม ขอให้อ่านช้าๆ ชัดๆ ผู้อ่านคำถามมีหน้าที่อ่านคำเฉลย

                 และให้คะแนนผู้ที่ตอบถูกตามลำดับ ดังนั้นครูจะต้องมีคำเฉลยที่ชัดเจนใส่ซองให้นักเรียนควบคู่

                 ไปกับคำถาม อาจเริ่มจากคำถามง่ายๆ ไปถึงยากก็ได้ คำถามแต่ละข้อนั้นผู้สอนควรเป็นผู้กำหนด

                 เวลาต่อข้อก็ได้

2)   เริ่มการแข่งขัน

     (1) นักเรียนคนที่ 1 หยิบซองคำถาม 1 ซอง เปิดซองอ่านคำถาม แล้ววางลงกลางโต๊ะ

     (2) นักเรียนอีก 3 คน แข่งขันกันตอบคำถาม โดยเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบของตน

          ส่งให้คนอ่านที่ 1

     (3) คนที่อ่านคำถามทำหน้าที่ให้คะแนนตามลำดับคนที่ส่งก่อนหลัง

          - ผู้ที่ตอบถูกคนแรกได้ 2 คะแนน

          - ผู้ที่ตอบถูกคนต่อมาได้ 1 คะแนน

     (4) สมาชิกในทีมแข่งขัน ผลัดกันทำหน้าที่อ่านคำถามจนหมด โดยให้ทุกคนได้ตอบคำถาม

          จำนวนเท่ากัน

     (5) ให้ทุกคนรวมคะแนนของตนเอง โดยมีสมาชิกทุกคนในกลุ่มรับรองร่วมกันว่าถูกต้อง

          อาจจะให้เซ็นชื่อรับรองด้วยก็ได้ และมีการคิดคะแนนในรูปแบบโบนัสได้ เช่น

          - ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในแต่ละโต๊ะจะได้โบนัส                 10   คะแนน

          - ผู้ที่ได้คะแนนรองอันดับ 1 ได้โบนัส                           8   คะแนน

          - ผู้ที่ได้คะแนนรองอันดับ 2 ได้โบนัส                           6   คะแนน

          - ผู้ที่ได้คะแนนรองอันดับ 3 ได้โบนัส                          4   คะแนน

            (ครูผู้สอนอาจออกแบบการแข่งขันเป็นอย่างอื่น)

12.   การให้คะแนนทีมผู้ชนะ ผู้ที่ไปทำการแข่งขันจะกลับเข้ากลุ่มเดิม นำคะแนนการแข่งขันแต่ละคน

มารวมกันเป็นคะแนนของทีม ทีมที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับรางวัล คือ คำชมเชย หรือการประกาศ

ชมเชยบนป้ายนิเทศ

       13. ครูให้นักเรียนแต่ละคนสืบค้นข้อมูลโดยใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้มาล่วงหน้า

            1)   ปรากฏการณ์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศทำให้เกิดภัยพิบัติต่าง ๆ

            2)   ปรากฏการณ์จากธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก

       14. สมาชิกในแต่ละกลุ่มร่วมกันพิจารณาข้อมูลที่หามา แล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกันตามหัวข้อที่กำหนด

            ในใบงานที่ 1.3 เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

       15. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของใบงาน แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน

            โดยมีกลุ่มอื่นซึ่งเป็นผู้ฟังทำหน้าที่แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

       16. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปสาระสำคัญของผลกระทบจากปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของ

            ภูมิศาสตร์ที่มีต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์

17.   ครูอธิบายความรู้ให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์จากอุทกภาคในหัวข้อต่อไปนี้

(1)     วัฏจักรทางอุทกวิทยา

(2)     การไหลเวียนของกระแสน้ำมหาสมุทร

(3)     ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดจากอิทธิพลของกระแสน้ำมหาสมุทร

(4)     ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดจากน้ำขึ้น-น้ำลง และน้ำเกิด-น้ำตาย

(5)     ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับแหล่งน้ำจืด

(1)      ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับทะเลและมหาสมุทร

18.   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจับคู่กันเป็น 2 คู่ ให้แต่ละคู่ศึกษาความรู้ เรื่อง ปรากฎการณ์จากชีวภาค

จากหนังสือเรียน หรือหนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม ตามความเหมาะสม ในหัวข้อที่กำหนดให้

19.   นักเรียนแต่ละคู่ผลัดกันเล่าเรื่องที่ได้ศึกษามาสู่กันฟัง และผลัดกันซักถามข้อสงสัยจนมีความกระจ่างชัดเจน ครูสุ่มนักเรียนออกมานำเสนอข้อมูลความรู้ที่ได้ศึกษามา ประมาณ 2-4 กลุ่ม จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศอุทกภาค ธรณีภาค และ

ชีวภาคในพื้นที่ต่างๆ ของโลก

ชั่วโมงที่ 6-9 วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw) วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม

20.   ครูนำภาพลักษณะภูมิประเทศในภาคต่างๆ ของประเทศไทย มาให้นักเรียนช่วยกันทายว่า ภาพต่างๆ

ดังกล่าวนั้น อยู่ในภาคใด พร้อมอธิบายเหตุผล

21.   ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน คละกันตามความสามารถ เรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้าน

(Home Groups) แต่ละคนมีหมายเลขประจำตัวตั้งแต่หมายเลข 1-3 ตามลำดับ สมาชิกแต่ละคน

ในกลุ่มแยกย้ายกันไปเข้ากลุ่มใหม่ โดยให้นักเรียนที่มีหมายเลขตรงกันมาอยู่ด้วยกัน เรียกกลุ่มนี้ว่า

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Groups)

22.   นักเรียนแต่ละหมายเลขร่วมกันศึกษาความรู้ จากหนังสือเรียน หรือหนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม ตามความ

เหมาะสม ในหัวข้อที่กำหนดให้ ดังนี้

            - กลุ่มหมายเลข 1 ศึกษาความรู้เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะธรณีสัณฐานในประเทศไทย

            - กลุ่มหมายเลข 2 ศึกษาความรู้เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะอุทกภาคในประเทศไทย

            - กลุ่มหมายเลข 3 ศึกษาความรู้เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะชีวภาคในประเทศไทย

       23. สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญช่วยกันสรุปประเด็นสำคัญของเรื่องที่ศึกษาจนมีความเข้าใจกระจ่างชัดเจน

แล้วแยกย้ายกันกลับเข้าสู่กลุ่มบ้าน

24.   สมาชิกแต่ละหมายเลขของทุกกลุ่มในกลุ่มบ้าน ผลัดกันเล่าเรื่องที่ตนได้ศึกษามาให้สมาชิกคนอื่นฟัง

โดยให้ผู้ฟังจดบันทึกข้อความสำคัญ และซักถามผู้เล่าจนมีความเข้าใจกระจ่างชัดเจน

25.   นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน แล้วให้กลุ่มอื่นที่เป็นกลุ่มผู้ฟังช่วยกัน

แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

26.   ครูให้นักเรียนแต่ละคนหาภาพ หรือภาพข่าว หรือข้อมูลที่แสดงถึงปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะ

ธรณีสัณฐาน หรือลักษณะอุทกภาค หรือลักษณะชีวภาคในประเทศไทยมาล่วงหน้า คนละ 1 เรื่อง

27.   สมาชิกในแต่ละกลุ่มช่วยกันเลือกข้อมูลในข้อ 7 ที่มีสาระครอบคลุมตามประเด็นในหัวข้อที่กำหนด

ในใบงานที่ 2.1 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ในประเทศไทย

28.   สมาชิกในแต่ละกลุ่มช่วยกันตอบคำถามในใบงานที่ 2.1 แล้วช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบ

ในใบงาน และให้ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน

29.   ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะธรณีสัณฐาน

ในประเทศไทย ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะอุทกภาคในประเทศไทย และปฏิสัมพันธ์ของ

มนุษย์กับลักษณะชีวภาคในประเทศไทย

30.   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำบทความวิเคราะห์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ โดยให้ครอบคลุม

ประเด็นสำคัญที่กำหนด

31.  นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์

9   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

9.1    สื่อการเรียนรู้

1)  หนังสือเรียน ภูมิศาสตร์ ม.4-ม.6

2)  หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม

(1)  ทรัพยากรธรณี, กรม. การลดความเสี่ยงจากกรณีพิบัติภัยคลื่นยักษ์สึนามิ. มปท, 2548.

(2)  ทรัพยากรธรณี, กรม. แผ่นดินไหว ภัยใกล้ตัว. กรุงเทพฯ : แนกซอส อินฟินิตี้, 2548.

(3)  ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ และศุภฤกษ์ ตันศรีรัตน์วงศ์. คู่มือเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ.

     กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า, มปป.

(4)  วรรณี พุทธาวุฒิไกร. ภูมิศาสตร์ประเทศไทย . กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2546.

3)   เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม แผนที่โลก และลูกโลก

4)   ตัวอย่างสื่อประกอบการสอน

5)     ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโลก

6)     ใบงานที่ 1.2 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ของโลก

7)  ใบงานที่ 1.3 เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

8)  ใบงานที่ 2.1 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ในประเทศไทย

        9.2  แหล่งการเรียนรู้

              1)  ห้องสมุด

              2)  แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

                   http://th.wikipedia.org/wiki/โลก

                   http://th.wikipedia.org/wiki/ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

                   http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?...

                   http://th.wikipedia.org/wiki/หมวดหมู่: ภูมิศาสตร์ไทย

                   http://tkc.go.th/pageconfig/.../viewcontent1.asp?pageid...