เรื่องอิเหนาได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในเรื่องใด

เรื่องอิเหนาได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในเรื่องใด

สวัสดีเพื่อนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทุกคน หลังจากผ่านมรสุมความยากของบทเรียนเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิงกันไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราต้องมาทำข้อสอบวัดระดับความเข้าใจกันสักหน่อย สูดหายใจลึก ๆ แล้วไปทำพร้อมกันเลย

เพื่อน ๆ สามารถดูวิดีโอการสอนเรื่องอิเหนาแบบจัดเต็มได้ที่แอปพลิเคชัน StartDee ดาวน์โหลดที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลย

เรื่องอิเหนาได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในเรื่องใด

1. จุดประสงค์ในการแต่งเรื่องอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง  คืออะไร
  1.   เพื่อใช้สำหรับแสดงละครนอก
  2.   เพื่อใช้สำหรับแสดงละครใน
  3.   เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางภาษา
  4.   เพื่อให้ความรู้กับประชาชนในการสู้รบ
  5.   เพื่อเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่  ๒

ตอบ  2. เพื่อใช้สำหรับแสดงละครใน เพราะใช้ในการแสดงในวัง และผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน

2. ลักษณะคำประพันธ์ในเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง  คือข้อใด

  1. กลอนนิทาน
  2. กลอนสุภาพ
  3. กลอนเสภา
  4. กลอนบทละคร
  5. กลอนดอกสร้อย

ตอบ  4. กลอนบทละคร  เพราะใช้สำหรับการแสดงละครใน  ขึ้นวรรคแรกด้วยคำว่า  เมื่อนั้น บัดนั้น   มาจะกล่าวบทไป

3. ตัวละครตัวใดไม่ได้อยู่ในราชวงศ์อสัญแดหวา

  1.   ท้าวกุเรปัน
  2.   ท้าวดาหา
  3.   ท้าวกะหมังกุหนิง
  4.   อิเหนา
  5.   บุษบา

ตอบ  3. ท้าวกะหมังกุหนิง เพราะเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์กะหมังกุหนิง

     “...แต่การศึกครั้งนี้ไม่ควรเป็น       เกิดเข็ญเพราะลูกอัปลักษณ์

  จะมีคู่ผู้ชายก็ไม่รัก                     จึงหักให้สาสมใจ...”

4. บทร้อยกรองนี้ผู้กล่าวมีความประสงค์ใด
  1. ระบายความน้อยใจ
  2. อ้อนวอนขอความเห็นใจ
  3. ตัดพ้อต่อว่าให้เห็นว่าแค้นใจ
  4. ประชดประชันด้วยความเจ็บปวด
  5. เยาะเย้ยอีกฝ่ายให้เจ็บใจ

ตอบ  4. ประชดประชันด้วยความเจ็บปวด เป็นคำพูดของท้าวดาหาที่ประชดอิเหนาที่ไม่มาแต่งงานกับบุษบา

5. ข้อใดเป็นทรรศนะเกี่ยวกับผู้หญิงที่ไม่ได้สะท้อนจากเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

  1. ผู้หญิงงามเป็นชนวนของสงคราม
  2. ผู้หญิงที่แย่งสามีผู้อื่นเป็นที่น่ารังเกียจ
  3. ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วเป็นสมบัติของสามี
  4. ผู้หญิงที่เป็นม่ายขันหมากย่อมได้รับความอับอาย
  5. ผู้หญิงที่ดีต้องเชื่อฟังคำสั่งของพ่อแม่

ตอบ  3. ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วเป็นสมบัติของสามี ไม่ปรากฏในตอนดังกล่าว

6. เหตุใดบทละครเรื่อง อิเหนา จึงได้รับการ ยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดแห่งกลอนบทละครรำ

  1. ใช้ภาษาสละสลวย เสริมจินตนาการ
  2. แฝงคุณค่าด้านคุณธรรมและจริยธรรม
  3. เนื้อหาสอดคล้องกับการแสดงนาฏศิลป์
  4. การดำเนินเรื่องดีเด่น
  5. ถูกทุกข้อ

ตอบ  5. ถูกทุกข้อ ด้วยเหตุผลหลายข้อประกอบกัน

7. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับละครใน

  1. ผู้แสดงล้วนเป็นผู้หญิง
  2. ผู้แสดงมีทั้งนางใน และชาวบ้าน
  3. ผู้แสดงเป็นชายและหญิงที่อยู่ในพระราชวัง
  4. เป็นการแสดงที่ให้ประชาชนเข้ามาชมภายในพระราชวัง
  5. เป็นละครที่แสดงในวงจำกัดเท่านั้น

ตอบ  1. ผู้แสดงล้วนเป็นผู้หญิง  เป็นนิยามที่สำคัญของละครใน

8. “...ถึงว่ากษัตริย์ทั้งสี่กรุง       จะมาช่วยรบพุ่งเป็นศึกใหญ่...” 

ข้อใดไม่ตรงความหมายกับคำที่พิมพ์ ตัวหนา

  1. ดาหา           
  2. มะเดหวี
  3. กาหลัง        
  4. สิงหัดส่าหรี
  5. กุเรปัน

ตอบ  2. มะเดวี เป็นชื่อตำแหน่งตามลำดับ มเหสีลำดับที่ 2 ของกษัตริย์ชวา

นอกจากข้อสอบเรื่องอิเหนาแล้ว StartDee ยังมีข้อสอบภาษาไทยอีกเยอะในบล็อกของเรา อย่างเช่น ข้อสอบภาษาไทย เรื่อง การใช้คำราชาศัพท์ นอกจากนั้น เพื่อน ๆ ยังอ่านวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ ได้อีกนะ คลิกเลือกที่ลิสต์ด้านล่างได้เลย

  • ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
  • หัวใจชายหนุ่ม
  • คำนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ
  • มงคลสูตรคำฉันท์

แนะนำบทความ รวม 10 รายชื่อวรรณคดี และความเป็นเลิศทางการประพันธ์ ประเภทต่างๆ อาทิ “เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน” ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของกลอนสุภาพ”

สวัสดีค่ะ ครูพี่โบว์มาตามคำสัญญาแล้วจ้า … บทความที่แล้วน้องๆ ได้รู้แล้วว่า “วรรณคดีกับวรรณกรรมมีความแตกต่างกันอย่างไร” และได้รู้ที่มาของวรรณคดีสโมสรด้วยแล้วนั้น วันนี้ครูพี่โบว์มี “ รายชื่อวรรณคดีและความเป็นเลิศทางการประพันธ์ ” มาฝากน้องๆ กันค่ะ

รวม 10 รายชื่อวรรณคดี และความเป็นเลิศทางการประพันธ์ ประเภทต่างๆ

หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีจากวรรณคดีสโมสร และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดหรือเป็นเลิศทางด้านการประพันธ์ประเภทต่างๆ ที่รู้จักกันโดยทั่วไปมี 10 เล่ม ได้แก่

  1. “ลิลิตพระลอ” ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของลิลิต”

  2. “สมุทรโฆษคำฉันท์” (นิพนธ์โดย พระมหาราชครู สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส) ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของคำฉันท์”

  3. “มหาชาติกลอนเทศน์” ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของกาพย์”

  4. “สามก๊ก” ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ผู้อำนวยการแปล ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของความเรียงเรื่องนิทาน”

  5. “เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน” ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของกลอนสุภาพ”

  1. “บทละครเรื่อง อิเหนา” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของบทละครรำ”

  2. “พระราชพิธีสิบสองเดือน” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของความเรียงอธิบาย”

  3. “หัวใจนักรบ” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของบทละครพูด”

  4. “พระนลคำหลวง” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของกวีนิพนธ์”

  5. “มัทนะพาธา” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของบทละครพูดประเภทคำฉันท์”

นอกจากหนังสือทั้ง 10 รายชื่อที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “วรรณคดี” แล้วนั้น ยังมีหนังสืออีกหลายเรื่องที่ต่อมาก็ได้รับการยกย่องเป็นวรรณคดี เช่น “นิทานเบงคอลี” หรือนิยายเบงคลี ซึ่งเป็นผลงานแปลของเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป, “สาวเครือฟ้า”, “พระอภัยมณี”, “นิราศนรินทร์” เป็นต้น

น้องๆ คงคุ้นหูกับชื่อวรรณคดีหลายเรื่องข้างต้น เพราะวรรณคดีเหล่านั้นล้วนเป็น “วรรณคดีมรดก” มรดกทางวัฒนธรรมที่กวีผู้สร้างสรรค์ผลงาน ได้เลือกสรรถ้อยคำให้เกิดความงามทางวรรณศิลป์ ก่อให้เกิดสุนทรียภาพ อีกทั้งยังสะท้อนวัฒนธรรม ประเพณี คติ ข้อปฏิบัติต่อสังคม และความเชื่อในแต่ละยุคแต่ละสมัยที่เราสามารถเรียนรู้และนำข้อคิดที่ได้จากเรื่องมาปรับประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน จึงได้มีการบรรจุวรรณคดีเหล่านั้นในหนังสือเรียนวรรณคดี รายวิชาภาษาไทย ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

บทความหน้า ครูพี่โบว์จะมีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีแต่ละเรื่อง ส่วนจะเป็นเรื่องไหนบ้าง อย่าลืมติดตามกันนะคะ

https://seeme.me/ch/krubow/kExWGq

link seeme.me/ch/krubow/kExWGq

SEEME.ME : ครูพี่โบว์

บทความแนะนำ

  • ทบทวนความรู้กับ หนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.5 – โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน
  • คณะมนุษยศาสตร์ กับ คณะศึกษาศาสตร์ ต่างกันอย่างไร ?
  • 10 เรื่องน่ารู้ จากสามัคคีเภทคำฉันท์ – เกร็ดความรู้จากวรรณคดี
  • สรุปความรู้เรื่อง กาพย์เห่เรือ – วรรณคดีวิจักษ์ ระดับชั้น ม.6

อิเหนาที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรเป็นฉบับของผู้ใด

บทความเรื่อง พระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา: อิทธิพลที่มีต่อศิลปะด้านคีตศิลป์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทเพลงที่ได้รับอิทธิพลจากบทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรเมื่อปีพ.ศ.2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เรื่องอิเหนาเป็นยอดของบทละคร ...

เพราะเหตุใดบทละครเรื่องอิเหนาจึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของบทละครรำ

ในบรรดาบทละครรําที่คนชอบ เรื่องอื่นเห็นจะไม่เสมอด้วยเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ วรรณคดีสโมสรก็ได้ตัดสินเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๕๙ ว่าเป็น ยอดของบทละครรําทั้งสิ้น เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งความ ทั้งกลอน ทั้ง กระบวนที่จะเล่นละครประกอบกันทุกสถาน ที่จริงบรรดาบทละครพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๒ ก็ดีพร้อมเช่นนั้นทุก ...

บทละครเรื่องอิเหนาได้รับยกย่องในรางวัลอะไร

บทละคอนพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนานี้ เป็นวรรณคดีไทยที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อพ.ศ.2459 ว่าเป็นยอดของบทละคอนรำ

บทละครเรื่องใดที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร

บทละครที่ทรงพระราชนิพนธ์ 2 เรื่องได้รับการยกย่อง จากวรรณคดีสโมสร คือ มัทนะพ ธ เป็นยอดแห่งบทละครพูด คำาฉันท์และ หัวใจนักรบ เป็นยอดแห่งบทละครพูด

อิเหนาที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรเป็นฉบับของผู้ใด เพราะเหตุใดบทละครเรื่องอิเหนาจึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของบทละครรำ บทละครเรื่องอิเหนาได้รับยกย่องในรางวัลอะไร บทละครเรื่องใดที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เรื่องอิเหนามีมาตั้งแต่สมัยใด ข้อใดเป็นปมปัญหาสำคัญที่สุดของเรื่องอิเหนาที่ทำให้เกิดปมปัญหาอื่นๆ ต่อไป วรรณคดีเรื่อง อิเหนา เข้ามาสู่ประเทศไทยได้อย่างไร เรื่องอิเหนามีที่มาจากชนชาติใด ดาหลัง อิเหนาใหญ่ เป็นผลงานของกวีท่านใด ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์ หมายถึงใคร เจ้าสตรี หมายถึงใคร