กิจกรรม ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ปฐมวัย

แบบการนำเสนอผลงานสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best  Practices) 

ด้านการจัดประสบการณ์การจัดการศึกษาปฐมวัย

๑. ชื่อผลงาน :   การพัฒนาจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะการคิด

 โดยการใช้กิจกรรมผังกราฟิก Venn  Diagram ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ ๓ 

๒.  ด้าน   การจัดประสบการณ์การจัดการศึกษาปฐมวัย(ด้านครูผู้สอน)

๓. ชื่อผู้นำเสนอผลงาน   :  นางสาว อรทัย  พงษ์ปิยะมิตร 

ตำแหน่ง   ครูผู้สอน       

โรงเรียน อนุบาลบรรณวิทย์

สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ตำบล  จองคำ   อำเภอ เมือง    จังหวัด แม่ฮ่องสอน  รหัสไปรษณีย์ ๕๘๐๐๐ 

โทรศัพท์  ๐๙๘-๗๕๙๔๑๙๐ 

E-mail : e๕๓๑๘๑๐๕๒@gmail.com   

๔.  ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ 

         ในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้านทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี จากสังคมเร่ร่อนสู่สังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลต่อการจัด การศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตอยู่ในสังคมที่มีความหลากหลาย ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการร่วมมือกัน ทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ทักษะชีวิตและการเข้าสู่อาชีพ การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการคิด ทักษะดังกล่าวมีความสําคัญอยางยิ่งต่อการพัฒนาผู้เรียนให้ สามารถได้มาซึ่งความรู้หรือทักษะกระบวนการต่างๆ ทักษะการคิดนั้นเป็นทักษะด้านหนึ่งที่มีความสําคัญ ต่อเด็กปฐมวัย การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้เด็กคิดเป็น แก้ปัญหาเป็นต้องเริ่มตั้งแต่ปฐมวัย เนื่องจากเด็ก ในวัยนี้เป็นวัยแห่งการปูรากฐานพัฒนาการการเรียนรู้ บุคลิกภาพต่างๆ ซึ่งถ้าเด็กไม่ได้รับการศึกษาที่ทันต่อ เปลี่ยนแปลงของสังคม ก็จะส่งผลกระทบต่อพื้นฐานในการเรียนรู้ในขั้นต่อไป ทั้งนี้ในหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กาหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะการคิดว่าต้องการให้เด็ก ปฐมวัยมีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ที่ประกอบไปด้วยตัวบ่งชี้ คือ ความสามารถใน การคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การคิดแกปัญหาและตัดสินใจ และต้องการให้เด็กมีจินตนาการและ ความคิดสร้างสรรค์ (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๖๐: ๓๓-๓๔) ซึ่งเมื่อพิจารณาสภาพที่พึงประสงค์จะพบว่า ทักษะ การคิดที่ควรส่งเสริมในเด็กปฐมวัย ได้แก่ การสังเกต การเปรียบเทียบ การจําแนก การจัดกลุ่ม การ เรียงลําดับ การคาดคะเน การให้เหตุผลฯลฯ ทักษะเหล่านี้นับเป็นทักษะการคิดพื้นฐานหรือทักษะการคิดที่ เป็นแกนที่จะนําไปสู่การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง (ชนาธิป พรกุล, ๒๕๕๔: ๒๔๘-๒๕๕) โดยผ่านการจัด ประสบการณ์แบบบูรณาการทั้งกิจกรรม ทักษะและสาระการเรียนรู้ สอดคล้องกบจิตวิทยาพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กได้ลงมือ   กระทําเรียนรู้ ผ่านประสาท สัมผัสทั้งห้า มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๖๐: ๔๑) สอดคล้องกับทฤษฎีพัฒนาการสติปัญญาของ  Piaget ที่กล่าวว่า เด็กไม่ได้ เกิดมาพร้อมกบความรู้และความคิด เด็กเรียนรู้โลกรอบตัวและพัฒนาการคิดไปตามลําดับขั้นตอน ในแต่ละ ขั้นตอนเด็กจะพัฒนาโครงสร้างสร้างของความคิด การเรียนรู้ และการรับรู้ โดยการปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อม (ศรีเรือน แกวกังวาล,  ๒๕๕๓: ๕๓-๕๖)

     การคิดวิเคราะห์เป็นอีกประเภทหนึ่งของการคิดที่เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตบุคคลที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะมีความสามารถในด้านอื่นๆเหนือกว่าบุคคลอื่นๆทั้งทางด้านสติปัญญาและการดาเนินชีวิต การคิดวิเคราะห์เป็นพื้นฐานของการคิดทั้งมวลเป็นทักษะที่ทุกคนสามารถพัฒนาได้ซึ่งประกอบด้วยทักษะสำคัญคือการ สังเกต การเปรียบเทียบ การคาดคะเนและการประยุกต์ใช้การประเมิน การจำแนกแยกแยะประเภท การจัดหมวดหมู่ การสันนิษฐาน การสรุปผลเชิงเหตุผล การศึกษาหลักการการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ การตั้งสมมุติฐานที่มีผลมาจากการศึกษาค้นคว้า และการตัดสินใจในสิ่งต่างๆ โดยใช้เกณฑ์การตัดสินใจด้วยเหตุผล ทักษะการคิดวิเคราะห์เป็นทักษะการคิดระดับสูงที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการคิดทั้งมวล ทั้งการคิดวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา (ประพันธ์ศิริสุเสารัจ,๒๕๕๑ : ๔๘)

      จากสภาพปัญหานักเรียนชั้นอนุบาล ๓ โรงเรียนอนุบาลบรรณวิทย์ พบปัญหาพฤติกรรมในเด็กปฐมวัยบางคน เด็กขาดทักษะการคิด การสังเกต เปรียบเทียบ การสรุป ขาดความมั่นใจและความกล้าแสดงออก  คุณครูจึงมีความต้องการที่จะพัฒนาการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการที่ส่งเสริมทักษะการคิด โดยการใช้ผังกราฟิก Venn Diagram เพื่อเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้เรียนสามารถรับรู้ข้อมูลได้ผ่านการมองเห็น ช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการคิด ตีความ เปรียบเทียบ สรุป และเชื่อมโยงข้อมูลความรู้เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดความเข้าใจสาระสำคัญของข้อมูลได้ง่ายขึ้น

แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยในครั้งนี้  ได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

วรนาท รักสกุลไทย (๒๕๕๖) ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ผังกราฟิกกับการเรียนรู้ของเด็กได้ว่า การนำเสนอด้วยภาพ ช่วยให้เด็กจดจำและเกิดความเข้าใจในเนื้อหาหรือสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ผังกราฟิกช่วยให้เด็กสามารถจัดระบบความคิด และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ผังกราฟิกยังมีความสำคัญในการนำเสนอสิ่งที่เด็กเรียนรู้ในรูปแบบภาพ ช่วยให้เป็นรูปธรรมและเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ประเด็นสำคัญ ผังกราฟิกช่วยให้เด็กได้ใช้ทักษะการคิดในระดับสูงทั้งวิเคราะห์ สังเคราะห์ ไตร่ตรองและประเมินค่า อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่คุณครู ในการจัดระบบข้อมูล เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา กล่าวคือ คุณครูสามารถนำผังกราฟิกมาเป็นส่วนหนึ่ง

สมาคมการศึกษาปฐมวัยแห่งชาติ (Nationl Association for the Education of Young Children-NAEYC:TYC,๒๐๑๒) ผังกราฟิก เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เห็นได้ด้วยตา เช่น ชาร์ตไดอะแกรม เว็บ ผู้สอนสามารถใช้ผังกราฟิกเพื่อค้นหาและจัดระบบสิ่งที่ผู้เรียนรู้แล้ว รวมทั้งสนับสนุนและขยายการเรียนรู้ของเด็ก เด็กเองก็สามารถใช้ผังกราฟิกเพื่อแสดงสิ่งที่พวกเขารู้แล้วและสิ่งที่เขาได้เรียนรู้เพิ่มเติมในหัวข้อที่กำหนด

ทิศนา แขมมณี (๒๕๔๘) ผังกราฟฟิก เป็นแผนผังทางความคิด ประกอบด้วยความคิดหรือข้อมูลสำคัญ ๆ ที่เชื่อมโยงกันอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งทำให้เห็นโครงสร้างของความรู้หรือเนื้อหาสาระนั้น ๆ เป็นเทคนิคที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ จำนวนมาก เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นได้ง่ายขึ้นเร็วขึ้น และจดจำได้นานขึ้น

คลาร์ก (Clarke,๑๙๙๑) ผังกราฟิก เป็นรูปแบบความคิดที่ผู้สอนหรือผู้เรียน หรือทั้งผู้สอนและผู้เรียนสร้างขึ้น เพื่อแสดงความคิด ความเข้าใจออกมาเป็นรูปธรรมว่ากำลังคิดอะไรจากการอ่านเนื้อหาวิชา

โคเลอร์ (Kohler,๒๐๐๙) ผังกราฟิก เป็นการนำเสนอโครงสร้างของข้อมูลความรู้ในรูปแบบของรูปภาพหรือแผนงาน ช่วยให้นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลแต่ละส่วนได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น      

๕.  จุดประสงค์ และเป้าหมาย ของการดำเนินงาน

 วัตถุประสงค์ 

        ๑.เพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ ผังกราฟิก Venn Diagram 

        ๒.เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะการคิดเปรียบเทียบและความต่าง

        ๓. เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะทางด้านภาษาในการแสดงความคิดเห็นและความกล้าแสดงออก

        ๔.เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถต่อยอดความรู้เดิมเชื่อมโยงไปสู่ความรู้ใหม่ได้

 เป้าหมาย 

     เป้าหมายเชิงปริมาณ 

       ๑.นักเรียนชั้นอนุบาล ๓ จำนวน ๑๘  คน 

       ๒.เด็กร้อยละ ๘๐  มีทักษะการคิดโดยการใช้กิจกรรมผังกราฟิก Venn  Diagram

     เป้าหมายเชิงคุณภาพ 

      เด็กมีทักษะการคิดเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง โดยการใช้ประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ หรือจากการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและการฝึกทักษะทางภาษา ความกล้าแสดงออก สามารถต่อยอดความรู้เดิมเชื่อมโยงไปสู่ความรู้ใหม่ได้

๖. ขั้นตอนการดำเนินงาน กระบวนการผลิตผลงาน รูปแบบวิธีการในการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็น

เลิศ 

๖.๑ การออกแบบผลงาน นวัตกรรม หรือแนวปฏิบัติ

๖.๑.๑ วิเคราะห์สภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

๖.๑.๒ ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ฉบับพุทธศักราช ๒๕๖๐

๖.๑.๓  ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการ แนวคิด และความสำคัญการใช้ผังกราฟิกและการนำผังกราฟิก มาใช้ในการจัดการเรียนรู้

๖.๑.๔ ศึกษารูปแบบการเขียนแผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก

๖.๑.๕ ออกแบบและสร้างสร้างแผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก

๖.๑.๖ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ Venn Diagram ตามแผนผังแนวคิดของ John Venn นำไปใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๓ จำนวน ๑๘ คน ของโรงเรียนอนุบาลบรรณวิทย์ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ พร้อมทั้งมีการประเมินผลการใช้กิจกรรม

๖.๒ การดำเนินงานตามกิจกรรม (ตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง PDCA)

          ๖.๒.๑ Plan = P

๑. กำหนดเป้าหมาย การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมกระบวนการคิด โดยการใช้กิจกรรมผังกราฟิก Venn  Diagram เพื่อเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้เรียนสามารถรับรู้ข้อมูลได้ผ่านการมองเห็น ช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการคิด ตีความ เปรียบเทียบ สรุป และเชื่อมโยงข้อมูลความรู้เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดความเข้าใจสาระสำคัญของข้อมูลได้ง่าย

๒. การวางแผนการทำงาน ดำเนินการโดยวิเคราะห์สภาพการจัดประสบการณ์การ

เรียนรู้ศึกษาหลักสูตรปฐมวัย สาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และตัวบ่งชี้

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านของเด็กปฐมวัย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วางแผนการผลิตสื่อ โดยกำหนด

จุดมุ่งหมาย และรูปแบบของสื่อให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก

๓. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับทำกิจกรรม

๖.๒.๒ DO = D

๔. ลงมือปฏิบัติงานตามแผน การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะการคิด โดยการใช้กิจกรรมผังกราฟิก Venn Diagram ดังนี้

    ๑.เลือกหัวข้อที่เด็กสนใจมา ๒ ข้อ เช่น คน สัตว์ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกัน

    ๒.คุณครูเขียนวงกลม ๒ วง โดยให้มีส่วนหนึ่งที่ซ้อนทับกันอยู่ จากนั้นให้เขียนหัวข้อสิ่งที่ต้องการ

จะเปรียบเทียบไว้ด้านบทของวงกลม

    ๓.คุณครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อกระตุ้นให้เด็กช่วยกันคิดหาคำตอบที่แสดงถึง ความเหมือน หรือสิ่งที่เหมือนกัน ของหัวข้อที่นำมาเปรียบเทียบ แล้วบันทึกคำตอบลงในช่องที่วงกลม ๒ วง ซ้อนทับกันอยู่

    ๔.คุณครูให้เด็กช่วยกันคิดหาคำตอบและข้อมูลที่แสดงถึง “ความแตกต่างหรือสิ่งที่ต่างกัน” ของหัวข้อที่นำมาเปรียบเทียบ แล้วบันทึกคำตอบของเด็กลงในวงกลมแต่ละวง

๖.๒.๓ Check = C

๕. ตรวจสอบประเมินผล การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมกระบวนการคิด โดยการใช้กิจกรรมผังกราฟิก Venn  Diagram และสังเกตผลการใช้กิจกรรม นำข้อบกพร่องจาก การดำเนินกิจกรรมไป แก้ไข ปรับปรุง พัฒนา  และต่อยอดเป็นกิจกรรมเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

๖.๒.๔ Action = A

๖. ปรับปรุงผลงานให้ดีขึ้น โดยออกแบบสื่อกิจกรรมให้น่าสนใจ โดยการนำศิลปะหรือวาดรูปอย่างง่ายมาใช้ในการนำเสนอ จะช่วยให้ผังกราฟิกนั้น ดึงดูดความสนใจมากยิ่งขึ้น

๗. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ  

ผลการดำเนินการ

   ๑. เด็กร้อยละ ๘๙.๒๔   มีทักษะการคิดโดยการใช้กิจกรรมผังกราฟิก Venn   Diagram

ผลสัมฤทธิ์ของงาน

          ผลการดำเนินงานการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะการคิด โดยการใช้กิจกรรมผังกราฟิก Venn Diagram ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการคิดเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง การสังเกต  การสรุป การฝึกทักษะทางภาษา ในการแสดงความคิดเห็นและความกล้าแสดงออก ดีขึ้นหลังการจัดประสบการณ์โดย โดยการใช้กิจกรรมผังกราฟิก Venn Diagram                             

ประโยชน์ที่ได้รับ

      ๑. ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน  ด้านร่างกาย จิตใจ-อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

      ๒. เด็กมีทักษะการคิดเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง

      ๓. เด็กมีทักษะทางภาษาในการแสดงความคิดผ่านการบอกเล่า บรรยาย อธิบาย แสดงเหตุผล สนับสนุนคำตอบของตนเอง

      ๔. เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถต่อยอดความรู้เดิมเชื่อมโยงไปสู่ความรู้ใหม่ได้

      ๕. เด็กมีความมั่นใจและความกล้าแสดงออก

๘.  ปัจจัยความสำเร็จ

          ๑. ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ให้การส่งเสริม การจัดกิจกรรม มีการนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

          ๒. ด้านเด็กให้ความสนใจ และให้ความร่วมมือกับกับกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการคิด โดยการใช้กิจกรรมผังกราฟิก Venn  Diagram สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัยของ

          ๓. ด้านครู มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นนามธรรม นำไปสู่รูปธรรมสำหรับเด็ก

          ๔. ด้านผู้ปกครองเห็นความสำคัญของกิจกรรม การพัฒนาจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะการคิด 

โดยการใช้กิจกรรมผังกราฟิก Venn Diagram และให้การสนับสนุน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการจัดประสบการณ์

๙.  บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)

ระบุข้อสรุป

๑.เด็กมีทักษะการคิดดีขึ้นหลังการจัดประสบการณ์โดย โดยการใช้กิจกรรมผังกราฟิก Venn 

Diagram                          

      ๒. เด็กมีทักษะการเปรียบเทียบและความต่างได้

      ๓. เด็กมีทักษะทางด้านภาษาในการแสดงความคิดเห็นและความกล้าแสดงออก

      ๔. ผู้ปกครองมีความพึงพอใจ การพัฒนาจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะการคิด โดยการใช้กิจกรรมผังกราฟิก Venn Diagram 

ข้อเสนอแนะ ข้อควรระวัง

    ๑. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผังกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดนั้น บทบาทของผู้สอนต้องให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้ผังกราฟิกให้เหมาะสมกับเนื้อหาต่าง ๆ เพื่อการจัดระเบียบข้อมูลที่เหมาะสม

    ๒. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผังกราฟิกเพื่อให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์นั้น ผู้สอนจำเป็นต้องตั้งคำถามซึ่งจะคอยกระตุ้นผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ ให้ผู้เรียนเกิดการตื่นตัวในการคิด เนื้อหาต่างๆที่ได้รับซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายของพัฒนาให้มีประสิทธิภาพต่อไป 

แนวทางในการพัฒนาเพิ่มเติม    

๑. ควรมีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกในหน่วยการเรียนรู้อื่นๆและในผู้เรียนระดับชั้นอื่นๆ

          ๒. ควรมีการศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกกับตัวแปรอื่นๆเช่น การคิดเชิง เหตุผล การคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

การเผยแพร่

    ๑. เผยแพร่เป็นเอกสารประชาสัมพันธ์ ให้กับผู้ปกครอง คณะครูในโรงเรียน 

    ๒. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ Facebook  กลุ่ม Line  เพจโรงเรียนอนุบาลบรรณวิทย์

    ๓. เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ GotoKnow.org คือชุมชนออนไลน์เพื่อการจัดการความรู้

    ๔. เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์  https://www.kroobannok.com(ครูบ้านนอก.คอม)

๑๐. การขยายผล ต่อยอด หรือประยุกต์ใช้ผลงาน นวัตกรรม หรือวิธีการปฏิบัติ

      การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกในหน่วยการเรียนรู้อื่นๆ โดยใช้ผังกราฟิกที่มีรูปแบบลักษณะที่หลากหลายเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เช่น  ผังกราฟิกแบบรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง ผังกราฟิก T-Chart

ผังกราฟิกแบบผังภาพเรื่องราว Storty Map ผังกราฟิกแบบเหตุและผล ผังการเรียงลำดับ ซึ่งจะช่วยให้เด็กจดจำ เข้าใจง่าย สามารถดึงดูดความสนใจ และช่วยให้เด็กอยากมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี

 ๑๑.เอกสารอ้างอิง

-กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๖๐). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ๒๕๖๐. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา. 

-คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (๒๕๔๓). ๖ ปีแรกของชีวิต. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์การพิมพ์.

-ดร.วรนาท รักสกุลไทย (๒๕๖๑).การใช้ผังกราฟิก(Graphic Organizer)เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ แฮปปี้ เลิร์นนิ่ง.

ประมวลภาพกิจกรรม

กิจกรรม ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ปฐมวัย

กิจกรรม ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ปฐมวัย

กิจกรรม ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ปฐมวัย

กิจกรรม ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ปฐมวัย

กิจกรรม ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ปฐมวัย

กิจกรรม ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ปฐมวัย

กิจกรรม ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ปฐมวัย

กิจกรรม ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ปฐมวัย
กิจกรรม ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ปฐมวัย

                        ***** สามารถแสดงความคิดเห็น ให้คำแนะนำ ชี้แนะได้นะคะ เพื่อจะสามารนำไปพัฒนานวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพที่ดีต่อไปค่ะ  ขอบคุณค่ะ