กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน

กลุ่มที่ 4

พัฒนาการและการเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัย

         การเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัยจะแตกต่างไปจากวิธีการเรียนรู้ภาษาของผู้ใหญ่เนื่องจากระดับวุฒิภาวะทางสติปัญญาของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ เด็กยังไม่สามารถคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ ไม่สามารถใช้อวัยวะทุกส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาทางภาษาได้อย่างเต็มที่ ความสามารถเหล่านี้ขึ้นอยู่กับระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย และเนื่องจากภาษามีคุณสมบัติที่เป็นนามธรรม จึงต้องใช้สัญลักษณ์พิเศษแทนความหมาย ซึ่งเด็กเล็กจะเรียนรู้ภาษาได้จากการได้ยินได้ฟังการพูดของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู หรือจากการดำรงชีวิตประจำวันเมื่ออยู่ที่บ้าน จากนั้นเมื่อมาอยู่ในสถานศึกษาเด็กจะเรียนรู้จากครูและผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยการเลียนแบบเสียงที่ได้ยินจากผู้อื่นก่อนและจะสะสมคำแล้วสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นเอง ด้วยการนำคำที่สะสมไว้มาผสมผสานกันเพื่อเปล่งเสียงออกมา พัฒนาการต่อมาเมื่อเด็กโตขึ้น ก็จะเพิ่มคำเรื่อย ๆ และผูกเป็นประโยคตามขั้นตอนหรือพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาของเด็ก อย่างไรก็ตามเพื่อให้เด็กเรียนรู้ภาษาเป็นไปตามพัฒนาการ พ่อแม่ ครูผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องจัดประสบการณ์ทางภาษาให้มีความหมายกับเด็กประกอบกับการแสวงหาแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่หลากหลายให้เหมาะสมกับความแตกต่างของเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อเด็กจะได้เกิดการเรียนรู้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ความหมายของภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                   ภาษามีความหมายต่างกันดังนี้ ในแง่ภาษาศาสตร์ ภาษา หมายถึง ภาษาที่ใช้พูดเพื่อสื่อความหมาย ดังนั้นภาษาในประเด็นนี้จึงรวมเอาวิธีการทุกอย่าง ที่ใช้ติดต่อสื่อความหมายหรือเพื่อแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ภาษาจึงหมายถึงการพูด การเขียน การทำท่าทางประกอบ การแสดงสีหน้า และการใช้ภาษาใบ้ เป็นต้น ด้านการศึกษา ภาษาเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ภาษาจึงหมายถึงการติดต่อระเบียบของการติดต่อ สัญลักษณ์ที่ใช้แสดงแทนความคิดและความเข้าใจในลักษณะของการติดต่อนั้น ๆ 

                   พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2546 (2546 : 822) ให้ความหมายของภาษาว่า คือ ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความหมายของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความหมายเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความหมายได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ

                   ราศี  ทองสวัสดิ์ (2546 : 178) ภาษาเป็นสื่อกลางในการตกลง บอกกล่าวทำความเข้าใจระหว่างบุคคล เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ช่วยให้คนเราคิดและวินิจฉัยคุณภาพของสติปัญญา ภาษาเป็นสิ่งที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ และความเจริญ ของคนในชาติ ภาษานับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เพราะภาษาเป็นทั้งมวลประสบการณ์ และเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ ถ้าขาดการสื่อสสารสาระสำคัญนี้แล้วมนุษย์คงไม่สามารถรวมเป็นสังคมได้ ทั้งนี้เพราะมนุษย์มิอาจที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวตามลำพัง แต่จะต้องไปมาหาสู่กัน ต้องรวมเป็นเหล่า ภาษาที่ใช้นั้น จะเป็นเครื่องมือสื่อสาระสำคัญและความเข้าใจ สามารถรู้เรื่องกันได้

                   สรุปได้ว่า ภาษาคือ สื่อกลางในการทำความเข้าใจระหว่างบุคคล สามารถรู้เรื่องกันได้ ด้วยท่าทาง สัญลักษณ์ การพูด การเขียน การแสดงสีหน้า ซึ่งรวมเอาวิธีการทุกอย่าง ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกัน ในการติดต่อกัน ภาษาจึงเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของมนุษย์ให้มีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ให้มีความเป็นอยู่เป็นสังคม เพราะมนุษย์ไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ ต้องติดต่อ พึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งจะต้องใช้ภาษาเป็นสื่อกลางในการทำความเข้าใจและรู้เรื่องกันได้

ความสำคัญของภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                   ภาษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกันในสังคม ดังนั้นทุกคนในสังคมจะต้องรู้จักพูดจาสื่อความหมายและใช้ภาษาของตนให้ถูกต้อง ในการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เด็กควรที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับระบบเสียงเป็นสำคัญ ควรเป็นการเตรียมความพร้อมในการสื่อสารให้กับเด็ก โดยเด็กจะเรียนรู้พื้นฐานของภาษาได้อย่างรวดเร็ว จากการจัดกิจกรรมอย่างไม่เป็นทางการ

                   2.1เด็กสามารถจะใช้ภาษาเพื่อการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นและเปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการทางสังคมขึ้น

                   2.2เด็กสามารถใช้ภาษาเป็นคำพูดที่เกิดขึ้นจากภายในจากรูปแบบการคิดโดยระบบของการใช้สัญลักษณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางภาษาในระดับต่อไป

                   2.3ภาษาเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายในตัวเด็ก ดังนั้นเด็กจึงไม่ต้องอาศัยการจัดกระทำกับวัตถุจริง ๆ เพื่อแก้ปัญหา เด็กสามารถสร้างจินตนาการถึงแม้ว่าวัตถุนั้นจะอยู่นอกสายตาหรือเคยพบมาแล้ว เด็กสามารถทำการทดลองในสมอง และทำการได้เร็วกว่าการกระทำกับวัตถุนั้นจริง ๆ

                   ดวงเดือน ศาสตรภัทร (2549 : 214 215) ภาษามีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย เพราะภาษาเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมชนิดหนึ่งช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางสังคม เกิดความอบอุ่น เด็กแนวคิดตลอดจนความรู้สึกต่าง ๆ ที่อยู่รอบข้าง เด็กสามารถสร้างจินตนาการในสมองซึ่งก่อให้เกิดการทดลองขึ้น เด็กสามารถสร้างจินตนากรถึงวัตถุนั้นจะอยู่นอกสายตาหรืออยู่ในอดีต เด็กสามารถทำการทดลองให้สมองและทำได้เร็วกว่าการจัดกระทำกับวัตถุนั้นจริง ๆ

                   สรุปได้ว่า ภาษามีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เด็กจำเป็นจะต้องเรียนรู้ภาษาเพื่อใช้ในการสื่อความหมาย การคิด จินตนาการ การแสดงออก และการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเด็กจะต้องมีความพร้อมทางภาษาในด้าน การฟัง อ่าน และเขียนไปพร้อม ๆ กัน อย่างมีความหมายเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้าน เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม และสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

          1. นักพฤติกรรมศาสตร์ (The Behaviorist View) “การเรียนรู้ภาษาของเด็กเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากผลการปรับสิ่งแวดล้อม”

          2. ภาวะติดตัวโดยกำเนิด (The Nativist View)ชอมสกี้และแมคนีล เชื่อว่า เด็กทุกคนเกิดมาโดยมีโครงสร้างทางภาษาศาสตร์อยู่ในตัวหรือติดตัวโดยกำเนิด  เล็นเบิร์ก กล่าวว่า เด็กเกิดมาด้วยความสามารถทางภาษา มิใช่เป็นผ้าขาว ความสามารถทางการเรียนภาษาของเด็กถูกจัดโปรแกรมไว้ในตัว และมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เด็กได้รับ

          3. นักสังคมศาสตร์  (The Socialist View) วิธีการที่ผู้ใหญ่หรือพ่อแม่ปฏิบัติต่อเด็กมีผลต่อพัฒนาการทางภาษาและพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก

          4. พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget Theory) พัฒนาการทางภาษาของเด็กเป็นไปพร้อมๆกับความสามารถด้านการให้เหตุผล           การตัดสิน และด้านตรรกศาสตร์

          5. ทฤษฎีของนักจิตวิทยาภาษาศาสตร์ (PsycholinguisticsTheory) ชอมสกี้ (Chomskey)กล่าวว่า การเรียนรู้ภาษาเป็นเรื่องซับซ้อนซึ่งจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างภาษาในตัวเด็กด้วย  เล็นเบอร์ก (Lenneberg) เชื่อว่า มนุษย์มีอวัยวะที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้ภาษา

ปัทมา  คุณเวทยว์ริยะ.  (2549).  ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิตปัญญาโดยใช้สื่อไม่มีโครงสร้าง.  สาขาวิชาการศึกษา
          ปฐมวัย :   มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวโรฒ.

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน

กิจกรรมสัมผัสอะไรช่วยบอกที

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการพูด

ของเด็กปฐมวัย

2. เพื่อส่งเสริมทักษะการประสาทสัมผัสระหว่าง

มือกับตาของเด็กปฐมวัย

3. เพื่อส่งเสริมจินตนาการของเด็กปฐมวัย

สื่อวัสดุ/อุปกรณ์

1. สําลี

2. ใยสังเคราะห์

3. ลูกโป่ง

4. ถุงพลาสติกกันกระแทก

5. หลอด

การวัดผลประเมินผล

สังเกตและบันทึกพฤติกรรมการทํากิจกรรมของเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบประเมินพัฒนาการ

ขั้นดําเนินกิจกรรมสําหรับเด็กอายุ 4-5 ปี

ขั้นนำ

1. ครูให้เด็กนั่งเป็นตัวยูและกล่าวทักทายกัน

2. ครูแนะนํากิจกรรม

3. ครูนําสื่อมาให้เด็กดูและพูดคุยเกี่ยวกับลักษณะของ

สื่อที่นํามา

ขั้นสอน

1. ครูให้เด็กคนแรกออกมาสัมผัสสื่อที่ครูนํามาโดยเริ่มจากซ้ายมือครู

2. เด็กใช้มือสัมผัสสื่อลักษณะต่าง ๆ ทีละชนิดโดยครูถามเด็ก “หนูรู้จักสิ่งนี้ไหม บอกได้ไหมว่าสิ่งนี้คือ

อะไร มีลักษณะอย่างไร หนูรู้สึกอย่างไรเมื่อได้สัมผัสสิ่งนี้”

3. เมื่อเด็กสัมผัสจนครบทุกชนิด ครูถามเด็ก “หนูชอบสื่อที่ครูนํามาวันนี้ไหม ชอบเพราะเหตุใด”

ขั้นสรุป

1. ครูและเด็กพูดคุยเกี่ยวกับสําลี ใยสังเคราะห์ ลูกโป่ง ถุงพลาสติกกันกระแทก และหลอด

2. ครูและเด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์อย่างระมัดระวัง

ขั้นดําเนินกิจกรรมสําหรับเด็กอายุ 5-6 ปี

ขั้นนํา

1. ครูให้เด็กนั่งเป็นตัวยูและกล่าวทักทายกัน

2. ครูแนะนํากิจกรรม

3. ครูนําสื่อมาให้เด็กดู พูดคุยเกี่ยวกับลักษณะของสื่อและถามประสบการณ์เดิมของเด็กเกี่ยวกับสื่อที่ครูนํามา

ขั้นสอน

1. ครูให้เด็กคนแรกออกมาสัมผัสสื่อที่ครูนํามา โดยเริ่มจากซ้ายมือครู

2. เด็กใช้มือสัมผัสสื่อลักษณะต่าง ๆ ทีละชนิดโดยครูถามเด็ก “หนูรู้จักสิ่งนี้ไหม บอกได้ไหมว่าสิ่งนี้คืออะไร มีลักษณะอย่างไร หนูรู้สึกอย่างไรเมื่อได้สัมผัสสิ่งนี้หนูบอกครูได้ไหมว่าสิ่งนี้หนูสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร”

3. เมื่อเด็กสัมผัสจนครบทุกชนิด ครูถามเด็ก “หนูชอบสื่อที่ครูนํามาวันนี้ไหม ชอบเพราะเหตุใด”

ขั้นสรุป

1. ครูและเด็กร่วมกันอภิปรายผลเกี่ยวกับสําลี ใยสังเคราะห์ ลูกโป่ง ถุงพลาสติกกันกระแทก

และหลอด

2. ครูและเด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์อย่างระมัดระวัง

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน

กิจกรรมต่อเติมเส้นให้เป็นเรื่อง

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน

สาระสําคัญ

ภาษามีความสําคัญต่อการเรียนรู็ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เด็กจําเป็นจะต้องเรียนรู้ภาษาเพื่อใช้ในการสื่อความหมาย การคิด จินตนาการ การแสดงออกและการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเด็กจะต้องมีความพร้อมทางภาษาในด้าน การฟัง อ่าน และเขียนไปพร้อมๆกัน อย่างมีความหมายเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้าน เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม และสามารถใช้เปฺ็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆดังนั้น ผู้จัดทําจึงได้จัดกิจกรรมต่อเติมเส้นให้เป็นเรื่องเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย โดยบูรณาการพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยกับทฤษฏีของทอร์แรนซ์ที่เขาได้ให้ความสําคัญกับกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นพื้นฐานในการเขียนและเด็กได้ถ่ายทอดความรูู้สึกเมื่อเห็นภาพที่ตนวาดผ่านการพูด

2. เพื่อฝึกความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การทํางานเป็นกลุ่ม ยอมรับความคิดเห็นและสนุกสนานใน

การทํากิจกรรม

วัสดุ/อุปกรณ์

1. กระดาษชาร์ทที่มีเส้นลักษณะต่างๆจํานวน 7 เส้น

2. ดินสอ สีเทียน สีไม้

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม อายุ 4-5 ปี

ขั้นนํา

1. ครูเตรียมความพร้อมของเด็กโดยใช้กิจกรรมเพลงผึ้งน้อยหารัง เพื่อให้เด็กได้แบ่งกลุ่ม

2. เมื่อเด็กได้กลุ่มแล้วครูแจกอุปกรณ์สําหรับการทํากิจกรรมต่อเติมเส้นให้เป็นเรื่อง

ขั้นสอน

1. ครูอธิบายกิจกรรมดังนี้

1.1 ให้เด็กต่อเติมเส้นลักษณะต่างๆจํานวน 7 เส้น ที่ครูได้เขียนไว้บนกระดาษเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

2. เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม

3. เมื่อเด็กๆลงมือปฏิบัติกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้วคุณครูให้เด็กๆเล่าสิ่งที่เด็กๆวาดว่าทําไมถึงต่อเส้นนี้เป็นภาพนี้ทีละกลุ่ม

ขั้นสรุป

1. เมื่อเด็กๆปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว คุณครูสรุปกิจกรรมโดยใช้คําถามเพื่อให้เด็กได้แสดงออกทางการพูดของเด็กๆว่า “เด็กๆคะเส้นนี้เด็กๆวาดเป็นรูปอะไรคะ” “แล้วทําไมเด็กๆถึงวาดรูปนี้” และครูสรุปการทํากิจกรรมอีกครั้ง

อายุ 5-6 ปี

วัสดุ/อุปกรณ์

1. กระดาษชาร์ทที่มีเส้นลักษณะต่างๆจํานวน 7 เส้น

2. ดินสอ สีเทียน สีไม้

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
ขั้นนํา

1. ครูเตรียมความพร้อมของเด็กโดยใช้กิจกรรมเพลงผึ้งน้อยหารัง เพื่อให้เด็กได้แบ่งกลุ่ม

2. เมื่อเด็กได้กลุ่มแล้วครูแจกอุปกรณ์สําหรับการทํากิจกรรมต่อเติมเส้นให้เป็นเรื่อง

ขั้นสอน

1. ครูอธิบายกิจกรรมดังนี้

1.1 ให้เด็กต่อเติมเส้นลักษณะต่างๆจํานวน 7เส้น ที่ครูได้เขียนไว้บนกระดาษเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
2. เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม
3. เมื่อเด็กๆลงมือปฏิบัติกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้วคุณครูให้เด็กๆเล่าสิ่งที่เด็กๆวาดว่าทําไมถึงต่อเส้นนี้เป็นภาพนี้แล้วเล่าเรื่องประกอบรูปภาพทีละกลุ่ม

ขั้นสรุป

1. เมื่อเด็กๆปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว คุณครูสรุปกิจกรรมโดยใช้คําถามเพื่อให้เด็กได้แสดงออกทางการพูดของเด็กๆว่า “เด็กๆคะเส้นนี้เด็กๆวาดเป็นรูปอะไรคะ”

“แล้วทําไม เด็กๆถึงวาดรูปนี้” “เด็กๆช่วยกันเล่าให้เป็นเรื่องราวดูสิคะ” และครูสรุปการทํากิจกรรมอีกครั้ง

การวัดและประเมินผล

สังเกตและบันทึกกิจกรรมการทํากิจกรรมของเด็ก โดยใช้แบบประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา

(ทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย)

ประโยชน์จากการจัดกิจกรรม

1. เด็กได้ฝึกฝนทักษะของการเขียนโดยการต่อภาพ พร้อมกับระบายสีของภาพที่ได้ต่อเติม

2. เด็กได้ฝึกการอ่านภาพที่ตนเองสร้างขึ้นพร้อมกับเล่าเรื่องราวตามจินตนาการ
3. เด็กได้ทักษะการทํางานร่วมกับผู้อื่น ฟังความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม และร่วมกันสร้างชิ้นงาน

4. เด็กทุกคนได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการสนุกสนานในการทํากิจกรรม


หึ่ง หึ่ง หึ่ง ผึ้งน้อยบินหารัง หึ่ง หึ่ง หึ่ง ผึ้งน้อยบินหารัง

ผึ้งน้อยจ๋า (จ๋า) ผึ้งน้อยจ๋า (จ๋า)

ผึ้งน้อยจ๋า เจ้าบินหาอะไร ผึ้งตอบเร็วไว ฉันบินหารัง

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน

  กิจกรรม ฟังให้ดีนะเด็กๆ

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน

เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษาจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อนเพราะการฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐาน ทางภาษา กล่าวคือ เมื่อฟังแล้วก็ย่อมต้องพูดสนทนาโต้ตอบได้ การเรียนภาษาของเด็กปฐมวัยไม่เป็นต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการหรือตามหลักไวยกรณ์ แต่จะเป็นการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวหรือเป็นการสอนแบบธรรมชาติ

ทฤษฎีนี้ชอมสกี้ (Chomskey, 1960 ; อ้างถึงในสุภาวดี ศรีวรรธนะ, 2542 : 36) กล่าวว่า การเรียนรู้ภาษาเป็นเรื่องซับซ้อนซึ่งจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างภาษาในตัวเด็กด้วยเพราะบางครั้งเด็กพูดคำใหม่โดยไม่ได้รับแรงเสริมมาก่อนเลยเขาอธิบายการเรียนรู้ภาษาของเด็กว่าเมื่อเด็กได้รับประโยคหรือกลุ่มคำต่าง ๆ เข้ามาเด็กจะสร้างไวยกรณ์ขึ้น โดยใช้เครื่องมือการเรียนรู้ภาษาที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ซึ่งได้แก่ อวัยวะ เกี่ยวกับ การพูด การฟัง นอกจากนี้ เล็นเบอร์ก (Lenneberg)ยังเป็นผู้หนึ่งที่เสนอทฤษฎีแนวนี้โดยมีความเชื่อว่า มนุษย์มีอวัยวะที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้ภาษา ถ้าสมองส่วนนี้ชำรุดหลังจากวัยรุ่นตอนต้น (อายุประมาณ12 ปี) จะทำให้การเรียนรู้ภาษาใหม่ได้ยากการฟังเป็นกระบวนการแรกของการรับรู้ และเป็นตัวจัดประกายให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยวุฒิภาวะ เวลา ความพากเพียรและแรงจูงใจ การพัฒนาการฟังจะเป็นขั้นตอนตามระดับอายุของผู้ฟัง

วัตถุประสงค์

1.เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย

2. เด็กสามารถฟังและตอบคำถามของครูได้

3. เด็กสามารถร้อง และทำท่าทางประกอบ

เสียงเพลงได้

สื่อวัสดุ/อุปกรณ์

1.เสียงสัตย์ชนิดต่างๆ

2.รูปภาพสัตย์ชนิดต่างๆ

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม

ขั้นนำ
1. เด็กและครูร่วมกันร้อง เพลงยินดีที่พบกัน และทำท่าทางประกอบเสียงเพลงเพื่อเพิ่มความกล้าแสดงออกและส่งเสริมทักษะด้านการพูดโดยการเปล่งเสียงร้องเพลงและทำท่าทางประกอบเพลง
ด้วย
2. ครูแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน

ขั้นสอน

1. ครูอธิบายกิจกรรมดังนี้
1.1. ครูมีเสียงสัตว์ต่างๆมาให้เด็กๆ ทายกัน
1.2. ให้เด็กๆแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมากลุ่มละ 1

คน

1.3. ครูเปิดเสียงสัตย์ให้เด็กฟัง 1 ตัว แล้วให้เด็กทายว่าคือสัตย์อะไร แล้วให้ครูเฉลยว่าเสียงที่ได้ยิน

นั้นคือสัตย์อะไร แล้วให้เด็กกลับไปต่อแถวด้านหลัง

1.4. แล้วให้เด็กแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาคนใหม่

มาอีกสลับกันไปเรื่อยๆ
ขั้นสรุป

ครูสังเกตพฤติกรรมของเด็กกลุ่มดังกล่าวว่าเด็กคนไหนสามารถปฏิบัติตามกติกาที่ครูกำหนดได้หรือไม่

และครูสรุปกิจกรรมและทบทวนกิจกรรมให้เด็กทราบอีกครั้งว่า วันนี้ครูน าเสียงสัตย์อะไรบ้างมาให้เด็กๆฟังกันเป็นการส่งเสริมด้านการพูดของเด็กในแต่ละคนให้มีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้นและส่งเสริมความมั่นใจของเด็กได้เป็นอย่างดี

ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอํายุ 5-6 ปี

ขั้นนำ
1. เด็กและครูร่วมกันร้อง เพลงยินดีที่พบกัน และท า
ท่าทางประกอบเสียงเพลงเพื่อเพิ่มความกล้าแสดงออกและ

ส่งเสริมทักษะด้านการพูดโดยการเปล่งเสียงร้องเพลงและท า

ท่าทางประกอบเพลงด้วย

2. ครูแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน

ขั้นสอน
1. ครูอธิบายกิจกรรมดังนี้
1.1. ครูมีปริศนาค าทาย..เสียงอะไรเอ๋ย มาให้เด็กๆ

ทายกัน

1.2. ให้เด็กๆแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมากลุ่มละ 1 คน

1.3. ครูบอกปริศนาค าทายให้เด็กฟัง แล้วให้เด็ก

ทายว่าคือสัตย์อะไร แล้วให้ครูเฉลยว่าปริศนานั้นคือสัตย์

อะไร แล้วให้เด็กกลับไปต่อแถวด้านหลัง

1.4. แล้วให้เด็กแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาคนใหม่มาอีก

สลับกันไปเรื่อยๆ

ขั้นสรุป

ครูสังเกตพฤติกรรมของเด็กกลุ่มดังกล่าวว่าเด็กคนไหนสามารถปฏิบัติตามกติกาที่ครูกำหนดได้หรือไม่

และครูสรุปกิจกรรมและทบทวนกิจกรรมให้เด็กทราบอีกครั้งว่า วันนี้ครูน าเสียงสัตย์อะไรบ้างมาให้เด็กๆฟังกันเป็นการส่งเสริมด้านการพูดของเด็กในแต่ละคนให้มีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้นและส่งเสริมความมั่นใจของเด็กได้เป็น

อย่างดี

ประโยชน์จากการทำกิจกรรม

1 เด็กเกิดความสนุกสนาน

2 ส่งเสริมการใช้ภาษาของเด็ก

3 ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย

4 ส่งเสริมการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น

5 เด็กสามารถปฏิบัติตามกฎที่ครูตั้งไว้ได้

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน

กิจกรรมลูกเต๋าเล่าเรื่อง

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย

2. เพื่อเป็นพื้นฐานในการอ่านและเด็กได้ถ่ายทอดความรู้สึกผ่านการเล่าเรื่องจากภาพ

3. เพื่อฝึกความคิดสร้างสรรค์จินตนาการ การทำงานเป็นกลุ่ม ยอมรับความคิดเห็นและสนุกสนานในการทำกิจกรรม

สื่อวัสดุ/อุปกรณ์

การวัดผลประเมินผล

สังเกตและบันทึกพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบประเมินพัฒนาการด้าน

สติปัญญา (ทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย)ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 4-5 ปี

ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 4-5 ปี

ขั้นนำ

1. ครูเตรียมความพร้อมของเด็กโดยให้เด็กยืนเป็นวงกลมและใช้กิจกรรมเพลงปรบมือ เพื่อให้เด็กได้แบ่งกลุ่ม

2. เมื่อเด็กได้กลุ่มแล้วครูให้เด็กนั่งลงเป็นกลุ่มเพื่อจับฉลากลำดับที่ของกลุ่ม
ขั้นสอน
1. ครูอธิบายกิจกรรมดังนี้
1.1 ให้สมาชิกของกลุ่มทอยลูกเต๋าจ านวน 3 ลูก
1.2 ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันอ่านภาพจากลูกเต๋าพร้อมแต่งเรื่องตามจินตนาการ

1.3 ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันเล่าเรื่องจากภาพลูกเต่าให้ครูและเพื่อนๆฟัง

2. ให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมทีละกลุ่ม

3. เมื่อเด็กๆแต่ละกลุ่มช่วยกันอ่านภาพจากลูกเต๋าพร้อมแต่งเรื่องตามจินตนาการเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณครูให้เด็กๆช่วยกันเล่าเรื่องจากภาพลูกเต่าทีละกลุ่ม

ขั้นสรุป

เมื่อเด็กๆปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้วครูและเด็กร่วมกันสรุปการท ากิจกรรมและประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม

ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 5-6

ขั้นนำ

ครูเตรียมความพร้อมของเด็กโดยให้เด็กยืนเป็นวงกลมและใช้กิจกรรมเพลงปรบมือ

ขั้นสอน

1. ครูอธิบายกิจกรรมดังนี้

1.1 ให้เด็กๆทอยลูกเต๋าคนละ 1 ลูก

1.2 จากนั้นให้เด็กๆอ่านภาพจากลูกเต๋าและเล่าเรื่องตามจินตนาการ ที่ละคน

2. ให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม

3. เมื่อเด็กๆทุกคนอ่านภาพจากลูกเต๋าพร้อมแต่งเรื่องตามจินตนาการเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณครูให้เด็กๆเล่าเรื่องจากภาพลูกเต่าทีละคนตามลำดับ

ขั้นสรุป

เมื่อเด็กๆปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้วครูและเด็กร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมและประโยชน์ที่ได้รับจาก

การปฏิบัติกิจกรรม

ประโยชน์จากการจัดกิจกรรม

1. เด็กได้ฝึกฝนทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย

2. เด็กได้ฝึกการอ่านภาพจากลูกเต๋าพร้อมกับเล่าเรื่องราวตามจินตนาการ

3. เด็กได้ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ฟังความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม และร่วมกันสร้างชิ้นงาน

4. เด็กทุกคนได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการสนุกสนานในการทำกิจกรรม

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน

กิจกรรมเส้นหรรษา

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน

1. เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการเขียนของเด็กปฐมวัย

2. เพื่อส่งเสริมทักษะการประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาของเด็กปฐมวัย

3. เพื่อให้เด็กรู้จักเส้นพื้นฐาน

4. เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการพูดเล่าเรื่องราวจากผลงานตนเอง

5. เพื่อส่งเสริมจิตนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

2. กระดาษเจาะรูตามเส้นพื้นฐาน

4. ฝาขวดน้ำอัดลม

7. เศษผงดินสอ เศษผงสีไม้หรือสีเทียนที่เหลา

ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 4-5 ปี

1. ครูเตรียมความพร้อมเด็ก โดยพูดคำสั่งและให้เด็กปฏิบัติตาม ให้ต่อแถวเป็นเส้นตรง วงกลม ครึ่งวงกลม

4. ครูนำบัตรภาพรูปเส้นมาให้เด็กดู และให้เด็กแสดงความรู้สึกเมื่อเห็นเส้น

1. ครูนำชุดอุปกรณ์เส้นพื้นฐานมาอธิบายให้เด็กฟังประกอบด้วย กระดาษเจาะรูตามเส้นพื้นฐานไม้ไอศกรีมติดแม่เหล็ก ฝาขวดน้ำอัดลม ครูสาธิตวิธีการเล่นให้เด็กดู

1. ครูและเด็กพูดคุยเกี่ยวกับเส้นพื้นฐาน โดยให้เด็กใช้นิ้วมือวาดกับอากาศ

2. ครูและเด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์อย่างระมัดระวัง

ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 5-6 ปี

1.ครูเตรียมความพร้อมเด็ก โดยพูดคำสั่งและให้เด็กปฏิบัติตาม ให้ต่อแถวแตะไหล่กันเป็นเส้นตรง วงกลม ครึ่งวงกลม เส้นซิกแซก เด็กปฏิบัติตามคำสั่ง

3.ครูนำบัตรภาพรูปเส้นมาให้เด็กดู และให้เด็กแสดงความรู้สึกเมื่อเห็นเส้น

1.ครูนำชุดอุปกรณ์เส้นพื้นฐานมาอธิบายให้เด็กฟังประกอบด้วย กระดาษเจาะรูตามเส้นพื้นฐานไม้ไอศกรีมติดแม่เหล็ก ฝาขวดน้ำอัดลม

2.ครูสาธิตวิธีการเล่นให้เด็กดู ให้เด็กออกมาทำกิจกรรม

3.ครูแจกกระดาษและสีเทียน ผงดินเสาหรือผงสีที่เหลาไว้ พร้อมไม้ไอศกรีมติดแม่เหล็ก ฝาดน้ำอัดลม

4.เด็กวาดรูปโดยใช้ผงดินสอหรือผงสีใสไว้ใต้ฝาน้ำอัดลม และใช้ไม้ไอศกรีมที่ติดแม่เหล็กวาดรูปตามจิตนาการ

1.ครูและเด็กพูดคุยเกี่ยวกับเส้นพื้นฐาน โดยให้นำเสนอผลงานที่เด็กวาด

2.ครูและเด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์อย่างระมัดระวัง

สังเกตและบันทึกกิจกรรมการทำกิจกรรมของเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา

(ทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย)

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน

กิจกรรมจดหมายสื่อรัก

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน


1. เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการเขียนของเด็กปฐมวัย

2. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย

3. เพื่อส่งเสริมจิตนาการของเด็กปฐมวัย

ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 4-5 ปี

1. ครูและเด็กกล่าวคำทักทาย โดยใช้เพลง “ชูนิ้ว”

3. ครูแสดงวิธีการส่งจดหมาย พร้อมกับตัวอย่างจดหมายให้เด็กดู

1. ครูแจกอุปกรณ์ในการเขียนจดหมาย

2. ครูแสดงตัวอย่างการเขียนจดหมาย พร้อมกับกำหนดบุคคลที่จะให้เด็กส่งจดหมายให้ (กำหนดเป็นคนในครอบครัว)

3. ครูเขียนตัวย่างประโยคง่ายๆให้กับเด็กดูเป็นตัวอย่าง เช่น พ่อ แม่ เพื่อน เป็นต้น

4. ครูให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม

1. ครูให้เด็กนำจดหมายมาสอดลงที่กล่องไปรษณีย์

2. ครูส่งจดหมายให้กับบุคคลที่เด็กได้เขียนถึง

ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 5-6 ปี

1. ครูและเด็กร่วมกันกล่าวค าทักทายโดยใช้เพลง“ชูนิ้ว”

3. ครูพูดคุยเกี่ยวกับการส่งจดหมาย โดยใช้คำถามปลายเปิดให้เด็กแต่ละคนได้แสดงความคิดเห็นของตัวเอง

1. ครูแจกอุปกรณ์ในการเขียนจดหมาย

2. ครูอธิบายลักษณะการเขียนจดหมายให้กับเด็กพร้อมกับการกำหนดบุคคลที่จะให้เด็กส่งจดหมายให้เช่น พ่อ แม่ คุณครู เพื่อน เป็นต้น (ให้เด็กแต่ละคนเลือกเอง)


3. ครูให้เด็กลงมือทำกิจกรรม

1.ครูยกตัวอย่างเด็ก1คน และให้เด็กบอกว่าเขียนให้ใคร ตกแต่งแบบไหน ให้เด็กได้อธิบายผลงานตนเองและให้เด็กนำจดหมายใส่ก่องเป็นตัวเอย่าง

2. ครูให้เด็กนำจดหมายมาสอดลงที่กล่องไปรษณีย์

3. ครูส่งจดหมายให้กับบุคคลที่เด็กได้เขียนถึง

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน

กิจกรรมภาพสร้างคำศัพท์

กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน


1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย

2. เพื่อส่งเสริมความกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัย

3. เพื่อส่งเสริมจินตนาการของเด็กปฐมวัย

1. กระดาษสี(เหลือง,เขียว,แดง,ส้ม)  กระดาษสี(เหลือง,ฟ้า,เขียว,แดง,) 5-6 ปี

2. กระดาษ a4

ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 4-5 ปี

1. ครูและเด็กพูดคุยเกี่ยวกับสี เหลือง,เขียว,แดง,ส้ม

2. ครูให้เด็กยกตัวอย่างผัก ผลไม้ ที่มีสีเหมือนหรือคล้ายกับ สีเหลือง,เขียว,แดง,ส้ม

1. ครูแบ่งเด็กออกเป็น 5 คู่ คู่ละ 2 คน โดยแต่ละคู่ครูเตรียมดินสอ สีเทียน สีไม้ไว้ให้

2. ครูแจกกระดาษ a 4 ที่มีสีเหลือง,เขียว,แดง,ส้มกำกับอยู่บนกระดาษ โดยครูจะมีภาพผลไม้เป็นเส้นประขาว-ดำ ให้เด็กสีล่ะ 3 ภาพ แต่ล่ะภาพครูจะมีคำศัพท์ภาษาไทย –อังกฤษให้ใต้ภาพ

3. ครูให้เด็กวาดตามร้อยประภาพผัก ผลไม้ที่มีสีเหมือนหรือคล้ายกับสีเหลือง,เขียว,แดง,ส้ม ที่ครูกำหนดให้พร้อมระบายสี

1. เมื่อเด็กปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรม เกี่ยวกับสีและสิ่งต่าง ๆรอบตัว และครูอ่านคำศัพท์ใต้ภาพ ภาษาไทยภาษาอังกฤษให้เด็กฟัง แล้วให้เด็กอ่านตามจากนั้นให้เด็กออกมาอธิบายว่าระบายสีภาพอะไรบ้าง

2. ครูและเด็กร่วมกันสรุปประโยชน์ที่ได้รับ

3. ครูสอบถามเด็กเกี่ยวกับความรู้สึกจากการทำกิจกรรม

ขั้นดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ5-6 ปี

1. ครูและเด็กพูดคุยเกี่ยวกับสี เหลือง,ฟ้า,เขียว,แดง

2. เด็กยกตัวอย่างสิ่งที่มีสีเหมือนหรือคล้ายกับ สีเหลือง,ฟ้า,เขียว,แดง

1. ครูแบ่งเด็กออกเป็น 5 คู่ คู่ล่ะ2 คน โดยแต่ละคู่ครูเตรียมดินสอ สีเทียน สีไม้ไว้ให้

2. ครูแจกกระดาษ a4 ที่มีสีเหลือง,ฟ้า,เขียว,แดงกำกับอยู่บนกระดาษ

3. ครูให้เด็กคิดสิ่งที่มีสีเหมือนหรือคล้ายกับสีเหลือง ,ฟ้า,เขียว,แดง ที่ครูก าหนดให้และวาดภาพลงบนกระดาษ a4

4. เมื่อเด็กปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรม เกี่ยวกับสีและสิ่งต่าง ๆรอบตัว จากนั้นให้เด็กออกมาอธิบายว่าวาดภาพอะไรบ้าง

5. ครูและเด็กร่วมกันสรุปประโยชน์ที่ได้รับ

6. ครูสอบถามเด็กเกี่ยวกับความรู้สึกจากการทำกิจกรรม