ลักษณะ เฉพาะ ของภาษาไทย 8 ข้อ

ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะของตนเองแตกต่างจากภาษาอื่นการใช้ภาษาไทยให้ได้ผลตรงตาม จุดมุ่งหมายจะต้องรู้จักหลักเกณฑ์ของภาษาไทยอย่างถ่องแท้ ดังนี้
   ๑. ภาษาไทยมีตัวอักษรเป็นของตนเองภาษาไทยมีรูปตัวอักษรใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวอักษรมาหลายยุคสมัย ทำให้ปัจจุบันเรามีรูปพยัญชนะรูปสระและรูปวรรณยุกต์ใช้แทนเสียงพูดในภาษาของเราเอง  ซึ่งเป็นที่น่าภาคภูมิใจยิ่งเพราะบางชาติไม่มีภาษาของตนเองใช้และยังต้องใช้ภาษาของชาติอื่นอยู่
   ๒. ภาษาไทยแท้มักเป็นคำที่มีพยางค์เดียว โดยคำพยางค์เดียวจะออกเสียงชัดเจนและมีความหมายที่ผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ทันที เช่น พ่อ แม่ นั่ง นอน เดิน เสือ ลิง ฯลฯ
   ๓. ภาษาไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา มาตราตัวสะกดมี ๘ มาตรา คือแม่กก แม่กด แม่กบ แม่กง
แม่กน แม่กม แม่เกย แม่เกอว คำไทยแท้จะมีตัวสะกดตามมาตราและไม่มีการันต์ เช่น มาก ขาด นับ ของ โยม คน ร่วงโรยขาว ฯลฯ ส่วนคำไทยแท้ที่ไม่มีตัวสะกด เราเรียกว่า มาตราแม่ ก กา เช่นคำว่า ตา ดี งู โต
ฯลฯ
   ๔. ภาษาไทยมีรูปสระวางไว้หลายตะาแหน่ง เช่น ข้างหน้าพยัญชนะ ในคำว่าเสแสร้ง เฉไฉไป แพ โมโห ข้างหลังพยัญชนะ  เช่น จะ มา รา ปอ ข้างบนพยัญชนะ เช่น ดี กัน บีบ คิด ข้างล่างพยัญชนะ เช่น
ครู สู้ ขุด ทรุด ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง เช่น เขา เธอ เละเทะ เกาะ ทั้งข้างหน้าและข้างบนพยัญชนะ เช่น เป็นเสียง เมีย เกลือ
   ๕. ภาษาไทยหนึ่งคำมีหลายความหมาย จะสังเกตได้จากข้อความที่ประกอบแวดล้อมหรือบริบทถ้าคำทำหน้าที่ต่างกันความหมายก็ต่างกัน เช่น "เขาสนุกสนาน

กัน

ในห้องนั้น แต่น่าแปลกใจว่าทำไมเขา

กัน

ไมาให้

กัน

เข้าไปในห้อง"  คำว่า "กัน" ทั้ง ๓ คำ มีความหมายต่างกันดังนี้
                         "กัน" คำที่หนึ่ง เป็นสรรพนามแสดงจำนวนมากกว่าหนึ่ง
                         "กัน" คำที่สอง เป็นกริยา  หมายถึง การขัดขวางไม่ให้กระทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง
                         "กัน" คำที่สาม เป็นสรรพนามแสดงถึงผู้พูดแทนคำว่า " ฉัน " (ชื่อคน)
   ๖.  ภาษามีความหมายประณีตมีคำที่มีความหมายหลักเหมือนกัน แต่มีความหมายเฉพาะต่างกัน
เช่น      การทำให้ขาดจากกัน มีคำว่า ตัด หั่น แล่ เชือด เฉือน สับ ฯลฯ
             การทำให้อาหารสุก มีคำว่า ปิ้ง ย่าง ต้ม ตุ๋น ทอด ฯลฯ
             บุพบทบอกสถานที่ (ที่ติดกัน) มีคำว่า ใกล้ ชิด แนบ ข้าง ฯลฯ
   ๗.  ภาษาไทยเป็นภาษาเรียงคำการเรียงคำในภาษาไทยเป็นเรื่องสำคัญ การเปลี่ยนตำแหน่งของคำจะทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปด้วย เช่น "พ่อแม่ เลี้ยง ลูก" กับ "ลูก เลี้ยงพ่อแม่" มีความหมายที่ต่างกัน
    ๘.  ภาษาไทยเป็นภาษาดนตรีคือ การเปลี่ยนระดับเสียงวรรณยุกต์ทั้ง ๕ เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ
เอก โท ตรี จัตวา ทำให้ภาษาไทยมีคำเพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่อเปลี่ยนระดับเสียงความหมายของคำก็จะเปลี่ยน เช่น "ขาว" หมายถึง สีชนิดหนึ่งหรือกระจ่างแจ้ง เมื่อเปลี่ยนวรรณยุกต์เป็น "ข่าว" หมายถึงคำบอกเล่าเรื่องราว หากเปลี่ยนวรรณยุกต์เป็น "ข้าว" หมายถึง พืชที่ใช้เมล็ดเป็นอาหาร
   ๙.  ภาษาไทยมีวรรคตอน ด้วยเหตุที่ภาษาไทยมีวิธีเขียนคำต่อกันไม่มีการเว้นระยะระหว่างคำเมื่อจบความ การใช้วรรคตอนจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะใช้แบ่งความหมายถ้าเว้นวรรคตอนผิด ความหมายก็จะเปลี่ยนไปการพูดก็ต้องเว้นจังหวะให้ถูกที่เช่นเดียวกัน ถ้าหยุดผิดจังหวะความหมายก็จะเปลี่ยนไป เช่น พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียพันตำลึงทอง หมายถึง นิ่งเสียดีกว่าพูด
 ส่วน พูดไปสองไพเบี้ย นิ่ง  เสียพันตำลึงทอง หมายถึงยิ่งนิ่งยิ่งเสียหายมาก
   ๑๐. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณนามคำลักษณนามจะปรากฏอยู่หลังคำนามและจำนวนนับ ซึ่งตรงกับความหมายของลักษณนามว่า คือ คำที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่นเพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาดของนามนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ปลา ๒ ตัว เรือ ๔ ลำ พระพุทธรูป ๘ องค์ พระสงฆ์ ๙ รูป บ้าน ๓ หลัง ปี่ ๕ เลา
ลักษณนามทำให้เราเข้าใจลักษณะการมองเห็นของนามข้างหน้า
  ๑๑. ภาษไทยเป็นภาษาที่มีระดับของคำได้แก่ คำราชาศัพท์ ชาติไทยเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาแต่โบราณได้รับการยกย่องไปในนานาประเทศที่มีสัมพันธไมตรีกับไทยโดยเฉพาะในเรื่องการคารวะผู้อาวุโสซึ่งแสดงออกทั้งทางกิริยามารยาทและการใช้ภาษา
  ๑๒.  ภาษาไทยมีคำพ้องเสียงพ้องรูปภาษาไทยรับภาษาต่างประเทศมาใช้ก็นำมาปรับให้เข้ากับเสียงในภาษาไทยในคำพ้องเสียง คือ มีเสียงพ้องกันแต่ความหมานต่างกัน จึงต้องเขียนให้ถูก มิฉะนั้นความหมายจะเปลี่ยนไปเช่น  กาฬ-ดำ, กาล-เวลา ส่วนคำพ้องรูป คือคำที่มีรูปเหมือนกันแต่ออกเสียงต่างกัน
รูปคำเหมือนกันแต่ความหมายต่างกันต้องเข้าใจความจึงจะใช้ได้ เช่น เพลา อ่านว่า เพ-ลา หมายถึง เวลา,เพลา อ่านว่า เพลา หมายถึง เบา ๆ หรือส่วนประกอบของยานพาหนะ

ลักษณะของภาษาไทย

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรม
อันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ จึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่
การเรียนรู้ อัจฉริยลักษณะของภาษาไทยมีความโดดเด่นเทียบ
เท่ากับภาษาสากลได้ ภาษาไทยมีลักษณะที่นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษา
ไว้ และเพือนให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อและฝึกฝนความเข้าใจ พอเป็น
สังเขปที่บอกถึงลักษณะของภาษาไทยได้ ๗ ลักษณะ ดังนี้

๑. ภาษาไทยเป็นคำโดด
๒. การเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม
๓. ภาษาวรรณยุกต์
๔. เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา
๕. การวางคำขยายไว้ข้างหลังคำหลัก
๖. การลงเสียงหนักเบาของคำ
๗. การไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ

๑. ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด

คือ ภาษาที่เป็นคำพยางค์เดียว เช่น คำที่เกี่ยวกับญาติพี่
น้อง ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า พี่ น้อง ยาย ป้า ตา ต่อมายืมคำ
จากภาษาต่างประเทศมีคำหลายพยางค์ใ เช่น ดำริ เสด็จ

ลักษณะพิเศษของคำไทยซึ่งไม่มีในภาษาอื่น มีดังนี้

๑. ภาษาไทยมีคำลักษณ ๒. ภาษาไทยมีคำซ้ำ คำ
นามที่ใช้บอกลักษณะของ ซ้อน ที่เป็นการสร้างคำ

คำนาม เพื่อให้ทราบ เพิ่มเพื่อใช้ในภาษา
สัดส่วนรูปพรรณสัณฐาน
๔. ภาษาไทยมีคำบอก

สถานภาพของผู้พูดกับผู้
๓. ภาษาไทยมีคำบอกท่าที ฟัง เช่น กระผม ดิฉัน ครู
ของผู้พูด เช่น นั้น นี้ หรอ เรา นาย

๑. โน้น ไป

๒. การเรียงคำเป็นประโยคในรูป
แบบ ประธาน กริยา กรรม

ภาษาไทยเรียงคำแบบประธาน กริยา กรรม เมื่อนำคำมาเรียง
กันเป็นประโยค
ประโยคทั่ว ๆ ไปในภาษาจะมีลักษณะสามัญ จะมีการเรียง
ลำดับ ดังนี้ นาม กริยา นาม นามที่อยู่หน้ากริยา เป็นผู้ทำกริยา
มักอยู่ต้นประโยค ทำหน้าที่เป็นประธาน ส่วนคำนามที่บอก
ผู้รับกริยา มักอยู่หลังคำกริยา

แต่ก็มีประโยคในภาษาไทยอยู่ไม่น้อยที่เปลี่ยนลำดับคำได้
โดยที่ความหมายไม่เปลี่ยนไปจากเดิม

เช่น ดินเปื้ อนกระเป๋า กระเป๋าเปื้ อนดิน
พ่อเอาน้ำใส่กระติก พ่อเอากระติกใส่น้ำ

๓. ภาษาวรรณยุกต์

ภเกปาา็นษรไภาลไา่เทษสียายเทงีป่็มวนีรกภราาณรษไยลาุ่กเวสตรี์ยรหงณรขืยออุกงกตคา์ ำรภผาใันนษภวารวารษรณราณไยทุกยุยตก์มตีไ์ด้
๕ เสียง ได้แก่

เสียงสามัญ การที่ภาษาไทยผันไล่เสียงได้นี้
เสียงเอก ทำให้มีคำใช้มากขึ้น การไล่เสียง
เสียงโท สูง ต่ำ ทำให้ความหมายของคำ
เสียงตรี เปลี่ยนไปด้วย เช่น มา ม้า หมา มี
เสียงจัตวา ความหมายแตกต่างกัน ถ้าออก
เสียง คำว่า ม้า เป็น หมา ความ
หมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย

๔. เสียงสระ พยัญชนะ
วรรณยุกต์เป็ นหน่วยภาษา

ภาษาไทยมีเสียงสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์เป็นหน่วย
ภาษา หน่วยเสียงที่ใช้ในภาษาไทยแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท
คือ หน่วยเสียงสระ หน่วยเสียงพยัญชนะ และหน่วยเสียง
วรรณยุกต์

เสียงสระ ในภาษาไทยมี ๒๑ หน่วยเสียง เป็นสระเดี่ยว ๑๘ เสียง
แบ่งเป็นสระสั้น ๙ เสียง สระยาว ๙ เสียง และสระประสม ๓ เสียง

เท่านั้น ไม่แบ่งเป็นสระสั้น สระยาว เนื่องจากการออกเสียงสระ
ประสมสั้น หรือยาวไม่มีนัยสำคัญ กล่าวคือ ไม่ทำให้ความหมาย
ของคำแตกต่างกัน เหมือนกับเสียงสระเดี่ยวที่แบ่งเป็นสระสั้น
สระยาว การออกเสียงสระประสมสั้น หรือยาวก็ไม่ทำให้ความ

หมายเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามในการเขียนได้กำหนดเป็น
มาตรฐานว่าต้องเขียนคำบางคำด้วยสระสั้น คำบางคำต้องเขียน
ด้วยสระยาว เช่น เจี๊ยะ เพี๊ยะ ผัวะ เขียนรูปสระสั้น แต่ต้องเขียนคำ

เช่น แมว หมา หมู เป็ด ไก่ สิงโตสระยาวเท่านั้น

เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร คือ เสียงที่เปล่ง
ออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะส่วนใด
ส่วนหนึ่งในปาก เช่น คอ ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก
ซึ่งทำให้เกิดเป็นเสียงต่าง ๆ กัน โดยพยัญชนะไทย
มี ๒๑ เสียง ๔๔ รูป

๑.

เสียงวรรณยุกต์ หน่วยเสียงวรรณยุกต์ มี ๕ เสียง คือ
เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา
แต่มีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์เพียง ๔ รูปเท่านั้น
คือ ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี และไม้จัตวา เครื่องหมาย
วรรณยุกต์ไม่ได้ใช้แทนเสียงวรรณยุกต์นั้น ๆ ตรงตัว
เสมอไป เพราะ ต้องเปลี่ยนแปรไปตามกลุ่มของ
พยัญชนะว่าเป็น อักษรกลาง อักษรสูง หรืออักษรต่ำรวม
ทั้งคำเป็น คำตาย สระสั้น-สระยาว และกฎการผัน
วรรณยุกต์

๕. การวางคำขยายไว้ข้างหลังคำหลัก

คถหเขนู้ตำการิาืมขขงอมยใหยผูนค้าาลเัปำยขยงีกใยรเนคสระนิำภโยมมยทีาาอีค่คษตด้วกัอากงาา็ไงหนมรทัก้าวนตย้าคาอจรคำงงขะำคมกวยขำาาาายขขรงยายยจไคยวาาะ้วจขยยบึ้างาจโอมดองะกหหเยยูกก่กหลมิลัดา่งลาาใัรคยงนววำมคขกัา้หำกอรงทลจณคีคั่ีกะถวำูทเหีกาข่ปผม็ขรูย้ืนพอยเาูคพคาดยิ่ำยมำไวท้ี่
หรือคำหลัก จะเรียงลำดับ ดังนี้

๑(๒(กโ.ิ.รนคคงำำวเิน่กรงีารยิเมยนป็าน(เค(ปคคำ็นำำหหคหลัำลลกััหกก) ล+)สั่ก+วคนสคำ่ำวขจุนขยเยารท็ยาวายเงเชปเซ่็ช้นน่านยคโรำกเิงปขน็เยนจรุีายควิย่ำนง)ขเทรย็วาางยซ)้าย

คำขยาย หรือคำที่ทำหน้าที่ขยาย แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ

๑) คำที่ทำหน้าที่ขยายนาม เป็นคำชนิดต่าง ๆ เช่น คำนาม

คำสรรพนาม คำลักษณนาม คำบอกจำนวน เป็นต้น และ

เมื่อขยายแล้วจะเกิดเป็นกลุ่มคำนามหรือนามวลี เช่น

ละครเพลง ร่มใน ตะกร้า

เรือ ๕ ลำ

๒) คำที่ทำหน้าที่ขยายกริยา เป็นคำชนิดต่าง ๆ เช่น คำ

กริยา คำช่วยหน้ากริยา คำบอกจำนวน คำลักษณนาม

เป็นต้น และเมื่อขยายแล้วจะเป็นกลุ่มคำกริยา หรือกริยา

วลี เช่น รู้สึกสงสาร หล่อนดูแลแม่ของหล่อน เป็นต้น

ถ้าคำหลัก หรือคำที่ถูกขยายเป็นคำนามที่ทำหน้าที่

ประธาน หรือกรรม และเป็นคำกริยาที่ทำหน้าที่กริยาของ

ประโยคที่ต้องการ

เนื้อความเพิ่มขึ้นก็จะหาคำมาขยายโดยวางเรียงต่อจาก

คำหลัก

จึงมีรูปแบบการเรียงคำ ดังนี้ คำหลัก (คำนาม,คำกริยา) + คำขยาย

๖. การลงเสียงหนักเบาของคำ

ภาษาไทยมีการลงเสียงหนัก-เบาของคำ การลงเสียงหนัก เบา
ของคำในภาษาไทย จะมีการลงเสียงหนัก-เบาของคำในระดับคำ
ซึ่งมีมากกว่าสองพยางค์ และการลงเสียงหนัก-เบาของคำใน
ระดับประโยค โดยพิจารณาในแง่ของไวยากรณ์ และเจตนาของ
การสื่อสาร เมื่อพิจารณาในแง่ของไวยากรณ์การออกเสียงคำ
ภาษาไทยมิได้ออกเสียงเสมอกันทุก พยางค์ กล่าวคือ ถ้าคำ
พยางค์เดียวอยู่ในประโยค คำบางคำก็อาจไม่ออกเสียงหนัก และ
ถ้าถ้อยคำมีหลายพยางค์ แต่ละพยางค์ก็อาจออกเสียงหนักเบาไม่
เท่ากัน นอกจากนี้หน้าที่และความหมายของคำในประโยคก็ทำให้
ออกเสียงคำหนักเบาไม่เท่ากัน

๗. การไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ

คำในภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเมื่อนำไปใช้ใน
ประโยค เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยค และ
ไม่ต้องเปลี่ยนรูปคำ เพื่อแสดงเพศ พจน์ หรือกาล ในเมื่อ
คำไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อบอกเพศ พจน์ หรือ
กาล และบอกความสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยค เรา
สามารถทราบความหมายของคำและความสัมพันธ์กับคำ
อื่นได้จากบริบท
บริบท หมายถึง ถ้อยคำที่ปรากฏร่วมกับคำที่เรากำลัง
พิจารณา หรือสถานการณ์แวดล้อมในขณะที่กล่าว หรือ
เขียนคำ ๆ นั้น

สมาชิก

นางสาว ธันยนันท์ ธรรมกรเวโรจน์ เลขที่ 9
นางสาว กันยสิริ ไพบูลย์ เลขที่ 14
นางสาว ณัฐกมล ธนะธรรมโกศล เลขที่ 18
นางสาว บงกชกร สุคันธพฤกษ์ เลขที่ 20
นางสาว พรรณธิภา อิ่มอรชร เลขที่ 21
นางสาว อัฐภิญญา สุขสันเขต เลขที่ 31
นาย ธัณญธรณ์ โรจน์วิจิตร เลขที่ 32
นาย ณรงค์ฤทธิ์ จันทะเกษ เลขที่ 34
นาย ศุภกร อมตะรศกลม เลขที่ 35
นางสาว ปิยะดา ฉัตรทิวาพร เลขที่ 36
นางสาว ทักษิณา กริ้วกระโทก เลขที่ 43

ชั้นมัธยมศึกษาที่6/2