ข้อใดไม่ใช่ เหตุผลการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม

   

Home

Main

 
        วันขึ้นปีใหม่
ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการจัดฉลองเทศกาลตลอดทั้งปี เทศกาลเหล่านี้ได้รับอิทธิพลมาจากทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ เมื่อกาลเวลาผ่านไป เทศกาลต่าง ๆ เหล่านี้ก็ถูกดัดแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับสากลนิยมบ้าง
ที่จริงแล้ว วันขึ้นปีใหม่ของไทยอย่างเป็นทางการนี้ได้รับการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งหลายคราว ครั้งหนึ่งเคยถือเอาปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 ถึง 2453) วันขึ้นปีใหม่กำหนดให้อยู่ในช่วงเดือนเมษายนจนกระทั่งเปลี่ยนมาถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ การถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามหลักสากลนิยมนั้นเพิ่งจะได้นำมาประยุกต์ใช้ในปี พ.ศ. 2484 เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินตะวันตกและนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งในหลาย ๆ สิ่งที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประเทศก้าวไปสู่สมัยใหม่
ถึงแม้ว่า วันที่ 1 มกราคม จะถือปฏิบัติเป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงถือเอากลางเดือนเมษายน (วันสงกรานต์) เป็นวันขึ้นปีใหม่และในโอกาสอันเป็นมงคลนี้นั้นการเฉลิมฉลองเป็นเวลานานนับสัปดาห์ก็จะจัดให้มีขึ้นทั่วราชอาณาจักร ส่วนใหญ่กิจกรรมในวันสงกรานต์นี้จะเกี่ยวกับการสาดน้ำใส่กัน สร้างเจดีย์ทราย และรดน้ำหอมให้กับผู้สูงอายุเพื่อความเป็นสิริมงคล ความจริงแล้ว การฉลองวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคมนั้น จะได้รับความนิยมน้อยกว่าวันสงกรานต์มาก โดยปกติก่อนวันที่ 1 มกราคม ผู้คนก็จะแลกบัตรอวยพรและของขวัญแก่กันและกัน เนื่องจากในวันนี้การเฉลิมฉลองอย่างมโหฬารจะจัดให้มีขึ้นเพียงไม่กี่แห่ง ผู้คนก็เลยถือโอกาสนี้ไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อเยี่ยมญาติ ๆ หรือไม่ก็ไปใช้วันหยุดในสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในขณะที่ผู้ที่อยู่บ้านก็จะเตรียมอาหารและเครื่องไทยธรรมอื่นๆ เพื่อทำบุญตักบาตรในเช้าตรู่ของวันที่ 1 มกราคม และยังเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลต่าง ๆ ที่จัดให้มีขึ้นตามสถานที่ต่าง ๆ
ในขณะเดียวกัน หลายบริษัทก็จะถือเอาโอกาสนี้แจกเงินโบนัสและประกาศเลื่อนขั้นพนักงานผู้ซึ่งหลังจากนี้ก็จะรีบถอนเงินซื้อของขวัญเพื่อแจกญาติ ๆ และเพื่อนฝูงก่อนที่จะบ่ายหน้าไปยังบ้านเกิดเพื่อใช้วันหยุดอันยาวนาน
จะเห็นได้ชัดว่า คนไทยจะฉลองวันขึ้นปีใหม่ 3 ครั้งต่อปีเลยก็ว่าได้ กล่าวคือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีหรือวันสงกรานต์ วันที่ 1 มกราคม และวันตรุษจีน ใน 3 วันนี้ วันสงกรานต์เป็นโอกาสที่สนุกสนานที่สุด เพราะว่าประชาชนจากทุกสาขาอาชีพต่างพร้อมใจกันเข้าร่วมฉลองเป็นเวลานับสัปดาห์ ในขณะที่วันตรุษจีนก็มีความสำคัญเท่า ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนไทยเชื้อสายจีน ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่วันหยุดของทางราชการ บริษัทเอกชนส่วนใหญ่ก็จะหยุดดำเนินธุรกิจเป็นเวลาหลายวัน เพื่อให้ทั้งนายจ้างและพนักงานได้เข้าร่วมฉลองโอกาสอันเป็นมงคลนี้ร่วมกับญาติ ๆ ที่บ้านหรือไม่ก็ใช้วันหยุดตามสถานที่ที่ตนพอใจ
 

 

       ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม
         ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน

การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป

      เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
          
      กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
 

      

       กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่   วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย  

      

 

เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ

        เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม
      เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495  

คติข้อคิดในวันขึ้นปีใหม่

           เมื่อวันเวลาผันเปลี่ยนเวียนไปครบ 1 ปี เราได้อยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงวันขึ้นปีใหม่ ขอให้ลองมองย้อนหลังกลับไปคิดดูว่า วันเวลาที่ผ่านมานั้นเราได้ใช้มันอย่างคุ้มค่าหรือเปล่า และได้กระทำคุณงามความดีอันใดไว้บ้าง และควรหาโอกาสกระทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นทุกปี ในขณะเดียวกันเราได้กระทำความผิดหรือสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องไว้หรือไม่ หากมีต้องรีบปรับปรุงแก้ไขตัวเอง

 

 

เอกสารอ้างอิง :
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ,สำนักงาน. 2529. ประเพณีไทย. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

ชลิยา ศรีสุกใส. มปป. วันสำคัญ ประเพณี การละเล่นของไทย. กรุงเทพฯ: พีบีซี.
สมพงษ์ เกรียงไกรเพชร. 2526. บันทึกเรื่องเมืองสยาม. กรุงเทพฯ: ประจักษ์การพิมพ์.

//www.zabzaa.com (เข้าถึง 20 ธ.ค. 49)

             

เหตุใดจึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม

เหตุผลเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม 1. เป็นการไม่ขัดกับหลักพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการท่าบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีน่าเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมศาสนาพุทธ 3. ท่าให้เข้าสู่ระดับสากลทีใช้อยู่ในประเทศทัวโลก 4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคมในรัชกาลใด

พ.ศ. 2477 ประกาศให้มีงานรื่นเริงขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน เพื่อฟื้นฟูประเพณีวันขึ้นปีใหม่ที่ซบเซา พ.ศ. 2484 มีมติให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม

ประเทศไทยเปลี่ยนมาใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่เมื่อใด

2. พระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ประกาศ ให้เลิกใช้รัตนโกสินทรศก และให้ใช้พุทธศักราชแทน 3. ประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2483 ประกาศให้ใช้วันที่มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่

ทำไมปีใหม่ ต้อง 1 มกราคม

สำหรับในประเทศไทยนั้น แรกเริ่มเดิมทีเราถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย ตรงกับ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตามคติทางพุทธศาสนา ที่ถือช่วงฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นของปี ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 ได้นำเอาคติพราหมณ์ฮินดูที่เข้ามาพร้อมกับศาสนาจากประเทศอินเดีย ที่ถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 (เดือนเมษายน) หรือ วันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก