ประเทศใดในอาเซียนที่มีการจราจรในเมืองหลวงแย่ที่สุดในโลก คือประเทศใด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปักกิ่ง

北京

เป่ย์จิง

ประเทศพื้นที่[1] • เทศบาลนคร • เขตเมือง • นอกเมืองความสูงประชากร

 (2012)[2]

 • เทศบาลนคร • ความหนาแน่น • อันดับในประเทศจีนกลุ่มชาติพันธุ์หลัก • ฮั่น • แมนจู • หุย • มองโกลเขตเวลารหัสไปรษณีย์รหัสพื้นที่GDP[3] - Total - Per capita - GrowthHDI (2008)License plate prefixesCity trees City flowers เว็บไซต์

นครปกครองโดยตรง

北京市 · นครปักกิ่ง

จากด้านบน: จัตุรัสเทียนอันเหมิน, หอสักการะฟ้า, โรงละครแห่งชาติ, และ สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง

ที่ตั้งของเทศบาลนครปักกิ่งในประเทศจีน

พิกัด: 39°54′50″N 116°23′30″E / 39.91389°N 116.39167°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 39°54′50″N 116°23′30″E / 39.91389°N 116.39167°E
 
จีน
16,410.54 ตร.กม. (6,336.14 ตร.ไมล์)
1,368.32 ตร.กม. (528.31 ตร.ไมล์)
15,042.22 ตร.กม. (5,807.83 ตร.ไมล์)
43.5 เมตร (142.7 ฟุต)
20,693,000 คน
1,300 คน/ตร.กม. (3,300 คน/ตร.ไมล์)
ประชากร: ที่ 26;
ความหนาแน่น: ที่ 4 คน
ร้อยละ 96
ร้อยละ 2
ร้อยละ 2
ร้อยละ 0.3
UTC+8 (มาตรฐานจีน)
100000–102629
10
2011
CNY 1.6 trillion
US$ 247.7 billion (ที่ 13)
CNY 80,394
US$ 12,447 (ที่ 3)
8.1%
0.891 (2nd)—สูงมาก
京A, C, E, F, H, J, K, L, M, N, P, Q
京B (taxis)
京G, Y (outside urban area)
京O (police and authorities)
京V (in red color) (military headquarters,
central government)
Chinese arborvitae (Platycladus orientalis)
Pagoda tree (Sophora japonica)
China rose (Rosa chinensis)
Chrysanthemum (Chrysanthemum morifolium)
www.ebeijing.gov.cn
ภาษาจีนฮั่นยฺหวี่พินอินไปรษณีย์ความหมายตามตัวอักษร
ปักกิ่ง
北京
Běijīng
 [Listen] (วิธีใช้·ข้อมูล)
Peking
เมืองหลวงทางทิศเหนือ
การถอดเสียงภาษาจีนกลางมาตรฐานฮั่นยฺหวี่พินอินเวด-ไจลส์ภาษาอู๋อักษรโรมันภาษาแคะอักษรโรมันภาษากวางตุ้งมาตรฐานยฺหวิดเพ็งภาษาหมิ่นใต้เป่อ่วยจีภาษาฮกเกี้ยนภาษาหมิ่นตะวันออกFuzhou BUC
Běijīng
 [Listen] (วิธีใช้·ข้อมูล)
Pei3ching1 or Pei3-ching1
poh入cin平
Pet-kîn
bak1ging1
Pak-kiaⁿ
Báe̤k-gĭng

ปักกิ่ง ในภาษากวางตุ้ง (จีน: 北京; ยฺหวิดเพ็ง: Bākgìng) หรือ เป่ย์จิง[หมายเหตุ 1] ในภาษาจีนกลาง (พินอิน:

 Běijīng (วิธีใช้·ข้อมูล) ) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อแรกเริ่มคือ จี้ (薊) สมัยวสันตสารท (春秋) และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ [4] เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี ค.ศ. 2017 ทั่วกรุงเปย์จิงมีประชากร 21,107,000 คน[5] กรุงปักกิ่งเป็นศูนย์การเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การศึกษาและเขตชุมทางการคมนาคมทั่วประเทศจีนและก็เป็นเมืองท่อง เที่ยวที่มีชื่อดังทั้งในประเทศจีนและในโลก แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมีกำแพงเมืองจีน พระราชวังโบราณ หอสักการะฟ้าเทียนถัน สุสานหลวงราชวงศ์หมิง วังพักร้อนอี๋เหอหยวนและภูเขาเซียงซาน เป็นต้น ปัจจุบันปักกิ่งเป็นเขตการปกครองพิเศษแบบมหานคร 1 ใน 4 แห่งของจีน ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับมณฑลหลังจากปักกิ่งได้รับการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 โดยเฉพาะหลังจากสมัย 80 ศตวรรษที่ 20 เมืองปักกิ่งได้พัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ มีการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ ปัจจุบันนี้ปักกิ่งมีถนนที่สลับกัน ตึกสูง ๆ โดยไม่เพียงแต่รักษาสภาพเมืองโบราณ และยังแสดงถึงสภาพเมืองที่ทันสมัย กลายเป็นเมืองใหญ่ของโลก

ปักกิ่งเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ ปักกิ่งเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศึกษา การขนส่ง และวัฒนธรรมจีน ในขณะที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจนั้นจะอยู่ที่เซี่ยงไฮ้และฮ่องกง

ปักกิ่งเป็น 1 ใน 4 เมืองหลวงเก่าของจีน และได้รับเลือกให้จัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 อีกด้วย มหานครปักกิ่งเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน นับแต่ สมัยราชวงศ์หยวน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของจีน ปักกิ่งมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น จัตุรัสเทียนอันเหมิน กำแพงเมืองจีน พระราชวังฤดูร้อน พระราชวังต้องห้าม เป็นต้น มีประวัติความเป็นมา เริ่ม ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งมี การขุดค้นพบกะโหลก มนุษย์ปักกิ่งตามหลักฐานที่พิสูจน์ได้ปักกิ่งมีความเจริญ รุ่งเรืองมานับแต่ คริสศตวรรษที่ 13 ในปี พ.ศ. 1964 (ค.ศ. 1421) จักรพรรดิหย่งเล่อ ได้ทำการก่อสร้างและออกแบบผังเมืองใหม่และย้ายฐานราชการชั่วคราวในขณะนั้นจาก เมืองหนานจิงมายัง เป่ย์จิง หรือปักกิ่งในปัจจุบัน

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาปักกิ่งถูกยกสถานะเป็นเมืองสำคัญระดับโลกเป็นศูนย์กลางทางการปกครองการค้า การลงทุนที่สำคัญที่สุดของประเทศจีนในแต่ละปีมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาติดต่อการค้าท่องเที่ยว ศึกษาเป็นจำนวนมากประชาชนชาวปักกิ่งมีสภาพความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากตะวันตกมากขึ้นด้วย

ที่มาของชื่อ[แก้]

กรุงปักกิ่ง มีชื่อเมืองหลายชื่อ คำว่า ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิงหมายถึง เมืองหลวงทางทิศเหนือ (มาจากอักษรจีน ที่แปลว่าเหนือ และ ที่แปลว่าเมืองหลวง) กรุงปักกิ่ง ใช้ตัวย่อภาษาอังกฤษคือ BJ

ประวัติศาสตร์[แก้]

ปักกิ่ง มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี เป็นเมืองหลวงโบราณของจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์จิน ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง รวม 5 ราชวงศ์ และเมื่อสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 2492 (ค.ศ. 1949) ก็ได้ตั้งให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ

ตาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์ พื้นที่กรุงปักกิ่งในปัจจุบัน เมื่อ 110 ปีก่อนคริสตกาลเป็นที่ตั้งของอาณาจักรจี้กั๋ว ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซีโจว ต่อมาเมื่อถึงกลางของราชวงศ์ชุนชิว (770 – 476 ปีก่อนคริสตกาล) อาณาจักรเยียนกั๋วได้รวมอาณาจักรจี้กั๋วเข้าไว้ด้วยกัน หลังจากนั้นอาณาจักรฉินกั๋วก็ได้ตีเอาจี้กั๋วมาเป็นของตนเมื่อ 226 ปีก่อนคริสตกาล ถึงปี 2024 (ค.ศ. 1481) อาณาจักรจี้กั๋วกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวงของแคว้นเหลียวซึ่งก่อตั้ง ขึ้นโดยชนชาติชี่ตัน และตั้งชื่อใหม่ว่าหนานจิง หรือเยียนจิง

ในเวลาต่อมาได้มีการสถาปนาราชวงศ์จิน และได้ย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่แย่นจิงในปี 2239 (ค.ศ. 1696) โดยเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น จงตู ต่อมาราชวงศ์จินถูกรุกรานโดยชาวมองโกล จึงได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เปี้ยนจิง (เมืองไคฟง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) หลังจากนั้น ราชวงศ์หยวนก็ได้สถาปนาขึ้นภายใต้การปกครองของชาวมองโกล และตั้งให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงในปี 2353 (ค.ศ. 1810) จากนั้นปักกิ่งก็ถูกตั้งให้เป็นเมืองหลวงเรื่อยมาในสมัยราชวงศ์หมิง และชิง จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2492 เมื่อจีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้กำหนดให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศจนถึงปัจจุบัน โบราณสถานในปักกิ่งที่ตกทอดสืบต่อมาและมีปรากฏให้เห็นจนถึงทุกวันนี้มีมาก มาย เช่น พระราชวังต้องห้าม กำแพงเมืองจีน หอบูชาฟ้า พระราชวังฤดูร้อน สุสานสิบสามกษัตริย์ เป็นต้น สถานที่เหล่านี้ล้วนเป็นมรดกทางประศาสตร์อันสำคัญทั้งของจีนและของโลก

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

มหานครปักกิ่งมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ทิศใต้ และ ทิศตะวันตก ถูกล้อมรอบด้วย มณฑลเหอเป่ย์
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ นครเทียนสิน

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของปักกิ่ง เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) ความชื้นร้อยละ วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm)จำนวนชั่วโมงที่มีแดด
12.9
(55.2)
19.8
(67.6)
26.4
(79.5)
33.0
(91.4)
38.3
(100.9)
40.6
(105.1)
41.9
(107.4)
36.1
(97)
34.4
(93.9)
29.8
(85.6)
22.0
(71.6)
19.5
(67.1)
42.6
(108.7)
1.8
(35.2)
5.0
(41)
11.6
(52.9)
20.3
(68.5)
26.0
(78.8)
30.2
(86.4)
30.9
(87.6)
29.7
(85.5)
25.8
(78.4)
19.1
(66.4)
10.1
(50.2)
3.7
(38.7)
17.9
(64.2)
−8.4
(16.9)
−5.6
(21.9)
0.4
(32.7)
7.9
(46.2)
13.6
(56.5)
18.8
(65.8)
22.0
(71.6)
20.8
(69.4)
14.8
(58.6)
7.9
(46.2)
0.0
(32)
−5.8
(21.6)
7.2
(45)
−18.3
(-0.9)
−27.4
(-17.3)
−15.0
(5)
−3.2
(26.2)
2.5
(36.5)
9.8
(49.6)
15.3
(59.5)
11.4
(52.5)
3.7
(38.7)
-3.5
(25.7)
-12.5
(9.5)
-18.5
(-1.3)
−27.4
(−17.3)
2.7
(0.106)
4.9
(0.193)
8.3
(0.327)
21.2
(0.835)
34.2
(1.346)
78.1
(3.075)
185.2
(7.291)
159.7
(6.287)
45.5
(1.791)
21.8
(0.858)
7.4
(0.291)
2.8
(0.11)
571.8
(22.512)
44 44 46 46 53 61 75 77 68 61 57 49 56.8
1.8 2.3 3.3 4.3 5.8 9.7 13.6 12.0 7.6 5.0 3.5 1.7 70.6
194.1 194.7 231.8 251.9 283.4 261.4 212.4 220.9 232.1 222.1 185.3 180.7 2,670.8
แหล่งที่มา: China Meteorological Administration [6], all-time extreme temperature[7]

ประชากร[แก้]

กรุงปักกิ่งมีประชากรทั้งสิ้น 21,707,000 คน[8](ข้อมูลเมื่อเดือน มกราคม ค.ศ.2021)

การขนส่ง[แก้]

กรุงปักกิ่ง มีการจัดการขนส่งมวลชน เช่น รถไฟใต้ดินปักกิ่ง เริ่มก่อสร้างทางรถไฟใต้ดินเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1965 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1969 และเปิดบริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1971 โดยมีสถานีรถไฟทั้งหมด 370 แห่งและมีระยะทางทั้งหมด 608 กิโลเมตร (ข้อมูลจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.2017 )

การศึกษา[แก้]

ปักกิ่ง ถือว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศจีน โดยมีสถาบันการศึกษาชั้นนำกว่า 70 แห่ง และสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์กว่า 4,000 แห่ง[9]

ห้องแสดงภาพ[แก้]

  • เมืองปักกิ่ง

  • การจราจรในปักกิ่ง

  • ทิวทัศน์กรุงปักกิ่ง

หมายเหตุ[แก้]

  1. เสียงสระเอ ไม่ใช่สระเออ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Doing Business in China - Survey". Ministry Of Commerce - People's Republic Of China. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  2. "北京市2012年国民经济和社会发展统计公报". Beijing Statistics Bureau. 2013-02-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-03. สืบค้นเมื่อ 2013-02-18.
  3. "2011年北京人均可支配收入3.29万 实际增长7.2%". People.com.cn. 20 January 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 22 February 2012.
  4. รู้ไหม ปักกิ่งเป็นเมืองที่มีหลายชื่อที่สุดในโลก (CRI)
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-08. สืบค้นเมื่อ 2018-02-13.
  6. "中国地面国际交换站气候标准值月值数据集(1971-2000年)" (ภาษาจีน). China Meteorological Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-16. สืบค้นเมื่อ 2010-05-04.
  7. "Extreme Temperatures Around the World". สืบค้นเมื่อ 2013-02-21.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-23. สืบค้นเมื่อ 2018-02-21.
  9. อักษรศรี (อติสุธาโภชน์) พานิชสาส์น ,เศรษฐกิจจีน หน้า 291

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ทัวร์ปักกิ่ง
  • www.beijing.gov.cn เว็บไซต์ทางการ (อักษรจีนตัวย่อ)
  • เว็บไซต์ทางการ เก็บถาวร 2010-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ภาษาอังกฤษ)
  • กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เก็บถาวร 2005-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สาระน่ารู้ก่อนเดินทาง โดยกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย
  • Beijing คู่มือการท่องเที่ยวจากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก