สายสัญญาณ คืออะไร มีอะไรบ้าง

สาย LAN (UTP) คืออะไร

สาย LAN หรือที่รู้จักกันในชื่อทางการว่า สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) เป็นสายนำสัญญาณชนิดหนึ่ง ที่มีตัวนำสัญญาณเป็นทองแดงบิดตีเกลียวกันเป็นคู่ (Twisted Pairs) โดยทั่วไปใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการรับ-ส่งข้อมูล หรือเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายกลาง เช่น Network Switch, Hub, รวมไปถึง Router ก็ได้เช่นกัน ในส่วนของหัวที่ใช้เชื่อมต่อสาย LAN นั้น เราเรียกว่า RJ45  

* การบิดตีเกลียว (Twisted) ของสายทองแดง ช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ดีกว่าสายชนิดไม่ตีเกลียว

สาย LAN (UTP) มีกี่ประเภท
สาย LAN (UTP) สามารถแบ่งได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับลักษณะการจำแนก เช่น

แบ่งตามลักษณะการติดตั้ง

1. ชนิดติดตั้งภายในอาคาร (Indoor Cable)

สายสัญญาณสำหรับติดตั้งภายในอาคารนั้น เปลือกนอกมักนิยมทำจากวัสดุ PVC เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและสามารถป้องกันการลามไฟได้ นอกจากนี้ได้มีข้อกำหนดหรือมาตรฐานป้องกันทางด้านอัคคีภัย จึงต้องมีการใส่สารพิเศษเข้าไป ทำให้สามารถแบ่งชนิดของสายภายในอาคารที่ใช้กันแพร่หลาย 4 ชนิดด้วยกัน

- CM (Communication Metallic)
เป็นสายที่สามารถป้องกันการลามไฟได้ในแนวราบ เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป เช่นการติดตั้งสายแนวราบภายในชั้นเดียวกัน (Horizontal Wiring)

- CMR (Communication Metallic Riser)
สายชนิดนี้สามารถป้องกันการลามไฟทั้งแนวราบและแนวดิ่ง มักใช้ในการเดินสายสัญญาณระหว่างชั้นในอาคารโดยผ่านช่องเดินสายของตัวอาคาร (Vertical Shaft)

- CMP (Communication Metallic Plenum)
เป็นสายที่เหมาะสำหรับการติดตั้งเดินสายบนฝ้าเพดาน หรือบริเวณช่องว่างเหนือฝ้าที่มีอากาศไหลเวียน (Plenum Space) แต่ไม่สามารถป้องกันการลามไฟในแนวดิ่งได้

- LSZH (Low Smoke Zero Halogen)
สามารถป้องกันการลามไฟได้ทั้งในแนวราบและแนวดิ่งเหมือน CMR แต่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือเมื่อเกิดอัคคีภัย สายชนิดนี้จะมีควันน้อยและไม่ก่อให้เกิดสารพิษ

2. ชนิดติดตั้งภายนอกอาคาร (Outdoor Cable)

สายสัญญาณสำหรับติดตั้งภายนอกอาคารนั้น จะมีเปลือกนอกทำจากวัสดุ PE (Polyethylene) ซึ่งมีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ไม่สึกกร่อน แต่จะไม่สามารถป้องกันการลามไฟได้ ดังนั้นเราควรเลือกสายให้ถูกต้องตามชนิดของการใช้งาน

แบ่งตามลักษณะการป้องกันสัญญาณรบกวน

1. ชนิดไม่มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน : Unshield Twisted Pair (UTP) 
เป็นสายทองแดงคู่ บิดตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ป้องกันสัญญาณรบกวน โดยตัวนำสัญญาณจะมี 8 เส้น (4คู่) เป็นทองแดงแท้ นิยมใช้กับงานระบบคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป

2. ชนิดมีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน : Foil Twisted Pair (UTP)
เป็นสายทองแดงคู่ บิดตีเกลียวแบบมีชิลด์ป้องกันสัญญาณรบกวน นิยมใช้งานในพื้นที่ ที่มีสัญญาณรบกวนสูง เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ติดตั้งผ่านเครื่องจักรขนาดใหญ่ ไฟฟ้าแรงสูง ปลั๊กไฟ ฯลฯ

แบ่งตาม Bandwidth ที่รองรับได้

1. Category 5E (CAT 5E)
เป็นสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็วต่ำ พัฒนามาจากสาย CAT 5 เดิม ออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth อยู่ที่ 100-200 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร

2. Category 6 (CAT 6)
เป็นสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็ว ถูกผลิตขึ้นมาตามมาตรฐานของ Gigabit Ethernet ออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth อยู่ที่ 250 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 55 เมตร

3. Category 6A (CAT 6A)
เป็นสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็ว ออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth อยู่ที่ 500 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร

4. Category 8 (CAT 8)
เป็นสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็ว ออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth อยู่ที่ 2GHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 25/40 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 30 เมตร

*สายสัญญาณของ LINK ถูกออกแบบมาพิเศษ โดยมีคุณสมบัติสูงกว่าสายสัญญาณแบรนด์อื่นๆ 

- LINK CAT 5E ออกแบบมาให้รองรับ Bandwidth อยู่ที่ 350 MHz

- LINK CAT 6 ออกแบบมาให้รองรับ Bandwidth อยู่ที่ 600 MHz

- LINK CAT 6A ออกแบบมาให้รองรับ Bandwidth อยู่ที่ 750 MHz

* Patch Cord

ประเภทสุดท้ายคือสาย LAN สำเร็จรูปแบบแกนฝอย โค้งงอและยือหยุ่นได้ดี เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ต้องการหัก งอ ม้วน ของสาย โดยปกติสาย Patch Cord จะมีความยาวประมาณ 1-20 เมตร มักผลิตหลายสีเพื่อให้แยกแยะสายได้ง่าย ใช้สำหรับเชื่อมต่อจาก Patch Panel ไปยัง Network Switch หรือ เชื่อมต่อจาก Box Outlet RJ-45 ตัวเมีย ไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ

⭐ สนใจสินค้าหรือสอบถามเพิ่มเติม
โทร : 02-666-1111
Line@ : //bit.ly/interlinkfan
Website : www.interlink.co.th

สายสัญญาณ Balance และ Unbalance และส่วนประกอบต่างๆของสายสัญญาณ มีอะไรบ้าง? สวัสดีครับทุกท่านวันนี้ผมก็ได้คัดสรรค์บทความดีๆมาฝากอีกเช่นเคยครับ ผมคิดว่าเป็นอะไรที่สำคัญมากในระบบเสียงของเรา ฉะนั้นเรามาติดตามดูกันเลยครับ

เรามาอัพความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ใกล้ตัวที่หลายท่านอาจละเลย และ ให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญอันดับท้ายๆของระบบเสียงกันบ้าง นั่นก็คือ สายสัญญาณนั่นเอง

สายสัญญาณคือส่วนประกอบของระบบเสียงไม่ว่าจะเป็น ระบบเสียงภายในบ้านหรือที่เขาเรียกว่า โฮมยูส จนถึงงานกลางแจ้ง หรืองาน PA ก็ต้องมีสายสัญญาณเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ตั้งแต่ไมโครโฟน เครื่องเล่นซีดี เครื่องดนตรี ต่างๆ ต่อพ่วงสัญญาณไปเข้ามิกเซอร์ และมิกเซอร์ต่อไปเข้า เครื่องปรุงแต่งเสียงต่างๆจนไปถึงเครื่องขยายเสียง ล้วนแต่ก็ต้องเชื่อมต่อสัญญาณผ่านสายนำสัญญาณ เป็นส่วนใหญ่

จากประสบการณ์ส่วนตัว สายสัญญาณแต่ละยี่ห้อ แต่ละค่าย ให้คุณภาพเสียงที่แตกต่างกันจริง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะขึ้นอยู่ที่ตัวนำภายในสาย ระบบการผลิต ความต้านทาน และตัวแปรอื่นๆ เราจะเห็นในท้องตลาดวางขายกันให้รึ่ม ตั้งแต่ราคาหลักสิบ จนถึงหลักร้อยและหลักพันบาทต่อเมตร วางขาย กันเยอะแยะ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบนำสายสัญญาณแต่ละยี่ห้อ มาเทียบกัน ในขนาดความโตของตัวนำสัญญาณเท่าๆกัน ก็จะเห็นว่า มันมีความต่างของเสียงอยู่ไม่มากก็น้อย จริงๆแล้วสายสัญญาณและสายลำโพงในระบบก็สำคัญไม่น้อยไปกว่าอุปกรณ์อื่นแต่อย่างใด อยากให้ผู้ที่มีใจรัก ไม่ว่าจะเครื่องเสียงในบ้านหรือกลางแจ้ง หันมาใส่ใจกับสายสัญญาณและสายลำโพงกัน แล้วคุณจะหลงรักเครื่องเสียงของตัวเองเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
เดี๋ยวเรามาชมส่วนประกอบของสายสัญญาณกันบ้างว่ามีอะไรเป็นส่วนประกอบ และหน้าที่ของมันคืออะไร ติดตามพร้อมๆกันเลยครับ

สายสัญญาณมีส่วนประกอบหลักมีดังนี้

1. Jacket แจ็คเก็ท

เป็นส่วนนอกสุดของสายสัญญาณ มีความหนาและบางตามผู้ผลิต ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นกับ ส่วนต่างๆที่อยู่ภายในสาย ช่วยรักษารูปทรง ของส่วนต่างๆที่อยู่ภายในสายสัญญาณ

2. Shield ชีลด์

ส่วนถัดมา ชีลด์ ซึ่งก็มีทั้งแบบเส้นลวดฝอยถักหรือที่เรียกว่า Braid (เบรดชีลด์) ซึ่งมีทั้งสีเงินและทองแดง และแบบฟอยสีเงิน (Foil) ซึ่งทำหน้าที่หลักๆคือ รวมเสียงรบกวนต่างๆมาอยู่ที่ตัวมันเอง และลดเสียงรบกวน (Noise) ได้

3. Insulation อินซูเลชั่น

ส่วนที่หุ้มตัวนำสัญญาณอีกที มีหน้าที่ประคองรักษารูปทรงและป้องกันตัวนำสัญญาณอีกชั้นหนึ่ง ในส่วนของอินโซเลชั่น ก็จะมีหลากหลายสี เพื่อบ่องบอกโค๊ด เช่นสี แดง ดำ น้ำเงิน ขาว น้ำตาล และอื่นๆเป็นต้น

4. Conductor คอนดักเตอร์

ส่วนสุดท้าย คอนดักส์เตอร์หรือตัวนำสัญญาณหน้าที่นำสัญญาณทางไฟฟ้า ตัวนำไฟฟ้ามีหลายชนิด เช่น ทองแดง เงิน ดีบุก เป็นต้น

คราวนี้เรามาดูขนาดของสายสัญญาณกันบ้าง

ขนาดของสายสัญญาณมีหน่วยเป็น AWG และ SWG

AWG อเมริกันวายเกรด

(American wire gauge) นิยมใช้ในอเมริกาและแคนาดา และทั่วไป

SWG สแตนดาร์ดวายเกรด ซึ่งจะมีขนาดที่ใหญ่กว่า AWG อยู่หนึ่งเบอร์โดยประมาณ ซึ่งนิยมใช้ในสหภาพ UK

หมายเหตุ:

  • ขนาดสายสัญญาณที่เล็กจะมีค่า AWG ที่มาก
  • ขนาดสายสัญญาณที่ใหญ่จะมีค่า AWG ที่น้อย

สายสัญญาณที่พบเห็นทั่วไปในบ้านเราที่นิยมนำมาใช้งาน มี สองแบบ

1. สาย Unbalance (อัลบาลานซ์)

นิยมใช้งานประเภทคอนซูเมอร์หรือโฮมยูส เน้นเดินสายระยะใกล้ ไม่แนะนำเดินสายระยะไกล เพราะจะมีการลดทอนและสูญเสียพลังงานและเกิดเสียงจี่หรือฮัมได้ ลักษณะสายจะมีตัวนำ เส้นเดียวและกราวด์อีกหนึ่งเส้นตามภาพ

2. สาย Balance (บาลานซ์)

ลักษณะจะมีตัวนำสองเส้นและลวดที่เป็นกราวด์อีกหนึ่งเส้น ประกอบไปด้วย ตัวนำที่เป็นขั้วบวกลบและกราวด์ สายประเภทนี้เดินสายระยะไกลได้นิยมใช้กับงานระบบเสียง PA. และจะให้สัญญาณที่แรงกว่าถึงบวก 4 dB

ซึ่งสายสัญญาณทั้งสองแบบมีข้อแตกต่างดังต่อไปนี้

1. สายแบบบาลานซ์ Balance Signal จะมีระดับสัญญาณ (+4dB)
2. สายแบบอัลบาลานซ์ Unbalance Signal จะมีระดับสัญญาณ (-10dB)

เบื้องต้นจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน ว่าสายสัญญาณแบบบาลานซ์ให้ระดับความแรงของสัญญาณที่แรงกว่า

คอนเนคเตอร์หรือปลั๊กแจ๊คที่นิยมใช้กับสายสัญญาณ Balance และสาย Unbalance

หัวแจ็คที่นิยมใช้กับสายสัญญาณ Balance มี 2 แบบหลักๆ คือ

1. XLR (เอ็กแอลอาร์) มีทั้งตัวผู้และตัวเมีย บางท่านเรียกปลั๊กแจ๊คแบบนี้ว่า แคนนอล (EXTRA LOW RESISTANCE) คือ สัญญาณที่มีความต้านทานค่อนข้างต่ำมาก จึงเป็นผลทำให้สามารถเดินสายสัญญาณได้ไกลๆ และมีสัญญาณรบกวนต่ำ โดยขาต่างๆ ปัจจุบันที่เชื่อมต่อกันเป็นมาตรฐานสากล คือ

ขาที่ 1 ground หรือ shield

ขาที่ 2 สัญญาณ + หรือ HOT SIGNAL

ขาที่ 3 สัญญาณ – หรือ COOL SIGNAL

2. TRS 6.3 mm. หรือโฟนสเตอริโอ (TIP RING SHEEVE) ซึ่งหมายถึง จุด ต่อสามจุดของแจ็คแบบ TRS โดย TIP จะเปรียบเสมือน ขาที่ 2 ของแจ็ค XLR, RING จะเหมือน ขาที่ 3 ของแจ็ค XLR และ SHEEVE จะเหมือนกับ ขาที่ 1 ของแจ็ค XLR (สายแบบนี้ทั่วไปหลายๆคนมักจะคุ้นหูหรือเรียกว่าสาย Streo นั่นเองครับ)

สายสัญญาณแบบ Balance ข้อดีคือสัญญาณ + และสัญญาณ – จะถูกแยกออกจากกัน โดยมีสาย Shield เป็น Ground ที่เดินคู่ขนานมาเพื่อป้องกันสัญญาณรบการจากภายนอก ซึ่งนั่นทำให้สัญญาณที่ได้มีความสะอาดใส และเสียงสัญญาณรบกวนที่เรียกกันว่า NOISE ก็จะน้อยด้วยครับ

หัวแจ็คที่นิยมใช้กับสายสัญญาณ Unbalance มี 2 แบบหลักๆ คือ

1. RCA อาร์ซีเอแจ๊ค ซึ่งนิยมใช้ในงานคอนซูเมอร์โฮมยูส

2. TS Phone 6.3mm. หรือ โฟนโมโน

(ซึ่งทั้ง โฟนโมโนและอาร์ซีเอแจ๊ค จะมีขั้วต่อเพียง 2 ขั้ว) การต่อสัญญาณแบบ Unbalance จะรวมเอาสัญญาณ ( ลบ- ) หรือ COOL SIGNAL มารวมไว้กับ Ground หรือ SHEEVE ทำให้แทนที่ว่าสาย Ground จะต้องทำหน้าที่ป้องกันเสียงรบกวนอย่างเดียวแบบสัญญาณ Balance ก็จะต้องใช้มาทำหน้าที่นำสัญญาณอีกด้วย ดังนั้นสัญญาณรบกวนจากสาย Ground จึงปะปนมากับสัญญาณ – อย่างแน่นอน จึงทำให้การต่อแบบ Unbalance มีสัญญาณรบกวนมากกว่าหากเราต้องเดินสายสัญญาณไกลๆ

การใช้สายสัญญาณแบบ Unbalance นั้นจะใช้เฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้สายไม่ยาวมากนัก เช่น สายแจ็คกีตาร์ สายแจ็ค CD, DVD,TAPE , TUNER และอุปกรณ์คอนซูเมอร์โฮมยูสเป็นส่วนใหญ่

สรุป

คือสัญญาณ Balance จะให้การนำสัญญาณที่แรงและเต็มกว่า และสัญญาณรบกวนน้อยกว่า

ซึ่งต่างจากสายสัญญาณแบบ Unbalance ซึ่งจะมีสัญญาณที่เบากว่าเเละมีสัญญาณรบกวนมากกว่าแบบบาลานซ์

การเลือกใช้สายสัญญาณต้องคำนึงถึงลักษณะงานเป็นหลัก และลองเทียบคุณภาพเสียง และดูส่วนประกอบต่างๆประกอบกัน เพื่อให้ได้สายสัญญาณคุณภาพตรงตามความต้องการมาใช้งาน

สายสัญญาณมีกี่ชนิด มีอะไรบ้าง

สื่อนําสัญญาณที่ใชในเครือขายคอมพิวเตอรสามารถแบงออกได2 ประเภทดังนี้ 1) สายสัญญาณ (Wire) o สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) o สายคูบิดเกลียว (Twisted Pairs) o สายใยแกวนําแสง (Fiber Optics) 2) สื่อไรสาย (Wireless)

สายสัญญาณประเภทใดที่มีราคาแพง

สายเคเบิลแบบโคแอกเชียลหรือเรียกสั้น ๆ ว่า "สายโคแอก" จะเป็นสายสื่อสารที่มีคุณภาพที่กว่าและราคาแพงกว่า สายเกลียวคู่ ส่วนของสายส่งข้อมูลจะอยู่ตรงกลางเป็นลวดทองแดงมีชั้นของตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่ 2 ชั้น ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง ชั้นนอกเป็นฟั่นเกลียว และคั่นระหว่างชั้นด้วยฉนวนหนา เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวน สายโคแอก ...

สายสัญญาณเสียง มีอะไรบ้าง

รู้จัก….
มารู้จักสายสัญญาณกันให้มากยิ่งขึ้น.
สายสัญญาณแบบอนาล็อก สายแบบบาล๊านซ์ (Balanced) แบบอันบาล๊านซ์ (Unbalanced) ปลั๊กแจ็คชนิด XLR. ปลั๊กแจ็คหัวแบบ PHONE 6.3 MM TRS/TS. ปลั๊กแจ็คแบบ RCA. ปลั๊กแจ็คในแบบ MINI JACK 3.5 MM. TS/TRS. ... .
สายสัญญาณแบบดิจิตอล สาย MIDI. สาย USB. สาย Optical..

T – Connector จะใช้กับสายแบบใด

หัวเชื่อมสายรูปตัว T (BNC T-Connector) เป็นหัวที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณกับเน็ตเวิร์คการ์ด หัวเชื่อมสายแบบ Barrel (BNC Barrel Connector) เป็นหัวที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณเพื่อให้สายมีขนาดยาวขึ้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก