หลักฐาน ทาง ประวัติศาสตร์ สมัยอยุธยา โบราณสถาน วัตถุ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 23พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ทรงมีพระราชปรารภกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้นว่า

“ โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษา และตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่”

กรมศิลปากรจึงได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขึ้นเพื่อเก็บรักษาจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ และโบราณวัตถุพบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  อาคารก่อสร้างด้วยเงินบริจาคจากประชาชน  ซึ่งผู้บริจาคได้รับพระพิมพ์ที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นการสมนาคุณ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสร้างพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นนามพิพิธภัณฑ์ 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา  ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ถนนโรจนะ ตรงข้ามกับสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หากมาจากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยา จากนั้นข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  แล้วตรงไปประมาณ ๒ ไฟแดง ไปอีกไม่ไกลนักจะเห็นพิพิธภัณฑ์อยู่ทางขวามือ   

(แต่วันนั้นเราเลี้ยวผิดค่ะ เลี้ยวไปเข้าประตูของศาล  อ้าว ผิดที่  ตะแรก นึกว่าอาจารย์พามาทางลัดอีกแล้ว)

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีรูปแบบการจัดแสดงแบบใหม่คือ นำโบราณวัตถุมาจัดแสดงจำนวนไม่มากจนเกินไปและใช้แสงสีมาทำให้การนำเสนอดูน่าสนใจ

สิ่งสำคัญที่น่าชมภายในพิพิธภัณฑ์ได้แก่

พระพุทธรูปทรงเครื่องสำริด

(ศิลปอยุธยาตอนต้น ห้อยพระบาทแสดงธรรม)

เป็นพระพุทธรูปศิลาขาวสมัยทวาราวดี ในท่าประทับนั่งห้อยพระบาทซึ่งเคยประดิษฐานในซุ้มพระสถูปโบราณวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม

กรมศิลปากรได้พยายามติดตามชิ้นส่วนต่างๆ ขององค์พระที่กระจัดกระจายไปอยู่ในที่ต่างๆ มาประกอบขึ้นเป็นองค์พระได้อย่างสมบูรณ์ นับเป็นพระพุทธรูปที่มีค่ามากองค์หนึ่งซึ่งในโลกพบเพียง ๖ องค์เท่านั้น คือในประเทศไทย ๕ องค์และในประเทศอินโดนีเซีย ๑ องค์ ในประเทศไทยอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ ๒ องค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๑ องค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ๑ องค์และวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑ องค์

เศียรพระพุทธรูปสมัยอู่ทอ

 เศียรพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่(สมัยอู่ทองได้จากวัดธรรมิกราช)

ทำด้วยสัมฤทธิ์มีขนาดใหญ่มากได้มาจากวัดธรรมมิกราช แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของวัดและฝีมือการหล่อวัตถุขนาดใหญ่ในสมัยโบราณ

พระพุทธรูปทรงเครื่องสำริด ศิลปะอยุธยาตอนต้น

พระพุทธรูปที่พบใน  พระพาหา  พระมงคลบิตร

พระพาหา  คำว่า แขน เมื่อเป็นราชาศัพท์ ใช้ว่า พระพาหา ก็ได้ พระกร ก็ได้. แต่เมื่อเรียกแต่ละส่วน พระพาหาจะหมายถึง ต้นแขน, ส่วนพระกร จะหมายถึงส่วนที่ต่ำกว่าข้อศอกลงมา. ส่วนของแขนมีคำเรียก เรียงลงมาจากไหล่ ดังนี้ คือ พระอังสา (ไหล่) พระอังสกุฎ (จะงอยบ่า) พระพาหา (ต้นแขน) พระกโประ (ข้อศอก) พระกร (แขนท่อนล่าง) ข้อพระกร (ข้อมือ) พระหัตถ์ (มือ) อุ้งพระหัตถ์ (อุ้งมือ) นิ้วพระหัตถ์ หรือพระองคุลี (นิ้วมือ) และ พระนขา (เล็บ).
ผู้เขียน  ศ. ดร.กาญจนา  นาคสกุล  ราชบัณฑิต  สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน

หน้าบันจำหลักรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ ศิลปอยุธยา  ได้จากพระอุโบสถและซุ้มพระคูหา  วัดพระศรีสรรเพชญ์

บานประตูไม้จำหลักรูปเทวดาทรงพระขรรค์

พระพุทธรูปศิลา  ปางสมาธิ(สมัยทราราวดี ได้จากวัดนางกุย)

ที่กล่าวมาข้างต้นคือห้องที่จัดอยู่ชั้นล่างค่ะ  คราวนี้มาชมชั้นบนกันค่ะ

ชั้นบนนี้จัดแสดงวัตถุโบราณที่ขุดได้จากกรุวัดวัดราชบูรณะ และกรุวัดมหาธาตุ  ซึ่งรวบรวมไว้ในห้องมหรรฆภัณฑ์ มีเครื่องราชูปโภคทองคำ ทองกร พาหุรัด ทับทรวง เครื่องประดับเศียรสำหรับชายและหญิง พระแสงดาบฝักทองคำประดับพลอยสีต่างๆเป็นต้น แสดงให้เห็นความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยาในอดีตไว้อย่างน่าชมน่าศึกษา

ระหว่างห้องกรุวัดมหาธาตุ และ กรุวัดราชบูรณะ มีห้องโถงระหว่างกลาง ซึ่งจัดแสดงพระพิมพ์สมัยลพบุรี สุโขทัย อยธยา ที่พบจากปรางค์วัดราชบูรณะ  และ จัดแสดงเครื่องแก้วผลึก เครื่องถ้วยเล็กๆ ที่ได้จากวด มหาธาตุ และ วัด ราชบูรณะ

พระพิมพ์ชินปางมารวิชัยในซุ้มระฆัง (ศิลปะอยุธยา ได้จากรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ)

พระพิมพ์ชินปางลีลา  ซุ้มเรือนแก้ว (ศิลปะอยุธยา ได้จากรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ)

วิหารจำลองดินเผา  (ศิลปะอยุธยาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ ๒๓)

หลังจากชมบางส่วนในห้องโถงแล้ว เชิญชม ห้องกรุวัดมหาธาตุ

ฝาสถูปทองคำประดับอัญมณี ภายในบรรจุผอบทองคำที่ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุ

ผอบที่ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุ

เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งขุดพบในพระปรางค์วัดมหาธาตุ พระบรมสาริกธาตุบรรจุในผอบศิลาเป็นชั้นนอก ซึ่งบรรจุซ้อนกัน ๗ ชั้น

พระพิมพ์เงิน รูปพระพุทธรูป ได้จากกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ

ปลาหินเขียนลายทอง

ตลับทองรูปสิงโต

มีนักวิชาการทางโบราณคดีท่านหนึ่งเคยให้ความเห็นเกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุไว้ว่า

“ปัญหาของเราเวลาศึกษาอยุธยา เราไม่เคยให้ความสำคัญแก่สิ่งที่เป็นหลักบ้านเมืองเลย แล้วที่น่าเสียดายเวลาที่ผมกลับไปดู เขาเอาพระบรมธาตุที่วัดมหาธาตุไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไปเก็บทำไม ทำไมไม่หาทางไปบรรจุคืนพระมหาสถูป ความเห็นของผม ผมคิดว่า ถ้าวัดมหาธาตุพังนะก็ควรเอากลับไปที่วัดราชบูรณะแล้วเฉลิมฉลองให้ดี นี้เป็นการปรารภให้ฟัง อะไรที่เป็นศักดิ์ศรีของบ้านเมืองที่เป็นหลักของบ้านเมืองเอาไปดองไว้เป็นเวลาช้านาน กรุของเดิมหายไป พระมหาธาตุจากวัดพระศรีสรรเพชญก็หายหรือเก็บไว้ก็ไม่รู้ น่าประหลาดไหมครับ ของวัดมหาธาตุเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถ้าเป็นไปได้สิ่งที่ผมพูดเวลานี้ คือประกาศให้รู้ว่า ไม่น่าที่จะเอาของที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระนครไปเก็บไว้ที่ตรงนี้ ถ้าเราจะคิดทำอะไรให้มันมีความหมายควรจะนำไปกลับคืนและก็บูรณะกรุนี้ให้ดี เพราะพระธาตุในกรุนี่ยากที่จะลงไป อย่าลงเลยครับเดี๋ยวเป็นลมตาย ภาพเขียนอนุรักษ์ให้ดีแล้วเอาพระธาตุบรรจุ แล้วให้เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระนคร แทนที่จะมีคนไปปีนป่ายเป็นลิงเป็นค่างอะไร นี่คือความสำคัญ”

ตามมาชมห้องกรุวัดราชบูรณะกันต่อ

ปรางค์วัดราชบูรณะ แสดงให้เห็นส่วนของแผ่นทองที่ยังเหลืออยู่

เครื่องทอง ซึ่งพบในกรุวัดราชบูรณะ เช่น เครื่องประดับ เครื่องราชูปโภค เครื่องราชกุธภัณฑ์ เครื่องประดับศีรษะ กำไล แหวน พาหุรัด

แผ่นทองรูปสัตว์ ในเทพนิยาย 

(ศิลปอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๑๐ ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ)

เครื่องประดับศีรษะสตรีทองคำ

ศิลปอยุธยาถักสานด้วยเส้นทองคำ เป็นเส้นเล็กๆ ทำเป็นลวดลายดอกไม้ ใช้ครอบมวยผม ได้จากกรุวัดราชบูรณะ

ภาชนะรูปหงส์ทองคำ ตลับกลม จอกน้ำ เป็นเครื่องราชูปโภค

(ศิลปอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๑๐ ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ)

และสิ่งที่โดดเด่นในห้องกรุวัดราชบูรณะ  คือ   “พระดาบแสงทองคำ”

ขนาด ยาว ๑๑๕ ซม กว้าง ๕.๕ ซม  วัสดุทำด้วยทองคำ

ช้างทรงเครื่องทองคำ

ยาว ๑๕.๕ ซม สูง ๑๒ ซม วัสดุ ทองคำ

พระเต้าทักษิโนทก  ทองคำ

ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๗ ซม สูง ๑๘.๕ ซม วัสดุ ทองคำ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก