การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แก่อะไรบ้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจัดการสอนลูกเสือ หนึ่งในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่พัฒนาจากผลการวิจัยและการประเมินผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 โดยเน้นการปรับปรุงข้อผิดพลาดและอุปสรรคของการใช้หลักสูตรที่เกิดขึ้น[1] หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับนี้ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยเริ่มใช้นำร่องครั้งแรกในปีการศึกษา 2552 และบังคับใช้ทั่วประเทศในทุกชั้นเรียนปีการศึกษา 2555[2] หลักสูตรฉบับนี้มีการปรับปรุงล่าสุดใน พ.ศ. 2560[3] อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะยกเลิกหรือปรับหลักสูตรฉบับนี้ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งเป้าหมายจะนำร่องหลักสูตรฉบับใหม่ใน พ.ศ. 2565[4][5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. สี่มหาศาล, เอกรินทร์. เรื่องน่ารู้สู่การใช้หลักสูตรแกนกลาง '51. อักษรเจริญทัศน์ อจท. p. 1.
  2. "ความเป็นมาของการปรับหลักสูตร" (PDF). สพม. 23. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  3. "คำสั่ง สพฐ. 2 ฉบับ ยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด และการปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551". ครูบ้านนอก.คอม. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  4. ""ณัฏฐพล" จี้ใช้หลักสูตรใหม่ปี 65-เน้นฐานสมรรถนะ". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  5. ""ณัฏฐพล" ลุยโละหลักสูตรฐานสมรรถนะ เขย่าใหม่เน้นเด็กคิดวิเคราะห์". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  6. "กระทรวงศึกษาธิการยกเครื่องหลักสูตรขั้นพื้นฐานใหม่ ให้มีความทันสมัย". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.

บทความเกี่ยวกับการศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล

เข้าถึงจาก "//th.wikipedia.org/w/index.php?title=หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช_2551&oldid=9207507"

หมวดหมู่:

  • หลักสูตร
  • การศึกษาในประเทศไทย

บทที่ 2

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  ๒๕๕๑
สาระการเรียนรู้

         สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย องค์ความรู้   ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้  และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์  ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้

          ๑. ภาษาไทย                                    . สุขศึกษาและพลศึกษา

          ๒. คณิตศาสตร์                                  ๖ศิลปะ

          ๓. วิทยาศาสตร์                                  . การงานอาชีพและเทคโนโลยี                               

          ๔. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม         ๘. ภาษาต่างประเทศ

มาตรฐานการเรียนรู้

          การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้

          ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้  ปฏิบัติได้  มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม ที่พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญ  ในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ที่ช่วยสะท้อนภาพการจัดการศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ใน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้  จำนวน ๖๗ มาตรฐาน ดังนี้

 ภาษาไทย

          สาระที่ ๑ การอ่าน

          มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

          สาระที่ ๒  การเขียน

          มาตรฐาน ท  ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ  ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงาน ข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

          สาระที่ ๓ การฟัง  การดู  และการพูด

          มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ  และพูดแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์

          สาระที่ ๔  หลักการใช้ภาษาไทย

          มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทาง ภาษา และรักษา ภาษาไทยไว้เป็น  สมบัติของชาติ                                 

          สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม

          มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดี และ  วรรณกรรมไทยอย่างคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

คณิตศาสตร์

          สาระที่ ๑  จำนวนและการดำเนินการ

          มาตรฐาน ค ๑.๑ เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

          มาตรฐาน ค ๑.๒ เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา

          มาตรฐาน ค ๑.๓ ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา

          มาตรฐาน ค ๑.๔ เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้

สาระที่ ๒   การวัด       

          มาตรฐาน ค ๒.  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด

          มาตรฐาน ค ๒.  แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด

          สาระที่ ๓  เรขาคณิต

          มาตรฐาน ค ๓.   อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ

          มาตรฐาน ค ๓.  ใช้การนึกภาพ (visualization)  ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา

          สาระที่ ๔  พีชคณิต

          มาตรฐาน ค ๔.   เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน

          มาตรฐาน ค ๔.   ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์(mathematical   model) อื่น  ๆ  แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้ แก้ปัญหา

          สาระที่ ๕  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

          มาตรฐาน ค ๕.  เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล

          มาตรฐาน ค ๕.  ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล

          มาตรฐาน ค ๕.   ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา

          สาระที่ ๖  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

          มาตรฐาน ค  ๖.   มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ  และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

 วิทยาศาสตร์

          สาระที่ ๑  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

          มาตรฐาน ว ๑.๑  เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของ  โครงสร้าง และหน้าที่ของ ระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต

          มาตรฐาน ว ๑.๒ เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรมวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ ๒  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

          มาตรฐาน ว ๒.๑  เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์     

          มาตรฐาน ว ๒.๒ เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก นำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

สาระที่ ๓ สารและสมบัติของสาร

          มาตรฐาน ว ๓.๑ เข้าใจสมบัติของสาร   ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

          มาตรฐาน ว ๓.๒ เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง สถานะของสาร การเกิด สารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ ๔  แรงและการเคลื่อนที่

          มาตรฐาน ว ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์มีกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม  

         มาตรฐาน ว ๔.๒ เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ ๕  พลังงาน

          มาตรฐาน ว ๕.๑  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงานปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน  ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมมีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ ๖ :  กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก

          มาตรฐาน ว ๖.๑ เข้าใจกระบวนการต่าง ๆที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและ ภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ ๗  ดาราศาสตร์และอวกาศ

          มาตรฐาน ว ๗.๑ เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพ การปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

          มาตรฐาน ว ๗.๒ เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และ จิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สาระที่ ๘  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          มาตรฐาน ว ๘.๑ ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

          สาระที่ ๑  ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

          มาตรฐาน  ส ๑. รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

          มาตรฐาน ส . เข้าใจ  ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ

สาระที่ ๒  หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม­

          มาตรฐาน  ส ๒.   เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข                     

          มาตรฐาน  ส ๒.  เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน  ยึดมั่น  ศรัทธา  และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

สาระที่ ๓  เศรษฐศาสตร์

          มาตรฐาน ส ๓.๑ เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค  การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

          มาตรฐาน ส ๓.๒  เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และ ความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

สาระที่ ๔  ประวัติศาสตร์

          มาตรฐาน ส ๔.  เข้าใจความหมาย  ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ

          มาตรฐาน ส ๔.๒ เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันในด้านความสัมพันธ์และ  การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น

          มาตรฐาน ส ๔.๓ เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรักความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

สาระที่ ๕  ภูมิศาสตร์                                                                                                         

          มาตรฐาน ส ๕.๑ เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ  และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ  ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุป   และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ                                                                                                                          

          มาตรฐาน ส ๕.๒ เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการ   สร้างสรรค์วัฒนธรรม  มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สุขศึกษาและพลศึกษา

          สาระที่  ๑ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

          มาตรฐาน พ ๑.๑ เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

          สาระที่  ๒  ชีวิตและครอบครัว

          มาตรฐาน  พ ๒.๑ เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว  เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต

          สาระที่  ๓ การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม  กีฬาไทย  และกีฬาสากล

          มาตรฐาน  พ ๓.๑ เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย  การเล่นเกม และกีฬา

          มาตรฐาน  พ ๓.๒ รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม  และการเล่นกีฬาปฏิบัติเป็นประจำอย่าง   สม่ำเสมอ  มีวินัย  เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน และชื่นชมใน    สุนทรียภาพของการกีฬา

          สาระที่  ๔  การสร้างเสริมสุขภาพ  สมรรถภาพและการป้องกันโรค

          มาตรฐาน พ ๔.๑ เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การ ดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ

          สาระที่  ๕ ความปลอดภัยในชีวิต

          มาตรฐาน พ ๕.๑ ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยาสารเสพติด และความรุนแรง

ศิลปะ                                                                                                                       

          สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์

          มาตรฐาน ศ ๑.๑ สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก  ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

          มาตรฐาน ศ ๑.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

สาระที่ ๒  ดนตรี

          มาตรฐาน ศ ๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่า ดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด ต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำวัน

          มาตรฐาน ศ ๒.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของ ดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

          สาระที่ ๓ นาฏศิลป์

          มาตรฐาน ศ ๓.๑ เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์  คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอด ความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

          มาตรฐาน ศ ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

          สาระที่ ๑ การดำรงชีวิตและครอบครัว

          มาตรฐาน ง ๑.๑ เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน  ทักษะการจัดการ   ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะ การแสวงหาความรู้มีคุณธรรม  และลักษณะนิสัยในการทำงาน   มีจิตสำนึก ในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และ สิ่งแวดล้อม   เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว       

          สาระที่  ๒ การออกแบบและเทคโนโลยี              

          มาตรฐาน ง ๒.๑ เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี  ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์  เลือกใช้เทคโนโลยีในทาง    สร้างสรรค์ต่อชีวิต  สังคม สิ่งแวดล้อม และมี ส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน

          สาระที่ ๓ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร     

          มาตรฐาน ง ๓.๑ เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลการเรียนรู้  การสื่อสาร การแก้ปัญหา  การทำงาน  และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ    มีคุณธรรม

          สาระที่  ๔ การอาชีพ              

          มาตรฐาน  ง ๔.๑ เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

ภาษาต่างประเทศ                                                                                                                                              

          สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร

          มาตรฐาน ต ๑.  เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆและแสดงความ คิดเห็นอย่างมีเหตุผล

          มาตรฐาน ต ๑.๒  มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ

          มาตรฐาน ต ๑.๓ นำเสนอข้อมูลข่าวสาร  ความคิดรวบยอด  และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน                        

          สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม

          มาตรฐาน ต ๒.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ

          มาตรฐาน ต ๒.๒ เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม                                                                         

          สาระที่ ๓  ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

          มาตรฐาน ต ๓.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน

          สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก

          มาตรฐาน ต ๔.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม   

          มาตรฐาน ต ๔.๒ ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

ตัวชี้วัด

          ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม  นำไปใช้ ในการกำหนดเนื้อหา  จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน 

          . ตัวชี้วัดชั้นปี   เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ ๑ มัธยมศึกษาปีที่ ๓)           

          . ตัวชี้วัดช่วงชั้น  เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(มัธยมศึกษาปีที่ ๔- ๖)

          หลักสูตรได้มีการกำหนดรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อความเข้าใจและให้สื่อสารตรงกัน ดังนี้

          ว ๑.๑ ป. ๑/๒

                             ป.๑/๒        ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑  ข้อที่ ๒

                             ๑.            สาระที่ ๑  มาตรฐานข้อที่ ๑    

                             ว                กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

          ต ๒.๒ ม.๔-๖/ ๓

                             ม.๔-/๓      ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ข้อที่ ๓

                             ๒.            สาระที่ ๒  มาตรฐานข้อที่ ๒

                             ต                 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546

สาระการเรียนรู้การศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี
สาระการเรียนรู้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ

๑. ประสบการณ์สําคัญ เป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นในตัวเด็กเพื่อพัฒนา

เด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาโดยเฉพาะในระยะแรกเริ่มชีวิตหรือช่วงระยะปฐมวัย มีความสําคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นรากฐานของพัฒนาการก้าวต่อไปของชีวิตบุคคลแต่ละคน ตลอดจนเป็นปัจจัยสําคัญที่กําหนดความสามารถแรงจูงใจ ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ดีและความกระตือรือร้น ในการพัฒนาตนเองของเด็กที่จะส่งผลต่อเนื่องจากช่วงวัยเด็กไปสู่วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ มีจําเป็นต้องมีการจัดประสบการณ์สําคัญแบบองค์รวมที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ดังต่อไปนี้

๑.๑ ประสบการณ์สําคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย

๑.๒ประสบการณ์สําคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจเป็นการสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกที่เหมาะสมกับวัย

๑.๓ประสบการณ์สําคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม

๑.๔ ประสบการณ์สําคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

๒. สาระที่ควรเรียนรู้

สาระที่จะให้เด็กอายุต่ำากว่า ๓ ปี เรียนรู้ควรเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเป็นลําดับแรกแล้วจึงขยายไปถึงเรื่องที่อยู่ไกลตัวเด็ก ซึ่งข้อมูลที่เด็กเริ่มต้นเรียนรู้มาจากการพูดคุยโต้ตอบ ชี้ชวนให้ดูสอนหรือพูดบอกโดยพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูให้เด็กรู้จักชื่อเรียกและคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ใกล้ตัวเด็ก สาระที่ควรเรียนรู้ ดังนี้

๒.๑เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็กเด็กควรจะได้รู้จักชื่อของตนเอง

๒.๒เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก

๒.๓ธรรมชาติรอบตัว

๒.๔สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

สาระการเรียนรู้การศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ ๓-๕ ปี
๑. ประสบการณ์สําคัญ

          ประสบการณ์สําคัญเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับการพัฒนาเด็กทางด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และ สติปัญญา ช่วยให้ เด็กเกิดทักษะที่สําคัญสําหรับการสร้างองค์ความรู้ โดยให้ เด็กได้ มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของบุคคลต่างๆที่อยู่รอบตัวรวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ไปพร้อมกันด้วย ประสบการณ์สําคัญ มีดังนี้

๑.๑ประสบการณ์สําคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ได้แก่

                    ๑.๑.๑การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่

                    ๑.๑.๒การประสานสัมพํนธ์ของกล้ามเนื้อเล็ก

                    ๑.๑.๓การรักษาสุขภาพ

                    ๑.๑.๔การรักษาความปลอดภัย

๑.๒ประสบการณ์สําคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

                    ๑.๒.๑ ดนตรี

                    ๑.๒.๒สุนทรียภาพ

                    ๑.๒.๓การเล่น

                    ๑.๒.๔ คุณธรรมจริยธรรม

๑.๓ประสบการณ์สําคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม

๑.๔ประสบการณ์สําคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาได้แก่

                    ๑.๔.๑การคิด

                    ๑.๔.๒การใช้ภาษา

                    ๑.๔.๓การสังเกต การจําแนกและการเปรยบเทียบ

                    ๑.๔.๔จํานวน

                    ๑.๔.๕มิติสัมพันธ์ (พื้นที่ / ระยะ)

                    ๑.๔.๖เวลา

๒. สาระที่ควรเรียนรู้

          สาระที่ควรเรียนรู้เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นํามาเป็นสื่อในการจัดกิจกรรม ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ไม่เน้นการท่องจําเนื้อหา ผู้สอนสามารถกําหนดรายละเอียดขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัยความต้องการ และความสนใจของเด็กโดยให้เด็กได้เรียนรู้ผ่าน ประสบการณ์สําคัญที่ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้อาจยืดหยุ่นเนื้อหาได้โดยคํานึงถึงประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก สาระที่เด็กอายุ ๓๕ปีควรเรียนรู้มีดังนี้

          ๑. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

          ๒. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก

          ๓. ธรรมชาติรอบตัว

          ๔. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

สาระการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยอะไรบ้าง

มาตรฐานการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้.
ภาษาไทย.
คณิตศาสตร์.
วิทยาศาสตร์.
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม.
สุขศึกษาและพลศึกษา.
การงานอาชีพและเทคโนโลยี.
ภาษาต่างประเทศ.

สื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 สามารถแบ่งได้กี่ประเภท

สื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งได้ 3 ประเภทคือ 1. สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสื่อและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ 2. สื่อเทคโนโลยี หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขั้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ 3. สื่อ อื่นๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภท

การจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล 2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ

หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หมายถึงอะไร

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่พัฒนาจากผลการวิจัยและการประเมินผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 โดยเน้นการปรับปรุงข้อผิดพลาดและอุปสรรคของการใช้หลักสูตรที่เกิดขึ้น หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับนี้ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยเริ่มใช้ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก