พื้นฐานของสังคมไทยประกอบอาชีพใด

                                                                                                                   อาชีพต่างๆของคนไทยภาคเหนือ



   เกษตรกรรม เป็นอาชีพที่เกี่ยวกับการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน อาชีพเกษตรกรรมที่ควรรู้จักมีหลายอาชีพดังนี้1. ทำนา เป็นอาชีพส่วนใหญ่ของคนไทยตั้งแต่อดีตเพราะคนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลัก ผู้ที่ประกอบอาชีพทำนา เรียกว่า ชาวนา อาชีพชาวนาจึงเป็นอาชีพที่สำคัญเพราะเป็นอาชีพที่ผลิตข้าวเลี้ยงคนในประเทศไทย ชาวนาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ

     2. อาชีพทำสวน เป็นอาชีพที่ปลูกผักหรือผลไม้ ผู้ที่ประกอบอาชีพทำสวนเรียกว่า ชาวสวน คือการปลูกผลไม้ ผัก หรือไม้ดอกต่างๆ การทำ สวนในเเต่ละภาคเป็นตามสภาพ ภูมิอากาศ ภาคเหนือนิยมปลูกผัก เเละ ผลไม้เมืองหนาวต่างๆ ภาคใต้ทำสวนยาง พารา มะพร้าว ภาคตะวันออก ทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน เป็นต้น

3. อาชีพทำไร่ เป็นอาชีพที่ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด สับปะรด ผู้ที่ประกอบอาชีพทำไร่เรียกว่า ชาวไร่

4. อาชีพเลี้ยงสัตว์ เป็นอาชีพสำคัญของไทยควบคู่กับการเพาะ ปลูก เเละการประมง เดิมการเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่มักเลี้ยง เพื่อเป็นอาหารหรือ ไว้ใช้งาน เเต่ ปัจจุบันเรายังเลี้ยงเพื่อการค้า อีกด้วย สัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้งาน ได้เเก่ ช้าง ม้า วัว ควาย ส่วนสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร ได้เเก่ หมู วัว เป็ด ไก่ ปลา เเละ อื่นๆ 
5.อาชีพประมง เป็นอาชีพที่จับสัตว์นำ้หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผู้ที่ประกอบอาชีพประมงเรียกว่า ชาวประมง การประมงของประเทศไทย มีมากทางเเถบ ทางใต้เเละภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย บริเวณเลียบชายฝั่งทะเล สัตว์น้ำที่ทำการ ประมง ได้เเก่ ปู ปลา กุ้ง หอย ซึ่งนอกจาก จะเป็นอาหารภายในประเทศเเล้ว เรายังส่ง เป็นสินค้าออก

 อาชีพอุตสาหกรรม เป็นอาชีพที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติ และการนำผลผลิตจากเกษตรกรรมมาผลิตเป้นสินค้าที่ใช้เครื่องจัก เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เช่น ปลากระป๋อง ผลไม้กระป๋อง อุตสาหกรรมสิ่งทอได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป

อาชีพหัตถกรรม เป็นอาชีพที่เอาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์ด้วยมือเป็นสินค้า

 อาชีพค้าขาย เราเรียกผู้ที่มีอาชีพค้าขายว่า พ่อค้า หรือ เเม่ค้า ซึ่งเป็นผู้ที่นำผลิตผลต่างๆ มาจำหน่าย เเก่คนในชุมชน ทำให้คนใน ชุมชนได้รับความสะดวก
สบาย ไม่ต้องไปซื้อหาผลิตผลเหล่านั้นจากผู้ผลิต

อาชีพของประชากรไทยส่วนใหญ่ยังคงเน้นที่อาชีพเกษตรกรรม อันเป็นอาชีพดั้งเดิมของชนชาวไทย รองลงมาคือ อาชีพด้านอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม นอกจากนี้ก็ประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ การเมือง แพทย์ ทนายความ และอีกหลายสาขาอาชีพ ตลอดจนผู้ใช้ฝีมือแรงงาน
ทำนา มีฝนตก ต้องปลูกบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ
ทำสวน บริเวณที่อุดมสมบูรณ์
ทำไร่ บริเวญที่อุดมสมบูรณ์
เลี้ยงสัตว์ ภูมิอากาศแห้งแล้ง เป็นทุ่งหญ้า

ลักษณะทั่วไปของสังคมไทย
            1.ยึดถือพระมหากษัตริย์และนับถือพระพุทธศาสนา
            2. มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ ไม่ค่อยมีการรักษากฎเกณฑ์ระเบียบอย่างเคร่งครัด  มีการผ่อนปรนใน เรื่องต่าง ๆ
             3. เป็นสังคมเกษตรกรรม  ประชากรมีชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ
            4. ส่วนใหญ่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหลัก
            5. โครงสร้างของชนชั้นยึดสถานภาพทรัพย์สมบัติ  อำนาจ  เกียรติยศ  คุณงามความดี  เป็นเกณฑ์ การแบ่งชนชั้น
            6. มีความรักในถิ่นฐานบ้านเกิดของตน

ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดลักษณะของสังคมไทย
            1.ทางธรรมชาติ ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรและพืชพรรณธรรม ชาติ สิ่งแวดล้อมทาง ธรรมชาตินี้ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาตั้งแต่อดีต มีขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเช่นลักษณะการสร้างบ้านเรือน ประเพณีแห่นางแมว เป็นต้น
             2. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ ศิลป ภาษาและวรรณคดี ความเชื่อ ตลอดจน ค่านิยมทาง สังคมอิทธิพลของพระพุทธศาสนาในปัจจุบันยังรับเทคโนโลยีสมัยใหม่จากสังคมตะวันตกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
วิถีชีวิตของสังคมไทยไปจากอดีต
            3. สิ่งแวดล้อมทางสังคม หมายถึง แบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม เช่น ความเป็น ไมตรีช่วย เหลือเกื้อกูลต่อกัน การให้ความเคารพต่อผู้ใหญ่ การมีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวอย่างใกล้ชิดสนิท สนม เป็นต้น สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ยกตัวอย่างมานี้ บางอย่างก็เปลี่ยนไปจากอดีตเนื่องจากโครงสร้างประชากรของ สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป และเนื่องจากการที่ได้ติดต่อสัมพันธ์กับสังคมอื่น ๆ โดยเฉพาะอิทธิพลจากสังคมตะวันตก ทำให้สิ่งแวดล้อมทางสังคมได้ขยายกว้างออกไปกว่าเดิม และมีผลต่อรูปแบบความสัมพันธ์ในการดำเนินชีวิตของ สังคมไทยปัจจุบัน โครงสร้างของสังคมไทย

ปัญหาที่สำคัญของสังคมไทย
            1. ปัญหาความยากจน มีสาเหตุมาจาก
                        - การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว
                        - การขาดการศึกษา ทำให้ต้องประกอบอาชีพที่มีรายได้ต่ำ
                         - ขาดความชำนาญหรือทักษะในการประกอบอาชีพ จึงหางานทำยาก
                        - ครอบครัวแตกแยก เช่น หัวหน้าครอบครัวเล่นการพนัน ดื่มสุรา ทำให้เกิดความยากจน
                        - ได้รับบาดเจ็บหรือทุพพลภาพจากเครื่องจักรในโรงงาน ทำให้ทำงานไม่ได้ หรือได้น้อยลง
                        - ลักษณะอาชีพมีรายได้สม่ำเสมอ จะเห็นจากพวกเกษตรกร และกรรมกรรับจ้าง
                         - ภัยจากธรรมชาติ หรือโรคระบาด เห็นได้ชัดเจนจากการเกษตร ทำให้ผลผลิตเสียหาย ขายไม่ได้ราคา
                         - การมีบุตรมากเกินไป รายได้ไม่พอกับรายจ่าย
                        - มีนิสัยเฉื่อยชาและเกียจคร้าน เช่น ไม่กระตือรือร้นที่จะพัฒนาอาชีพของตน ไม่ชอบ ทำงาน เป็นต้น
            แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา
                         - พัฒนาเศรษฐกิจ เช่น ปฏิรูปที่ดิน ขยายการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
                        - พัฒนาสังคม เช่น บริหารฝึกอาชีพให้ประชาชน พัฒนาโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา
                         - พัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร เช่น ขยายโรงพยาบาล เสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน เป็นต้น
            2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมในสังคมไทย สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อมมี 2 ประการคือ
                        1. สภาวะทางธรรมชาติ เช่น ความร้อน แสงแดด ฝนลม ทำให้สภาพภูมิประเทศถูกทำลายได้ เอง ยากที่ จะบรรเทารักษา แต่การทำลายโดยวิธีนี้ใช้เวลานานมาก
                        2. การกระทำของมนุษย์ ทำลายได้รวดเร็วและรุนแรงยิ่งกว่าธรรมชาติมากนัก สาเหตุหลักมาจาก
                                     - การเพิ่มประชากร
                                     - การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา
                                     - แก้พฤติกรรมของคนอันเป็นสาเหตุของปัญหา ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย เช่น ไม่ทิ้งขยะลงใน แม่น้ำ ไปถึงเรื่องใหญ่โตกว้างขวาง โดยการสร้างจิตสำนึกให้รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อม
                                     - อนุรักษ์สภาพแวดล้อม โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                                     - พัฒนาสภาพแวดล้อมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิม และสร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ดีขึ้นมาเพิ่ม เติม
                         3. ปัญหาสิ่งเสพย์ติดยาเสพย์ติด มีหลายชนิด ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน กระท่อม แอมเฟ ตามีน บาร์บิท-เรต แอล.เอส.ดี. และสารระเหย ปัญหาสิ่งเสพย์ติดส่วนใหญ่มักจะพบในกรุงเทพมหานคร และมีแนวโน้มว่า จะเพิ่มขึ้น นับเป็นปัญหาแก่สังคมไทยอย่างร้ายแรง แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา
                                     - ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ ครู ผู้ปกครอง โรงเรียน สื่อมวลชน ต้องประชาสัมพันธ์ให้ สังคมรับรู้ อันตรายจากสิ่งเสพย์ติด
                                    - รัฐบาลจะต้องกำหนดมาตรฐานการลงโทษแก่ผู้ค้ายาเสพย์ติด และจัดบริการบำบัดแก่ผู้ติด ยา เสพย์ติดอย่างเพียงพอ
                                    - สมาชิกในสังคมไทยโดยเฉพาะเยาวชน และผู้ใช้แรงงาน ต้องมีความรับผิดชอบตนเอง มี เหตุผล ไม่หลงเชื่อคำชักจูงของผู้อื่น
                                     - ครอบครัวจะต้องให้การอบรมบุตร ให้ความรักและความอบอุ่นทางด้านจิตใจ แก่สมาชิก ใน ครอบครัว
            4.ปัญหาโรคเอดส์ เกิดจากเชื้อไวรัสเอดส์ ชื่อภาษาอังกฤษว่า Human immunodeficiency Virus หรือ เอชไอวี (H.I.V.) กลุ่มที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มาจากผู้ที่มีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ และติดยาเสพย์ติด ในปัจจุบันปัญหานี้เป็นภัย อย่างร้ายแรงของสังคมไทย และนับวันจะทวีมากขึ้นหากไม่มีการวางแผนป้องกันที่ดี แนวทางป้องกันและแก้ไข ปัญหา
                        - หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข จะต้องวางแผนและโครงการป้อง กันการแพร่ ของโรคเอดส์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
                         - รัฐจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ - สร้างค่านิยมที่ถูกต้องให้สังคมไทย เช่น ผู้ชาย ไม่ควรเที่ยวหญิงบริการ เพราะจะทำให้ ภรรยาติดเชื้อได้
                         - แก้ปัญหาอื่น ๆ อันเป็นสาเหตุเกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหายา เสพย์ติด ปัญหาโสเภณี ฯลฯ
             5. ปัญหาอาชญากรรม เป็นปัญหาที่คุกคามต่อความสงบเรียบร้อยและความผาสุกของประชาชนในสังคม สาเหตุของปัญหาอาชญากรรมมีหลายประการดังต่อไปนี้
                        - เกิดความบกพร่องทางร่างกาย
                        - เกิดจากความบกพร่องทางจิตใจ
                        - เกิดจากสิ่งแวดล้อม
                        - เกิดจากการไร้ระเบียบในสังคม แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา
                        - การลงโทษผู้กระทำผิด
                        - การเข้าค่ายฝึกอบรมให้กลับประพฤติตนเป็นคนดี
                         - ให้คำแนะนำปรึกษาให้ประพฤติตนอย่างถูกต้อง
                        - การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ประชากรมีคุณภาพที่ดี
            6. ปัญหาสุขภาพอนามัย เป็นปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วยอันเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขภาพ อนามัย โภชนาการ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ฯลฯ สาเหตุของปัญหาสุขภาพอนามัยมีดังนี้
                        1. ขาดความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
                        2. ขาดแคลนหมอและอุปกรณ์การแพทย์
                        3. ข้อผิดพลาดและปัญหาด้านการบริการ
                        4. ปัญหาด้านการกระจายแพทย์ไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ

ที่มา : www.mwit.ac.th/~keng/lesson05/14.doc‎

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก