เงินประกัน กับ ค่าเช่าล่วงหน้า

ไม่ว่าจะกำลังเตรียมย้ายเข้าห้องพัก คอนโดมิเนียม หรือห้องเช่าที่ไหนก็ตาม ค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นหลักประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่เช่าห้องอยู่ นับเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายที่ชาวหอหลีกเลี่ยงไม่ได้ และอาจต้องจ่ายสูงถึงหลักหลายหมื่นเลยทีเดียวตั้งแต่ยังไม่ได้ย้ายเข้าอยู่ ตามมาทำความรู้จักค่าใช้จ่ายที่คนอยู่หอต้องเจอ พร้อมตัวช่วยจัดการรายจ่ายก้อนใหญ่ก่อนเข้าอยู่หอกันเลย 

1. ค่าประกันความเสียหาย

ค่าประกันห้อง หรือค่าประกันความเสียหายของสภาพห้องโดยรวมและอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในห้อง เป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เช่าต้องชำระให้เรียบร้อยในระหว่างทำสัญญาเช่าห้อง ซึ่งเงินประกันหอพักจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของอพาร์ทเมต์หรือหอพักเป็นคนกำหนดขึ้นเอง มีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท โดยจะได้รับเงินส่วนคืนเมื่อแจ้งบอกเลิกสัญญาเช่าห้อง เช่าหออยู่ครบตามจำนวนเดือนที่กำหนด และส่งคืนห้องและอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในห้องที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ แต่จะไม่ได้รับค่าประกันความเสียหายในกรณีที่ยกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนด

อย่างไรก็ตาม ผู้เช่าห้องต้องตรวจดูสภาพห้องให้เรียบร้อยตั้งเเต่วันแรกที่เข้าตรวจสภาพห้องร่วมกับเจ้าของห้อง เพราะในบางครั้งอาจมีกรณีที่ผู้เช่าถูกหักค่าประกันความเสียเสียหายยิบย่อย และถูกเรียกเก็บค่าชดใช้ความเสียหายเพิ่มเติมที่ไม่เป็นธรรม โดยอาจใช้วิธีถ่ายรูปสภาพห้องก่อนเข้าอยู่อย่างเป็นทางการไว้เป็นหลักฐาน และแจ้งให้เจ้าของห้องร่วมรับทราบเพื่อป้องกันปัญหาเรียกเก็บค่าประกันห้องที่ไม่เป็นธรรม

นอกจากนั้นแล้ว สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ยังได้ออกประกาศเกี่ยวกับการทำสัญญาเช่าไว้ เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้ต้องทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือ มีข้อความและสาระสำคัญที่ไม่มีลักษณะการเอาเปรียบผู้บริโภค พร้อมระบุชื่อและที่อยู่ของเจ้าของห้องและผู้เช่า ระยะเวลาเช่าเริ่มต้นและสิ้นสุด ค่าเช่า ระยะเวลาชำระค่าเช่า ค่าน้ำค่าไฟ ค่าประกันและค่าเช่าล่วงหน้า รวมไปถึงเงื่อนไขอื่น ๆ ระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่าที่ควรต้องรับทราบ เพื่อป้องกันป้องการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นธรรมอีกด้วย

2. ค่าเช่าล่วงหน้า

ค่าเช่าหอล่วงหน้า คือ ค่าเช่าห้องล่วงหน้าไม่เกิน 1 เดือนที่ผู้เช่าห้องต้องเป็นผู้จ่ายให้กับเจ้าของห้อง เพื่อเป็นอีกหนึ่งหลักประกันในการเช่าห้องพักและตัววัดความสามารถในการชำระเงินค่าเช่าในทุกๆ เดือนของผู้เช่า โดยแบ่งออกเป็นค่าเช่าล่วงหน้าที่ต้องจ่ายก่อนอยู่ หรือค่าเช่าล่วงหน้าที่อยู่ก่อนจ่าย ขึ้นอยู่กับการตกลง

กันระหว่างผู้เช่า และเจ้าของห้อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเงินค่าเช่าหอล่วงหน้าในส่วนนี้จะถูกหักแทนค่าเช่าห้องในเดือนสุดท้ายที่ตามสัญญาเช่าห้อง

อย่างไรก็ตาม เจ้าของห้องจะไม่สามารถเรียกเก็บเงินค่าเช่าล่วงหน้าจากผู้เช่าได้เกิน 1 เดือน อ้างอิงจากประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่องให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2561 ของสถานที่ที่จัดให้เช่าตั้งแต่ 5 หน่วยขึ้นไป ได้แก่ ห้องพัก บ้าน อาคารชุด อพาร์ตเม้นท์ หรืออื่นๆ แต่ไม่รวมถึงหอพักตามกฎหมายหอพัก และโรงแรมตามกฎหมายโรงแรม เมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา

3. ค่าเช่ารายเดือน

ค่าเช่าห้อง คือ ค่าเช่าห้องพักที่ผู้เช่าตกลงที่จะจ่ายให้กับเจ้าของห้อง หรือเจ้าของอพาร์ทเมนต์เป็นประจำต่อเนื่องตามช่วงเวลาที่ตกลงกัน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายแบบรายวัน ราย 15 วัน (ครึ่งเดือน) รายเดือน หรืออาจเลือกจ่ายได้ตามทแต่ตกลง เช่น ช่วงต้นเดือน กลางเดือน หรือสิ้นเดือนของทุกๆ เดือน มีค่าเช่าหอเริ่มตั้งแต่ 2,000-40,000 บาทต่อเดือน โดยค่าเช่าหอพักจะแตกต่างกันตามทำเล/สถานที่ตั้ง รูปแบบของหอพัก/ห้องพัก หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกภายในห้อง

นอกจากนั้นแล้ว ต้องอ่านรายละเอียดสัญญาที่เกี่ยวข้องกับค่าเช่าห้องให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของรายละเอียดค่าเช่าห้องที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน เพราะในหลายหอพักอาจรวมค่าสาธารณูปโภคพื้นฐานไว้ในค่าเช่ารายเดือนที่ต้องจ่ายเรียบร้อยแล้ว เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ และค่าอินเทอร์เน็ต ในขณะที่อีกหลายอพาร์ทเมนต์อาจจะยังไม่รวมค่าใช้จ่ายข้างต้น ทำให้ผู้เช่าต้องศึกษารายละเอียดให้ครบถ้วนทุกครั้งก่อนตัดสินใจเซ็นสัญญาเช่าห้องซึ่งมักเป็นสัญญาผูกพันระยะยาวอย่างน้อย 3-6 เดือนเป็นต้นไป  

ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายก่อนย้ายเข้าอยู่หอพัก หรือค่าใช้จ่ายหลังย้ายเข้าอยู่อพาร์ทเมนต์ที่ต้องรีบใช้ด่วนทันทีภายในวันนี้ หรือต้องใช้เยอะเกินครึ่งแสนก็หายห่วง หมุนเงินได้ทันทีด้วยบัตรกดเงินสดที่จะช่วยรับมือกับทุกค่าใช้จ่ายในการอยู่หอพักที่คาดไม่ถึง

เพราะที่ แรบบิท แคร์ ศูนย์รวมเปรียบเทียบประกันภัยและผลิตภัณฑ์ทางการเงินออนไลน์ที่ครบจบในที่เดียว คัดเลือกบัตรกดเงินสดที่เงื่อนไขดีที่สุดมาให้ได้เลือกครบ ไม่ว่าจะรูด กด โอน ผ่อน ก็ทำได้เหมือนบัตรเครดิต ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปีและฟรีค่าธรรมเนียมการกดเงินสด พร้อมเลือกชำระคืนขั้นต่ำได้ตามใจ 

สมัครง่ายๆ ตั้งแต่วันนี้ อนุมัติไวพร้อมใช้งานทันที ขอรับคำปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โทรเลย 1438 หรือ //rabbitcare.com

หลักประกันการเช่าคืออะไร

หลักประกันการเช่า คือ สิ่งที่ผู้เช่าได้ให้ไว้แก่ผู้ให้เช่าเมื่อขณะทำสัญญาเช่า ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือด้วยการค้ำประกัน เพื่อเป็นค่าประกันในการเช่าสิ่งปลูกสร้าง ค่าประกันความเสียหายสิ่งปลูกสร้างที่ผู้เช่าอาจก่อขึ้น หรือค่าประกันในเหตุต่างๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่า โดยในสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าจะกำหนดเหตุในการบังคับหลักประกันเอาไว้ตามแต่วัตถุประสงค์ของการเรียกหลักประกันการเช่านั้น โดยทั่วไปการเรียกหลักประกันการเช่ามีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายหลัก 2 ประการ ดังต่อไปนี้

  • ประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งปลูกสร้างที่ให้เช่า เช่น ผู้ให้เช่าอาจกำหนดเหตุในการบังคับหลักประกันการเช่า ในกรณีที่ผู้เช่าก่อความเสียหายแก่สิ่งปลูกสร้างที่เช่าหรือไม่ยอมซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างตามหน้าที่ของผู้เช่า โดยให้สิทธิผู้ให้เช่าสามารถนำเงินประกันหรือหลักประกันนั้นมาใช้ในการชดใช้หรือดำเนินการซ่อมแซมความเสียหายสิ่งปลูกสร้างนั้น
  • ประกันการปฏิบัติตามสัญญาของผู้เช่า เช่น ผู้ให้เช่าอาจกำหนดเหตุในการบังคับหลักประกันการเช่า ในกรณีที่ ผู้เช่าปฏิบัติผิดสัญญาในสาระสำคัญ ไม่ชำระค่าเช่า บอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด โดยให้สิทธิผู้ให้เช่าสามารถนำเงินประกันหรือหลักประกันนั้นมาใช้ในการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้เช่าปฏิบัติผิดข้อสัญญานั้น

นอกจากนี้หลักประกันการเช่านั้น ยังช่วยในการลดความเสี่ยงไม่ให้ผู้เช่าก่อความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างหรือผู้เช่าปฏิบัติฝ่าฝืนสัญญาเช่าอีกด้วย เนื่องจาก ผู้เช่าได้วางเงินหรือทรัพย์สินของผู้เช่าไว้เป็นประกันกับผู้ให้เช่าแล้ว การที่ผู้เช่าจะก่อความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างหรือผู้เช่าปฏิบัติฝ่าฝืนสัญญาเช่าโดยหวังจะหนีไปโดยไม่ชดใช้ค่าเสียหายใดๆ ให้แก่ผู้ให้เช่านั้นอาจเป็นไปไม่ได้ เนื่องจาก เงินหรือทรัพย์สินบางส่วนนั้นได้ถูกวางไว้กับผู้ให้เช่าตั้งแต่แรกแล้ว ซึ่งการกระทำเช่นว่านั้นอาจทำให้ผู้เช่าถูกริบเงินหรือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันที่วางไว้แก่ผู้ให้เช่าทั้งหมดเลยก็ได้

ในการพิจารณาเกี่ยวกับหลักประกันการเช่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ

(ก) ข้อพิจารณาในกรณีการเช่าทั่วไป และ
(ข) ข้อพิจารณาในกรณีการเช่าสิ่งปลูกสร้างจากผู้ประกอบธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย

โดยที่ในแต่ละกรณีอาจมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาตามลำดับ ดังต่อไปนี้

(1) ลักษณะของการเช่า
(2) ข้อพิจารณาในการเรียกหลักประกันการเช่าจากผู้เช่า
(3) ข้อพิจารณาในการบังคับหลักประกันการเช่าของผู้เช่า
(4) ข้อพิจารณาในการคืนหลักประกันการเช่าให้แก่ผู้เช่า

(ก) ข้อพิจารณาในกรณีการเช่าทั่วไป

(1) ลักษณะของการเช่าทั่วไป

การเช่าทั่วไป ได้แก่ การเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่อการพาณิชย์ การเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัยแบบบุคคลทั่วไปซึ่งไม่ใช่การเช่าสิ่งปลูกสร้างจากผู้ประกอบธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย

ผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่างสัญญาเช่าเพื่อการพาณิชย์และสัญญาเช่าเพื่อการอยู่อาศัยได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: สัญญาเช่าเพื่อการพาณิชย์และสัญญาเช่าเพื่อการอยู่อาศัย มีข้อแตกต่างกันอย่างไร

(2) ข้อพิจารณาในการเรียกหลักประกันการเช่า

ก่อนที่จะเข้าทำสัญญาเช่า ไม่ว่าจะเป็นการเข้าทำ สัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย หรือ สัญญาเช่าช่วง สิ่งที่ผู้ให้เช่าพึงพิจารณาในการเรียกหลักประกันการเช่าจากผู้เช่า มีดังต่อไปนี้

รูปแบบของหลักประกันการเช่า

รูปแบบของหลักประกันการเช่า โดยทั่วไปมักพบได้ 3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

  • เงิน เช่น เงินสด
  • ทรัพย์สิน เช่น ทองคำ นาฬิกา เครื่องประดับ ของมีค่าต่างๆ
  • การค้ำประกัน เช่น การค้ำประกันโดยธนาคาร การค้ำประกันโดยบุคคลที่น่าเชื่อถือที่ผู้เช่าหามา

โดยที่รูปแบบหลักประกันที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือ เงิน เนื่องจาก เงิน มีกระบวนการและข้อจำกัดในการเรียก บังคับ และคืนหลักประกันที่น้อยและง่ายที่สุดและน่าจะเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดด้วย

จำนวนเงินหรือมูลค่าหลักประกันการเช่า

ผู้ให้เช่าและผู้เช่าจะตกลงกำหนดจำนวนเงินประกันหรือมูลค่าหลักประกันเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ โดยอาจพิจารณาให้จำนวนเงินหรือมูลค่าหลักประกันนั้นครอบคลุมมูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีร้ายแรงที่สุด หรือตามแนวโน้มตลาดการให้เช่าสิ่งปลูกสร้างในบริเวณนั้น

อย่างไรก็ดี หากผู้ให้เช่าเรียกเงินประกันหรือมูลค่าหลักประกันที่สูงเกินไปอาจทำให้ผู้เช่าพิจารณาเลือกเช่าสิ่งปลูกสร้างจากผู้ให้เช่าใกล้เคียงรายอื่นได้

(3) ข้อพิจารณาในการบังคับหลักประกันการเช่า

ในระหว่างระยะเวลาการเช่าสิ่งปลูกสร้าง หากเกิดเหตุที่กำหนดไว้ในสัญญาเกี่ยวกับการบังคับหลักประกันการเช่า ผู้ให้เช่าอาจพิจารณาได้ ดังต่อไปนี้

เมื่อเกิดเหตุบังคับหลักประกันการเช่าที่กำหนดไว้ในสัญญา เช่น

  • ผู้เช่าก่อความเสียหายแก่สิ่งปลูกสร้าง
  • ผู้เช่าผิดนัดชำระค่าเช่า หรือ
  • ผู้เช่าปฏิบัติผิดสัญญาเช่า

ในกรณีที่เกิดเหตุบังคับหลักประกัน การบังคับหลักประกันย่อมเป็นไปตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญาว่าผู้ให้เช่ามีสิทธิบังคับกับหลักประกันดังกล่าวอย่างไรได้บ้าง เช่น สามารถนำไปชำระค่าซ่อมแซมเท่าที่เกิดความเสียหายจริงเท่านั้น หรือสามารถริบหลักประกันได้ทั้งจำนวน

หลักประกันการเช่า ตามกฎหมายถือว่าเป็นมัดจำ ซึ่งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม หากการริบหลักประกันการเช่านั้นสูงเกินไป ศาลอาจจะลดลงให้ผู้ให้เช่าสามารถริบได้ไม่เกินความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง เท่านั้น

(4) ข้อพิจารณาในการคืนหลักประกันการเช่า

เมื่อการเช่าสิ่งปลูกสร้างสิ้นสุดลง ผู้ให้เช่าย่อมมีหน้าที่คืนหลักประกันการเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าตามเงื่อนไขของสัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างและ/หรือตามกฎหมาย โดยอาจมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

เมื่อการเช่าสิ่งปลูกสร้างสิ้นสุดลง ผู้ให้เช่าย่อมมีหน้าที่ต้องคืนหลักประกันให้แก่ผู้เช่า ดังต่อไปนี้

  • คืนหลักประกันทั้งจำนวน หากไม่มีเหตุบังคับหลักประกันการเช่าตามสัญญาเช่า
  • คืนหลักประกันการเช่าบางส่วนหรือไม่คืนเลย หากมีเหตุบังคับหลักประกันการเช่าตามเงื่อนไขที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่านั้น

โดยหากมีกำหนดระยะเวลาการคืนหลักประกันการเช่าเอาไว้ในสัญญา ผู้ให้เช่าก็ย่อมต้องคืนภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว หากในสัญญาไม่ได้กำหนดระยะเวลาการคืนหลักประกันเอาไว้ ผู้ให้เช่าต้องคืนหลักประกันการเช่าให้แก่ผู้เช่าทันทีที่ผู้เช่าทวงถาม

ในกรณีที่ผู้เช่ามีสิทธิได้หลักประกันการเช่าคืน เมื่อการเช่าสิ่งปลูกสร้างสิ้นสุดลงหรือผู้ให้เช่าไม่คืนหลังประกันภายกำหนดระยะเวลา ผู้เช่าอาจจัดทำ หนังสือแจ้งขอคืนหลักประกัน เพื่อเป็นการทวงถามผู้ให้เช่าอย่างเป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยก็ได้ โดยหนังสือดังกล่าวยังสามารถใช้เป็นหลักฐานในกรณีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับหลักประกันการเช่าในชั้นศาลได้อีกด้วย

(ข) ข้อพิจารณาในกรณีการเช่าสิ่งปลูกสร้างจากผู้ประกอบธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย

(1) ลักษณะของการเช่าสิ่งปลูกสร้างจากผู้ประกอบธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย

การเช่าสิ่งปลูกสร้างจากผู้ประกอบธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • เป็นการเช่าเพื่ออยู่อาศัย เช่น ผู้เช่าต้องชำระค่าเช่า และผู้เช้าใช้สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่ออยู่อาศัย ไม่ว่าสิ่งปลูกสร้างนั้นจะมีลักษณะเป็นห้องพัก บ้าน อาคารชุด อพาร์ตเม้นท์ หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ใช้พักอาศัย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก และโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  • ผู้ให้เช่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย กล่าวคือ มีสถานที่จัดแบ่งให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยตั้งแต่ 5 หน่วยขึ้นไป
  • ผู้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา

โดยหากการเช่าสิ่งปลูกสร้างเป็นไปตามลักษณะที่กล่าวข้างต้น การเช่าสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจะตกอยู่ภายใต้ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ (เช่น สิทธิและหน้าที่) ระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่าเพิ่มเติมจากกฎหมายการเช่าทั่วไป

(2) ข้อพิจารณาในการเรียกหลักประกันการเช่า

ก่อนที่จะเข้าทำสัญญาเช่า สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย หรือ สัญญาเช่าช่วง สิ่งที่ผู้ให้เช่าพึงพิจารณาในการเรียกหลักประกันการเช่าจากผู้เช่า มีดังต่อไปนี้

รูปแบบของหลักประกันการเช่า

รูปแบบของหลักประกันการเช่าามารถพบได้ 3 รูปแบบ เช่นเดียวกับการเช่าทั่วไป ดังต่อไปนี้

  • เงิน เช่น เงินสด
  • ทรัพย์สิน เช่น ทองคำ นาฬิกา เครื่องประดับ ของมีค่าต่างๆ
  • การค้ำประกัน เช่น การค้ำประกันโดยธนาคาร การค้ำประกันโดยบุคคลที่น่าเชื่อถือที่ผู้เช่าหามา

โดยที่รูปแบบหลักประกันที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือ เงิน เนื่องจาก เงิน มีกระบวนการและข้อจำกัดในการเรียก บังคับ และคืนหลักประกันที่น้อยและง่ายที่สุดและน่าจะเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดด้วย

จำนวนเงินหรือมูลค่าหลักประกันการเช่า

การเช่าสิ่งปลูกสร้างเป็นการเช่าสิ่งปลูกสร้างจากผู้ประกอบธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา กำหนดห้ามผู้ให้เช่าเรียกเก็บเงินประกันและเงินค่าเช่าล่วงหน้า รวมกันมีจำนวนเกินกว่า 3 เดือนของอัตราค่าเช่ารายเดือนของสิ่งปลูกสร้างนั้น

ตัวอย่าง ค่าเช่าบ้าน เดือนละ 50,000 บาท ผู้ให้เช่าสามารถเรียกเก็บเงินประกันการเช่าและเงินค่าเช่าล่วงหน้าจากผู้เช่ารวมกันได้ไม่เกิน 150,000 บาท เท่านั้น

(3) ข้อพิจารณาในการบังคับหลักประกันการเช่า

ในระหว่างระยะเวลาการเช่าสิ่งปลูกสร้าง หากเกิดเหตุที่กำหนดไว้ในสัญญาเกี่ยวกับการบังคับหลักประกันการเช่า ผู้ให้เช่าอาจพิจารณาได้ ดังต่อไปนี้

ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ห้ามไม่ให้ผู้ให้เช่าริบเงินประกันการเช่าจากผู้เช่าทั้งจำนวน เพียงแต่สามารถนำเงินประกันการเช่ามาหักกับค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงต่อสิ่งปลูกสร้างที่ผู้เช่าต้องรับผิดชอบเท่านั้น

(4) ข้อพิจารณาในการคืนหลักประกันการเช่า

เมื่อการเช่าสิ่งปลูกสร้างสิ้นสุดลง ผู้ให้เช่าย่อมมีหน้าที่คืนหลักประกันการเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าตามเงื่อนไขของสัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างและ/หรือตามกฎหมาย โดยอาจมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

เมื่อการเช่าสิ่งปลูกสร้างสิ้นสุดลง ผู้ให้เช่าย่อมมีหน้าที่ต้องคืนหลักประกันการเช่าให้แก่ผู้เช่า ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ดังต่อไปนี้

  • คืนหลักประกันทั้งจำนวน หากไม่พบความเสียหายในสิ่งปลูกสร้างที่ผู้เช่าต้องรับผิดชอบ
  • คืนหลักประกันหลังจากหักค่าเสียหาย หากพบความเสียหายในสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นความเสียหายที่ผู้เช่าต้องรับผิดชอบ

โดยหากมีกำหนดระยะเวลาการคืนหลักประกันการเช่าเอาไว้ในสัญญา ผู้ให้เช่าก็ย่อมต้องคืนภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 7 วันนับจากวันที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงและผู้ให้เช่าได้กลับเข้าครอบครองสิ่งปลูกสร้างนั้น อนึ่ง ผู้ให้เช่าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการนำส่งคืนหลักประกันการเช่าให้แก่ผู้เช่าด้วย ทั้งนี้ ตามวิธีการที่ผู้เช่ากำหนด

แบบฟอร์มและตัวอย่างต่าง ๆ ที่สามารถดาวน์โหลดได้ในรูปแบบ Word และ PDF

  • สัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์
  • สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย
  • สัญญาเช่าช่วง
  • หนังสือแจ้งขอคืนหลักประกัน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก