อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เฉลย

ก.  จงอธิบายข้อความให้ถูกต้อง

1.  สิ่งแวดล้อมในการทำงาน  หมายถึง

       .........สิ่งต่าง  ๆ  ที่อยู่ล้อมรอบตัวผู้ปฏิบัติงานในขณะที่ทำงาน  เช่น  เพื่อนร่วมงาน  เครื่องจักร  อุปกรณ์   ต่าง  ๆ  อากาศที่หายใจ  เสียง  แสงสว่าง  ความร้อน  สารเคมี  และรวมถึงเชื้อโรคต่าง  ๆ  ...........................                                         

2.  สิ่งแวดล้อมทางเคมีที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง  ๆ ดังนี้

      ………สารเคมีที่ใช้  สารเคมีที่เป็นผลผลิต  สารเคมีที่เป็นของเสียต้องกำจัด  เช่น  สังกะสี  แมงกานีส   สารตะกั่ว  สารปรอท  สารเคมีนั้นอาจอยู่ในรูปของก๊าซ  ไอ  ฝุ่น  ละออง ควัน  หรืออยู่ในรูปของเหลว  เช่น  ตัวทำละลาย  กรด  ด่าง  เป็นต้น...............................................

3.  สิ่งแวดล้อมทางเออร์กอนอมิคส์ หรือจิตวิทยาสังคม (Ergonomics) เป็นเรื่องที่จำเป็นเกี่ยวข้องกับตนเองในด้านใด

…………สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อภาวะที่เกี่ยวกับจิตวิทยาสังคม และเศรษฐกิจในการทำงาน ได้แก่ สภาวะในการทำงานที่ถูกเร่งรัดหรือมอบหมายให้ทำงานมากเกินกำลัง หรือทำงานซ้ำซาก จนเกิดความเบื่อหน่าย การทำงานล่วงเวลา การทำงานกับเพื่อนร่วมงานที่แปลกหน้า สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความกดดันทางจิตใจซึ่งเป็นผลเสียต่อการปฏิบัติงาน.............................................

4.  ผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพได้รับอุบัติภัยในการทำงานเนื่องจากเหตุใด

…………เนื่องมาจากการขาดประสบการณ์ ขาดความรู้ความเข้าใจในงานที่ทำ มีทัศนคติ และจิตสำนึกที่ไม่ปลอดภัย และไม่ได้ป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม เป็นต้น...............................................................................         

5.  สิ่งแวดล้อมในการทำงานมีความสำคัญต่อตัวผู้ประกอบอาชีพ  ทั้งนี้เพราะ

     …………เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญซึ่งอยู่รอบตัวผู้ประกอบอาชีพ  หรือคนงานในขณะทำงาน  ได้แก่  เครื่องจักรกล  อุปกรณ์  อากาศที่หายใจ  แสงสว่าง  ฝุ่น ละออง  สารเคมีอื่น  ๆ  เชื้อโรค  และสัตว์ต่าง  ๆ  นอกจากนี้ยังรวมถึงสภาพการทำงานที่ซ้ำซาก  เร่งรีบ  เป็นต้น...................

6.  ความบกพร่องหรือความไม่เหมาะสมกับงาน  ก่อให้เกิดปัจจัยในเรื่องใดบ้าง

………………ปัยจัยผู้ประกอบอาชีพหรือคนงาน.............

.....................ปัยจัยสิ่งแวดล้อมการทำงาน .............

7.  ในเรื่องสิทธิมนุษยชนในประกาศสิทธิขั้นพื้นฐาน  3  ประการ  ได้แก่

     ……. 1.  สิทธิที่จะรู้  (Right to Know) รู้ถึงอันตรายและปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีการผลิต

     ....... 2.  สิทธิที่จะปฏิบัติ  (Right to Act) ผู้ประกอบอาชีพดำรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะปฏิบัติงานที่ปลอดภัยแก่ตน

     ........3.  สิทธิที่จะปฏิเสธ  (Right to Refuse) ผู้ประกอบอาชีพดำรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะปฏิเสธ ไม่ปฏิบัติงานที่         อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของตนได้....................  

8.  “Occupational Safety and Health” หมายถึงการทำงานอย่างไร

การทำงานให้เป็นสุข  และปลอดภัยจากเครื่องจักร  เครื่องมือ  และสถานที่ทำงานของผู้ประกอบอาชีพ             

9.  เพราะเหตุใดองค์การแรงงานระหว่างประเทศและองค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้แรงงานมีสุขภาพอนามัยและมีความปลอดภัยในการทำงาน

………- เพื่อคุ้มครองผู้ใช้แรงงานมิให้ทำงานที่มีการเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพและร่างกาย...............................

..........-  จัดให้ผู้ใช้แรงงานได้ทำงานในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสมกับสภาวะของร่างกายและจิตใจ

..........-  ส่งเสริมและธำรงไว้ซึ่งสุขภาพ  ร่างกาย  จิตใจ   ตลอดจนความเป็นอยู่ในสังคมของผู้ใช้แรงงงานในทุกกลุ่มอาชีพที่สมบูรณ์ที่สุด.....................................................

.........-  ป้องกันมิให้ผู้ใช้แรงงานมีสุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมหรือเกิดความผิดปกติ  อันเนื่องมาจากสภาพการทำงานต่าง  ๆ  ...................................................................... 

10.  จงบอกวิธีการเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง  ๆ  ของงานอุตสาหกรรมเพื่อให้เหมาะกับสภาพงานและความปลอดภัยในการทำงาน

………1. เครื่องมือทุกประเภทจะต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ......................

………2. มีการตรวจสอบสม่ำเสมอ.……………………….…………............

………3. จัดเก็บอุปกรณ์ให้ป็นระเบียบและสัดส่วนเหมาะสม………………….

11.  เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานต่อสถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง  มีวิธีการจัดการต่อสถานที่ประกอบการอย่างไร

…… - แนะนำ……….…………      

…… - ออกคำเตือน….…………

……- ออกคำสั่งเชิญพบ……….

……- ดำเนินคดี………………

12.  หากท่านมีหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยในโรงงาน  ท่านจะดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์งานด้านใดบ้าง  เพื่อเสนอเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย

…………… ปัจจุบันโรงงานมีมาตรการในการควบคุมหรือป้องกันอุบัติอย่างไร จากนั้นจึงวิเคราะห์หา      จุดอ่อนที่มีอยู่บันทึกหรือรายงานเสนอแนะเทคนิคการแก้ไขจุดอ่อนต่อผู้บริหารต่อไป.....................................

13.  หากท่านได้รับมอบหมายให้ประเมินผลโครงการความปลอดภัย  ท่านจะนำข้อมูลใดบ้างมาวิเคราะห์ในงานของท่าน

………1.  การจัดองค์การบริหารของโรงงาน  …………….………... 

………2.  หน้าที่และความรับผิดชอบต่อความปลอดภัย…….………

……....3.  ระบบที่ใช้ในการระบุปัญหาหรือตรวจหาจุดอันตราย………

………4.  การคัดเลือกและบรรจุคนเข้าทำงาน……………………….  

………5.  การฝึกอบรมและการแนะนำงาน…….…………………….

………6.  การจูงใจ  มีกิจกรรมใดที่เป็นเป้าหมายในการจูงใจ  ………

………7.  การวิเคราะห์และบันทึกอุบัติเหตุ…………………….……

14. ท่านมีข้อแนะนำอะไรให้กับคนงานในโรงงานร่วมรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในด้านการปฏิบัติงาน

……การห้ามหยอกล้อ พูดคุย ถกเถียงกันในขณะทำงาน การใช้เครื่องป้องกันอันตรายในขณะปฏิบัติหน้าที่ การแต่งกายให้เหมาะสม หรือไม่สูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบ.………………

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก